” ผ่าตัด ดึงหน้า ” (Face Lift) ในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทย และประเทศต่างๆทั่วโลก ก่อนที่จะตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดดึงหน้า จึงควรทำความเข้าใจ หลักการเบื้องต้น และเทคนิคการผ่าตัดดึงหน้าในแบบต่างๆ ที่มีมากมายในปัจจุบัน เพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์ว่า การผ่าตัดดึงหน้านั้นมีความเหมาะสมกับตัวของท่านเองหรือไม่อย่างไร
ดึงหน้า แก้ปัญหาอะไรบ้าง ?
แน่นอนว่าการผ่าตัดดึงหน้า ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ย่อมมีจุดประสงค์เพื่อทำให้ใบหน้าที่ดูแก่ชรา กลับคืนสู่ความเยาว์วัยให้ได้มากที่สุด ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า ใบหน้าที่แก่ชรานั้นเกิดจากสาเหตุ 4 อย่าง ดังนี้
องค์ประกอบต่างๆบนใบหน้าของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่ออายุมากขึ้น ได้แก่
- ปริมาณของไขมันบนใบหน้าที่ลดลง (Decrease volume of fat compartment
- ผิวหนังเหี่ยวและหย่อยคล้อย (Deflating and sagging of the skin
- กระดูกใบหน้าบางลง ทำให้ เกิดช่องว่างบนใบหน้ามากขึ้น (Degenerative change of facial skeleton)
- เนื้อเยื่อ และ กล้ามเนื้อ บนใบหน้าที่หย่อนคล้อย ทำให้เกิดร่องต่างๆที่ยึดกับกระดูกใบหน้า (Retaining ligament and SMAS malposition and/or ptosis)
photo : https://grossepointedermatology.com/conditions-treatment/anatomy-of-facial-aging-2/
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดดึงหน้า ล้วนแล้วแต่ต้องการจะแก้ไขสาเหตุดังกล่าวนี้ เพื่อให้ใบหน้ากลับคืนสู่ช่วงเยาว์วัยมากที่สุดนั่นเอง
เทคนิคการผ่าตัด ดึงหน้า แต่ละอย่างแตกต่างกันอย่างไร ?
ในส่วนของการผ่าตัดดึงหน้า นั้น ในปัจจุบัน ได้มีเทคนิคต่างๆมากมายที่คิดค้นขึ้นโดยศัลยแพทย์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อหวังผลการแก้ปัญหาในชั้นต่างๆ และต้องการแผลเล็กที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Mini face lift , Face Lock, Holiday lift, Composite face lift, Endoscopic face lift, Ponytail Facelift และอื่นๆ อีกมากมายหลายชื่อ ซึ่งล้วนแล้วมีเทคนิคในปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป แต่จุดประสงค์หลัก เพื่อแก้ไขปัญหาที่กล่าวไว้ข้างต้นทั้งสิ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะไปสู่เทคนิคการผ่าตัด ผมจะขอนำทุกท่านไปดูรูปโครงสร้างใบหน้า เพื่อจะได้เข้าใจก่อนว่า โครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงเมื่ออายุมากขึ้นเป็นอย่างไร และทำไม การแก้ไขด้วยการผ่าตัด จึงต้องถูกนำมาใช้ และ นำมาใช้อย่างไรเพื่อปรับโครงสร้างเหล่านั้น
โครงสร้างใบหน้าของมนุษย์ ถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ และ ประกอบไปด้วยช่องต่างๆ บนใบหน้าอันเกิดจาก กระดูกใบหน้า ที่ประกอบขึ้นจากกระดูกหลายๆชิ้น ดังแสดงในภาพ เมื่ออายุมากขึ้น องค์ประกอบเหล่านี้เองที่เปลี่ยนแปลงไปดังที่ได้กล่าวถึงไว้ก่อนแล้วเบื้องต้น
ดึงหน้า แบบไม่มีแผลยาว ไม่ฟกช้ำอะไรเลย เป็นไปได้ไหม ?
สมมติว่าปัญหาหน้าห้อยนั้น เกิดจากผิวหนังอย่างเดียว การตัดเย็บผิวหนังแบบง่ายๆ ซึ่งทำง่ายมากครับ ใช้ยาชาเฉพาะที่ แผลเล็กและช้ำน้อยมาก คงแก้ไขเรื่องนี้ได้ แต่จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่า มีปัญหาหลายอย่างใต้ต่อผิวหนังตั้งแต่กระดูกถึงเส้นเอ็นต่างๆ ดังนั้น การผ่าตัด หรือ วิธีการรักษาใดก็ตามที่แก้ไขเพียงผิวหนังด้านบน ย่อมไม่สามารถแก้ไขความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด
การผ่าตัด ดึงหน้า แต่และแบบมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ?
การผ่าตัดดึงหน้า จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ไขความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้ โดยเทคนิคการผ่าตัดต่างๆได้ถูกคิดค้นขึ้นโดยศัลยแพทย์ที่ชำนาญการ และศัลยแพทย์จะสามารถเลือกใช้วิธีใดก็ได้ เพื่อแก้ไขปัญหาบนใบหน้าของท่าน ซึ่งแน่นอนว่าจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยเทคนิคที่ถูกคิดค้นนั้นจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าวไว้ที่ตอนต้นของบทความ ได้แก่
การผ่าตัดดึงหน้าด้วยวิธี Facelift with SMAS plication
การผ่าตัดดึงหน้า
ด้วยวิธี
Facelift with MACS lift
การผ่าตัดดึงหน้าด้วยวิธี Lateral SMASectomy facelift
การผ่าตัดดึงหน้าด้วยวิธี Deep plane facelift หรือ Subperiosteal facelift
https://www.drrichardjwarren.com/content/uploads/2019/08/Ch11-facelift-procedures.pdf
โดยวิธีการผ่าตัดดังกล่างข้างต้นนั้น สามารถเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือร่วมกันก็ได้ ร่วมไปถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย เช่นการใช้กล้องผ่าตัด เพื่อให้เห็นโครงสร้างที่สำคัญ ในจุดที่ไกลจากแผลอย่างชัดเจน ทำให้แผลขนาดเล็กลงกว่าการไม่ใช่กล้องช่วยผ่าตัด (Endoscopic assisted face lift)
การผ่าตัด ดึงหน้า แบบส่องกล้องมีประโยชน์อย่างไร ?
การผ่าตัดในบริเวณที่มีขนาดเล็กแคบแบบใบหน้านั้น มือและอุปกรณ์จะเข้าไปได้ลึก ต้องเปิดแผลกว้างๆเท่านั้น ซึ่งทำให้แผลยาวตั้งแต่ศีรษะจากใบหูด้านหนึ่ง ไปใบหูอีกด้าน ทำให้แผลเป็นไม่สวย รวมทั้งอาการฟกช้ำต่างๆ ก็จะตามมามากมาย ดังนั้นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วย เช่นการใช้กล้องผ่าตัด (Endoscopic assisted face lift) เพื่อให้เห็นโครงสร้างที่สำคัญ ในจุดที่ไกลจากแผลอย่างชัดเจน
การดึงหน้า ผ่านกล้องจะเกิดแผลผ่าตัดขนาดเล็ก 1-2 เซ็นติเมตร จำนวน 3-5 จุดกระจายกันไปหลังแนวไรผม แล้วใช้กล้องส่องขนาดเล็กเท่าปากกา สอดเข้าไปเพื่อทำการตกแต่งเย็บกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและโครงสร้างภายแทนทดแทนมือจริงๆ ทำให้แผลขนาดเล็กลงกว่าการไม่ใช่กล้องช่วยผ่าตัด
การ ดึงหน้า ผ่านกล้อง สามารถทำบริเวณใดได้บ้าง ?
- การดึงหน้าผาก (Forehead lift) เป็นการยกกระชับรอยย่นหนห้าผาก ช่วยดึงคิ้วที่ตก ทำให้หน้าดูกระจ่างสดใส ดวงตากลมโตมากขึ้น
- การดึงยกคิ้ว เป็นการยกกระชับรอบดวงหน้า สำหรับผู้มีปัญหาหางตาตก หนังตาตก คิ้วต่ำ หน้าเศร้า
- การดึงใบหน้าส่วนกลาง หรือ Midface เป็นการยกกระชับโหนกแก้ม ใบหน้าบริเวณตรงกลางที่ทำให้เกิดร่องแก้ม
- การยกกระชับใบหน้าส่วนล่าง lower facelift สำหรับคนที่มีปัญหาคางย้อย ร่องน้ำหมาก มีคางหย่อนหรือแก้มป่อง หน้าไม่เรียวสวย
การดึงหน้าด้วย Endotine
ในขั้นตอนการ ดึงหน้า ด้วยการส่องกล้อง บางครั้งศัลยแพทย์ก็จะสอดใส่อุปกรณ์เล็กๆ ที่ชื่อ Endotine เข้าไปในตำแหน่งที่จะช่วยยึดเนื้อเยื่อผิวให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่ในระหว่างที่เนื้อเยื่อผิวกำลังฟื้นตัว
Endotine ช่วยให้ขั้นตอนในการผ่าตัดยกคิ้ว และผิวช่วงบนของใบหน้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นวัสดุ Bio-Plastic ทำมาจากพืชที่จะย่อยสลายไปเอง เมื่อเนื้อเยื่อผิวใหม่เติมเต็มในตำแหน่งที่ต้องการเป็นที่เรียบร้อย
Endotine จะแตกต่างจากการ ร้อยไหม ค่อนข้างมาก เพราะขนาดที่แข็งแรงกว่า มีจุดยึดเกาะกับเนื้อเยื่อที่ไม่เคลื่อนที่ไปมา และได้รับการออกแบบมาเฉพาะ เพื่อการเกาะเกี่ยวเนื้อเยื่อผิวในบริเวณแก้มที่มีขนาดและพื้นที่มาก จึงต้องมีความสามารถในการยึดจับเนื้อเยื่อผิวบริเวณกว้าง ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีแรงยึดเกาะที่มากและแข็งแรง แต่ก็ต้องยืดหยุ่นพอที่จะสามารถจัดแต่งตำแหน่งของแก้มได้ตามที่ต้องการ
ความเสี่ยงจากการผ่าตัดดึงหน้า ?
แน่นอนว่าการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยง บริเวณใบหน้าประกอบไปด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาทมากมาย ซึ่งหากไม่ได้ทำการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางที่มีการรักษาในการผ่าตัดบริเวณหน้าเป็นอย่างดี ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจากการบาดเจ็บโครงสร้างสำคัญเหล่านี้
การผ่าตัดทุกวิธีที่กล่าวไปย่อมมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ระยะเวลาผ่าตัด ค่าใช้จ่ายจากอุปกรณ์พิเศษ รวมไปถึงประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาในแต่ละจุดของใบหน้า ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกันไป
อ่านเพิ่มเติม บทความที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์