Rattinan Medical Center

คลินิกดูดไขมัน ผ่าตัดกระเพาะ เสริมความงาม

  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • ดูดไขมัน
      • ดูดไขมันหน้าท้อง
      • ดูดไขมันต้นขา
      • ดูดไขมันต้นแขน
      • ดูดไขมันน่อง
      • ดูดไขมันเหนียง
      • ดูดไขมันเอว
      • ดูดไขมัน Six Pack
      • ดูดไขมัน Sexy Line
      • ดูดไขมันหนอก
      • ดูดไขมันหน้า แก้ม
      • ฉีดไขมัน
    • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
    • เย็บกระเพาะ Overstitch
    • ตัดหนังหน้าท้อง
    • ศัลยกรรมร่างกาย
      • Gynecomastia รักษาหน้าอกผู้ชาย
      • เสริมสะโพก เสริมก้น
      • ปลูกผม FUE
      • เสริมหน้าอก
      • ตกแต่งเลเบีย
    • ศัลยกรรมใบหน้า
      • ร้อยไหม
      • ดึงหน้า (Facelift)
      • เสริมจมูก
      • เสริมคาง
      • ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม
      • ศัลยกรรมหูกาง
    • เลเซอร์เพื่อการรักษา
      • ลบรอยสัก
      • รักษากระ ฝ้า
      • E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว
      • 4D Lifting เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า
      • เลเซอร์ กำจัดขน
      • รักษานอนกรน
      • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
      • Ulthera
      • Thermage
      • Shockwave Therapy
    • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
    • รักษาเส้นเลือดขอด
    • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
    • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ
  • บทความ
    • ความรู้ดูดไขมัน
      • ก่อนดูดไขมัน
        • เรื่องควรรู้ก่อนดูดไขมัน
        • การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
        • Bodytite VS Vaser
        • ใครบ้างที่เหมาะกับการดูดไขมัน
        • ดูดไขมันที่ไหนดี ดูจาก 5 สิ่งนี้
        • ดูดไขมันทั้งตัว กับการลดน้ำหนัก
        • ดูดไขมันแบบจุดละ vs ราคาเหมา
      • การดูแลหลังดูดไขมัน
      • ราคาดูดไขมัน
      • ภาพรีวิวดูดไขมัน
    • บทความสุขภาพ
      • คุยเรื่องศัลยกรรม
      • บทความผ่าตัดถุงใต้ตา
      • คำนวณ BMI
  • รีวิว
  • ทีมแพทย์
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • Promotion
international@rattinan.comEmail Us
+66 2 2331424Call Us
Sitthi Vorakij Building, 12A fl, Silom Soi 3, Silom Rd, BangkokFind Us
  • ติดต่อสอบถาม
    Tel: 086-570-7040
Official Rattinan International Website
  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • ดูดไขมัน
      • ดูดไขมันหน้าท้อง
      • ดูดไขมันต้นขา
      • ดูดไขมันต้นแขน
      • ดูดไขมันน่อง
      • ดูดไขมันเหนียง
      • ดูดไขมันเอว
      • ดูดไขมัน Six Pack
      • ดูดไขมัน Sexy Line
      • ดูดไขมันหนอก
      • ดูดไขมันหน้า แก้ม
      • ฉีดไขมัน
    • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
    • เย็บกระเพาะ Overstitch
    • ตัดหนังหน้าท้อง
    • ศัลยกรรมร่างกาย
      • Gynecomastia รักษาหน้าอกผู้ชาย
      • เสริมสะโพก เสริมก้น
      • ปลูกผม FUE
      • เสริมหน้าอก
      • ตกแต่งเลเบีย
    • ศัลยกรรมใบหน้า
      • ร้อยไหม
      • ดึงหน้า (Facelift)
      • เสริมจมูก
      • เสริมคาง
      • ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม
      • ศัลยกรรมหูกาง
    • เลเซอร์เพื่อการรักษา
      • ลบรอยสัก
      • รักษากระ ฝ้า
      • E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว
      • 4D Lifting เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า
      • เลเซอร์ กำจัดขน
      • รักษานอนกรน
      • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
      • Ulthera
      • Thermage
      • Shockwave Therapy
    • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
    • รักษาเส้นเลือดขอด
    • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
    • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ
  • บทความ
    • ความรู้ดูดไขมัน
      • ก่อนดูดไขมัน
        • เรื่องควรรู้ก่อนดูดไขมัน
        • การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
        • Bodytite VS Vaser
        • ใครบ้างที่เหมาะกับการดูดไขมัน
        • ดูดไขมันที่ไหนดี ดูจาก 5 สิ่งนี้
        • ดูดไขมันทั้งตัว กับการลดน้ำหนัก
        • ดูดไขมันแบบจุดละ vs ราคาเหมา
      • การดูแลหลังดูดไขมัน
      • ราคาดูดไขมัน
      • ภาพรีวิวดูดไขมัน
    • บทความสุขภาพ
      • คุยเรื่องศัลยกรรม
      • บทความผ่าตัดถุงใต้ตา
      • คำนวณ BMI
  • รีวิว
  • ทีมแพทย์
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • Promotion
  • Home
Home » เจ็บหน้าอก แบบไหนที่อาจไม่ใช่อาการของ โรคหัวใจ

เจ็บหน้าอก แบบไหนที่อาจไม่ใช่อาการของ โรคหัวใจ

dr.suthiphong
โดย นพ.สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์

By Suthipong Treeratana, M.D.

Linkedin

เจ็บหน้าอก เมื่อเกิดอาการแบบนี้หลายคนจะตกใจกลัวว่าเป็น ‘โรคหัวใจ’ รึเปล่า? ยิ่งถ้ามีอาการบ่อยๆ ก็จะยิ่งวิตกกังวล ซึ่งจริงๆ แล้วอาการเจ็บหน้าอกนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาจจะมาจากโรคหัวใจหรือไม่ได้มาจากโรคหัวใจก็ได้

เจ็บหน้าอก (Chest Pain) คือ อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณไหล่ลงมาถึงช่วงล่างของซี่โครง อาการเจ็บมีได้หลายแบบ เช่น เจ็บจี้ดๆ เจ็บตื้อๆ หนักๆ เจ็บหน้าอกด้านซ้าย เจ็บหน้าอกด้านขวา ปวดตรงกลางอก เจ็บหน้าอกร้าวไปหลัง ปวดแสบร้อนกลางอก ไอแล้วเจ็บอก หรือหายใจแล้วเจ็บอก ผู้ป่วยบางคนก็อาจจะชอบเรียกว่าเจ็บหัวใจ ซึ่งสาเหตุของ อาการเจ็บหน้าอก มีหลายอย่าง โรคบางโรคที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกนั้นอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจ การวินิจฉัยสาเหตุระบุได้ยากหากไม่ได้รับการตรวจอย่างละเอียด ดังนั้นผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและรักษาต่อไป

สาเหตุของการเจ็บหน้าอกประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ สาเหตุจากกล้ามเนื้อและกระดูก สาเหตุจากระบบย่อยอาหาร สาเหตุที่เกี่ยวกับหัวใจ สาเหตุเกี่ยวกับปอด และสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งแต่ละสาเหตุก็จะมีรายละเอียด ดังนี้

Cr. distasiofirm.com

อาการ เจ็บหน้าอก สาเหตุจากกล้ามเนื้อและกระดูก

  1. กล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บหรือมีการอักเสบ

ผนังอกตรงซี่โครงมีกล้ามเนื้อหลายส่วนที่อยู่ล้อมรอบและช่วยให้ผนังอกสามารถเคลื่อนไหวระหว่างที่หายใจได้ หากกล้ามเนื้อหน้าอกเหล่านี้ถูกใช้งานอย่างหนักจนเส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาด เช่น ออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ยกของหนัก เคลื่อนไหวทันทีทันใด หรือไอติดต่อกันนาน ๆ อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ จะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ หรือเมื่อเอี้ยวตัวจะรู้สึกเจ็บแปล๊บๆ จี้ดๆ

  1. กระดูกอ่อนของซี่โครงอักเสบ (Costochondritis)

กระดูกอ่อนของผนังอก โดยเฉพาะส่วนที่เชื่อมกับกระดูกหน้าอกนั้น เมื่อเกิดการอักเสบ จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ ตึงรอบ ๆ ซี่โครง และจะรู้สึกเจ็บมากเมื่อกระดูกอ่อนช่วงอกถูกดันขึ้นเวลานอนหงาย เวลาหายใจลึก ๆ ไอ หรือจาม จะกดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ๆ ทรวงอก ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณแขน ขา รวมถึงอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้

  1. ซี่โครงได้รับบาดเจ็บ

หลังเกิดอุบัติเหตุ ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดซี่โครงหักหรือช้ำ ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้นได้เช่นกัน เวลาขยับตัวเอี้ยวตัว จะเจ็บแปล๊บๆ

ระบบย่อยอาหาร

เจ็บหน้าอก สาเหตุจากระบบย่อยอาหาร

  1. อาการแสบร้อนกลางอก (Heartburn)

อาการนี้ถือเป็นอาการหลักของโรคกรดไหลย้อนหรือเกิร์ด (GERD: Gastro-Esophageal Reflux Disease) เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมาที่หลอดอาหาร เนื่องจากมีความผิดปกติของหูรูดที่อยู่ส่วนปลายสุดของหลอดอาหารไม่แข็งแรง ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอบ่อยๆ เรอเปรี้ยว อีกทั้งผู้ป่วยยังรู้สึกเจ็บที่ท้องส่วนบนบริเวณลิ้นปี่และเจ็บบริเวณกลางหน้าอก ไม่สบาย ท้องอืด และเกิดอาการแสบร้อนเมื่อกลืนเครื่องดื่มร้อน อาการแสบร้อนนี้มักเป็นและหาย และจะแย่ลงทุกครั้งหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ บ่อยครั้งที่หลายคนมักเข้าใจอาการเจ็บหน้าอกเพราะภาวะแสบร้อนกลางทรวงอกว่าเป็นเพราะโรคหัวใจ เพราะหัวใจและหลอดอาหารนั้นอยู่ใกล้กันและมีเส้นประสาทร่วมกัน

  1. โรคไส้เลื่อนกะบังลม (Hiatal Hernia)

ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อท้องส่วนบนเลื่อนไปชนหน้าอกส่วนล่าง อาการจะคล้ายๆ กรดไหลย้อน  (Gerd) นำไปสู่อาการแสบร้อนกลางอกและเจ็บหน้าอกในที่สุด อาการจะยิ่งแย่ลงเมื่อนอนหงาย

  1. โรคกระเพาะ (Peptic Ulcers)

ผู้ป่วยโรคกระเพาะจะเกิดอาการแสบร้อนภายในท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือจุกแน่นกลางลิ้นปี่ก็ได้ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาแก้ปวดหรือยาลดอาการอักเสบ

  1. หลอดอาหารบีบตัวผิดปกติ (Esophageal Contraction Disorders)

การหดเกร็งของกล้ามเนื้อและอาการที่กลืนอาหารลำบากซึ่งเกิดขึ้นตรงหลอดอาหารนั้นทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้

  1. ภาวะหลอดอาหารทะลุ (Esophageal Perforation)

ผู้ป่วยที่เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงทันทีหลังจากที่อาเจียนนั้น อาจจะเป็นสัญญาณที่แสดงให้รู้ว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดอาหารทะลุ

ผ่าตัดกรดไหลย้อน รักษาที่ต้นเหตุไม่ต้องทานยาอีกต่อไป

อ่านบทความยอดนิยม
ผ่าตัดกรดไหลย้อน รักษาที่ต้นเหตุไม่ต้องทานยาอีกต่อไป โดย นพ.ปณต ยิ้มเจริญ

เจ็บหน้าอก สาเหตุเกี่ยวกับปอด

  1. เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleurisy)

เกิดจากการอักเสบติดเชื้อหรือสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึก เจ็บแปล๊บเหมือนถูกของมีคมแทงที่หน้าอก โดยที่สามารถเจ็บตรงส่วนไหนของอกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าเยื่อหุ้มปอดเกิดการอักเสบที่ตรงบริเวณใด และจะยิ่งเจ็บมากเมื่อหายใจเข้า ไอ หรือจาม

  1. โรคลิ่มเลือดอุดกั้นปอด (Pulmonary Embolism)

เมื่อลิ่มเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดเข้าไปอุดที่ปอด ปิดทางไม่ให้เลือดลำเลียงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของปอดได้ จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก โดยผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแปลบตรงกลางอกหลังกระดูกสันอก รู้สึกเหนื่อย หายใจได้ไม่สุด ไอเป็นเลือด หัวใจเต้นเร็ว

  1. ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax)

เกิดจากการที่มีอากาศเข้าไปอยู่ระหว่างปอดและผนังอก อาจจะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บถูกกระแทกบริเวณหน้าอก หรือเกิดจากการที่มีโพรงอากาศอยู่ในเยื่อหุ้มปอดอยู่ก่อนแล้ว และอากาศก็เพิ่มขึ้นมา โดยด้านนอกบางส่วนของปอดอาจเกิดรอยฉีกเล็กน้อย ทำให้อากาศเข้ามา โดยผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแปล๊บที่ด้านใดด้านหนึ่งของหน้าอก และจะยิ่งเจ็บมากขึ้นเมื่อหายใจเข้า ทำให้หายใจไม่ออก หายใจไม่สะดวก

เจ็บหน้าอก จากสาเหตุอื่นๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางร่างกายโดยตรง

  1. ความกลัวหรือกังวล

ความกลัวหรือกังวลถือเป็นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกที่พบได้ไม่บ่อยนัก โดยความรู้สึกกลัวหรือกังวลนั้นส่งผลให้เกิดอาการทางร่างกายอย่างเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก หายใจไม่สุด คลื่นไส้ เวียนหัว และรู้สึกกลัวตาย

  1. โรคงูสวัด (Shingles)

โรคงูสวัดจะทำให้เกิดตุ่มน้ำใส ๆ ที่ขึ้นบริเวณหลังไปจนถึงหน้าอกจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดแสบร้อนบริเวณนั้นได้ และถึงแม้ว่าอาการดีขึ้นจนแผลหายแล้ว ความเจ็บปวดบริเวณนั้นก็ยังจะสามารถคงอยู่ได้

 

โรคหัวใจ อาหารเจ็บหน้าอก

Cr. https://medicalxpress.com/

อาการเจ็บหน้าอก ที่มีสาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ

  1. ภาวะเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด (Angina)

ภาวะนี้เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease: CAD) ผู้ป่วยจะเกิดอาการเจ็บเหมือนถูกกดหรือบีบที่หน้าอก รู้สึกแน่นเหมือนมีอะไรมาทับ เป็นบริเวณกลางหน้าอก ด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน แต่มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว ซึ่งอาการนี้อาจกระจายไปที่แขน ไหล่ ขากรรไกร หรือหลังได้ ผู้ป่วยมักเกิดอาการดังกล่าวเมื่อออกแรงทำกิจกรรมอย่างออกกำลังกาย ตื่นเต้น หรือรู้สึกเครียด ซึ่งอาการจะทุเลาลงเมื่อหยุดออกกำลัง แต่บางรายถ้าอาการรุนแรงก็อาจเกิดขึ้นขณะพักได้

  1. ภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aortic Dissection)

เป็นภาวะที่ผนังชั้นในของหลอดเลือดแดงใหญ่มีรอยปริเป็นรูรั่ว ทำให้เลือดไหลออกไปเซาะให้ผนังชั้นใน แยกออกจากผนังชั้นกลางเป็นแนวยาว โรคนี้จัดว่ามีอันตรายร้ายแรงพบมากในกลุ่มอายุ 40-70 ปี ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะเกิดอาการเจ็บหน้าอกเหมือนถูกฉีกตั้งแต่คอ หลัง ไปจนถึงท้อง เจ็บแบบทันที เจ็บรุนแรงมาก อาการเจ็บนี้ไม่เคยเป็นมาก่อน อาจรุนแรงจนเป็นลมไป

บทความน่าสนใจ !  Fotona เลเซอร์ยกกระชับหน้ามาตรฐานสากล บุกตลาดความงามไทย เจาะกลุ่มคลีนิกไฮเอนด์

โดยสรุป อาการเจ็บหน้าอกนั้น อาจจะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากปัญหาโรคหัวใจหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บหน้าอกที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจนั้นมักเกิดลักษณะของอาการดังนี้

  1. แสบร้อนกลางหน้าอก เรอเปรี้ยว รับรสเปรี้ยวหรือรู้สึกว่ามีน้ำจากสิ่งที่กลืนลงไปไหลขึ้นมาที่คอ
  2. อาการเจ็บหน้าอกอาจดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ
  3. อาการเจ็บหน้าอกกำเริบมากขึ้นเมื่อหายใจลึก ๆ หรือไอ
  4. มีจุดกดเจ็บชัดเจนบริเวณหน้าอก

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกไม่ว่าลักษณะใด ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย หรือตรวจเพิ่มเติมเพื่อได้การวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

bodytite-rattinan

บทความน่าสนใจ
เช็คให้ดีก่อนตัดสินใจ .. ดูดไขมัน ต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง?

Filed Under: บทความสุขภาพทั่วไป Tagged With: กรดไหลย้อน, ผ่าตัดกรดไหลย้อน

Rattinan Clinic
Rattinan Medical Center
(รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์)
5 Sitthi Vorakit, Building 12A,
Soi Phiphat, Silom, Bang Rak 10500
Bangkok

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์ - วันเสาร์
เวลา 10.00 น. - 20.00 น.
วันอาทิตย์ หยุดทำการ
สอบถามข้อมูลบริการ :
086-570-7040 , 086-323-4040
ติดต่อเรื่องทั่วไป : 02-233-1424-5

Our Working Hours

We open Monday - Saturday from 10.00 AM.-08.00PM.
Close on Sunday and some public holidays.

Telephone : +66 22331424, +66 22331425
E-Mail: international@rattinan.com
WhatsApp : +66 917767741
Skype : +66 863234040

บริการของเรา

  • ดูดไขมัน
  • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
  • Ulthera
  • Thermage FLX
  • รักษาเต้านมโตผู้ชาย Gynecomastia
  • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
  • ตัดหนังหน้าท้อง
  • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
  • รักษาเส้นเลือดขอด
  • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
  • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ

บริการดูดไขมัน

  • ดูดไขมันหน้าท้อง
  • ดูดไขมันต้นขา
  • ดูดไขมันต้นแขน
  • ดูดไขมันน่อง
  • ดูดไขมันเหนียง
  • ดูดไขมันเอว
  • ดูดไขมัน Six Pack
  • ดูดไขมัน Sexy Line
  • ดูดไขมันหนอก
  • ดูดไขมันหน้า แก้ม

ติดตามเราได้ที่

Like Us

พูดคุยกับเราได้ที่

ติดตามพวกเราผ่านไลน์

© 2021 Rattinan Clinic | TOS/Privacy Policy | Sitemap