อาการชาจาก พังผืดโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท (CTS) มีอาการอย่างไร อันตรายแค่ไหน?

พังผืดโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท (Carpal tunnel Syndrome)

พังผืดโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท (Carpal tunnel Syndrome) สำหรับโรคหรืออาการชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาทหรืออาการชาที่เกิดขึ้นกับนิ้วมือและเป็นที่หลายๆคนมักกังวลว่าจะต้องรักษาโดยการผ่าตัดซึ่งการผ่าตัดนั้นจะเป็นวิธีรักษาที่ตรงจุดหรือไม่หรือมีแนวทางการรักษาด้วยวิธีอื่นหรือไม่บทความนี้พร้อมให้คำตอบ…

อาการชานิ้วมืออาจมีสาเหตุมาจากการหนาตัวขึ้นของฝ่ามือทำให้ไปเบียดกับโพรงฝ่ามือที่มีเส้นประสาทมือหลายเส้นรวมอยู่

อาการของ พังผืดโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท

อาการของ Carpal tunnel Syndrome ในบางครั้งอาจทำให้คล้ายกับทีกระแสไฟฟ้าสถิตอยู่ ทำให้กระตุก สะดุ้ง เหมือนไฟช็อตโดยเฉพาะตำแหน่งบริเวณนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บางรายเราพบว่าสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 5นิ้วเลย และทว่าปล่อยไว้หรือทำให้เกิดเป็นซ้ำ ๆ บ่อย ไปจนผู้เป็นเริ่มที่จะชิน ผลเสียก็อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งนิ้งมืออ่อนแรงไปได้

เหตุผลที่ทำให้เกิด Carpal tunnel Syndrome

เราพบว่าจากหลากหลายสาเหตุที่พบนั้นเกิดจากการทำงานหรือใช้งานในอิริยาบทเดิม ๆ ซ้ำไปมา หรือในภาวะที่ผู้เป็นนั้นมีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบธรรมดาถึงชนิดเรื้อรัง เบาหวาน และการให้กำเนิดบุตรก่อนวัย

จากการวินิจฉัย พังผืดโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท

จากการปรึกษาหรือพบแพทย์ แน่นอนแพทย์สามารถเข้าใจถึงรอยโรคที่เกิดขึ้นจากการซักถามอาการที่เกิดขึ้น บางรายแพทย์สามารถทราบผลเลยว่ามีภาววะ Carpal tunnel Syndrome  ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจนนั้นแพทย์จะใช้วิธีการตรวจด้วยวิธีพิเศษ เช่น อีเอ็มจี การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ และ เอ็นซีวี ความเร็วในตัวนำเส้นประสาท

พังผืดโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท (Carpal tunnel Syndrome) อันตรายอย่างไร

การรักษาเบื้องต้นในผู้ทีมี พังผืดโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท

แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดอย่างแท้จริง เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาที่ตรงจุด

ในรายที่เพิ่งมีอาการชาบริเวณนิ้วมือตามลักษณะที่กล่าวไปแนะนำว่าให้หยุดการทำงานนั้น ๆ ลง หรือ พักงานลงสัก3-5นาที หากรู้สึกว่าอาการปวดนั้นพอที่จะบรรเทาได้แต่ก็กลับมาเป็นอีกแนะนำให้พบแพทย์เพื่อที่จะได้วิธีการรับมือกับอาการ เช่น ใช้เครื่องช่วยพยุง และยาในการรักษาอาการ  ซึ่งยาที่แพทย์จะแนะนำส่วนมากมักเป็น Ibuprofen Naproxen รวมถึงการทานยารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจต้องใช้ยาฉีดที่เป็นยาในกลุ่ม คอร์ติโคสเตียรอยด์  เข้าไปในบริเวณข้อมือซึ่งวิธีนี้ก็จะช่วยบรรเทาได้ชั่วคราวเท่านั้น และไม่เหมาะสมต่อผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่าง เบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของ Carpal Tunnel Syndrome

อาการชาที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในอาการที่รักษาให้หายได้แต่ต้องใช้เวลาจึงยังไม่ส่งผลให้ถุงขึ้นมีผลแทรกซ้อนที่ตามมา  แต่หากว่าปล่อยทิ้งให้อาการชานั้นเป็น ๆ หาย ๆ โอกาสที่จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นใช้งานไม่ได้ถาวร โดยเฉพาะการหยิบจับ หรือ ถือของอาจไม่สามารถทำได้อย่างเดิมแล้ว ดังนั้นอาการที่เกิดขึ้นค่อนข้างที่จะสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันผู้ป่วยหรือผู้ที่ยังไม่เคยประสบไม่ควรที่จะละเลยในการดูแลในส่วนของกล้ามเนื้อนั้น ๆ

การผ่าตัดรักษาอาการ Carpal Tunnel Syndrome

กรณีที่ต้องการผ่าตัดปัจจุบันก็สามารถทำได้ด้วยกัน 2วิธี คือ

  1. ผ่าตัดแบบปกติ ผู้เชี่ยวชาญจะทำการเปิดแผลบนฝ่ามือขนาดความยาวคือ 2นิ้วเพื่อทำการเอาเอ็นที่ยึดข้อมือบาฃตำแหน่งออกไป
  2. ผ่าตัดแบบขยายข้อมือด้วยกล้อง ผู้เชี่ยวชาญจะทำการผ่าตัดผ่านกล้องด้วยขนาดของแผลจะอยู่ที่1/2นิ้ว วิธีนี้อาจเรียกว่าเป็นการผ่านตัดเปิดแผลเล็กโดยใช้ระยะในการทำที่เร็วกว่า และการพักตัวก็น้อยกว่าแบบปกติ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างที่จะสูงกว่าแบบปกตินั่นเอง

วิธีการป้องกันไม่ให้เกิด Carpal Tunnel Syndrome

กรณีที่ยังไม่เคยประสบกับอาการCarpal Tunnel Syndrome หรืออาการชาบริเวณนิ้วมือ คุณสามารถป้องกันไว้ก่อนได้ด้วยการ 6วิธีดังนี้

  1. ลงน้ำหนักมือในการเขียน ใช้งาน ให้น้อยลง ระมัดระวังในการออกแรงให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เขียนหนังสือนาน ๆ
  2. หาช่องว่างในการหยุดพัก หรือบริการนิ้วมือบ่อย ๆ ด้วยการสลับนิ้วทุกนิ้วให้ครบ เพื่อให้นิ้วมือได้ถูกใช้งานที่สม่ำเสมอกัน
  3. พยายามลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดการเกิดผลกระทบต่อข้อต่อและกระดูก
  4. ไม่ควรนอนทับมือหรือใช้มือรองศีรษะเป็นเวลานาน
  5. พยายามออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อลางตำแหน่งหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง
  6. ไม่ลืมที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอเพื่อสังเกตอาการความผิดปกติของตัวเอง

ซึ่งวิธีนี้ก้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งผู้ที่ไม่เคยประสบกับอาการและผู้ที่ผ่านการรักษาอาการมาแล้วเพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ 6วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่เหมาะสมและสำคัญมาก เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตนั่นเอง

Reference

  1. Carpal tunnel syndrome. American Academy of Orthopaedic Surgeons. https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases–conditions/carpal-tunnel-syndrome. Accessed Nov. 7, 2019.
  2. Kothari MJ. Clinical manifestations and diagnosis of carpal tunnel syndrome. https://www.uptodate.com/contents/search. Accessed Nov. 7, 2019.
  3. Kothari MJ. Clinical manifestations and diagnosis of carpal tunnel syndrome. https://www.uptodate.com/contents/search. Accessed Nov. 7, 2019.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า