แค่สูดดมก็หายปวด! ยาแก้ปวด เพนทรอกซ์ (Penthrox) คืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร?

ยาแก้ปวด แบบสูดดม Penthrox เพนทรอกซ์

ยาแก้ปวด ที่ใช้ในทางการแพทย์ในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น มอร์ฟีน, เฟนทานิล, เมทอกซีฟลูเรน เป็นต้น ซึ่งลักษณะการใช้ยาแก้ปวดก็จะแตกต่างกันไปตามอาการ หรือระดับความปวด วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึง ยาแก้ปวดแบบสูดดม ที่ชื่อว่า เพนทรอกซ์ (Penthrox) กัน ว่าคืออะไร? มีข้อดีอย่างไร? มีวิธีใช้อย่างไร? ซึ่งยาตัวนี้ได้นำมาใช้กับกลุ่มศัลยกรรมความงามด้วย น่าสนใจมากทีเดียว!

เพนทรอกซ์ (Penthrox) คืออะไร

ชื่อทางการค้าเรียกว่า เพนทรอกซ์ (Penthrox) ส่วนชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า เมทอกซีฟลูเรน (Methoxyflurane) คือยาระงับความเจ็บปวด อยู่ในกลุ่มของยาสลบชนิดสูดดม มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดโดยไม่ต้องทำให้สลบ ซึ่งยาชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์มานานกว่า 40 ปี แต่การใช้ยาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์ผู้เชียวชาญ หรือแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น

เพนทรอกซ์ หรือ เมทอกซีฟลูเรน เมื่อก่อนจะใช้ในการดมยาสลบ ทำให้คนไข้ใม่รู้สึกตัวขณะทำการรักษา เช่น การผ่าตัด ซึ่งต้องใช้ในปริมาณที่ค่อนข้างเยอะ (7-8 เท่า ของปริมาณยาที่จำกัดต่อวัน) ซึ่งพบว่าการใช้ยาในปริมาณมากเกินไปทำให้ส่งผลเสียต่อไต จึงหยุดการใช้ยาเมทอกซีฟลูเรนไประยะหนึ่ง

แต่ในปัจจุบันมีการนำยาชนิดนี้กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ยาถูกนำมาใช้ในการบรรเทา หรือระงับความเจ็บปวดแทน เป็นแบบสูดดม ใช้แทนการกินยา หรือเจาะเข็มเข้าเส้นเลือด ข้อดีคือใช้ในปริมาณน้อยมาก คนไข้ควบคุมการใช้ยาเองได้ และได้ผลลัพธ์ดี ไม่เป็นอันตราย อีกทั้งยาตัวนี้นิยมมากในหมู่นักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน บรรเทาความเจ็บปวดเบื้องต้น ขณะส่งตัวไปรักษา เป็นต้น

ยาแก้ปวด แบบสูดดม Penthrox เพนทรอกซ์ หรือ เมทอกซีฟลูเรน (Methoxyflurane)
กลับสู่สารบัญ

ลักษณะของ ยาแก้ปวด เพนทรอกซ์ หรือ เมทอกซีฟลูเรน

  • มีลักษณะเป็นของเหลวใส
  • แทบไม่มีสี
  • มีกลิ่นผลไม้

กลไกการทำงาน การออกฤทธิ์ของยาแก้ปวด

  • ยาจะเปลี่ยนจากของเหลว กลายเป็นไอระเหยหรือก๊าซ ก็ต่อเมื่อมีการใช้กับกระบอกสูดยา โดยผ่านการสูดดมผ่านลมหายใจทางปาก
  • ยาจะถูกดูดซึมที่ปอด ออกฤทธิ์โดยเข้าไปลดการส่งสัญญาณของประสาทด้านความเจ็บปวดให้ลดลง ทำให้ร่างกายรู้สึกเจ็บน้อยลงหรือไม่เจ็บเลย พร้อมกับการทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายขณะยาออกฤทธิ์ จากนั้นยาจะถูกเผาพลาญโดยไซโตโครม P450 (Cytochrome P450) ที่อยู่ภายในตับ และขับออกทางปัสสาวะ
ไซโตโครม P450 (Cytochrome P450) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่พบได้ที่ตับและลำไส้ ทำหน้าที่ออกซิไดซ์โมเลกุลอินทรีย์แปลกปลอมขนาดเล็ก เช่น สารพิษ หรือยาบางชนิด ออกไปจากร่างกาย
กลับสู่สารบัญ

ข้อดีของ ยาแก้ปวด เพนทรอกซ์ หรือ เมทอกซีฟลูเรน

  • ยาออกฤทธิ์บรรเทาความเจ็บปวดได้เร็ว ( Pain Control)
  • ใช้ระงับความปวดระดับรุนแรงได้ดี
  • คนไข้สามารถควบคุมความเจ็บปวดเองได้
  • ไม่ต้องเปิดเส้น หรือใช้เข็มเจาะเข้าร่างกาย ที่ต้องใช้ยาระงับความปวดร่วมกับน้ำเกลือ
  • ใช้ยาในปริมาณน้อย เพียง 3 มล. ต่อครั้ง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ยาแก้ปวด เมทอกซีฟลูเรน (Methoxyflurane)

วิธีการใช้ยา เมทอกซีฟลูเรน (Methoxyflurane)

  • แพทย์จะจัดเตรียมกระบอกสูดยา ซึ่งภายในมีตัวยาเพนทรอกซ์ ที่เป็นสารระงับความปวดไว้ คนไข้สามารถสูดยาผ่านกระบอกสูดได้โดยตรง หรือใช้หน้ากากครอบหน้าช่วยก็ได้
  • วิธีใช้ยา คือ สูดลมหายใจเข้า-ออกเบาๆ 2-3 ครั้งผ่านช่องสูดทางปากกระบอก เพื่อให้เกิดการไหลเวียนข้าวของยาเพนทรอกซ์
  • หายใจเข้า-ออกต่อเนื่อง ผ่านกระบอกสูดยา ซุ่งยาจะเริ่มออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวด หลังจากการหายใจประมาณ 6-10 ครั้ง ต่อเนื่องกัน และฤทธิ์ของยาจะอยู่นานต่อเนื่องหลายนาทีหลังหยุดใช้ยา
  • คนไข้สามารถสูดยาเพนทรอกซ์ได้ต่อเนื่อง หรือใช้เป็นช่วงๆ ตามความจำเป็น เพื่อบรรเทาอาการปวด หรือใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
  • หากต้องการความเข้มข้นยาที่มากขึ้น เพื่อบรรเทาความปวด ท่านสามารถใช้นิ้วปิดที่ช่องเจือจางยาบนกระบอกสูด ในระหว่างการใช้ยาได้ (ให้สอบถามแพทย์ก่อนการใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ยาในปริมาณที่มากเกิดไป)
วิธีใช้ ยาแก้ปวด แบบสูดดม Penthrox เพนทรอกซ์
กลับสู่สารบัญ

อาการข้างเคียงหลังการใช้ ยาแก้ปวด เมทอกซีฟลูเรน

อาการข้างเคียงหลังการใช้ยาเมทอกซีฟลูเรน โดยปกติจะมีอาการเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น เช่น

  • อาจทำให้เกิดอาการมึนงง ง่วง ซึม ซึ่งไม่ควรใช้ขณะขับรถ
  • พูดลำบาก หลงลืม
  • การรับรสเปลี่ยนไป หรือสูญเสียการรับรส
  • ปากแห้ง
  • ปวดหัว คลื่นไส้
  • ไอ

หากใช้ยาเพนทรอกซ์เกินขนาด ควรทำอย่างไร?

ก่อนการใช้ยาให้ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการใช้อย่างเคร่งครัด เพราะหากใช้ยาเกิดขนาดอาจทำลายไตถาวรได้ หรือหากใช้ยาไปแล้วไม่มั่นใจว่าใช้ยาเกินขนาดไปหรือไม่ ให้รีบแจ้งแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด ทำการรักษา หรือขอคำแนะนำ

อาการผิดปกติหลังใช้ยาเมทอกซีฟลูเรน ต้องหยุดยาและรีบพบแพทย์ทันที!

  • การหายใจผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม
  • มีอาการบวมบริเวณใบหน้า เปลือกตา ปาก หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
  • มีผื่นคัน คล้ายลมพิษ หรือมีจ้ำบริเวณผิวหนัง
  • มีตุ่มพอง ผิวหนังลอก
  • เลือกออกมากผิดปกติ
  • เกิดอาการผิดปกติของตับ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • เกิดอาการผิดปกติของไต เช่น ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะลดลง เท้า-ข้อเท้า-ขา บวม
  • ปัสสาวะสีเข้ม หรืออุจาระสีซีด
กลับสู่สารบัญ
เมทอกซีฟลูเรน (Methoxyflurane) มีวิธีใช้อย่างไร

ข้อควรระวังการใช้ยาแก้ปวดแบบสูดดม เพนทรอกซ์

  • ควรใช้ยาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ เภสัชกร วิสัญญีแพทย์ เนื่องจากแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยอาการของโรคก่อน จึงทำการจ่ายยาในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงระยะเวลาการใช้ยาของแต่ละคนตามการรักษา
  • ปริมาณยาไม่ควรเกิน 6 มล. ต่อวัน หรือ ไม่ควรเกิน 15 มล. ต่อสัปดาห์
  • ไม่ควรใช้ยาเกินขนาด เนื่องจากยาสามารถทำลายไตได้
  • ห้ามใช้ยาในกลุ่มคนที่แพ้ยา หรือแพ้ส่วนประกอบในยาชนิดสูดดม หากไม่มั่นใจให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ยา
  • ห้ามใช้ยาในกลุ่มคนที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ หรือการไหลเวียนของเลือด
  • กลุ่มคนที่มีภาวะไต หรือ ตับบกพร่อง ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
  • ห้ามใช้ยาในกลุ่มคนที่มีการหายใจผิดปกติ เช่น หายใจตื้น หายใจลำบาก เป็นต้น
  • ห้ามใช้ยากับคนที่อายุน้อยกว่า 12 ปี
  • หากคนในครอบครัว เคยมีประวัติแพ้ยาสลบ (malignanthyperthermia) เช่น มีอาการ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว กล้ามเนื้อหดเกร็ง ควรแจ้งแพทย์ก่อนการรักษา เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแพ้ยาสลบ เช่นเดียวกัน อาจเป็นอันตรายได้
  • หากกำลังตั้งครรภ์ ให้นมบุตร ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
กลับสู่สารบัญ

ยาแก้ปวด เพนทรอกซ์ กับกีฬา

ยาเพนทรอกซ์ จะถูกนำมาใช้บ่อยๆ กับนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บเฉียบพลันจากการเล่นกีฬา แพทย์จะใช้ยายาเพนทรอกซ์ ระงับความเจ็บปวดเบื้องต้น หรือระหว่างทำการเคลื่อนที่ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล

ยาแก้ปวด เพนทรอกซ์ กับ ศัลยกรรมความงาม

ในปัจจุบันยาเพนทรอกซ์ ได้นำมาใช้กับด้านศัลยกรรมความงาม เช่น การตัดหนังหน้าท้อง (Tummy Tuck) เนื่องจากการใช้ยากลุ่มมอร์ฟีน (Morphine) , เฟนทานิล (Fentanyl), โอปิออยด์ (Opioid) ที่ใช้รักษาอาการปวดชนิดรุนแรง มีผลข้างเคียงค่อนข้างเยอะ แพทย์จึงหลีกเลี่ยงและหันมาใช้ยาชาเฉพาะที่ หรือยาเพนทรอกซ์ หรือ เมทอกซีฟลูเรน แทน ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถความคุมความเจ็บปวดได้ดีกว่า และความเสี่ยงในการใช้ยาน้อยกว่าอีกด้วย

Ref : http://ndi.fda.moph.go.th/ ,  https://www.google.com/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า