ไม่น่าเชื่อว่าจะอาการเล็กๆเบื้องต้นจากอาการปวดคอบ่า แขน ขาลีลาไปถึงร่างกายในส่วนอื่นจนกระทั่งทำให้เกิดการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงซึ่งโรคนี้จะน่ากลัวแค่ไหนเรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลย
ต้องอธิบายก่อนว่าอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน โดยที่รู้จักกันคือ ALS โรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม(ตาย) โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งบางรายก็เข้าใจว่าเกิดจากการใช้ยาฆ่าแมลงเยอะเกินไปไหม หรือการใช้การพิษ รวมถึงการใช้สารกัมมันตภาพรังสีต่างๆ เมื่อเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อมก็ทำให้การควบคุม การเคลื่อนไหวของแขน ขากระทำไม่ได้จึงทำให้เหมือนว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรง อันที่จริงแล้วเป็นภาวะการอ่อนแรงจากโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อมที่อยู่ในไขสันหลังและสมอง และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดเอ็มจี(MG)
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG
เป็นประเภทของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มักจะเกิดกับกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณใบหน้า Autoimmune คือ ภูมิที่ทำร้ายตัวเองนั่นเอง
สาเหตุของการเกิด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชนิด MG
สองในสามของผู้ป่วยเกิดขึ้นเนื่องจากมีเนื้องอกหรือต่อมไทมัสที่จะอยู่บริเวณกลางหน้าอกอยู่ใกล้เคียงกับหัวใจ ซึ่งต่อมไทมัสเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคนี้ หรือเป็นตัวที่ไปเพิ่มภูมิคุ้มกันที่ไวออกมาทำร้ายร่างกาย
อาการของ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชนิดMG
ลักษณะอาการที่พบได้บ่อยๆ เลยในกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดMG คือในบริเวณกล้ามเนื้อที่ช่วยยก อย่างกล้ามเนื้อตา และเปลือกตา ทำให้หนังตาตกเห็นภาพไม่ชัด กลอกลูกตาผิดปกติหรือ ตาเข อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดนี้ค่อนข้างตรวจสอบได้ยากเพราะแต่ละคนอาจมีความผิดปกติของดวงตานำมาก่อน
นอกจากนี้ รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า (แพทย์ด้านประสาทวิทยา)ได้อธิบายถึงลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการ จากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG โดยระบุว่าจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหลายส่วน โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อของการหลับและลืมตา กล้ามเนื้ออ่อนแรงของการพูด การเคี้ยว การกลืนและกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขน ขา
ยังให้คำจำกัดความไว้ว่า เป็น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่รุนแรง
ช่วงอายุวัย ที่มักจะพบ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชนิดMG
ในวัยใดก็ตามที่เกิดจากภูมิคุ้มกันที่ไวผิดปกติ (ไม่ใช่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง) สามารถพบได้ในกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 20-35ปี ค่อนข้างที่จะพบได้มาก และกรณีที่ภูมิคุ้มกันที่ไวมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงสูงถึง80% ผู้ชายเพียง 20% เท่านั้น เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุก็จะไม่เหมือนกับ โรคอัมพฤกษ์- อัมพาต ที่เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือด และในเด็กเล็กเองก็มีโอกาสพบได้ ซึ่งบางรายเกิดมาก็พบได้ว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดเอ็มจี(MG) ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากมารดาสู่บุตรที่อยู่ในครรภ์จนถึงคลอดออกมาเป็นทารก ความเสี่ยงของทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะหายใจล้มเหลวตั้งแต่เกิดได้
ความแตกต่างระหว่างโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง / อัมพฤกษ์ -อัมพาต
จากที่หลายคนสงสัยระหว่างโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะคล้ายกับอัมพฤกษ์ -อัมพาตหรือไม่ ซึ่งสองโรคนี้มีแค่สาเหตุก็ต่างกันแล้วโรคอัมพฤกษ์-อัมพาต เกิดจากเส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรือตัน ฉะนั้นก็จะพบได้ในคนสูงอายุ มีโรคความดัน เบาหวาน เส้นเลือดอุดตันในไขมันและลักษณะของการเกิดก็จะเป็นอย่างทันใดและไม่สามารถรักษาให้หายด้วย
ส่วนโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดเอ็มจี(MG) นั้นจะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าและจะเป็น2ข้าง แตกต่างจากโรคอัมพฤกษ์- อัมพาตที่จะเป็นเพียงซีกใดซีกหนึ่งเท่านั้น
วิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงขนิดเอ็มจี (MG)
สิ่งที่จำเป็นก็คือ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกว่าลักษณะของต่อมไทมัสนั้นโตขึ้น หรือมีเนื้องอกเกิดขึ้นหรือไม่ หากว่าพบก็จำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัด เพื่อนำต่อมไทมัสที่มีเนื้องอกออกถือเป็นการรักษาที่ต้นเหตุโดยตรงเลย
แต่กรณีที่ไม่พบและอาการไม่รุนแรง ซึ่งทั่วไปแล้วอาการของแต่ละคนค่อนข้างแตกต่างกันบางคนเป็นที่ตาเล็กน้อย บางคนแขนขาอ่อนแรงนิดหน่อย แพทย์ก็จะให้ยาเพื่อไปเสริมเพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น
อีกกรณีที่เป็นมาก ๆ จำเป็นที่จะต้องทำการฟอกเลือด โดยการใส่เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากว่าภายในกระแสเลือดนั้นมีสารเคมี(ซึ่งจะเป็นคนละกระบวนการกับการฟอกไต)เพื่อนำภูมิคุ้มกันที่ไม่จำเป็นออกก็จะทำให้ผู้ป่วยมีแรงมากขึ้นหรือหากไม่ใช้วิธีนี้อาจจะฉีดยาเข้าไปเพื่อแก้ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติออก วิธีเหล่านี้ก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างรุนแรงสูง
การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรที่จะละเลย ทางออกที่ดีที่สุดหมั่นดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำก็เป็นผลดีกว่าการมีอาการแล้วค่อยรักษา บางรายที่ว่าตัวเองมีสุขภาพแข็งแรงดีป่วยยากแต่ด้วยภาวะที่มีอันตรายอยู่รอบด้านก็ไม่ควรหลีกเลี่ยงในการไปพบแพทย์จากอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ
Reference
1.CiafaloniE, Massey JM.The manage-Mentofmyasthenia gravisinpregnancy.Semin Neurol 2004;24:95-100.
2. Anesthesiaissuesintheperi-Operative management of myasthenia Gravis.Semin Neurol 2004;24:83-94.
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์