นิ่วในถุงน้ำดี ภาวะเสี่ยงหลังการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว โรคอ้วนลงพุง เบาหวาน

นิ่วในถุงน้ำดี รักษาอย่างไร

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) คืออะไร และเกิดจากสาเหตุใด ?

โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) หรือทางการแพทย์จะเรียกว่า Gall stone เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการตกตะกอนหรือตกผลึกของหินปูน (calcium) คอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน(สารเคมีชนิดหนึ่งที่ให้สีเหลืองออกน้ำตาล เกิดจากการแตกตัวหรือการตายของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด) ที่มีอยู่ในน้ำดี ทำให้เกิดเป็นนิ่ว หรือก้อนแข็งๆ ที่อยู่ในถุงน้ำดี ดังนั้นนิ่วก็จะประกอบไปด้วยสาร 3 ชนิดหลักๆ ได้แก่ แคลเซียม (Calcium) คอเลสเตอรอล (Cholesteral) และ บิลิรูบิน (Billirubin)

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกผลึกของสารเหล่านี้ เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็กๆ หลายๆ ก้อนก็ได้ โดยโรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 1-2 เท่า ช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีนั้น มากกว่า 50% ไม่มีอาการ

นิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากอะไร
https://en.wikipedia.org/wiki/Gallstone
กลับสู่สารบัญ

นิ่วในถุงน้ำดี มีกี่ชนิด ?

นิ่วในถุงน้ำดีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามส่วนประกอบ ได้แก่

  1. นิ่วที่เกิดจากคอเลสเตอรอล หรือ Cholesterol stone จะเห็นเป็นสีเหลือง ออกเขียว พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 80 ของนิ่วในถุงน้ำดีทั้งหมด ประกอบไปด้วยไขมันคอเรสเตอรอลเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการที่มีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในน้ำดี หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อในถุงน้ำดีมีสมรรถภาพไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถบีบสารออกไปได้หมด
  2. นิ่วที่เกิดจากเม็ดสี หรือ Pigment stones ส่วนใหญ่เป็นสีดำ หรือน้ำตาล ประกอบไปด้วยบิลิรูบิน (Billirubin) ที่อยู่ในน้ำดี มักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางจากการขาดเอนไซม์ G6PD

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด นิ่วในถุงน้ำดี

  • ความอ้วน คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มีคอเลสเตอรอล (Cholesterol stone) เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มขึ้น
  • การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน จากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
  • กินยาลดไขมันบางชนิด ทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากๆ
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป และทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลออกมามากขึ้น รวมถึงถุงน้ำดีจะบีบตัวลดน้อยลง น้ำดีจึงค้างอยู่ในถุงน้ำดีนานขึ้น โอกาสเกิดการตกตะกอนก็มากขึ้น
  • พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากขึ้น

นิ่วในถุงน้ำดี อาการเป็นอย่างไร ?

ในคนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอาจไม่แสดงอาการใดๆ หรืออาจจะมีบางอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีแน่นอืดท้อง อาหารไม่ย่อย มีลมมาก
  • มีอาการปวดท้องเป็นพักๆ ที่บริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวา ร่วมกับคลื่นไส้หรืออาเจียน ซึ่งมักเป็นหลังรับประทานอาหารมันๆ อาจเป็นอยู่หลายชั่วโมงแล้วหายไป อาการเป็นๆ หายๆ
  • ในรายที่ก้อนนิ่วเคลื่อนไปอุดในท่อส่งน้ำดี จะมีอาการปวดบิดรุนแรงเป็นพักๆ ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา ซึ่งอาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา มักปวดนานเป็นชั่วโมงๆ และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
  • เมื่อเกิดการอักเสบของถุงน้ำดี อาการที่บ่งชัดเจน คือ อาการปวดท้องจะมากขึ้น ปวดบริเวณยอดอก (epigastrium) และปวดร้าวทะลุไปยังบริเวณหลัง มีไข้ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ตัวเหลืองตาเหลือง และปัสสาวะสีเข้มได้

อย่างไรก็ตามอาการแน่นอืดท้อง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารมันซึ่งพบได้บ่อยนั้นไม่ใช่อาการจำเพาะเจาะจงว่าเป็นนิ่วถุงน้ำดีเท่านั้น ฉะนั้นควรจะต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ โดยเฉพาะโรคทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ออกจากโรคนิ่วถุงน้ำดีก่อน ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

กลับสู่สารบัญ

วิธีตรวจ หรือ การวินิจฉัย นิ่วในถุงน้ำดี

  1. การซักประวัติอาการและการตรวจร่างกาย
  2. การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ
  3. การทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasonography) ยอมรับกันว่า เป็นวิธีการที่ดีมากในการยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นนิ่วในปัจจุบัน

นิ่วในถุงน้ำดี อันตรายไหม? หากเป็นแล้วต้องรักษาอย่างไร ?

การรักษานิ่วในถุงน้ำดีแบบไม่ต้องผ่าตัด

ผู้ที่ตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดี ที่ไม่มีอาการ ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะต้องผ่าตัด เพียงแต่ให้คำแนะนำถึงข้อแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยยังไม่ต้องให้การรักษาใดๆ

  • ยกเว้นในกรณีผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น หากมีการอักเสบถุงน้ำดีเกิดขึ้น และต้องผ่าตัดฉุกเฉิน จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงอันตรายมากขึ้น ฉะนั้นถ้าโรคนั้น ๆ สามารถควบคุมได้ดีแล้ว อาจจะพิจารณาผ่าตัด ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของศัลยแพทย์เป็นราย ๆ ไป
  • ในรายที่สุขภาพแข็งแรง แต่คาดว่าอาจจะมีปัญหาในการรับการรักษาต่อไปข้างหน้า ทั้งเป็นความต้องการของผู้ป่วย อาจจะพิจารณาความเหมาะสมเป็นกรณี ๆ ไปเช่นกัน

การผ่าตัด นิ่งในถุงน้ำดี มีกี่วิธี ?

ในผู้ป่วยที่มี นิ่วในถุงน้ำดี และมีอาการ แนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัดถุงน้ำดีออก ซึ่ง การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก (Cholecystectomy) เป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวรเพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นอีกต่อไป ซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

  1. การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบเดิม ในปัจจุบันแพทย์จะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง (หลังการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยไม่ควรทำงานหนักหรือยกของหนักอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์)
  2. การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบใหม่และได้กลายเป็นการรักษามาตรฐานเพื่อรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดีมา โดยจะเป็นการเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง 4 จุด ทำให้เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว 1-2 วันก็สามารถบ้านได้ (ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ถ้าเป็นมากบางครั้งอาจจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องหรือแบบเดิม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป)

คำถามที่พบบ่อย

การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มีสาเหตุหลักๆ มาจากปริมาณคอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีมากเกินไป ผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น คนอ้วน คนที่เป็นโรคเบาหวาน ฯลฯ หรือผู้ที่อยากป้องกันการเกิดโรคนิ่ว ควรหลักเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีไขมันสูง เช่น ของมัน ของทอด น้ำมันสัตว์ เนื้อสัตว์ติดหนัง เบคอน เนย หมูสามชั้น เครื่องในสัตว์ต่างๆ หรืออาหารทะเลบางชนิดที่มีคอเลสเตอรอลสูง อย่างหอยนางรม หอยแครง ปู หมึก เป็นต้น

ในความเป็นจริงแล้ว นิ่วอาจสลายไปเอง หรือมีขนาดเล็กลงได้ แต่นิ่วไม่สามารถหายเองได้ จำเป้นต้องรักษาทางการแพทย์ ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันมีวิวัฒนาการ มีอุปกรณ์และวิธีรักษาที่ทันสมัย เช่น การผ่าตัดส่องกล้อง ไม่เป้นอันตราย พักฟื้นไว แผลเล็ก หรืออีกวิธีคือการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

อาการกรดไหลย้อน หรือแสบร้อนบริเวณหน้าอก อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของ โรคนิ่วในถุงน้ำดี ก็ได้ แต่เพื่อคความมั่นใจ อาจจะต้องเข้าไปตรวจที่โรงพยาบาล ให้แพทย์วินิจฉัยว่า อาการจากกรดไหลย้อนที่เกิดนั้น เกิดจากอะไร

บทความที่น่าสนใจ

เนื่องจากการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ต้องใช้ยาสลบ ผู้ป่วยอาจมีอาการหลังผ่าตัด เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หรือเกิดอาการท้องอืดหลังผ่าตัดในช่วงแรกๆ ได้

ถุงน้ำดี มีลักษณะเป็นวงรี ขนาดประมาณ 4 นิ้ว จะอยู่ตรงส่วนบนด้านขวาของช่องท้อง อยู่ติดกับตับที่อยู่ทางด้านล่าง

ถุงน้ำดีเป็นเพียงอวัยวะหนึ่งที่เอาไว้เก็บน้ำดี ที่ผลิตจากตับเพียงเท่านั้น หากทำการผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปแล้ว จึงไม่เป็นอันตราย หรือไม่มีผลต่อการใช้ชีวิตมากนัก เพียงแค่เมื่อตับผลิตน้ำดีออกมา จะไม่มีที่เก็บน้ำดีเท่านั้นเอง ซึ่งระบบย่อยก็ยังทำงานได้ปกติ โดยน้ำย่อยที่ได้จากตับจากลงไปสู่ลำไส้โดยตรงเลย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และรักษาที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนารักษาที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า