ผ่าตัดกรดไหลย้อน รักษาที่ต้นเหตุไม่ต้องทานยาอีกต่อไป โดย นพ.ปณต ยิ้มเจริญ

ผ่าตัดกรดไหลย้อน gerd

ผ่าตัดกรดไหลย้อน คือการผ่าตัดสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น โรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง (GERD) ที่อาจจะ รักษาด้วย การทานยา แต่ไม่ได้ผล! หรือมีความผิดปกติของโครงสร้างอวัยวะภายในร่างกาย เช่น หูรูดกระเพาะอาหารหลวม ทำงานผิดปกติ หรืออาจจะมี ภาวะไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatus Hernia) ร่วมด้วย ซึ่งภาวะนี้กระเพาะอาหารบางส่วนจะเลื่อนขึ้นไปอยู่ในช่องอก ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน

การรักษาด้วย ยาลดกรด ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ถึงแม้จะให้ยาโดสสูงและได้ยาต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ก็ยังไม่สามารถแก้อาการของโรคได้ เนื่องจากหลอดอาหารเป็นแผล และหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดความเสี่ยงเป็น มะเร็งหลอดอาหาร อีกด้วย ดังนั้นการผ่าตัดกรดไหลย้อน (ผ่าตัดหูรูดกระเพาะ) จึงเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง เพื่อลดโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำได้ดีที่สุด

สาเหตุการเกิดกรดไหลย้อน

  • ความผิดปกติของหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะ หูรูดนี้ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร กลับมาที่หลอดอาหาร ซึ่งไม่สามารถทนความเป็นกรดได้ จึงมีอาการแสบร้อน อาจจะเกิดจากหูรูดหลวมหรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว หนึ่งในสาเหตุคือโรคอ้วน
  • ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร เช่น โรค achalasia ทำให้อาหารที่รับประทานไหลลงช้า ค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารเอง ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ไม่ย่อย ทำให้เพิ่มโอกาสของการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง
อาการกรดไหลย้อน

อาการของโรคกรดไหลย้อน ที่ไม่ควรมองข้าม !

อาการกรดไหลย้อน (GERD)

  • อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่หรือยอดอก (Heart Burn)
  • ภาวะเรอเปรี้ยว ซึ่งเป็นกรดหรือน้ำย่อยที่มีรสเปรี้ยวปนขมย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก โดยจะเป็นมากขึ้นหลังจากการกินอาหารโดยเฉพาะเมื่อกินปริมาณมากๆ หรือเมื่อมีการก้มโน้มตัวไปข้างหน้า เมื่อออกแรงยกของหนัก หรือเวลานอนหงาย
  • บางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการอื่นที่ไม่เกี่ยวกันเช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบหรือหอบหืด เจ็บหน้าอกคล้ายอาการของโรคหัวใจ
  • สำหรับเด็กก็เป็นโรคนี้ได้ ซึ่งจะมีอาการดังนี้ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม มีภาวะโลหิตจาง น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น เจริญเติบโตช้า ไอเรื้อรัง หอบหืด อาจมีปอดอักเสบเรื้อรัง

ข้อเสียของการปล่อยให้เป็นโรคกรดไหลย้อนเวลานาน

เนื่องจากเนื้อหลอดอาหารจะไม่ทนกับกรดเหมือนเนื้อกระเพาะ ดังนั้นหากเป็นภาวะนี้นานๆ จะทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมากจนเป็นแผลรุนแรง แผลเรื้อรัง อาจทำให้ปลายหลอดอาหารตีบ (peptic stricture) หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร จนถึงขั้นเป็น มะเร็งหลอดอาหาร ได้

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook

การผ่าตัดแก้กรดไหลย้อน GERD คืออะไร ?

ในภาวะปกติ เราจะมีหูรูดอยู่ชิ้นหนึ่ง กั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารเอาไว้ อาการกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งควรถูกักไว้ที่กระเพาะเท่านั้น สามารถไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ผ่านหูรูดนี้ ซึ่งหูรูดอาจจะมีความเสื่อมหรือหลวม ทำให้ทั้งกรดและอาหารสามารถผ่านกลับไปที่หลอดอาหารได้ ขณะที่หลอดอาหาร กลับไม่สามารถทนกรดที่สร้างจากกระเพาะได้ จึงเกิดเป็นแผลขึ้นมา จนมีอาการแสบ จุก ร้อนแน่นในอก หรือเรอบ่อยๆ ได้

วิธีการแก้กรดไหลย้อนขั้นรุนแรง คือผ่าตัดสร้างหูรูดเพิ่มเติมคร่อมหูรูดเดิม ด้วยการเอาเนื้อกระเพาะตอนต้น (กระเพาะส่วน fundus) ม้วนกลับไปพันคร่อมหูรูดนั้น เพิ่มความแข็งแรงเวลากระเพาะอาหารบีบตัว และก็จะอาศัยแรงของกระเพาะกระชับหูรูด ที่มีความผิดปกตินั้นไปด้วย จนกรดไม่สามารถไหลผ่านกลับขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ ทำให้ลดอาการของโรคและลดการใช้ยาได้ในที่สุด เราเรียกการผ่าตัดนี้ว่าการ ผ่าตัดกรดไหลย้อน หรือ GERD surgery

ผ่าตัดกรดไหลย้อน gerd surgery

ผ่าตัดแก้กรดไหลย้อน แบบนี้อันตรายไหม ?

การผ่าตัดกรดไหลย้อน ในปัจจุบันใช้วิธีผ่าตัดแบบส่องกล้อง คือการเจาะรูเล็กๆ บริเวณหน้าท้อง โดยเครื่องมือจะถูกสอดเข้าไปในช่องท้องผ่านรูเล็กๆ เหล่านั้น แล้วใช้ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ในการหยิบจับเนื้อกระเพาะมาพันและเย็บหูรูดใหม่ ในบางกรณีก็จะมีการเย็บซ่อมไส้เลื่อนกระบังลม ที่เป็นสาเหตุของกรดไหลย้อนร่วมด้วย และหลังการผ่าตัดแก้กรดไหลย้อน ใช้เวลาในการพักฟื้นสั้น ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืนก็เพียงพอ ก็สามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

ผลข้างเคียงของการ ผ่าตัดกรดไหลย้อน หรือ GERD surgery

  • มีความเสี่ยงต่ำ เพราะเป็นการผ่าตัดระยะสั้นไม่เกินสองชั่วโมง แต่อาจจะมีอาการข้างเคียงจากการดมยาสลบและการผ่าตัดเพียงเล็กน้อย
  • หลังผ่าตัดใหม่ๆ หูรูดอาจจะมีความแน่นมากจนกลืนอาหารลำบากในช่วงแรก แก้ไขด้วยการทานอาหารเหลวในช่วงแรกๆ ก่อน
  • อาการ เรอ อาจจะลดลงมากจนรำคาญ เนื่องจากความแน่นของหูรูดที่ไม่ค่อยชิน

ผ่าตัดรักษาโรคกรดไหลย้อน
โดยศัลยแพทย์ด้านการส่องกล้อง ศัลยศาสตร์ทางเดินอาหารและผ่าตัดลดน้ำหนัก 

ใครที่เหมาะกับการผ่าตัดกรดไหลย้อน

คนที่เหมาะกับการ ผ่าตัดกรดไหลย้อน หรือ GERD คือคนที่ มีอาการของกรดไหลย้อนขั้นรุนแรง เรื้อรัง และไม่อยากทานยาลดกรดไหลย้อนไปตลอดชีวิต หรือได้ตรวจพิสูจน์แล้วว่าเป็นโรคนี้จริง เพราะอาการโรคกรดไหลย้อน (GERD) อาจจะเหมือนอาการโรคอื่นๆ

  1. คนที่เป็นกรดไหลย้อนและทานยาไม่ได้ผล
  2. คนที่เป็นกรดไหลย้อน ทานยารักษากรดไหลย้อนก็ดีขึ้นแต่อยากผ่าเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่านี้ หรือ ไม่อยากทานยาอีกต่อไป
  3. คนที่มีผลแทรกซ้อนจากการเป็น โรคกรดไหลย้อน GERD เป็นเวลานานๆ เช่น แผลเรื้อรัง การตีบของกระเพาะ (Peptic stricture) และแผลในหลอดอาหารเช่นโรค Barrette’s esophagitis
  4. เริ่มมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการในช่องท้อง เช่น อาการไอเรื้อรังจาก GERD หรือ กรดไหลย้อน อาการเสียงแหบ อาหารเจ็บหน้าอกปวดร้าวไปแขน
กรดไหลย้อน หูรูดกระเพาะอาหาร

ก่อนการผ่าตัดกรดไหลย้อน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

คนที่ตัดสินใจผ่าตัดควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหารเพื่อตรวจ โดยจะทำการตรวจเพิ่มเติมดังนี้

  1. การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Upper gastroscope) ดูความผิดปกติอื่นๆ โดยเฉพาะไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatus Hernia) และแผลหลอดอาหาร (Barrette’s esophagitis)
  2. การวัดระดับความเป็นกรดด่าง (24 hour pH monitoring) ที่หลอดอาหาร เพื่อดูว่า น้ำกรดไหลย้อนมาจริงๆ
  3. การวัดการเคลื่อนตัวของหลอดอาหาร โดยใส่สายเข้าไปเพื่อตรวจดูในหลอดอาหาร ปัจจุบันได้มีเทคนิคการตรวจวัดการทำงานคือ วิธีการ High resolution manometry ที่สามารถตรวจดูการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวในระบบทางเดินอาหารที่ละเอียด ทำให้ได้ผลการวินิจฉัยชัดเจน ทำให้วางแผนผ่าตัดมีความละเอียดเฉพาะบุคคลมากขึ้น
เครื่องตรวจเช็ค กรดไหลย้อน

เครื่องมือ High resolution manometry หลังจากการตรวจเพิ่มเติมเหล่านี้ ก็จะทราบว่าควรวางแผนการรักษาอย่างไร หากผลการตรวจออกมาปกติ ก็อาจจะไม่ใช่โรคกรดไหลย้อนซึ่งอาจจะต้องกลับไปรักษาด้วยยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเต็มที่อีกครั้ง เช่นการ ลดน้ำหนัก

การผ่าตัดกรดไหลย้อนกับการทานยา อันไหนดีกว่ากัน ?

จากการศึกษาและติดตามคนไข้ที่
ผ่าตัดกรดไหลย้อน ในหลายงานวิจัย พบว่า

” การผ่าตัดได้ผลดีกว่าการทานยา
เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ “

เอกสารอ้างอิง

  1. Mehta S, Bennett J, Mahon D, Rhodes M (2006) Prospective trial of laparoscopic nissen fundoplication versus proton pump inhibitor therapy for gastroesophageal reflux disease: Seven-year follow-up. J Gastrointest Surg 10:1312-1316; discussion 1316-1317
  2. Lundell L, Miettinen P, Myrvold H E, Pedersen S A, Thor K, Lamm M, Blomqvist A, Hatlebakk J G, Janatuinen E, Levander K, Nystrom P, Wiklund I (2000) Long-term management of gastro-oesophageal reflux disease with omeprazole or open antireflux surgery: results of a prospective, randomized clinical trial. The Nordic GORD Study Group. Eur J Gastroenterol Hepatol 12:879-887
  3. Lundell L, Attwood S, Ell C, Fiocca R, Galmiche J P, Hatlebakk J, Lind T, Junghard O (2008) Comparing laparoscopic antireflux surgery with esomeprazole in the management of patients with chronic gastro-oesophageal reflux disease: a 3-year interim analysis of the LOTUS trial. Gut 57:1207-1213
  4. Lundell L, Miettinen P, Myrvold H E, Hatlebakk J G, Wallin L, Malm A, Sutherland I, Walan A (2007) Seven-year follow-up of a randomized clinical trial comparing proton-pump inhibition with surgical therapy for reflux oesophagitis. Br J Surg 94:198-203
ผ่าตัดกรดไหลย้อน รักษาได้ 2 โรค

การผ่าตัดกรดไหลย้อน ในคนอ้วน หรือ น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

ในกรณีที่ผู่ป่วยมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มากๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของกรดไหลย้อน อาจจะเลือกวิธี การผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาส (Bypass) ไปเลยจะดีกว่า เพราะจะเป็นการช่วยลดแรงดันของกระเพาะลง และส่งอาหารตรงไปที่ลำไส้ ‘ผ่าตัดครั้งเดียว แก้สองโรค’ คือ กรดไหลย้อน และลดน้ำหนักไปได้พร้อมๆ กัน อีกทั้งการผ่าตัดแบบบายพาส จะช่วยลดปริมาณของน้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะที่เหลือออกได้ไปจำนวนมาก อีกทั้งหลายงานวิจัยพบว่าการผ่าตัดกรดไหลย้อนอย่างเดียว ในคนไข้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน 35 (หรือน้ำหนักเกิน 90 กก มักจะไม่ได้ผล)

เอกสารอ้างอิง การผ่าตัดกรดไหลย้อนในคนอ้วน : Kendrick M L, Houghton S G (2006) Gastroesophageal reflux disease in obese patients: the role of obesity in management. Dis Esophagus 19:57-63)

ผ่าตัดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน แบบบายพาส

ปรับพฤติกรรมเพื่อรักษากรดไหลย้อนอย่างไร ?

  • อย่าให้เครียด และงดการสูบบุหรี่ (เพราะนิโคตินเพิ่มน้ำกรด)
  • พยายามลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน (หากสนใจการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก กดที่นี่)
  • ถ้ามีอาการท้องผูก ควรรักษาและหลีกเลี่ยงการเบ่ง
  • หลังรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย, การยกของหนัก, การเอี้ยวหรือก้มตัวในทันที ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 ชม.
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด, อาหารมัน, อาหารย่อยยาก,
  • ลดพืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ และอาหารฟาสต์ฟู้ด
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ นมหรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มแน่นท้องมาก

ปรับนิสัยการนอน

  • ไม่ควรนอนหลังการรับประทานอาหารทันที หรืออย่างน้อยควรเว้นระยะห่าง 3 ชม.
  • เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ

ราคาค่าผ่าตัดกรดไหลย้อน

อัตราค่าผ่าตัดแบบแพกเกจ ราคา 250,000 บาท (*ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า) อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การผ่าตัดกรดไหลย้อน (ผ่าตัดหูรูดกระเพาะอาหาร) นั้น สามารถช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนเรื้องรัง หรือขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากเกิดแผลในหลอดอาหาร

ดังนั้นทางแก้ไขคือควรรักษาให้ทันท่วงที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดความเสี่ยงเป็นโรคร้ายอย่าง มะเร็งหลอดอาหาร ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดนี้ เป็นวิธีมาตรฐานที่มีความปลอดภัยสูง , แผลเล็ก เพราะผ่าตัดแบบส่องกล้อง รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อยมาก

คำถามที่พบบ่อย ผ่าตัดกรดไหลย้อน

ผ่าตัดกรดไหลย้อนเหมาะกับใคร?
  • เหมาะกับคนที่เป็น กรดไหลย้อนเรื้อรัง (GERD)แล้วรักษาด้วยการทานยาลดกรด ไม่ได้ผล
  • ไม่อยากทานยาลดกรดตลอดชีวิต
  • คนที่มีความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น หูรูดกระเพาะอาหารเสือม หลวม หรือทำงานผิดปกติ
เป็นกรดไหลย้อนแล้วไม่รักษา อันตรายไหม?

ในคนที่เป็นกรดไหลย้อน เกิดการอักเสบบริเวณหลอดอาหาร หลอดอาหารเป็นแผล หรือเป็นแผลเรื้อรัง และหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดความเสี่ยงเป็น มะเร็งหลอดอาหาร ได้

อาการข้างเคียงกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน จะมีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก หรือลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว หรือในบางคนมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน ไอเรื้องรัง หรือสำลักน้ำลาย เป็นต้น

กรดไหลย้อน ห้ามกินอะไร
  • คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ควรงดหรือลดการทานพืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ และอาหารฟาสต์ฟู้ด
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ นม
  • อาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด
  • กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
นพ. ปณต ยิ้มเจริญ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ทีมแพทย์ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์

ศัลยแพทย์ผู้ดำเนินการรักษา

น.อ นพ.ปณต ยิ้มเจริญ  (Dr. Panot Yimcharoen)

รายละเอียดการรักษา

Alert : อาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังทำศัลยกรรมโดยทั่วไปเช่น มีเลือดออก,ติดเชื้อ หรืออาการอักเสบนั้น แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายในแต่ละบุคคล จึงควรปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างเคร่งครัด

บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์

สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า