เหงื่อออกเยอะ เป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง มาดูสาเหตุ และวิธีการรักษากัน

เหงื่อออกเยอะ เกิดจาก

เหงื่อออกเยอะ เหงื่อออกง่าย (Excessive sweating) หรือ โรคเหงื่อออกมากผิดปกติ ในการทางการแพทย์จะมีชื่อเรียกว่า Hyperhidrosis หมายถึง การที่เหงื่อออกมากเกินความจำเป็น ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายจะหลั่งเหงื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากเกินไป

โดยจะควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ แต่คนที่เป็นโรคเหงื่อออกมากผิดปกติ จะมีการหลั่งเหงื่อ แม้ในภาวะที่ร่างกายไม่ได้ต้องการระบายความร้อน ซึ่งคนจำนวนมากที่เป็นโรคนี้ จะมีเหงื่อออกมากเป็นบางบริเวณ หรือเฉพาะที่ โดยมักจะเป็นที่ รักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือศีรษะ ในขณะที่บริเวณอื่นแห้งสนิทไม่มีเหงื่อ

การที่มีอาการเหงื่อออกเยอะ (Excessive sweating) เหงื่อออกง่ายนี้ ก็มักจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนที่เหงื่อออกมากบริเวณฝ่ามือ ก็อาจจะทำให้มีปัญหาในการทำงานที่ต้องใช้มือเป็นหลัก หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด หรือบางคนที่มีเหงื่อออกมากบริเวณรักแร้จนเปียกเสื้อ เห็นเป็นวง ก็ทำให้เสียบุคลิกภาพ ไม่มั่นใจตนเอง กังวลเรื่องกลิ่นตัวที่ตามมา และอาจจะมีผิวหนังติดเชื้อตามมาได้

เหงื่อออกเยอะ

เหงื่อ ในภาวะปกติเกิดจากอะไร

ร่างกายของเรานั้น มีอวัยวะต่างๆ ทำงานร่วมกันเป็นระบบ ทำให้เกิดเป็นกระบวนการต่างๆ ขึ้นในร่างกาย ซึ่งกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ก็เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญของร่างกาย โดยทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงอาหารที่เราทานเข้าไปให้เป็นพลังงาน ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนขึ้น

ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดความร้อน ร่างกายก็จะมีกลไกในการควบคุมหรือระบายความร้อนนั้น ออกมาในรูปแบบของ“เหงื่อ เพื่อให้ความร้อนในร่างกายอยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือเวลาที่อากาศร้อน เวลาที่เราออกกำลังกาย (Physical exercise) ร่างกายเกิดความร้อน ก็จะมีการระบายความร้อนเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง โดยการหลั่งเหงื่อออกมา

หากร่างกายไม่สามารถหลั่งเหงื่อได้จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามผลที่ตามมาคือ เกิดภาวะอ่อนเพลีย (heat exhaustion) ช็อคจากความร้อนสูง (heat stroke) อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป (Hyperthermia) และเสียชีวิตได้ในที่สุด ในทางตรงกันข้ามหากร่างกายมีการหลั่งเหงื่อมากเกินไป (Hyperhidrosis) ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ เกลือแร่จากร่างกาย และก่อให้เกิดความรำคาญในการดำรงชีวิตประจำวันได้ โดยปกติแล้วร่างกายของเรามีต่อมเหงื่อ (Sweat glands) ทั้งหมด 3 ชนิด

1. Eccrine sweat gland

คือ ต่อมเหงื่อชนิดที่มีหน้าที่หลั่งเหงื่อชนิดที่เป็นน้ำเหลวใส เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย การหลั่งเหงื่อที่เกิดจากการกระตุ้นทางอารมณ์ (Emotional sweating) เช่น ความกลัว ตื่นเต้น ตกใจ จะทำให้เกิดการหลั่งเหงื่อขึ้นโดยเฉพาะบริเวณ ฝ่ามือฝ่าเท้า (palms and soles) รักแร้ (axillae) หน้าผาก (forehead) ซึ่งการหลั่งเหงื่อชนิดนี้จะหายไปถ้านอนหลับ ซึ่งแตกต่างจากการหลั่งเพื่อระบายความร้อนจะไม่หายไปแม้ว่าร่างกายกำลังนอนหลับ ซึ่งการหลั่งเหงื่อจากการกระตุ้นทางอารมณ์นี้ จะถูกกระตุ้นโดยระบบประสาทอัตโนมัติจากเส้นประสาท cholinergic nerve

2. Apoeccrine glands

เป็นต่อมที่เพิ่งจัดเป็นกลุ่มขึ้นใหม่ ต่อมเหงื่อชนิดนี้จะเริ่มสร้างในช่วงวัยรุ่น และพบตลอดไปตรงบริเวณรักแร้ (axillae) ของผู้ใหญ่ แต่จำนวนจะแตกต่างกันไปในผู้ใหญ่แต่ละคน ในคนไข้ที่เป็นโรคเหงื่อออกมากบริเวณรักแร้ (Axillary hyperhidrosis) จะพบว่ามากกว่า 50% ของต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้เป็นชนิด Apoeccrine glands แต่ในคนที่ไม่มีปัญหาเรื่อง Axillary hyperhidrosis นี้จะพบว่ามีจำนวนต่อมเหงื่อชนิดนี้บริเวณรักแร้น้อยมาก ต่อมนี้ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ลักษณะของเหลวที่ต่อมนี้ผลิตออกมาจะมีลักษณะใสคล้ายของ eccrine glands แต่มีอัตราการหลั่งที่เร็วกว่า eccrine gland ถึง 10 เท่า

กลับสู่สารบัญ

3. Apocrine glands

เป็นต่อมเหงื่อชนิดหนึ่งที่พบเฉพาะที่บริเวณ รักแร้ (axillae) และอวัยวะเพศ (perineum) ต่อมนี้จะเริ่มเจริญและทำงานเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้วเท่านั้น เนื่องจากต้องอาศัยฮอร์โมนเพศ และจะผลิตสารน้ำที่มีลักษณะเหนียวข้น มีลักษณะคล้ายน้ำนม และไม่มีกลิ่น ต่อมาเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บริเวณผิวหนังจะมาย่อยทำให้เกิดกลิ่นขึ้น สิ่งที่ควบคุมการทำงานของต่อมนี้คืออารมณ์หลังจากเข้าวัยรุ่นแล้ว ซึ่งถูกกระตุ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติจากเส้นประสาท adrenergic nerve

เหงื่อออกมือ

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
กลับสู่สารบัญ

เหงื่อออกเยอะ หรือ เหงื่อออกมากผิดปกติ มีกี่ชนิด และเกิดจากอะไร

ภาวะเหงื่อออกมาก ผิดปกติ (Hyperhidrosis) สามารถแบ่งตามลักษณะอาการออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. Primary focal hyperhidrosis (กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน)

กลุ่มนี้จะมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคประจำตัวอื่นๆ โดยจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่น เกิดได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งจะมีเหงื่อออกมากผิดปกติเฉพาะจุด ที่พบได้บ่อยๆ ก็คือ รักแร้ รองลงมาจะเป็น ฝ่าเท้าและฝ่ามือ แต่ก็สามารถพบที่ตำแหน่งอื่นได้เหมือนกัน เช่น หนังศีรษะ ที่บริเวณหลัง หรือที่หู โดยจะมีอาการเหงื่อออกเกิดขึ้น

โดยไม่มีสิ่งกระตุ้น คืออยู่เฉยๆ ก็มีเหงื่อออกมาก และออกเวลาใดก็ได้ แต่มักจะออกมากในเวลากลางวัน แต่การที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ ผู้ป่วยจะต้องมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติ โดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือนขึ้นไป ร่วมกับ มีอาการ 2 ใน 6 ข้อ ดังต่อไปนี้

  • ตำแหน่งที่เหงื่อออกมากผิดปกติ จะต้องเป็นเหมือนกันทั้ง 2 ข้างของร่างกายทั้งซ้ายและขวา
  • อาการเหงื่อออกมากเกิดบ่อยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ส่วนมากผู้ป่วยก็จะมีอาการมากกว่านี้
  • อาการเหงื่อออกง่ายจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • อาการเกิดก่อนอายุ 25 ปี
  • เริ่มมีอาการเหงื่อออกตั้งแต่เริ่มตื่นนอน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเหงื่อออกมาผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุเช่นเดียวกัน

2. Secondary Hyperhidrosis (กลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย)

ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีเหงื่อในปริมาณมาก โดยเหงื่อจะออกทั่วร่างกาย แม้กระทั่งในเวลานอน โดยอาการเหงื่อออกเยอะ อาจจะเป็นสัญญาณบอกถึงโรคบางอย่าง เช่น กลุ่มโรคที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่สมองส่วนไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายชนิด ซึ่งควบคุมการสร้างฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองสมอง และยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย จึงส่งผลทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อทำงานผิดปกติไป ได้แก่

  • โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)
  • การติดเชื้อบางชนิดที่ทำให้มีไข้เรื้อรัง เช่น โรคมาลาเรีย วัณโรค
  • โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) โรคนี้ทำให้ร่างการมีการเผาผลาญสูง ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงต้องมีการระบายความร้อนโดยการหลั่งเหงื่อ
  • ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือวัยทอง (Menopause) ขาดฮอร์โมนเพศหญิง
  • โรคมะเร็งขางชนิด เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน (Obesity) หรือมีภาวะอ้วนมาก ๆ เพราะชั้นไขมันที่หนาขึ้น ส่งผลให้ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดี ก็เลยต้องเพิ่มการระบายความร้อนผ่านออกมาทางเหงื่อ จึงทำให้เหงื่อออกง่าย หรือออกมากขึ้น
  • โรคหัวใจวายเรื้อรัง (congestive heart failure) เนื่องจากจะมีการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ ทำให้มีเหงื่อออกมากขึ้น
  • ภาวะเป็นพิษเรื้อรังจากสารหนู (Chronic arsenic intoxication)
  • ติดยาพวกโคเคนหรือแอมเฟตามีน (Drug addiction)
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน ยาลดความดันในเลือด ยาโรคเบาหวาน (Drugs)
  • ภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy)
  • โรคเก๊าท์ (Gout)
  • อุบัติเหตทางสมอง (Head trauma)
เหงื่อออกเยอะ เกิดจากอะไร

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
กลับสู่สารบัญ

เหงื่อออกเยอะ เหงื่อออกมากผิดปกติ รักษาอย่างไร

การักษาโรคเหงื่อออกมากผิดปกติ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นอาการเข้ากับกลุ่มไหน ถ้าสงสัยว่าเป็น Secondary Hyperhidrosis (กลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย) ก็ต้องไปหาว่าเป็นโรคอะไร และรักษาโรคนั้น อาการเหงื่อออกมากผิดปกติก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ถ้าอาการเข้าได้กับ Primary focal hyperhidrosis และหาสาเหตุไม่ได้ ก็จะรักษาโดยการลดปริมาณเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้นๆ ซึ่งทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1.ทายา ที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมคลอไรด์ (Antiperspirants)

หรือสารระงับเหงื่อ ออกฤทธิ์ทำให้โปรตีนในผิวหนังเกิดการตกตะกอน เมื่อสารนี้ซึมเข้าไปสู่รูต่อมเหงื่อ เกลืออลูมิเนียมจะเข้าเกาะติดในรูต่อมเหงื่อจนทำให้รูอุดตัน และปิดกั้นทางออกของเหงื่อไว้ สามารถทาได้ทั้งบริเวณ ไรผม รักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า โดยต้องทายาก่อนนอนในบริเวณที่เหงื่อออกมากแล้วล้างออกตอนเช้า ยาอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในบริเวณที่ใช้ได้

2.การฉีดสารโบทูลินั่มท็อกซินชนิดเอ (botulinum toxin type A)

บริเวณรักแร้ หรือฝ่ามือ ฝ่าเท้า เพื่อกดการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ ก่อนฉีดก็จะมีการทายาชาและประคบน้ำแข็ง โดยอาจจะมีการทดสอบก่อน (Starch-Iodine Test) เพื่อดูบริเวณที่เหงื่อออก จะได้ฉีดให้ครอบคลุมทั่วบริเวณ ซึ่งฤทธิ์ของโบทูลินั่มท็อกซินจะอยู่ได้นานประมาณ 6-9 เดือน เมื่อหมดฤทธิ์เหงื่อก็จะกลับมาออกตามปกติ

3.MiraDry

คือ เทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ช่วยในการแก้ไขปัญหาเหงื่อ และกลิ่นตัวบริเวณใต้วงแขน โดยการใช้พลังงานคลื่นไมโครเวฟ ส่งพลังงานความร้อนลงไปทำลายต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ถาวร โดยไม่จำเป็นต้องทำซ้ำหลายครั้ง และยังมีความปลอดภัยสูง โดยเป็นเครื่องเดียวในปัจจุบัน ที่ได้รับรับรองจาก FDA ในการรักษาโรคนี้

4.การรักษาด้วยไอออนโตฟอรีซีส (Iontophoresis)

เป็นวิธีที่ใช้กระแสไฟฟ้าพลังงานต่ำช่วยส่งผ่านน้ำหรือยาเข้าสู่ผิวหนังบริเวณต่อมเหงื่อ บริเวณรักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่งผลให้ต่อมเหงื่อบริเวณนั้นทำงานลดลง อาจต้องเข้ารับการรักษาประมาณ 6-10 ครั้งจึงจะเห็นผล และอาจต้องทำซ้ำทุกเดือนเพื่อให้ได้ผลอย่างต่อเนื่อง

5.การผ่าตัด มีทั้งการผ่าตัดเอาต่อมเหงื่อออก (remove sweat glands)

การกำจัดปมประสาทอัตโนมัติ (Sympathectomy) โดยการทำลายปมประสาทบางส่วนที่ส่งสัญญาณมาบริเวณใบหน้า ฝ่ามือ หรือรักแร้ ส่งผลให้ไม่มีการหลั่งเหงื่อเกิดขึ้นที่บริเวณนั้นๆ

กลับสู่สารบัญ

การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรค เหงื่อออกเยอะ ผิดปกติ

  1. ควรสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป ใส่สบาย ระบายเหงื่อได้ดี
  2. อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือมากกว่าตามความสะดวก
  3. รักษาเท้าให้แห้งเสมอ เพื่อป้องกันการเป็นเชื้อรา
  4. สวมรองเท้าที่สะอาดและแห้งอยู่เสมอ และมีรองเท้าสำรอง ใส่สลับสับเปลี่ยนทุกวัน เพื่อลดการสะสมเชื้อแบคทีเรีย
  5. เลือกรับประทานอาหารชนิดที่ไม่เพิ่มการหลั่งเหงื่อเช่น อาหารรสเผ็ดจัด และอาหารที่ไม่เพิ่มกลิ่นทางเหงื่อ เช่น กระเทียม หัวหอม ต้นหอม
  6. ควบคุมอาการ ออกกำลังกาย เพื่อควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า