1. Diagnosis
- การกลืนบอลลูนเป็นวิธีช่วยลดน้ำหนัก โดยบอลลูนลูกใส่ในกระเพาะอาหารเพื่อเพิ่มความอิ่ม ลดปริมาณที่บริโภคในแต่ละมื้อ
- ใช้ในผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงและยังไม่พร้อมสำหรับการผ่าตัดลดน้ำหนัก หรือผู้ที่ต้องการเตรียมตัวสำหรับการผ่าตัด
2. ยาที่ควรรับประทานหลังกลืนบอลลูน
- ยาลดกรด (Proton Pump Inhibitors – PPIs) เช่น Omeprazole หรือ Esomeprazole เพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ เช่น Domperidone หรือ Metoclopramide หากมีอาการคลื่นใส่ในช่วงแรก
- ยาระบาย หากเกิดอาการท้องผูก
3. การดูแลสิ่งแวดล้อม
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการใส่บอสลุน
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากในสัปดาห์แรก
- สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ ลดความเครียด เพราะอาจกระตุ้นอาการคลื่นไส้หรือไม่สบายท้อง
4. อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
- อาเจียนรุนแรงจนไม่สามารถดื่มน้ำได้ ปวดท้องมากผิดปกติ มีไข้สูง ท้องอืด หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอก
5. การดูแลตนเองหลังกลืนบอลลูน
- ในช่วงแรกอาจมีอาการคลื่นใส้หรืออาเจียน แต่จะดีขึ้นใน 2-3 วัน
- หลีกเลี่ยงการนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร
คำแนะนำในการรับประทานอาหารหลังการใส่บอลลูน
สัปดาห์ที่ 1 (วันที่ 1-7)
• วันแรก
จิบน้ำเปล่าปริมาณเล็กน้อย ประมาณ ¼ แก้วต่อชั่วโมง เพื่อป้องกันการขาดน้ำและช่วยให้กระเพาะอาหารปรับตัว
• วันที่ 2
ดื่มน้ำผลไม้และซุปใส เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นในรูปแบบของเหลว
• วันที่ 3 เป็นต้นไป
รับประทานอาหารเหลว เช่น น้ำผลไม้ นม โยเกิร์ต และสามารถดื่มชา หรือกาแฟได้ในปริมาณที่เหมาะสม
สัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 8-14)
- เริ่มรับประทานอาหารอ่อน เช่น ปลา หรือไก่บด (ไม่ติดหนัง) และเนื้อสัตว์บดสับละเอียด
- สามารถรับประทานไข่ได้หลังจากวันที่ 11 เป็นต้นไป
- ผักและผลไม้บดละเอียด (เอาเมล็ดออก) เพื่อเพิ่มใยอาหารและวิตามิน
สัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15-21)
- ค่อย ๆ เพิ่มความหลากหลายของอาหาร โดยยังคงเน้นอาหารที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์
- ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับความรู้สึกอิ่มที่เปลี่ยนไป
หลังสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป
- สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง หรืออาหารที่ไม่มีประโยชน์
- ควรรับประทานอาหารในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการรับประทานมากเกินไปในมื้อเดียว
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจกระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ปรับพฤติกรรมการกิน เช่น เคี้ยวอาหารให้ละเอียดและกินช้า ๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารมัน ของทอด น้ำอัดลม
- แบ่งอาหารเป็น 5-6 มื้อเล็กๆ
- ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
รัตตินันท์ คลินิก ให้บริการด้านความงามและการรักษา โดยทีมแพทย์เฉพาะทางระดับอาจารย์หลากหลายสาขา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัยสูงและเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้รับรองมาตรฐานจาก AACI สหรัฐอเมริกา ด้านศูนย์ศัลยกรรมผู้ป่วยนอกแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก 2 ปีซ้อน รวมถึงรางวัลจาก WhatClinic ด้านบริการลูกค้ายอดเยี่ยมระดับสากล เป็นปีที่4 จากลูกค้ากว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ให้ความไว้วางใจและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง