ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว คืออะไร? มีอาการอย่างไร?

ไบโพลาร์ คืออะไร

โรค ไบโพลาร์ หรือ อารมณ์สองขั้ว คือโรคที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง โดยจะมีการแสดงออกทางอารมณ์ 2 แบบ เปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน ระหว่างอารมณ์พลุ่งพล่านฟุ้งเฟ้อ มีความสุข (mania) สลับกับอารมณ์ซึมเศร้า (depression) มากผิดปกติ ซึ่งเป็น 2 ขั้วที่ตรงข้ามกัน โดยอาการในแต่ละช่วงอาจเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือหลาย ๆ เดือนก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านการงาน การประกอบอาชีพ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการดูแลตนเองอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ

โรค ไบโพลาร์ พบบ่อยหรือไม่?

  • โรคนี้มีความชุกประมาณร้อยละ 1 ในผู้ใหญ่
  • พบในผู้หญิงและผู้ชายเท่าๆ กัน
  • ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการระหว่างอายุ 15-19 ปี
  • องค์การอนามัยโลกก็ได้ระบุว่า โรคนี้เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือความพิการ อันดับที่ 6 ของโลก และยังพบอีกว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ
  • โรคไบโพลาร์ ถือเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคในระยะยาวเรื้อรัง และเป็นโรคที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้สูง ประมาณ 70-90%

อาการ ไบโพลาร์ เกิดจากอะไร?

ปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพลาร์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • พันธุกรรมที่ผิดปกติ ทั้งที่เกิดจากการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และเกิดใหม่ช่วงเป็นทารกในครรภ์ เนื่องจากพบว่าผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ จะมีโอกาสเป็นโรคไบโพลาร์มากกว่าคนทั่วไป
  • เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล มีสารเคมีบางอย่างในสมองผิดปกติไป
  • จากสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือความเครียดในชีวิตประจำวันที่กระตุ้นให้โรคแสดงอาการ
  • เกิดจากโรคบางอย่าง เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน
อาการ ไบโพลาร์ เกิดจากอะไร

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

อาการไบโพลาร์ เป็นอย่างไร ?

  • ระยะซึมเศร้า (major depressive episode)

ผู้ป่วยจะรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด ไม่เพลินใจไปหมด อารมณ์อ่อนไหวง่าย ร้องไห้ง่าย ทนเสียงดังไม่ได้ ไม่อยากพบใครหรือไม่อยากทำอะไร ถ้าเบื่อมากอาหารการกินก็ไม่สนใจ น้ำหนักลด นั่งเฉยๆ นานเป็นชั่วโมง ใจลอยหลงๆ ลืมๆ ไม่มั่นใจ ตัดสินใจไม่ได้ คิดว่าตนเองเป็นภาระ และหากมีอาการหนักจะถึงขั้นฆ่าตัวตาย

  • ระยะพลุ่งพล่านฟุ้งเฟ้อ (manic episode)

ผู้ป่วยจะรู้สึกมีความสุขมาก ร่าเริง เบิกบานใจ หรือหงุดหงิดก็ได้ อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงง่าย มีความมั่นใจในตัวเองมาก รู้สึกว่าตัวเองเก่ง พูดมาก คล่องแคล่ว ทักทายคน พูดเสียงดัง ขาดความยับยั้งชั่งใจ แต่งตัวแปลกๆ ใช้จ่ายเงินสิ้นเปลือง ไม่คิดถึงกฎเกณฑ์ของสังคม พลุ่งพล่าน หากถูกห้ามปรามหรือขัดขวางในสิ่งที่ต้องการจะหงุดหงิด ฉุนเฉียว นอนดึก ความต้องการนอนลดลง เช่น ได้นอนแค่ 3 ชั่วโมงก็รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว

ข้อสังเกตคนที่เป็นโรค ไบโพลาร์ หรือมีอารมณ์สองขั้ว

  • อาการไบโพลาร์ในระยะซึมเศร้า จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยไม่มีสาเหตุ หรือบางทีอาจเกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น สอบตก เปลี่ยนงาน จะเศร้าไม่เลิก จนทำงานไม่ได้
  • ในระยะซึมเศร้า หากคนใกล้ชิดสนใจมักสังเกตไม่ยากเพราะเขาจะซึมลงดูอมทุกข์ แต่อาการแบบเมเนียจะบอกยากโดยเฉพาะในระยะแรกๆ ที่อาการยังไม่มาก เพราะดูเหมือนเขาจะเป็นแค่คนขยันอารมณ์ดีเท่านั้นเอง แต่ถ้าสังเกตจริงๆ ก็จะเห็นว่าลักษณะแบบนี้ไม่ใช่ตัวตนของเขา เขาจะดู เวอร์กว่าปกติไปมาก
  • อาการไบโพลาร์ในระยะเมเนีย มักเกิดขึ้นเร็ว และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 2-3 สัปดาห์ อาการจะเต็มที่และอาจมีอารมณ์รุนแรงมากก้าวร้าวจนญาติรับมือไม่ไหว ต้องพามาโรงพยาบาล อาการในครั้งแรกๆ จะเกิดหลังมีเรื่องกดดัน แต่หากเป็นหลายๆ ครั้งก็มักเป็นขึ้นมาเองโดยที่ไม่มีปัญหาอะไรมากระตุ้นเลย
  • คนที่อยู่ในระยะเมเนีย จะไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติ มองว่าช่วงนี้ตัวเองอารมณ์ดีหรือใครๆ ก็ขยันกันได้ ในขณะที่หากเป็นระยะซึมเศร้าคนที่เป็นจะพอบอกได้ว่าตนเองเปลี่ยนไปจากเดิม

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

การวินิจฉัยโรค ไบโพลาร์

ไม่มีการตรวจพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค ไบโพลาร์ นี้ ข้อมูลหลักในการวินิจฉัยคือ การซักประวัติอาการ ความเป็นไปของโรค ความเจ็บป่วยทางจิตในญาติ การใช้ยาและสารต่างๆ หรือโรคประจำตัว เพราะยาบางขนานหรือโรคทางร่างกายบางโรคอาจมีอาการทางจิตเหมือนกับโรคอารมณ์สองขั้วได้ แพทย์จะนำข้อมูลได้จากผู้ที่เป็นและญาติ ร่วมไปกับการตรวจร่างกายและตรวจสภาพจิตมาประมวลกันเพื่อการวินิจฉัย

โรคทางกาย และยาที่อาจทำให้เกิดอาการ mania ได้แก่

  • โรคทางระบบประสาท ได้แก่ โรคลมชัก, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคไมเกรน, เนื้องอกสมองอาการบาดเจ็บที่ศรีษะ
  • โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน
  • โรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์, การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง
  • โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE
  • ยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ซึมเศร้า, corticosteroid, methylphenidate, levodopa, amphetamine, cocaine เป็นต้น

ซึ่งการจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือ ไบโพลาร์ นั้น อาการของผู้ป่วยจะต้องไม่ได้เป็นผลโดยตรงมาจาก สารเสพติด ยา จากการรักษาอื่น หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

โรค ไบโพลาร์ รักษายังไง ?

  1. การรักษาด้วยการรับประทานยาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยแพทย์จะให้ยาทางจิตเวชเพื่อปรับสารสื่อประสาทและควบคุมอารณ์ ซึ่งยาที่ให้ก็จะเป็น ยาที่ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า ยาที่ช่วยควบคุมอาการเมเนีย และอาการโรคจิต
  2. การรักษาทางด้านจิตใจ ได้แก่ การทำจิตบำบัดรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อให้สามารถจัดการกับความเครียดได้ดียิ่งขึ้น และลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียดลง รวมถึงให้ความรู้แก่ผู้ป่วยรวมทั้งการให้ความรู้แก่ญาติเกี่ยวกับโรค อาการและการรักษา
  3. การกินยาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอตรงตามเวลาที่แพทย์สั่งทุกมื้อ จะสามารถรักษาอาการในช่วงเฉียบพลันได้ดี และยังสามารถป้องกันการกำเริบของโรคได้
  4. ดูแลตัวเอง พยายามนอนหลับให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ ชา กาแฟ ไม่ควรใช้สารเสพติด/ดื่มแอลกอฮอล์ หากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิมภายในเวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม โรคนี้มีอัตราการเป็นซ้ำสูงมากถึงร้อยละ 90

ดังนั้น แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปีสำหรับผู้ที่เป็นครั้งแรก เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ และอาจนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่เคยเป็นและความรุนแรงของอาการในครั้งก่อนๆ

ไบโพลาร์ รักษายังไง

**ญาติและครอบครัว จะเป็นกำลังใจที่สำคัญ**

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครอบครัวและคนรอบข้างต้องเข้าใจผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วยว่าอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วยนั้น คือความเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยที่แท้จริงของผู้ป่วยผู้ป่วยไบโพลาร์เป็นบุคคลที่มีความสามารถที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนอื่น

เพราะฉะนั้นการที่ทุกคนมองผู้ป่วยไบโพลาร์ไม่ต่างจากผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่สามารถรักษาได้ ก็จะช่วยให้คนที่เป็นไบโพลาร์เข้าสู่กระบวนการรักษาและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับคนทั่วไป

แบบทดสอบ ไบโพลาร์ - แบบทดสอบว่าเราเริ่มมีอาการโรคนี้ ?

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าตนเองมีอาการที่เข้ากับโรคไบโพลาร์หรือไม่นั้น อาจจะลองทำแบบทดสอบคร่าวๆ เป็นแบบคัดกรอง (Screen) เบื้องต้นว่าคุณอาจจะมีภาวะเมเนีย (Mania) ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพลาร์หรือไม่

ตัวอย่างแบบสอบถามสภาพอารมณ์ ไบโพลาร์ – Bipolar จากศูนย์สุขภาพจิตที่ 2

แบบทดสอบ ไบโพลาร์
แบบทดสอบ ไบโพลาร์

Ref.

 

 

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า