Rattinan Medical Center

คลินิกดูดไขมัน ผ่าตัดกระเพาะ เสริมความงาม

  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • ดูดไขมัน
      • ดูดไขมันหน้าท้อง
      • ดูดไขมันต้นขา
      • ดูดไขมันต้นแขน
      • ดูดไขมันน่อง
      • ดูดไขมันเหนียง
      • ดูดไขมันเอว
      • ดูดไขมัน Six Pack
      • ดูดไขมัน Sexy Line
      • ดูดไขมันหนอก
      • ดูดไขมันหน้า แก้ม
      • ฉีดไขมัน
    • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
    • เย็บกระเพาะ Overstitch
    • ตัดหนังหน้าท้อง
    • ศัลยกรรมร่างกาย
      • Gynecomastia รักษาหน้าอกผู้ชาย
      • เสริมสะโพก เสริมก้น
      • ปลูกผม FUE
      • เสริมหน้าอก
      • ตกแต่งเลเบีย
    • ศัลยกรรมใบหน้า
      • ร้อยไหม
      • ดึงหน้า (Facelift)
      • เสริมจมูก
      • เสริมคาง
      • ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม
      • ศัลยกรรมหูกาง
    • เลเซอร์เพื่อการรักษา
      • ลบรอยสัก
      • รักษากระ ฝ้า
      • E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว
      • 4D Lifting เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า
      • เลเซอร์ กำจัดขน
      • รักษานอนกรน
      • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
      • Ulthera
      • Thermage
      • Shockwave Therapy
    • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
    • รักษาเส้นเลือดขอด
    • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
    • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ
  • บทความ
    • ความรู้ดูดไขมัน
      • ก่อนดูดไขมัน
        • เรื่องควรรู้ก่อนดูดไขมัน
        • การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
        • Bodytite VS Vaser
        • ใครบ้างที่เหมาะกับการดูดไขมัน
        • ดูดไขมันที่ไหนดี ดูจาก 5 สิ่งนี้
        • ดูดไขมันทั้งตัว กับการลดน้ำหนัก
        • ดูดไขมันแบบจุดละ vs ราคาเหมา
      • การดูแลหลังดูดไขมัน
      • ราคาดูดไขมัน
      • ภาพรีวิวดูดไขมัน
    • บทความสุขภาพ
      • คุยเรื่องศัลยกรรม
      • บทความผ่าตัดถุงใต้ตา
      • คำนวณ BMI
  • รีวิว
  • ทีมแพทย์
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • Promotion
international@rattinan.comEmail Us
+66 2 2331424Call Us
Sitthi Vorakij Building, 12A fl, Silom Soi 3, Silom Rd, BangkokFind Us
  • ติดต่อสอบถาม
    Tel: 086-570-7040
Official Rattinan International Website
  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • ดูดไขมัน
      • ดูดไขมันหน้าท้อง
      • ดูดไขมันต้นขา
      • ดูดไขมันต้นแขน
      • ดูดไขมันน่อง
      • ดูดไขมันเหนียง
      • ดูดไขมันเอว
      • ดูดไขมัน Six Pack
      • ดูดไขมัน Sexy Line
      • ดูดไขมันหนอก
      • ดูดไขมันหน้า แก้ม
      • ฉีดไขมัน
    • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
    • เย็บกระเพาะ Overstitch
    • ตัดหนังหน้าท้อง
    • ศัลยกรรมร่างกาย
      • Gynecomastia รักษาหน้าอกผู้ชาย
      • เสริมสะโพก เสริมก้น
      • ปลูกผม FUE
      • เสริมหน้าอก
      • ตกแต่งเลเบีย
    • ศัลยกรรมใบหน้า
      • ร้อยไหม
      • ดึงหน้า (Facelift)
      • เสริมจมูก
      • เสริมคาง
      • ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม
      • ศัลยกรรมหูกาง
    • เลเซอร์เพื่อการรักษา
      • ลบรอยสัก
      • รักษากระ ฝ้า
      • E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว
      • 4D Lifting เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า
      • เลเซอร์ กำจัดขน
      • รักษานอนกรน
      • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
      • Ulthera
      • Thermage
      • Shockwave Therapy
    • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
    • รักษาเส้นเลือดขอด
    • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
    • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ
  • บทความ
    • ความรู้ดูดไขมัน
      • ก่อนดูดไขมัน
        • เรื่องควรรู้ก่อนดูดไขมัน
        • การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
        • Bodytite VS Vaser
        • ใครบ้างที่เหมาะกับการดูดไขมัน
        • ดูดไขมันที่ไหนดี ดูจาก 5 สิ่งนี้
        • ดูดไขมันทั้งตัว กับการลดน้ำหนัก
        • ดูดไขมันแบบจุดละ vs ราคาเหมา
      • การดูแลหลังดูดไขมัน
      • ราคาดูดไขมัน
      • ภาพรีวิวดูดไขมัน
    • บทความสุขภาพ
      • คุยเรื่องศัลยกรรม
      • บทความผ่าตัดถุงใต้ตา
      • คำนวณ BMI
  • รีวิว
  • ทีมแพทย์
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • Promotion
  • Home
Home » คีลอยด์ แผลเป็นที่ไม่อยากเป็นซ้ำ ป้องกันและรักษาอย่างไร?

คีลอยด์ แผลเป็นที่ไม่อยากเป็นซ้ำ ป้องกันและรักษาอย่างไร?

รักษารอยแผลคีลอยด์ (keloid )

 

แผลเป็นที่เกิดบนร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนก็ตามแต่ หากทิ้งร่องรอยไว้บนผิวสวยๆ ของเรามันคงไม่ดีนัก และถ้าแย่ไปกว่านั้น.. หากผิวหนังเกิดแผลเป็นที่เป็นก้อนปูดนูนขนาดใหญ่ อาจทำให้เราหมดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าสวยๆ หล่อๆ ได้เลย เพียงเพราะจำเป็นต้องปกปิดแผลเป็นที่ชื่อว่า คีลอยด์ (keloid) เอาไว้ วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จัก และเข้าใจการเกิดคีลอยด์กันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อหาวิธีป้องกัน และแก้ไขให้ถูกต้อง ให้เราได้มีผิวหนังที่เรียบเนียน สวย ดึงความมั่นใจกลับมาได้อีกครั้ง

สารบัญ show
1 ชนิดของแผลเป็น
2 คีลอยด์ คืออะไร?
3 สาเหตุของการเกิด คีลอยด์
4 ลักษณะและอาการของการเกิด คีลอยด์
5 คีลอยด์ เกิดขึ้นจากอะไร?
6 วิธีรักษารอยแผลเป็น ที่เกิดจากคีลอยด์
7 รักษาคีลอยด์ ด้วย Pressure garment therapy
8 วิธีป้องกันและรักษาแผลเป็น คีลอยด์

แผลเป็นคีลอยด์

ชนิดของแผลเป็น

ก่อนจะทำความรู้จักกับคีลอยด์ ให้มากขึ้น ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า แผลเป็นที่เกิดขึ้นบนผิวหนังนั้น เป็นแผลเป็นชนิดไหน ซึ่งชนิดของแผลเป็น แบ่งออกได้ 3 ประเภท

1. แผลเป็นนูน : แผลเป็นนูน แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ

  • แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) คือแผลเป็นที่นูนขึ้นมาจากผิวหนัง หลังจากการเกิดบาดแผล แต่ไม่เกินขอบเขตของรอยแผลเดิม
  • แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์ (Keloid) จากความผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อ ที่มีการผลิตคอลลาเจนเพื่อมาสมานแผลในปริมาณที่ มากเกินไป เนื้อที่นูนจะขยายตัวกว้างเกินขอบเขตของรอยแผลเดิมมากอย่างเห็นได้ชัด  และไม่สามารถยุบ หรือจางหายไปเองได้

คีลอย2. แผลเป็นหลุม (Atrophic Scar/ Depressed Scar) มักจะเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่เป็นสิว สิวเรื้องรัง หลุมสิว ที่เกิดจากฮอร์โมนทำงานผิดปกติ หรือเกี่ยวข้องกับทางพันธุกรรม รวมถึงโรคอีสุกอีใส หลังจากหายแล้วแต่ก็ยังทิ้งร่องรอย ทำให้เกิดแผลเป็นหลุมขึ้นนั่นเอง

3. แผลเป็น เกิดจากการหดรั้ง (Contracture Scar) : แผลเป็นชนิดนี้จะดึงรั้งบริเวณแผลให้ผิดรูป ซึ่งจะเกิดจากการหดรั้งในขณะที่แผลกำลังจะหายดี มักพบแผลเป็นชนิดนี้จากการเกิดอุบัติเหตุ เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือผิวหนังที่ถูกทำลายจากการโดนความร้อนสูง ในบางคนไข้บางราย แผลเป็นที่เกิดจากการหดรั้งนั้นอาจส่งผลต่อเส้นประสาท และกล้ามเนื้อด้วย

keloidคีลอยด์ คืออะไร?

คีลอยด์ (keloid) คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีการงอกของเนื้อเยื่อผิดปกติ ในบริเวณผิวหนังที่เป็นแผล ซึ่งจะมีลักษณะนูนขึ้นมาจากผิวหนังปกติ และมีขนาดใหญ่กว่ารอยแผล เช่นแผลจริงยาวเพียง 1 เซน แต่คีลอยด์กลับใหญ่โตเกือบ 20 เซนเป็นต้น

โดยคีลอยด์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหลังการเกิดแผลเป็น หรือหลังจากแผลเป็นหายแล้วสักพัก ในบางกรณีอาจจะเกิดคีลอยด์หลังจากระยะเวลาผ่านไปเป็นเดือน หรือปี ก็มีเช่นกัน และถึงแม้ว่าคีลอยด์นั้นจะไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือสุขภาพก็ตาม แต่ในบางครั้งแผลเป็นนูนชนิดนี้ก็บดบังความสวยงามของร่างกาย จนบางคนต้องปกปิดบริเวณที่เกิดคีลอยด์เลยก็มี ทำให้ขาดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าอีกด้วย

แผลเป็นคีลอยด์สาเหตุของการเกิด คีลอยด์

ปกติแล้ว.. ร่างกายคนเราจะมีกระบวนการรักษาแผลด้วยตัวเองตามธรรมชาติ หากผิวหนังได้รับบาดเจ็บหรือเกิดบาดแผลขึ้น โดยร่างกายจะทำการ ‘สมานแผล’ หรือที่เรียกว่า ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) คือการที่เซลล์ในเนื้อเยื่อ ผลิตโปรตีนและคอลลาเจนขึ้นมา เพื่อซ่อมแซมแผลในส่วนที่ถูกทำลายไป จนค่อยๆ หายดี และกลับมาเป็นปกติ แต่คีลอยด์นั้นเกิดจากการที่ ไฟโบรบลาสต์ ทำงานผิดปกติ มีการผลิตคอลลาเจนออกมามากเกินไป ส่งผลให้เกิดแผลเป็นนูนขนาดใหญ่ขึ้นว่าแผลเป็นเดิม แทนทีแผลเป็นจะยุบ จางลง แล้วหายไป

*จากรายงานวิชาการเกี่ยวกับการผ่าตัดโรคผิวหนัง พบว่าการเกิดแผลเป็นคีลอยด์นั้น จะมีการผลิตคอลลาเจนออกมามากกว่าการสมานแผลปกติถึง 20 เท่า และการงอกของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติของแผลเป็นคีลอยด์นั้น มีมากถึง 3 เท่า ถ้าเทียบกับแผลเป็นชนิดอื่นๆ

 

รักษารอยแผลคีลอยด์ (keloid)

คีลอยด์จากแผลฉีดวัคซีน

ลักษณะและอาการของการเกิด คีลอยด์

  • เกิดขึ้นหลังจากการเกิด แผลเป็น (Scar)
  • แผลเป็นนูน ใหญ่ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด มันวาว มีลักษณะผิวเรียบ หรือขรุขระ
  • ในช่วงแรก มีสีชมพู แดง หรือม่วง หลังจากนั้นสีผิวจะซีดลง (hypopigmentation) หรือเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ( hyperpigmentation)
  • ไม่มีขนเกิดขึ้นบริเวณที่เป็นคีลอยด์
  • บางกรณีอาจเกิดความรู้สึกเจ็บ คัน หรือระคายเคือง ตรงบริเวณแผลเป็นคีลอยด์ เมื่อเกิดการเสียดสีกับเสื้อผ้า

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์ ผ่านช่องทางไลน์หรือโทรศัพท์
Tel : 086-570-7040, 086-323-4040
Line RattinanFacebook Rattinan

คีลอยด์ เกิดขึ้นจากอะไร?

แผลเป็นคีลอยด์ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนบนร่างกาย โดยเฉลี่ยแล้วจะพบมากตรงอวัยวะส่วน หน้าอก หัวไหล่ และติ่งหู เป็นต้น อีกทั้งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • การฉีดวัคซีน
  • แผลเป็นจากโรคอีสุกอีใส
  • เกิดคีลอยด์หลังจากการผ่าตัด / แผลผ่าตัด
  • รอยไหม้ต่างๆ ที่เกิดจากโดนความร้อนสูง เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ที่หนีบผม ท่อไอเสีย ฯลฯ
  • การเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเจาะหู ก็ทำให้เกิดเป็นคีลอยด์ที่หู

นอกจากนี้การเกิดคีลอยด์ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น

  • พันธุกรรม ในทางการแพทย์ที่พบว่า กว่าครึ่งของคนที่เป็นคีลอยด์นั้น สมาชิกในครอบครัวเคยเป็นแผลคีลอยด์มาก่อน
  • เชื้อชาติ งานวิจัยพบว่า คีลอยด์มีโอกาสเกิดในคนผิวดำมากกว่าคนผิวขาวถึง 2 เท่า
  • ระยะเวลาการหายของแผล แผลที่หายช้ามากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดคีลอยด์มากขึ้น
  • เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือเป็นแผล ปล่อยให้หายเองโดยไม่ทำการรักษา ก็มีโอกาสเกิดแผลเป็นคีลอยด์สูง

วิธีรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากคีลอยด์ (keloid)

วิธีรักษารอยแผลเป็น ที่เกิดจากคีลอยด์

วิธีรักษารอยแผลเป็น ที่เกิดจากคีลอยด์นั้นมีอยู่หลายวิธี ซึ่งการรักษาคีลอยด์นั้นไม่สามารถการันตีได้ว่า หากรักษาแล้วคีลอยด์จะหายไปอย่างถาวร เพราะดังที่กล่าวข้างต้นว่า คีลอยด์นั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ และการใช้ยาประเภทต่างๆ ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะหากใช้ปริมาณมากไป หรือติดต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ ติดเชื้อ หรืออาการอื่นๆ ตามมา

บทความน่าสนใจ !  งูสวัด ภัยเงียบจากภูมิคุ้มกันต่ำ รักษาและป้องกันอย่างไร

วิธีรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากคีลอยด์ มีดังนี้

1. วิธีรักษารอยแผลเป็น คีลอยด์ ด้วยเจลหรือแผ่นซิลิโคน

ปิดลงบนรอยแผลเป็น เพื่อลดรอยแผลเป็นนูนจากการผ่าตัด

2. การรักษาแผลเป็น คีลอยด์ ด้วยความเย็น (Cryotherapy)

เป็นการใช้ไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิเย็นจัด จี้หรือพ่นเย็นลงบนผิวหนังบริเวณที่เกิดรอยแผลเป็น และปล่อยให้อุ่นขึ้น ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อตายและจำกัดคีลอยด์ออกไปได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังอื่นๆ ได้อีก เช่น กระ กระเนื้อ ไฝ เชื้อราในผิวหนัง หูดหงอนไก่ และมะเร็งที่ผิวหนัง เป็นต้น

3. การรักษาคีลอยด์ โดยการใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (steroids)

สเตียรอยด์ เป็นสารสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการต้านการอักเสบ สร้างภูมิคุ้มกัน ฯลฯ มีผลิตออกมาหลายรูปแบบ ทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ครีมลดรอยแผลเป็น ยาฉีด ยกตัวอย่างเช่น

  • ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาที่ใช้ภายนอก ใช้รักษาผิวหนังที่มีอาการอักเสบและคัน ตัวยาถูกนำมาทำเป็นทั้ง ครีมลดรอยแผลเป็น ครีมโลชั่น ขี้ผึ้ง
  • การฉีดไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone acetonide) หรือ อินเตอร์เฟียรอน (Interferon) บริเวณที่เป็นแผลคีลอยด์ ถึงวิธีจะใช้เวลารักษาไม่นาน และได้ผลดี แต่คนไข้ต้องเข้ารับการรักษาติดต่อกันหลายครั้งกว่าแผลเป็นคีลอยด์จะดีขึ้น

รักษารอยแผลคีลอยด์ (keloid)

4. รักษาแผลเป็น หรือ คีลอยด์ ด้วยเลเซอร์

รักษาแผลเป็น ด้วยการเลเซอร์ ซึ่งเลเซอร์แผลเป็นนั้นมีอยู่หลายแบบ อย่างเช่น เลเซอร์กลุ่ม Pulsed Dyne Laser (PDS) หรือ Pico Laser เช่น V beam หรือ Pro Yellow นี้จะเหมาะกับคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัด เช่น ดูดไขมัน, ตัดหนังหน้าท้อง ซึ่งหลังจากตัดไหมแพทย์จะแนะนำให้ทำเลเซอร์แผลเป็นทันที เพราะเลเซอร์กลุุ่มนี้เหมาะกับการใช้รักษาแผลเป็น และรอยแดงที่เกิดจากการผ่าตัด นอกจากนี้การทำเลเซอร์แผลเป็นทันที จะช่วยการป้องกันการเปลี่ยนสีของรอยแผลเป็น ไม่ให้มีสีแดงคล้ำหรือน้ำตาล รวมถึงป้องกันการเกิดคีลอยด์ด้วย

5. การฉายรังสี รักษาคีลอยด์

การฉายรังสี รักษาคีลอยด์ ส่วนใหญ่จะทำหลังจากการผ่าตัด ซึ่งการฉายรังสีจะมีส่วนช่วยในการรักษาคีลอยด์ ลดการกลับมาเป็นคีลอยด์ซ้ำที่ได้ผลดีที่สุด แต่อาจจะมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น เกิดอาการคัน เกิดผื่นแดง หรือผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น และการฉายรังสี รักษาคีลอยด์ ไม่สามารถฉายรังสีในขณะที่แผลเป็นคีลอยด์เกิดแล้ว คนไข้จะต้องทำการผ่าตัดเอาแผลเป็นออกก่อน จึงเข้ารับการฉายรังสีต่อไป ซึ่งจะได้ผลดีที่สุดจะต้องฉายรังสีรักษาคีลอยด์ ประมาณ 3 ครั้ง(ครั้งละ 2 นาที) เป็นเวลา 3 วัน

6. การผ่าตัด รักษาคีลอยด์

การผ่าตัดเพื่อรักษาคีลอยด์นั้นอาจจะไม่ได้ผล เพราะแผลเป็นที่เกิดหลังผ่าก็มีโอกาสกลับมาเป็นคีลอยด์ได้อีก จึงต้องอาศัยการรักษาคีลอยด์แบบอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การใช้เลเซอร์รักษาคีลอยด์ หรือ การฉายรังสีรักษาคีลอยด์ เป็นต้น

Pressure garment therapy

รักษาคีลอยด์ ด้วย Pressure garment therapy

ปัจจุบันการรักษาแผลเป็นที่เกิดจากคีลอยด์ จะมีการใช้ Pressure garment therapy เข้ามาร่วมด้วย ซึ่ง Pressure garment คือผ้ายืดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อบีบรัดบาดแผล ซึ่งแรงบีบรัดจะสม่ำเสมอ มีค่าอยู่ที่ประมาณ 24 – 30 mmHg หรือมากน้อยขึ้นอยู่กับการรักษา ผ้าจะช่วยในเรื่องของเลือดไหลเวียน ทําให้แผลเป็นนิ่ม และเรียบขึ้น ซึ่งผ้ายืดจะใช้ได้กับแผลเป็นที่มีขนาดตั้งแต่เล็กไปจนใหญ่ และมีการออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับทุกส่วนบนร่างกาย ส่วนใหญ่จะใช้รักษาแผลเป็นในคนไข้หลังผ่าตัด หรือแผลเป็นที่เกิดจากการไหม้ ผิวถูกทำลายเป็นบริเวณกว้าง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการกลับมาเป็นคีลอยด์ซ้ำอีกด้วย

ระยะเวลาการสวมใส่ : คนไข้จะต้องทำการสวมใส่ผ้ายืดทันทีหลังจากแผลเป็นหาย ตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด คนไข้ต้องใส่ผ้ารัดเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 6 เดือน ถึง 1-2 ปี

นอกจากนี้ Pressure garment therapy ยังถูกนำมาใช้ในการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ ด้วย เช่น

  • ศัลยกรรม เช่น การดูดไขมัน , เสริมหน้าอก
  • ใช้ป้องกันและรักษา โรคเส้นเลือดขอด (varicose vein) หรือ ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (Deep Vein thrombosis)

 

วิธีป้องกันและรักษาแผลเป็น คีลอยด์

  • หากเกิดแผลเป็น ควรหลีกเลี่ยงการแคะ แกะ หรือเกา เพราะนอกจากจะทำให้เกิดรอยแผลเป็น ผิวไม่เนียนสวยแล้ว อาจจะมีโอกาสเกิดคีลอยด์ได้
  • การให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว ในช่วงเวลาที่แผลกำลังซ่อมแซมตัวเอง เช่นการใช้ยาทา หรือเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวด้วยวาสลีน (vaseline) ลดการเกิดผิวแห้ง แตก คัน
  • หลังจากแผลเป็นหายแล้ว อาจจะหาครีมลดรอยแผลเป็นมาใช้ เพื่อทำให้แผลเป็นนั้นจางลงได้ไวขึ้น
  • ในกรณีที่เป็นคีลอยด์แล้วทำการ ลบรอยแผลเป็น ไม่ว่าจะด้วยทางการแพทย์ใดๆ หลังจากการรักษาแผลเป็น อาจจะใช้แผ่นซิลิโคนแปะบนแผลเป็น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น และลดโอกาสการเกิดซ้ำของคีลอยด์
  • แสงแดดก็มีส่วนเช่นกัน หากคนไข้เข้ารับการผ่าตัด ซึ่งหลังจากรักษาหายแล้ว รอยแผลเป็นบนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ต้องเผชิญกับแสงแดดโดยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทาครีมกันแดด, หาผ้ามาปกปิดบริเวณรอยแผลเป็น หรือใช้ครีมทาแผลเป็น Imiquimod (อิมิควิโมด) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันและลดโอกาสที่จะเกิดคีลอยด์

Filed Under: คีลอยด์ Tagged With: keloid, คีลอยด์, แผลเป็น

Rattinan Clinic
Rattinan Medical Center
(รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์)
5 Sitthi Vorakit, Building 12A,
Soi Phiphat, Silom, Bang Rak 10500
Bangkok

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์ - วันเสาร์
เวลา 10.00 น. - 20.00 น.
วันอาทิตย์ หยุดทำการ
สอบถามข้อมูลบริการ :
086-570-7040 , 086-323-4040
ติดต่อเรื่องทั่วไป : 02-233-1424-5

Our Working Hours

We open Monday - Saturday from 10.00 AM.-08.00PM.
Close on Sunday and some public holidays.

Telephone : +66 22331424, +66 22331425
E-Mail: international@rattinan.com
WhatsApp : +66 917767741
Skype : +66 863234040

บริการของเรา

  • ดูดไขมัน
  • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
  • Ulthera
  • Thermage FLX
  • รักษาเต้านมโตผู้ชาย Gynecomastia
  • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
  • ตัดหนังหน้าท้อง
  • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
  • รักษาเส้นเลือดขอด
  • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
  • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ

บริการดูดไขมัน

  • ดูดไขมันหน้าท้อง
  • ดูดไขมันต้นขา
  • ดูดไขมันต้นแขน
  • ดูดไขมันน่อง
  • ดูดไขมันเหนียง
  • ดูดไขมันเอว
  • ดูดไขมัน Six Pack
  • ดูดไขมัน Sexy Line
  • ดูดไขมันหนอก
  • ดูดไขมันหน้า แก้ม

ติดตามเราได้ที่

Like Us

พูดคุยกับเราได้ที่

ติดตามพวกเราผ่านไลน์

© 2021 Rattinan Clinic | TOS/Privacy Policy | Sitemap