คีลอยด์ keloid หรือแผลเป็นนูน เกิดขึ้นจากอะไร และรักษาอย่างไร มาหาคำตอบกัน

คีลอยด์

แผลเป็นที่เกิดบนร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนก็ตามแต่ หากทิ้งร่องรอยไว้บนผิวสวยๆ ของเรามันคงไม่ดีนัก และถ้าแย่ไปกว่านั้น หากผิวหนังเกิดแผลเป็นที่เป็นก้อนปูดนูนขนาดใหญ่ อาจทำให้เราหมดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าสวยๆ หล่อๆ ได้เลย เพียงเพราะจำเป็นต้องปกปิดแผลเป็นที่ชื่อว่า คีลอยด์ (keloid) เอาไว้ วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จัก และเข้าใจการเกิดคีลอยด์กันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อหาวิธีป้องกัน และแก้ไขให้ถูกต้อง ให้เราได้มีผิวหนังที่เรียบเนียน สวย ดึงความมั่นใจกลับมาได้อีกครั้ง

ชนิดของแผลเป็น

ก่อนจะทำความรู้จักกับคีลอยด์ ให้มากขึ้น ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า แผลเป็นที่เกิดขึ้นบนผิวหนังนั้น เป็นแผลเป็นชนิดไหน ซึ่งชนิดของแผลเป็น แบ่งออกได้ 3 ประเภท

ประเภทของแผล คีลอยด์

1. แผลเป็นนูน : แผลเป็นนูน แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ

  • แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) คือแผลเป็นที่นูนขึ้นมาจากผิวหนัง หลังจากการเกิดบาดแผล แต่ไม่เกินขอบเขตของรอยแผลเดิม
  • แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์ (Keloid) จากความผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อ ที่มีการผลิตคอลลาเจนเพื่อมาสมานแผลในปริมาณที่ มากเกินไป เนื้อที่นูนจะขยายตัวกว้างเกินขอบเขตของรอยแผลเดิมมากอย่างเห็นได้ชัด  และไม่สามารถยุบ หรือจางหายไปเองได้
แผลเป็น แผลคีลอยด์

2. แผลเป็นหลุม (Atrophic Scar/ Depressed Scar)

มักจะเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่เป็นสิว สิวเรื้องรัง หลุมสิว ที่เกิดจากฮอร์โมนทำงานผิดปกติ หรือเกี่ยวข้องกับทางพันธุกรรม รวมถึงโรคอีสุกอีใส หลังจากหายแล้วแต่ก็ยังทิ้งร่องรอย ทำให้เกิดแผลเป็นหลุมขึ้นนั่นเอง

3. แผลเป็น เกิดจากการหดรั้ง (Contracture Scar)

แผลเป็นชนิดนี้จะดึงรั้งบริเวณแผลให้ผิดรูป ซึ่งจะเกิดจากการหดรั้งในขณะที่แผลกำลังจะหายดี มักพบแผลเป็นชนิดนี้จากการเกิดอุบัติเหตุ เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือผิวหนังที่ถูกทำลายจากการโดนความร้อนสูง ในบางคนไข้บางราย แผลเป็นที่เกิดจากการหดรั้งนั้นอาจส่งผลต่อเส้นประสาท และกล้ามเนื้อด้วย

แผลเป็น คีลอยด์ เกิดจากอะไร

ติดต่อสอบถามได้ที่

กลับสู่สารบัญ

คีลอยด์ คืออะไร

คีลอยด์ (keloid) คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีการงอกของเนื้อเยื่อผิดปกติ ในบริเวณผิวหนังที่เป็นแผล ซึ่งจะมีลักษณะนูนขึ้นมาจากผิวหนังปกติ และมีขนาดใหญ่กว่ารอยแผล เช่นแผลจริงยาวเพียง 1 เซน แต่คีลอยด์กลับใหญ่โตเกือบ 20 เซนเป็นต้น

โดยคีลอยด์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลังการเกิดแผลเป็น หรือหลังจากแผลเป็นหายแล้วสักพัก ในบางกรณีอาจจะเกิดคีลอยด์หลังจากระยะเวลาผ่านไปเป็นเดือน หรือปี ก็มีเช่นกัน และถึงแม้ว่าคีลอยด์นั้นจะไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือสุขภาพก็ตาม แต่ในบางครั้งแผลเป็นนูนชนิดนี้ก็บดบังความสวยงามของร่างกาย จนบางคนต้องปกปิดบริเวณที่เกิดคีลอยด์เลยก็มี ทำให้ขาดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าอีกด้วย

คีลอยด์ รักษาอย่างไร

สาเหตุของการเกิด คีลอยด์

ปกติแล้วร่างกายคนเราจะมีกระบวนการรักษาแผลด้วยตัวเองตามธรรมชาติ หากผิวหนังได้รับบาดเจ็บหรือเกิดบาดแผลขึ้น โดยร่างกายจะทำการ สมานแผล หรือที่เรียกว่า ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) คือการที่เซลล์ในเนื้อเยื่อ ผลิตโปรตีนและคอลลาเจนขึ้นมา เพื่อซ่อมแซมแผลในส่วนที่ถูกทำลายไป จนค่อยๆ หายดี และกลับมาเป็นปกติ แต่คีลอยด์นั้นเกิดจากการที่ ไฟโบรบลาสต์ ทำงานผิดปกติ มีการผลิตคอลลาเจนออกมามากเกินไป ส่งผลให้เกิดแผลเป็นนูนขนาดใหญ่ขึ้นว่าแผลเป็นเดิม แทนทีแผลเป็นจะยุบ จางลง แล้วหายไป

จากรายงานวิชาการเกี่ยวกับการผ่าตัดโรคผิวหนัง พบว่าการเกิดแผลเป็นคีลอยด์นั้น จะมีการผลิตคอลลาเจนออกมามากกว่าการสมานแผลปกติถึง 20 เท่า และการงอกของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติของแผลเป็นคีลอยด์นั้น มีมากถึง 3 เท่า ถ้าเทียบกับแผลเป็นชนิดอื่นๆ

สาเหตุการเกิด คีลอยด์

ลักษณะและอาการของการเกิด คีลอยด์

  • เกิดขึ้นหลังจากการเกิด แผลเป็น (Scar)
  • แผลเป็นนูน ใหญ่ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด มันวาว มีลักษณะผิวเรียบ หรือขรุขระ
  • ในช่วงแรก มีสีชมพู แดง หรือม่วง หลังจากนั้นสีผิวจะซีดลง (hypopigmentation) หรือเปลี่ยนเป็นสีเข้ม (hyperpigmentation)
  • ไม่มีขนเกิดขึ้นบริเวณที่เป็นคีลอยด์
  • บางกรณีอาจเกิดความรู้สึกเจ็บ คัน หรือระคายเคือง ตรงบริเวณแผลเป็นคีลอยด์ เมื่อเกิดการเสียดสีกับเสื้อผ้า
กลับสู่สารบัญ

คีลอยด์ เกิดขึ้นจากอะไร

แผลเป็นคีลอยด์ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนบนร่างกาย โดยเฉลี่ยแล้วจะพบมากตรงอวัยวะส่วน หน้าอก หัวไหล่ และติ่งหู เป็นต้น อีกทั้งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • การฉีดวัคซีน
  • แผลเป็นจากโรคอีสุกอีใส
  • เกิดคีลอยด์หลังจากการผ่าตัด / แผลผ่าตัด
  • รอยไหม้ต่างๆ ที่เกิดจากโดนความร้อนสูง เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ที่หนีบผม ท่อไอเสีย ฯลฯ
  • การเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเจาะหู ก็ทำให้เกิดเป็นคีลอยด์ที่หู

นอกจากนี้การเกิดคีลอยด์ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น

  • พันธุกรรม ในทางการแพทย์ที่พบว่า กว่าครึ่งของคนที่เป็นคีลอยด์นั้น สมาชิกในครอบครัวเคยเป็นแผลคีลอยด์มาก่อน
  • เชื้อชาติ งานวิจัยพบว่า คีลอยด์มีโอกาสเกิดในคนผิวดำมากกว่าคนผิวขาวถึง 2 เท่า
  • ระยะเวลาการหายของแผล แผลที่หายช้ามากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดคีลอยด์มากขึ้น
  • เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือเป็นแผล ปล่อยให้หายเองโดยไม่ทำการรักษา ก็มีโอกาสเกิดแผลเป็นคีลอยด์สูง
ฉีดยา รักษา คีลอยด์

ติดต่อสอบถามได้ที่

กลับสู่สารบัญ

วิธีรักษารอยแผลเป็น ที่เกิดจากคีลอยด์

วิธีรักษารอยแผลเป็น ที่เกิดจากคีลอยด์นั้นมีอยู่หลายวิธี ซึ่งการรักษาคีลอยด์นั้นไม่สามารถการันตีได้ว่า หากรักษาแล้วคีลอยด์จะหายไปอย่างถาวร เพราะดังที่กล่าวข้างต้นว่า คีลอยด์นั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ และการใช้ยาประเภทต่างๆ ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะหากใช้ปริมาณมากไป หรือติดต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ ติดเชื้อ หรืออาการอื่นๆ ตามมา

วิธีรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากคีลอยด์ มีดังนี้

1. วิธีรักษารอยแผลเป็น คีลอยด์ ด้วยเจลหรือแผ่นซิลิโคน

ปิดลงบนรอยแผลเป็น เพื่อลดรอยแผลเป็นนูนจากการผ่าตัด

2. การรักษาแผลเป็น คีลอยด์ ด้วยความเย็น (Cryotherapy)

เป็นการใช้ไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิเย็นจัด จี้หรือพ่นเย็นลงบนผิวหนังบริเวณที่เกิดรอยแผลเป็น และปล่อยให้อุ่นขึ้น ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อตายและจำกัดคีลอยด์ออกไปได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังอื่นๆ ได้อีก เช่น กระ กระเนื้อ ไฝ เชื้อราในผิวหนัง หูดหงอนไก่ และมะเร็งที่ผิวหนัง เป็นต้น

3. การรักษาคีลอยด์ โดยการใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (steroids)

สเตียรอยด์ เป็นสารสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการต้านการอักเสบ สร้างภูมิคุ้มกัน ฯลฯ มีผลิตออกมาหลายรูปแบบ ทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ครีมลดรอยแผลเป็น ยาฉีด ยกตัวอย่างเช่น

  • ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาที่ใช้ภายนอก ใช้รักษาผิวหนังที่มีอาการอักเสบและคัน ตัวยาถูกนำมาทำเป็นทั้ง ครีมลดรอยแผลเป็น ครีมโลชั่น ขี้ผึ้ง
  • การฉีดไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone acetonide) หรือ อินเตอร์เฟียรอน (Interferon) บริเวณที่เป็นแผลคีลอยด์ ถึงวิธีจะใช้เวลารักษาไม่นาน และได้ผลดี แต่คนไข้ต้องเข้ารับการรักษาติดต่อกันหลายครั้งกว่าแผลเป็นคีลอยด์จะดีขึ้น
เลเซอร์ รักษา คีลอยด์

4. รักษาแผลเป็น หรือ คีลอยด์ ด้วยเลเซอร์

รักษาแผลเป็น ด้วยการเลเซอร์ ซึ่งเลเซอร์แผลเป็นนั้นมีอยู่หลายแบบ อย่างเช่น เลเซอร์กลุ่ม Pulsed Dyne Laser (PDS) หรือ Pico Laser เช่น V beam หรือ Pro Yellow นี้จะเหมาะกับคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัด เช่น ดูดไขมัน, ตัดหนังหน้าท้อง ซึ่งหลังจากตัดไหมแพทย์จะแนะนำให้ทำเลเซอร์แผลเป็น เพราะเลเซอร์กลุุ่มนี้เหมาะกับการใช้รักษาแผลเป็น และรอยแดงที่เกิดจากการผ่าตัด นอกจากนี้การทำเลเซอร์แผลเป็น จะช่วยการป้องกันการเปลี่ยนสีของรอยแผลเป็น ไม่ให้มีสีแดงคล้ำหรือน้ำตาล รวมถึงป้องกันการเกิดคีลอยด์ด้วย

5. การฉายรังสี รักษาคีลอยด์

การฉายรังสี รักษาคีลอยด์ ส่วนใหญ่จะทำหลังจากการผ่าตัด ซึ่งการฉายรังสีจะมีส่วนช่วยในการรักษาคีลอยด์ ลดการกลับมาเป็นคีลอยด์ซ้ำที่ได้ผลดีที่สุด แต่อาจจะมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น เกิดอาการคัน เกิดผื่นแดง หรือผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น และ การฉายรังสี รักษาคีลอยด์ ไม่สามารถฉายรังสีในขณะที่แผลเป็นคีลอยด์เกิดแล้ว คนไข้จะต้องทำการผ่าตัดเอาแผลเป็นออกก่อน จึงเข้ารับการฉายรังสีต่อไป ซึ่งจะได้ผลดีที่สุดจะต้องฉายรังสีรักษาคีลอยด์ ประมาณ 3 ครั้ง(ครั้งละ 2 นาที) เป็นเวลา 3 วัน

6. การผ่าตัด รักษาคีลอยด์

การผ่าตัดเพื่อรักษาคีลอยด์นั้นอาจจะไม่ได้ผล เพราะแผลเป็นที่เกิดหลังผ่าก็มีโอกาสกลับมาเป็นคีลอยด์ได้อีก จึงต้องอาศัยการรักษาคีลอยด์แบบอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การใช้เลเซอร์รักษาคีลอยด์ หรือ การฉายรังสีรักษาคีลอยด์ เป็นต้น

วิธีใส่ ถุงน่องเส้นเลือดขอด
กลับสู่สารบัญ

รักษาคีลอยด์ ด้วย Pressure garment therapy

ปัจจุบันการรักษาแผลเป็นที่เกิดจากคีลอยด์ จะมีการใช้ Pressure garment therapy เข้ามาร่วมด้วย ซึ่ง Pressure garment คือผ้ายืดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อบีบรัดบาดแผล ซึ่งแรงบีบรัดจะสม่ำเสมอ มีค่าอยู่ที่ประมาณ 24 – 30 mmHg หรือมากน้อยขึ้นอยู่กับการรักษา ผ้าจะช่วยในเรื่องของเลือดไหลเวียน ทําให้แผลเป็นนิ่ม และเรียบขึ้น

ซึ่งผ้ายืดจะใช้ได้กับแผลเป็นที่มีขนาดตั้งแต่เล็กไปจนใหญ่ และมีการออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับทุกส่วนบนร่างกาย ส่วนใหญ่จะใช้รักษาแผลเป็นในคนไข้หลังผ่าตัด หรือแผลเป็นที่เกิดจากการไหม้ ผิวถูกทำลายเป็นบริเวณกว้าง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการกลับมาเป็นคีลอยด์ซ้ำอีกด้วย

ระยะเวลาการสวมใส่ : คนไข้จะต้องทำการสวมใส่ผ้ายืดหลังจากแผลเป็นหาย ตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด คนไข้ต้องใส่ผ้ารัดเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 6 เดือน ถึง 1-2 ปี

นอกจากนี้ Pressure garment therapy ยังถูกนำมาใช้ในการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ ด้วย เช่น

ศัลยกรรม เช่น การดูดไขมัน , เสริมหน้าอก

ใช้ป้องกันและรักษา โรคเส้นเลือดขอด (varicose vein) หรือ ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (Deep Vein thrombosis)

วิธีป้องกันและรักษาแผลเป็น คีลอยด์

  • หากเกิดแผลเป็น ควรหลีกเลี่ยงการแคะ แกะ หรือเกา เพราะนอกจากจะทำให้เกิดรอยแผลเป็น ผิวไม่เนียนสวยแล้ว อาจจะมีโอกาสเกิดคีลอยด์ได้
  • การให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว ในช่วงเวลาที่แผลกำลังซ่อมแซมตัวเอง เช่นการใช้ยาทา หรือเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวด้วยวาสลีน (vaseline) ลดการเกิดผิวแห้ง แตก คัน
  • หลังจากแผลเป็นหายแล้ว อาจจะหาครีมลดรอยแผลเป็นมาใช้ เพื่อทำให้แผลเป็นนั้นจางลงได้ไวขึ้น
  • ในกรณีที่เป็นคีลอยด์แล้วทำการ ลบรอยแผลเป็น ไม่ว่าจะด้วยทางการแพทย์ใดๆ หลังจากการรักษาแผลเป็น อาจจะใช้แผ่นซิลิโคนแปะบนแผลเป็น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น และลดโอกาสการเกิดซ้ำของคีลอยด์
  • แสงแดดก็มีส่วนเช่นกัน หากคนไข้เข้ารับการผ่าตัด ซึ่งหลังจากรักษาหายแล้ว รอยแผลเป็นบนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ต้องเผชิญกับแสงแดดโดยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทาครีมกันแดด, หาผ้ามาปกปิดบริเวณรอยแผลเป็น หรือใช้ครีมทาแผลเป็น Imiquimod (อิมิควิโมด) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันและลดโอกาสที่จะเกิดคีลอยด์
กลับสู่สารบัญ

สรุป

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

ติดต่อสอบถามได้ที่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และรักษาที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนารักษาที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า