ทำความรู้จัก Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย โรคยอดฮิตคนญี่ปุ่น

Karoshi Syndrome โรคทำงานหนักจนตาย

Karoshi Syndrome โรคทำงานหนักจนตาย แค่รู้ชื่อก็พอที่จะเดาออกเลยว่าโรคนี้มากจากประเทศญี่ปุ่น และก็มักจะได้ทราบข่าวกันบ่อยๆ ถึงการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ บางคนในขณะที่นั่งรถอยู่ๆก็เสียชีวิตเอาดื้อ ๆ  ทางการแพทย์เองก็ได้ยืนยันถึงสาเหตุการเสียชีวิตจากโรค Karoshi นี้ที่เกิดจากการทำงานอย่างหนักจนร่างกายทนต่อพิษการทำงานไม่ไหว สำหรับโรคนี้อะไรที่เป็นสาเหตุ อะไรคือสิ่งอันตรายและวิธีไหนจะป้องกันโรคจากการทำงานบทความนี้จะมาช่วยหา

สาเหตุของการเกิดโรคคาโรชิ (Karoshi Syndrome)

สำหรับการตายของโรคคาโรชิจะมีอยู่ด้วยกัน 2สาเหตุใหญ่ ๆ ดังนี้

คือ ตายเพราะโรคและตายเพราะเครียด เนื่องด้วยจากการทำงานอย่างหนักตามที่ได้กล่าวเอาไว้ ทำให้ร่างกายไม่ได้หยุดพักอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ร่างกายขาดสารอาหารหรืออดอาหาร ในผู้ที่คลั่งงานต้องรอให้งานเสร็จเสียก่อนที่จะรับประทานอาหารได้ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่อาจทนต่อการเกิดโรค ในกรณีที่มีความเครียดก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจอย่างร้ายแรง กดดันตัวเอง รู้สึกไร้ค่า ทำให้หดหู่และสุดท้ายก็จบลงด้วยการฆ่าตัวตาย

อันตรายจากโรคคาโรชิ - Karoshi Syndrome

เนื่องจากคนทำงานมีสภาวะความดันเลือด(สูง) ทำให้เกิดโรคหัวใจและอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองมากขึ้น ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าคนที่ทำงานหนักมีความเสี่ยงต่อ 3โรคนี้สูงมากกว่าปกติโรคคาโรชิอาจทำให้เกิดโรคหลาย ๆ โรคที่รุนแรงตามมา สืบเนื่องมาจากความเครียดการพักผ่อนไม่เพียงพอ กิจกรรมเดิมทำให้ห่วงงาน เครียดกับงานซ้ำไป ไม่มีแม้เวลาไปออกกำลังกาย ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลากินข้าว เครียดมาก ไปก็สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เมื่อเป็นนี้โรคต่าง ๆ จะไม่มาเยือนก็แปลกแล้ว

ซึ่งในอุบัติการณ์เราก็ยังพบว่ามีหลายคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังเจอกับโรคนี้อยู่และยังคงทำพฤติกรรมเดิม ๆ ซ้ำๆ ทำงานหนักจนเครียด การมีของประทังความเครียดก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เมื่อเริ่มทานมากขึ้นไขมันในเลือดก็จะเริ่มสูงตาม โรคอื่น ๆ จะเสริมทัพเข้ามาโจมตีและสะสมไปเรื่อย ๆ จนร่างกายรับไม่ไหวจนวูบหลับและเสียชีวิตในที่สุด

Karoshi Syndrome โรคทำงานหนักจนตาย

การป้องกันโรคคาโรชิ - Karoshi Syndrome

แค่รู้จักจัดสรรเวลาในการทำงานให้เป็น รู้เวลาไหนควรพักเวลาไหนควรทำงานและไม่ทำงานหนักมากจนเกินเหตุ รู้จักปรับเวลาในการทำงาน รู้จักเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน แค่นี้ก็ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงแล้วเพราะว่าสุขภาพของเราสำคัญที่สุดหากพลาดเป็นอะไรขึ้นมาไม่คุ้มกันเลย

กลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคคาโรชิ

เราพบว่ารอยของโรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัยและส่วนมากจะยังคงเน้นไปที่

ผู้สูงอายุ ในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50-70ปีขึ้นไปเราพบว่าเป็นผู้ที่ฮอร์โมนมีขึ้น-ลง มักมีความน้อยใจลูกหลาน ถูกละเลยในการดูแลเอาใจใส่โดยเฉพาะผู้ที่ลูกเพียงคนเดียวหรือไม่มีลูกหลานคอยดูแลภาวะความเครียด หลง ๆ ลืม ๆ  ความกดดันอาจสูงขึ้นได้ ในบางรายพบว่าผู้ที่มีอายุมากก็พบโอกาสการฆ่าตัวตายสูง ในผู้ที่ภาวะตั้งครรภ์หรือหลังคลอดบุตร ที่เรียกว่า Mama blue ที่มักจะพบในผู้หญิงวัย25ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะความเครียดที่สะสม ส่งผลอย่างมากต่อการเกิดภาวะฆ่าตัวตาย บางรายที่ไม่รุนแรงก็พบว่ามีอาการซึมเศร้า  แต่อาการซึมเศร้านั้นมักไม่ได้ทำร้ายผู้อื่น แต่จะทำร้ายตัวเองเป็นส่วนใหญ่เสียมากกว่า

นอกจากนี้การที่รักงานเป็นเหตุหรือ ผู้ที่มีหน้าที่คอยคุมทีม ก็มีอัตราความเครียดและความกดดันสูงเพราะต้องแข็งกับเวลาอยู่เสมอ สุดท้ายผู้ที่มีความเสี่ยงอีกกลุ่มคือ บุคลากรด้านการแพทย์ ที่ต้องรับภาระอย่างหนักจากคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในเคสใหญ่ ๆ อย่างการผ่าตัด การทำศัลยกรรม

ทั้งนี้ในกรณีของโรคคาโรชิทำให้เรารู้ว่าไม่ทำงานเลยก็ไม่ได้ทำงานมากเกินไปก็ใช่ว่าจะดีฉะนั้นเลือกเดินทางสายกลางอยู่ในความพอดีดีกว่าอย่าให้การทำงานมาเป็นภัยต่อสุขภาพเลยนะ

Reference

  1. NG, Wang T, Huang P, et al. Karoshi related to labor intensity and risk of cardiovascular events: A case report. Fa Yi Xue Za Zhi. 2015;31:343–46.
  2. Eguchi H, Wada K, Smith DR. Recognition, compensation, and prevention of karoshi, or death due to overwork. J Occup Environ Med. 2016;58:e313–14.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และรักษาที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนารักษาที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า