Home Isolation คืออะไร มีขั้นตอนการปฏิบัติตัวอย่างไร หากติดเชื้อโควิด-19

Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้าน ของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 (covid-19)

เนื่องจากสถานการณ์ตอนนี้ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้โรงพยาบาลหลายแห่ง มีเตียงผู้ป่วยเพื่อทำการรักษาไม่เพียงพอ ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ประกาศให้มีการรักษาแบบ Home Isolation หรือ แยกกักตัวที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มสีเขียว ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก ไม่แสดงอาการ รวมถึงผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 7-10 วัน และมีอาการดีขึ้น แพทย์ยินยอมให้กลับมากักตัวที่บ้านได้ แต่อย่างไรก็ตาม การทำ Home Isolation ก็จะมีข้อปฏิบัติ ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อจะต้องทำตาม ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลไว้ดังนี้

Home Isolation คืออะไร ?

Home Isolation หรือ การแยกกักตัวที่บ้าน นั้นเป็นการรักษาตัวในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการรุนแรงมากนัก หรืออาจจะไม่แสดงอาการ แต่จะต้องเข้าหลักเกณฑ์เบื้องต้นตามที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ด้วย ซึ่งการทำ Home Isolation จะรวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 7-10 สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อโดยต้องผ่านความยินยอมของแพทย์และความสมัครใจของผู้ป่วย

ผู้ที่เข้าเกณฑ์การเข้าระบบ Home Isolation

เบื้องต้นของการเข้าระบบHome Isolation จะเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คือ พบว่าติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรงมาก ประกอบกับแพทย์พิจารณาว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ ซึ่งหลักเกณฑ์การเข้าระบบมีดังต่อไปนี้

  1. เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
  2. มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  4. พักอาศัยอยู่คนเดียว หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกิน1 คน หรือมีห้องส่วนตัว และไม่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ
  5. ไม่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 กก./ ม.2 หรือ น้ำหนักจัวไม่เกิน 90 กก.)
  6. ไม่มีโรคร่วม หรือโรคแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD ระยะ 3-4) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่คุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ เป็นต้น
  7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
  8. พักอาศัยอยู่คนเดียว หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกิน 1 คน
กลับสู่สารบัญ

ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว อาการเป็นอย่างไร ?

เป็นผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อโควิด-19 แต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยจะเรียกว่า “ผู้ป่วยสีเขียว” ซึ่งจะมีอาการทั่วไปดังต่อไปนี้

  • มีไข้ วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96%
  • ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  • จมูกไม่ได้ กลิ่นลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่น
  • ถ่ายเหลว
  • ไม่มีอาการหายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก
  • ไม่มีปอดอักเสบ

ข้อดีของการแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยสีเขียว

  • ลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อเพิ่ม
  • การอยู่บ้านช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และสุขภาพจิตที่ดีทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
  • ช่วยให้คนป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อได้รับการดูแลและรักษาที่เร็วขึ้น แก้ปัญหาเดิมที่เข้าไม่ถึงการบริการ
Home Isolation รักษาตัวที่บ้าน
กลับสู่สารบัญ

ขั้นตอนการลงทะเบียน เข้าระบบ Home Isolation

  1. ตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR แล้วพบว่าติดเชื้อ หรือมีผลเป็นบวก ( + , Detected , Positive )

ในกรณีทำการตรวจด้วยวิธี Rapid Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตัวเอง แล้วผลปรากฏว่าเป็นบวก หรือติดเชื้อ ผู้ป่วยจะต้องทำการตรวจเพื่อยืนยันผลอีกครั้งด้วยวิธี RT-PCR (มีใบผลตรวจ หรือใบรับรองแพทย์)

หรือหากตรวจด้วย Antigen Test Kit จะต้องผ่านการรับรองจาก อย. ชุดตรวจต้องระบุว่าสำหรับทดสอบด้วยตัวเอง (Home Use / Home Test / Self Test) หรือตรวจจากหน่วยตรวจโควิดเชิงรุก และจะต้องเป็นการตรวจผ่านโพรงจมูก (Nasal Swab) หรือน้ำลายเท่านั้น

2. ติดต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำการลงทะเบียนเพื่อขอเข้าระบบ Home Isolation

หากผลตรวจด้วย RT-PCR ถูกยืนยันแล้วว่าติดเชื้อโควิด-19 จริง ให้ท่านติดต่อยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่

  • ลงทะเบียนHome Isolation กรณีเป็นบัตรทอง

สำหรับผู้ที่ถือสิทธิ์บัตรทอง (คลิกดูวิธีสมัครบัตรทองที่นี่) โทร.ติดต่อสายด่วน สปสช. ที่เบอร์ 1330กดต่อ 14 หรือมีความประสงค์จะขอกลับไปรักษาตัวที่ต่างจังหวัด ให้ติดต่อเบอร์ 1330 ต่อ 15 และเพิ่มเพื่อนทางไลน์ LINE@ : @nhso กดลงทะเบียนในระบบอีกครั้ง

  • ลงทะเบียนHome Isolation กรณีเป็นประกันสังคม

สำหรับผู้ที่ถือสิทธิ์ประกันสังคม โทร.ติดต่อสายด่วน สปสช. ที่เบอร์ 1506 กด 6

  • ลงทะเบียนHome Isolation ผ่านไลน์ FMCoCare

FammedCocare เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทะเบียน เพื่อเข้าสู่ระบบการทำHome Isolation หรือแยกกักตัวที่บ้าน ซึ่งเป็นความร่วมมือจากแพทย์เครือข่ายเวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้านในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล แอดไลน์ LINE@ : @fammedcocare

3. เข้าสู่ระบบการทำHome Isolation หรือ การแยกกักตัวที่บ้าน

เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับ หลังจาก จับคู่ผู้ป่วยกลับคลินิก ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลที่จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยระหว่างแยกกักตัวที่บ้าน และหากแพทย์ทำการพิจารณาผู้ป่วยแล้วพบว่า เป็นผู้ป่วยสีเขียว จึงสามารถเริ่มต้นเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้านได้ทันที

สแกนลงทะเบียนHome Isolation – แยกกักตัวที่บ้าน
ลงทะเบียน Home Isolation แยกกักตัวที่บ้าน
กลับสู่สารบัญ

หากติดเชื้อโควิด-19 แล้วต้องรักษาตัวแบบ Home Isolation ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

เมื่อยืนยันท่านเข้าสู่ระบบการทำHome Isolation แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ดำเนินตามขั้นตอน พร้อมส่งอุปกรณ์ให้ท่าน ดังต่อไปนี้

  • แจกเครื่องวัดไข้ วัดออกซิเจนในเลือด ยาฟ้าทะลายโจร และอาหาร 3 มื้อ
  • วิดีโอคอล หรือโทร.ติดต่อ เพื่อติดตามอาการ วันละ 2 ครั้ง
  • ส่งต่อโรงพยาบาลเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอเตียง พร้อมจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อประคับประคองอาการระหว่างรอ

และผู้ป่วยโควิด-19 จะต้องปฏิบัติตัวตามกฎของการทำHome Isolation อย่างเคร่งครัด ดังนี้

  1. ห้ามออกจากที่พัก อยู่ห้องส่วนตัว และห้ามคนมาเยี่ยมที่บ้าน
  2. หากในบ้านที่กักตัวนั้นมีผู้ร่วมอาศัยคนอื่นอยู่ด้วย ให้เว้นระยะห่างจากคนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ
  3. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับใคร เช่น โทรศัพท์มือถือ จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ผ้าขนหนู เป็นต้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  4. ห้ามรับประทานอาหารร่วมกัน
  5. กรณีคุณแม่ให้นมลูก ยังสามารถให้นมได้ปกติ เพราะไม่มีรายงานพบเชื้อโควิดในน้ำนม แต่คุณแม่ต้องสวมหน้ากากและล้างมือ ก่อนสัมผัสลูกหรือให้นม
  6. ผู้ป่วยควรดื่มน้ำสะอาดและพักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  7. ห้องน้ำแยกเดี่ยว ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ เครื่องใช้ให้ทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ทันที
  8. ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
  9. ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ก่อนและหลังทุกครั้งที่ต้องต้องสัมผัสของใช้ต่าง ๆ
  1. เปิดประตูให้มีช่องลมเข้าออก เพื่อลดการสะสมเชื้อโรค
  2. เสื้อผ้าเครื่องนอนต้องสะอาด ซักผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ด้วยสบู่หรือผงซักฟอก หากใช้เครื่องซักผ้าให้ซักด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าในอุณหภูมิ 60 ถึง 90 องศาเซลเซียส
สิ่งที่ต้องเตรียมหากทำ Home Isolation
กลับสู่สารบัญ

สิ่งที่ต้องระวัง ระหว่างการทำ Home Isolation

ระหว่างการทำHome Isolation นั้นมีผู้ร่วมอาศัยคนอื่นอยู่ด้วย ผู้ป่วยติดเชื้อจะต้องระวังเรื่องดังต่อไปนี้ (อยู่คนเดียวก็สามารถปฏิบัติได้)

  • ล้างมือเป็นประจำอย่างถูกวิธีอย่างน้อย 30 วินาทีโดยเฉพาะหลังการไอ จาม และขับถ่าย
  • ฆ่าเชื้อเมื่อสัมผัสสิ่งของต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ เพื่อไม่ให้คนอื่นที่มาใช้ต่อเสี่ยงรับเชื้อ
  • ระวังเรื่องการไอจาม หากรู้สึกอยากไอจามต้องออกให้ห่างคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร และหันหน้าไปทางทิศตรงข้าม หากไอจามขณะสวมหน้ากากไม่ต้องเอามือปิดและไม่ต้องถอดหน้ากาก เพราะเชื้ออาจจะติดมากับมือ แต่ถ้าไอจามตอนไม่สวมหน้ากากให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก
  • สวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่อต้องเจอคนอื่น
  • ทิ้งหน้ากากอนามัย หรือซักทำความสะอาด (หน้ากากผ้า) หลังใช้ครบ 8 ชั่วโมง หรือเมื่อพบว่าหน้ากากเปียกชื้น มีรอยสกปรก

สิ่งสำคัญที่ต้องหมั่นตรวจเมื่อทำการแยกกักตัวที่บ้าน

เมื่อทำการแยกกักตัวที่บ้าน ผู้ป่วยจะต้องหมั่นตรวจ วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว อุณหภูมิร่างกายและบันทึกค่าเหล่านี้ไว้เพื่อนำไปรายงานประกอบการวินิจฉัยของแพทย์

  • การใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
    1. ใส่ถ่านหรือชาร์จให้เต็ม
    2. กดปุ่มเปิดเครื่อง และสอดปลายนิ้วตามตำแหน่งที่กำหนด
    3. หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วรอสักพัก จากนั้นจดค่าที่วัดได้
    4. อ่านค่าและแปรผลเลข (ตัวบน คือค่าระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ / เลขตัวล่าง คือค่าอัตราการเต้นของหัวใจ มีหน่วยเป็นครั้ง/นาที
    5. ค่าปกติของระดับออกซิเจนที่วัดได้อยู่ที่ 96-100% หากต่ำกว่าเกณฑ์นี้ให้รีบติดต่อแพทย์
  • การใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล มีหลายวิธี เช่น
    1. สอดส่วนหัวสีเงิน เข้าไปใต้รักแร้ พับแขนหนีบทิ้งไว้ 2-3 นาที
    2. อมปรอทไว้ใต้ลิ้นนาน 3 นาที (ไม่ควรดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นก่อนวั 10-15 นาที)
    3. หากมีไข้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ กินยาลดไข้ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นให้รีบติดต่อแพทย์

*ทำความสะอาดตลอดทุกครั้งหลังใช้

ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดค่าออกซิเจนในเลือด
กลับสู่สารบัญ

สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องเตรียม ระหว่างการทำ Home Isolation

  1. อุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อ
  • เจลล้างมือ
  • แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
  • หน้ากากอนามัย
  • ถุงสำหรับขยะติดเชื้อ
  • ทิสชูแห้ง ทิสชูเปียก
  • น้ำยาฟอกขาวสำหรับทำความสะอาด

2. ยารักษาโรคที่กินเป็นประจำ

หากรักษาตัวแบบ Home Isolation แล้วมีอาการแย่ลง จะทำอย่างไร ?

ในกรณีที่ทำการรักษาตัวแบบHome Isolation แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ให้รีบติดต่อแพทย์ตามช่องทางที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ เพื่อขอรับการช่วยเหลือ โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้

  1. ไข้สูงเกิน 5 องศาเซลเซียส
  2. ท้องเสีย อาเจียน กินอาหารไม่ได้
  3. วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้ต่ำกว่า 96%
  4. หายใจไม่สะดวก พูดเป็นประโยคยาวๆ ไม่ได้
  5. ไอมาก แน่นหน้าอกต่อเนื่อง นอนราบไม่ได้
  6. หายใจลำบาก หายใจเหนื่อย หายใจเร็ว
  7. มีอาการซึม เรียกไม่รู้สึกตัว หรือไม่ตอบสนอง
หากรักษาตัวแบบ Home Isolation แล้วมีอาการแย่ลง จะทำอย่างไร ?
กลับสู่สารบัญ

การกำจัดขยะติดเชื้อ ระหว่างทำ Home Isolation

หลังจากการทำHome Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้าน จะต้องมีขยะติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งขยะติดเชื้อ ได้แก่ ขยะปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ภาชนะใส่อาหาร ชุดตรวจโควิด เป็นต้น จำเป็นต้องกำจัดทิ้ง และเพื่อให้ทุกคนปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อทุกวันใส่ถุงขยะ 2 ชั้น (ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ถุงขยะสีแดงสำหรับขยะติดเชื้อ)
  2. ถุงขยะชั้นแรกเมื่อใส่ขยะติดเชื้อแล้ว ให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฟอกขาว เพื่อทำลายเชื้อ
  3. มัดปากถุงให้แน่น แล้วฉีดฆ่าเชื้อบริเวณปากถุง
  4. ซ้อนด้วยถุงอีกชั้น รัดให้แน่น และฉีดฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงอีกรอบ
  5. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที

ข้อปฏิบัติหลังหายป่วย จากการทำ Home Isolation

  • ยังต้องระวังตัวอย่างเคร่งครัด ด้วยการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
  • พยายามแยกตัวจากผู้อื่น เลี่ยงการทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จนครบ 1 เดือนนับจากวันที่กักตัว
  • หากยังไม่ฉีดวัคซีนแนะนำให้ฉีดโดยเว้น 3-6 เดือนนับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ
Home Isolation มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คำถามที่พบบ่อย

เมื่อไหร่สิ้นสุดการแยกกักตัวที่บ้าน?

จะต้องขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ผู้ดูแลรักษา

รักษาตัวแบบ Home Isolation เบิกประกันโควิด ได้ไหม?

ในกรณีรักษาตัวโดยแยกกักตัวที่บ้าน อยากเคลมประกันชดเชยรายวัน สามารถทำได้หรือไม่?

ตอบ : สามารถทำได้ แต่ผู้ที่ทำการรักษาแบบHome Isolation จะต้องย้ายเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงจะได้รับการคุ้มครอง และค่าชดเชยรายวัน เนื่องจากตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ สัญญาประกันภัย ระบุบไว้ใน คำสั่งที่ 43/2564 และ 44/2564 ตามประกาศ คปภ. วันที่ 1 ส.ค. 2564

รักษาตัวแบบ Home Isolation เคลมประกัน เจอจ่ายจบ ได้ไหม?

จากคำสั่ง คปภ. ที่ 43/2564 และ 44/2564 ระบุว่า “กรณีประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบ ที่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดเพิ่มเติมนั้น ไม่เกี่ยวว่าจะรักษาตัวที่ไหน ถ้ามีหลักฐานที่กำหนดมาแสดงว่าติดเชื้อจริง บริษัทประกันภัยต้องจ่าย ทั้งนี้บริษัทประกันภัยจะมาอ้างว่าเป็นกรณีHome Isolation หรือแบบ Community Isolation แล้วไม่จ่ายเคลมไม่ได้

ทั้งนี้ ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะต้อง ดูตามสัญญาประกันด้วยว่าต้องใช้เอกสารใดบ้างเพื่อมายืนยันรับค่าชดเชย เช่น ใบรับรองแพทย์, ใบรับรองจากสถานพยาบาล, ผลตรวจ ใบเสร็จ หรือหลักฐานต่างๆ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพ จาก nhso.go.th, thairath.co.th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า