1. Diagnosis เกี่ยวกับการถอดบอลลูน
- การถอดบอลลูนในกระเพาะอาหารเป็นขั้นตอนที่ปลอดภัย โดยบอลลูนจะถูกนำออกหลังจาก 6 เดือน
หรือเมื่อครบกำหนดเวลาที่แพทย์แนะนำ
- กระเพาะอาหารจะกลับมาสู่สภาพปกติ และผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตต่อได้โดยเน้นการดูแลสุขภาพผ่านพฤ
และออกกำลังกาย
2. ยาที่ควรรับประทานหลังถอดบอลลูน
- ยาลดกรด: เช่น Omeprazole หากมีอาการกรดไหลย้อนหรือแสบกระเพาะอาหาร
- ยาบรรเทาอาการปวด: หากมีอาการเจ็บเล็กน้อยหลังการถอดบอลลูน
- ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน : หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังการถอดบอลลูน
3. การดูแลสิ่งแวดล้อม
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอหลังการถดบอลลูนในวันแรก
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมากใน 24-48 ชั่วโมงแรก
- สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ ลดความเครียด เพราะอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
4. อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
- ปวดท้องรุนแรงผิดปกติ อาเจียนบ่อยหรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ มีใช้สูงหรืออาการบวมที่ท้อง ถ่ายเป็นเลือดหรืออุจจาระสีดำ
5. การดูแลตัวเองหลังถอดบอลลูน
- รับประทานอาหารที่ละน้อยและเคี้ยวให้ละเอียดในช่วง 2-3 วันแรก
- ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ของทอด และแอลกอฮอล์
- ฝึกนิสัยการกินที่ดี เช่น การควบคุมปริมาณอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
6. การนัดหมาย
- พบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินการฟื้นตัวและผลการรักษาหลังการถอดบอลลูน
- นัดติดตามเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการลดน้ำหนักต่อไป
7. การรับประทานอาหาร
วันแรก : เริ่มจากอาหารเหลว เช่น น้ำซุปใส น้ำเกลือแร่
2 – 3 วันแรกหลังถอดบอลลูน : เพิ่มอาหารอ่อน เช่น โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ข้าวต้ม หรือซุปข้น
หลังจากนั้น : *รับประทานอาหารที่สมดุล เช่น ผักดื่ม เนื้อสัตว์ไร้มัน และธัญพืช
*หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ย่อยยาก เช่น อาหารรสจัด หรืออาหารแปรรูป
รัตตินันท์ คลินิก ให้บริการด้านความงามและการรักษา โดยทีมแพทย์เฉพาะทางระดับอาจารย์หลากหลายสาขา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัยสูงและเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้รับรองมาตรฐานจาก AACI สหรัฐอเมริกา ด้านศูนย์ศัลยกรรมผู้ป่วยนอกแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก 2 ปีซ้อน รวมถึงรางวัลจาก WhatClinic ด้านบริการลูกค้ายอดเยี่ยมระดับสากล เป็นปีที่4 จากลูกค้ากว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ให้ความไว้วางใจและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง