วิธีตรวจหาเชื้อ COVID-19 แบบ RT-PCR คืออะไร? ต่างกับ Rapid Antigen Test อย่างไร?

วิธีตรวจหาเชื้อ COVID-19 RT-PCR กับ RAPID ANTIGEN TEST ต่างกันอย่างไร

การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกต่างเจ็บป่วย และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อีกทั้งสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสยังได้พัฒนาตัวเอง ทวีความรุนแรงของเชื้อมากกว่าเดิม ทำให้ผู้คนติดเชื้อง่ายขึ้น และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

หลายแห่งได้ให้ข้อมูลเพื่อให้ทุกคนสังเกตอาการเบื้องต้น หากติดเชื้อจะมีอาการอย่างไร? เช่น ปวดหัว มีไข้ ตัวร้อน ไอแห้ง เจ็บคอ ฯลฯ หรือ หากติดเชื้อโควิด-19 แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไร? ซึ่งทางการแพทย์จะมีวิธีตรวจหาเชื้อ หลักๆ อยู่ 2 แบบ คือ Real Time – PCR กับ Rapid Antigen Test แล้ว วิธีตรวจแบบไหนแม่นยำกว่า? ผลลัพธ์เชื่อถือได้มากกว่า? หรือแตกต่างกันอย่างไร? ไปหาคำตอบกัน

วิธีตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR คืออะไร ?

Real-time PCR (Real Time polymerase chain reaction) หรือเรียกสั้นๆ ว่า RT-PCR คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสโดยดูจากสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสเป็นวิธีมาตรฐานสากล (Gold Standard) ใช้ตรวจตรวจหาเชื้อ COVID-19 โดยตรง เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น และใช้ติดตามผลการรักษาได้

วิธีตรวจคือ การใช้คอตตอนบัดสำหรับทำการ swab สอดเข้าทางโพรงจมูก ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อเก็บสารคัดหลั่งมาตรวจหาเชื้อไวรัส (Nasopharyngeal swab PCR)

RT-PCR เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีความไว ความจำเพาะสูง อีกทั้งผลตรวจมีความแม่นยำสูงกว่าวิธีอื่นๆ RT-PCR จึงเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ข้อดีของการตรวจแบบ Real-time PCR หรือ RT-PCR

  • เป็นการตรวจหาเชื้อ COVID-19 โดยตรง
  • ตรวจหาเชื้อได้แม่นยำ ผลลัพธ์เชื่อถือได้
  • สามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆ ได้ รวมไปถึงตรวจจับได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย
  • ทราบผลภายใน 24-48 ชั่วโมง
  • ตรวจห้อง Lab ที่ได้มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ออกใบรับรองแพทย์ (Health Certificate) และผลตรวจให้
  • สามารถใช้ผลตรวจ ในการเดินทางข้ามจังหวัด เดินทางต่างประเทศ หรือกลับเข้าทำงานได้

วิธีอ่านค่า หรือ ผลตรวจ RT-PCR

  • ไม่พบเชื้อ : Negative , Not detected , ผลเป็นลบ
  • พบเชื้อ : Positive , Detected, ผลเป็นบวก
ตรวจโควิด-19 วิธี RT-PCR
กลับสู่สารบัญ

วิธีตรวจหาเชื้อ COVID-19 วิธี Rapid Antigen Test คืออะไร ?

Rapid Antigen Test คือ การตรวจหาเชื้อ COVID-19 (โควิด-19) เบื้องต้นแบบเร่งด่วน โดยใช้ชุดตรวจแบบเร็ว (Test Kit) ตรวจหาเชื้อจากองค์ประกอบของไวรัส ซึ่งวิธีนี้ใช้ตรวจหาเชื้อและคัดกรองได้ในระดับหนึ่ง

ขั้นตอนการตรวจโควิด-19 วิธี Rapid Antigen Test ด้วยตัวเอง คือการวสอป (Swab) ทางจมูกหรือลำคอ เพื่อนำสารคัดหลั่งภายในร่างกายออกมา นำไปจุ่มในหลอด ใส่น้ำยาสกัด และทำการหมุนอย่างน้อย 5 รอบ จากนั้นหยดน้ำยาใส่เครื่องตรวจบริเวณที่กำหนด ปิดแผงตรวจ และรอผลประมาณ 15-30 นาที

ข้อดี-ข้อเสีย ของการตรวจ Rapid Antigen Test

ข้อดีของการตรวจแบบ Rapid Antigen Test

  • สามารถตรวจด้วยตัวเองได้
  • ใช้งานง่าย สะดวก
  • ผลลัพธ์เร็ว ภายใน 15-30 นาที

ข้อเสียของการตรวจแบบ Rapid Antigen Test

  • ผลลัพธ์ไม่แน่นอน และแม่นยำเท่า RT-PCR
  • ไม่ว่าผลจะเป็นบวก (พบเชื้อ) หรือลบ (ไม่พบเชื้อ) จะต้องทำการตรวจหาเชื้อ COVID-19 อีกครั้ง เพื่อยืนยันผล
  • ชุดตรวจ Rapid Antigrn Test เป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่สามารถตรวจซ้ำได้
วิธีตรวจหาเชื้อ COVID-19 วิธี RAPID ANTIGEN TEST คืออะไร

การอ่านค่าตรวจ Rapid Antigrn Test : เครื่องตรวจจะมี ตัวอักษร C และ T

  • ขีดสีแดงขึ้นทั้ง C และ T หมายถึง พบเชื้อ หรืออาจจะตรวจพบซากเชื้อ , ผลเป็นบวก (Positive) และจะต้องตรวจซ้ำด้วย RT-PCR อีกครั้ง
  • ขีดสีแดงขึ้นเฉพาะแถบ C หมายถึง ไม่พบเชื้อ (Negative)
  • หากขีดสีแดงไม่ปรากฏ หรือ ขึ้นแถบ C หมายถึง ใช้งานไม่ได้ หรือ ทำการตรวจใหม่
กลับสู่สารบัญ

Rapid Antibody Test คืออะไร ?

ชุดตรวจ Rapid Test นั้นมี 2 แบบ คือ

  • Rapid Antigen Test (แอนติเจน)
  • Rapid Antibody Test (แอนติบอดี้)

หลายคนอาจจะสับสนในการเลือกนำมาใช้ ซึ่งการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบเร่งด่วนนั้นจะต้องใช้ Rapid Antigen Test (แอนติเจน) แล้ว Rapid Antibody Test (แอนติบอดี้) หล่ะ คืออะไร? ใช้ตรวจอะไร?

ตรวจภูมิคุ้มกัน โควิด-19 วิธี Rapid Antibody test

Rapid Antibody Test คือ การเจาะเลือดบริเวณปลายนิ้ว เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อ ซึ่งวิธีนี้เป็นการตรวจเช็คภูมิต้านทานในร่างกายกาย (ค่า Igg / Igm)

  • ส่วนใหญ่จะใช้ตรวจภูมิในร่างกายก่อน-หลังจากการฉีดวัคซีน COVID-19 ชนิดต่างๆ
  • ไม่ได้เป็นการตรวจหาเชื้อ COVID-19 โดยตรง
  • ไม่นิยมนำมาใช้ตรวจหาเชื้อ COVID-19 เนื่องจากปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนจำนวนมากภูมิคุ้มกันอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือวัคซีนก็ได้ จึงไม่สามารถแยกได้
กลับสู่สารบัญ

RT-PCR กับ Rapid Antigen Test ต่างกันอย่างไร?

ข้อดีของ Rapid Test คือ ใช้งานง่าย สะดวก รู้ผลใน 15-30 นาที แต่ก็ยังมีข้อเสียคือ เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค/ไวรัส ได้ง่าย , ผลตรวจไม่มีความแม่นยำมากเพียงพอ ค่าผลตรวจอาจคลายเคลื่อนได้ รวมถึงจะตรวจ Rapid Test หาเชื้อได้ก็ต่อเมื่อ มีอาการป่วย 5 – 7 วัน หรือได้รับเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน เป็นต้น

ซึ่ง แตกต่างจากการตรวจแบบ RT-PCR ที่เป็นการตรวจหาเชื้อ covid-19 โดยตรง ใช้เวลาเพียง 24-48 ชม. ก็ทราบผลที่แน่นอนและแม่นยำกว่า เป็นผลตรวจแล็บของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Department of Medical Sciences) ออกใบรับรองแพทย์ (Health Certificate) และผลตรวจให้ และสามารถนำไปใช้ยืนยันการเดินทางข้ามจังหวัด เดินทางต่างประเทศ หรือใช้เป็นเอกสารกลับเข้าทำงาน-สมัครงานได้

ตารางเปรียบเทียบ วิธีตรวจโควิด ด้วยวิธี RT-PCR กับ Rapid Antigen Test

🔬 Real Time – PCR

🧪 Rapid Antigen Test

🩸 Rapid Antibody Test

แต่ละวิธี
ต่างกันอย่างไร?

ตรวจหาเชื้อ COVID-19 โดยตรง
ดูจากสารพันธุกรรม RNA

ตรวจองค์ประกอบของไวรัส
(ตรวจหาเชื้อและคัดกรองได้ในระดับหนึ่ง)*ชุดตรวจแบบเร็ว (Test Kit)

ตรวจเช็คภูมิต้านทานในร่างกาย
(ค่า Igg / Igm)

*ชุดตรวจแบบเร็ว (Test Kit)

วิธีตรวจหาเชื้อ 
COVID-19

swab โพรงจมูก หรือ ลำคอ swab โพรงจมูก หรือ ลำคอ

เจาะเลือดปลายนิ้ว

ขั้นตอนการ
ตรวจหาเชื้อ

ส่งตรวจห้อง Lab มาตรฐาน 
ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
หยดด้วยน้ำยาเพื่อตรวจหาเชื้อ
ใช้งานง่าย สะดวก
หยดด้วยน้ำยาเพื่อตรวจหาเชื้อ
ใช้งานง่าย สะดวก

ความน่าเชื่อถือ
ของผลตรวจ

✅ ตรวจหาเชื้อได้แม่นยำที่สุด
เป็นวิธีมาตรฐานสากลตรวจจับเชื้อในปริมาณน้อยๆ ได้ 
และตรวจจับได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย
ผลลัพธ์ไม่แน่นอน

หากตรวจแล้ว ไม่ว่าผลจะเป็นบวกหรือลบ ต้อง⚠ ตรวจซ้ำด้วย
วิธี RT-PCR
อีกครั้ง เพื่อยืนยันผล

*ผลเป็นบวก(พบเชื้อ) กักตัวและตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผล
*
ผลเป็นลบ(ไม่พบเชื้อ) ไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ แต่เชื้ออาจจะน้อยและตรวจไม่เจอ ต้องตรวจซ้ำอีกครั้งหลังครบระยะเวลากักตัว

ผลลัพธ์ไม่แน่นอน

❌ ไม่นิยมนำมาใช้ตรวจหาเชื้อ
COVID-19

เนื่องจากปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก ภูมิคุ้มกันอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือวัคซีนก็ได้ จึงไม่สามารถแยกได้

ระยะเวลาที่
ทราบผลตรวจ

24 – 48 ชั่วโมง 15-30 นาที

15-30 นาที

ตรวจหาเชื้อ
ได้ทันทีหรือไม่?

ตรวจหาเชื้อได้ตั้งแต่ระยะแรกของการติดเชื้อ (ไม่ต้องรอ 7-14 วัน) และติดตามผลได้ต่อเนื่อง ตรวจหาเชื้อได้ต่อเมื่อได้รับเชื้อมาแล้ว
7-14 วัน
ตรวจหาเชื้อได้ต่อเมื่อได้รับเชื้อมาแล้ว
7-14 วัน
กราฟแสดง RT-PCR ดีกว่าการตรวจแบบอื่น หรือ Rapid test

จากรูปภาพ จะแสดงให้เห็นว่า การตรวจ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR หรือ Nasopharyngeal swab PCR (เส้นสีฟ้า) โดยการตรวจหาเชื้อทางโพรงจมูกนั้นมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และแม่นยำกว่าการตรวจแบบ Rapid test (ตรวจภูมิคุ้มกันเชื้อโรค) (สีเขียวและสีม่วง)

รวมถึงสามารถตรวจได้ตั้งแต่ระยะแรก ของการเกิดโรค/ติดเชื้อ รวมถึงติดตามผลได้ต่อเนื่อง  ( Cr.Nandini Sethuraman M et al 2020 JAMA )

กลับสู่สารบัญ

ใบรับรองแพทย์ (Health Certificate) คืออะไร?

เป็นใบรับรองแพทย์ตามมาตรฐาน ที่ใช้เพื่อยืนยันว่า คุณมีสุขภาพแข็งแรงและพร้อมสำหรับการเดินทางข้ามประเทศ ข้ามจังหวัด หรือพร้อมกลับเข้าทำงาน โดยไม่มีการติดเชื้อโรค ไม่มีอาการหรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ

การออกใบรับรองแพทย์ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Fit To Fly Health Certificate จะมีผลไม่เกิน 72 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการเดินทาง เข้า-ออก ของแต่ละประเทศ และแต่ละสายการบิน อีกทั้งในบางประเทศอาจต้องใช้ใบรับรอง Fit To Fly Health Certificate คู่กับใบผลตรวจ covid-19 ด้วย

ดังนั้น หากใครที่มีแพลนเดินทางต่างประเทศ ข้ามจังหวัด หรือกลับเข้าทำงาน ควรตรวจเช็คหรือโทร.สอบถามทางสายการบิน หน่วยงานราชการ หรือบริษัท ให้แน่ใจก่อนว่าต้องใช้เอกสารทางการแพทย์อะไรบ้าง

เช่น กรณีต้องการเดินทางจากประเทศไทยไป ประเทศญี่ปุ่น (ระยะสั้น) ไม่ว่าจะกลุ่มไหนหรือถือวีซ่าประเภทใดจะต้องทำการ ติดต่อผ่านสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยทั้งหมด โดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งหากได้รับสิทธิในการเดินทางไปญี่ปุ่นได้ สิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อมเพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ คือ

  1. วีซ่า (ขอจากสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย)
  2. ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นสำหรับติดตามตัวและติดตามเรื่องสุขภาพ
  3. ใบรับรองแพทย์ที่ตรวจ RT-PCR
  4. ผลตรวจเชื้อโควิด-19 (covid-19 certificate) ที่ตรวจภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนการเดินทาง
  5. กรมธรรม์ประกันสุขภาพ (ครอบคลุมการติดเชื้อ COVID-19)
  6. เมื่อเดินทางถึงประเทศญี่ปุ่น จะต้องทำการตรวจเชื้อโควิด-19 ซ้ำอีกครั้ง หากไม่ติดเชื้อสามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ทันทีโดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องรายงานสุขภาพผ่านทางแอพพลิเคชั่นอย่างสม่ำเสมอ

*ข้อมูล ณ เดือน พ.ย. 63 : ติดต่อเพื่ออัพเดทข้อมูลเอกสารล่าสุดกับทางสถานฑูตอีกครั้ง

Fit to Fly rattinan medical center
กลับสู่สารบัญ

คำถามที่พบบ่อย

ตรวจ COVID-19 ที่ไหนดี ?

ผู้ที่ต้องการ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถทำการติดต่อไปยังสถานที่ให้บริการต่างๆ ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงคือ 

  1. วิธีการตรวจโควิด-19 จะต้องเป็นวิธีที่เรียกว่า Real-time PCR หรือเรียกสั้นๆ ว่า RT-PCR เป็นการ swab สอดเข้าทางโพรงจมูก หรือลำคอ 
  2. สถานที่ให้บริการจะต้องมี ห้องตรวจเชื้อความดันลบที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคออกสู่ภายนอก และสามารถฆ่าเชื้อไปพร้อมๆ กัน
ตรวจโควิด-19 วิธี RT-PCR คืออะไร ? และ ดีอย่างไร ?

วิธี RT-PCR คือวิธีมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้ในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้คอตตอนบัดสำหรับทำการ swab สอดเข้าทางโพรงจมูก หรือลำคอ เพื่อเก็บสารคัดหลั่งมาตรวจหาเชื้อไวรัส 

ซึ่ง RT-PCR มีข้อดี คือ

  1. มีความไวในการตรวจหาเชื้อ covid-19 แม้เป็นในระยะเริ่มต้นก็สามารถตรวจหาเชื้อได้ (ไม่ต้องรอ 7-14 วัน )
  2. ผลตรวจมีความแม่นยำสูงกว่าวิธีอื่นๆ เช่น การเจาะเลือดปลายนิ้ว (Rapid Test)
  3. รู้ผลตรวจภายใน 24 ชั่วโมง
  4. ต้องตรวจห้อง Lab ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
ตรวจโควิด-19 ราคาเท่าไหร่ ?

สถานที่ให้บริการแต่ละที่จะมีราคาแตกต่างกัน ซึ่งที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ตรวจโควิด-19 ราคา 3,500 บาท ซึ่งรวมค่าแพทย์ ใบรับรองแพทย์และผลตรวจ

จังหวัดไหนบ้างที่ต้องใช้ผลตรวจโควิด-19 และใบรับรอง

ในหลายจังหวัดได้ออกประกาศว่า หากผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดกลุ่มเสี่ยง เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ จะต้องใช้ใบรับรอง ผลตรวจโควิด-19 หรือใบรับการฉีดวัคซีน ประกอบในการเดินทาง หรือในบางจังหวัดอาจจะต้องขอความร่วมมือ กักตัว (ที่พักอาศัย) เป็นเวลา 14 วัน ด้วย โดย 

  • ผลตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR หรือ Antigen Rapid Test จะต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมง 
  • หรือได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็ม
  • รายงานตัวกับเจ้าพนักงานปกครอง หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ กักตัว (ที่พักอาศัย) เป็นเวลา 14 วัน 

 *ก่อนการเดินทาง ควรเช็คกับทางจังหวัดที่ท่านต้องการเดินทางไปก่อนว่า
ต้องใช้เอกสารใดประกอบการเดินทาง หรือต้องใช้ยื่นแก่เจ้าหน้าที่บ้าง*.   

ยกตัวอย่าง จังหวัดที่ต้องใช้ใบ ผลตรวจโควิด-19 หรือ กักตัว 14 วัน 

  • จังหวัดเชียงใหม่ : ต้องกักตัว (Home Quarantine) เป็นเวลา 14 วัน และ ต้องลงทะเบียนในแอพพลิเคชัน CM Chana
  • จังหวัดเชียงราย : แสดงผลตรวจโควิด-19 ก่อนเดินทางเข้าจังหวัด (ผลไม่เกิน 72 ชั่วโมง)
  • จังหวัดนครราชสีมา : รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ พร้อมผลตรวจโควิด-19
  • จังหวัดสุรินทร์ : รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และกักตัว 14 วัน
  • จังหวัดบุรีรัมย์ : กักตัว 14 วัน หรือ แสดงผลตรวจโควิด-19 หากผลเป็นลบ ไม่ต้องกักตัว
  • จังหวัดขอนแก่น : เข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ หรือลงทะเบียนผ่าน QR code และกักตัว (Home Quarantine)

จังหวัดที่ต้องกักตัว 14 วัน

เพชรบูรณ์, สระบุรี, ชัยนาท, นครนายก, ประจวบคีรีขันธ์, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี, ระยอง, ราชบุรี, อ่างทอง, สงขลา,กระบี่, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, พังงา, พัทลุง, ภูเก็ต, ระนอง, สตูล, สุราษฎร์ธานี

*ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2564 (ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบกับทางราชการ หรือแต่ละจังหวัดอีกครั้ง)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า