6 คำถามเกี่ยวกับ ‘โอไมครอน’ ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธ์ใหม่

เชื้อไวรัสกลายพันธู์ โอไมครอน (OMICRON)

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีการระบาดของเชือไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 (Covid-19) เชื้อไวรัสได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา และสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดอย่าง โอไมครอน (Omicron) ทำให้ทั่วโลกต่างวิตกกังวลเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) ถึงกับประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC)  เนื่องจากแพร่เชื้อไวและติดต่อกันไวกว่าตัวเดิมหลายเท่า รวมถึงหากติดเชื้อแล้วแสดงอาการน้อยมาก หรือบางรายไม่แสดงอาการเลยก็มี

โอไมครอน (Omicron) คืออะไร ?

โอไมครอน (Omicron) มีรหัสเรียกว่า โควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 คือ corona virus ที่ทำให้ก่อโรค COVID-19 ซึ่งมีการกลายพันธุ์มากของยีนส์มากกว่า 50 ตำแหน่ง โดยเฉพาะบนโปรตีนหนาม (Spike Protein) ที่เป็นโปรตีนที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการกลายพันธุ์ถึง 32 ตำแหน่ง ส่งผลทำให้เชื้อแพร่กระจายอย่างรวดเร็วว่าสายพันธุ์เก่า อย่างสายพันธุ์เดลตา ถึง 2 เท่า การกลายพันธุ์นี้อาจจะก่อโรคได้ร้ายแรงขึ้น และที่กลัวมากที่สุดคือการดื้อต่อวัคซีน ที่พวกเราเพิ่งจะฉีดกันไป

สิ่งที่ทำให้ไวรัสกลายพันธุ์ โอมิครอน น่ากลัว คือ

  • สามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ  และมีอัตราการติดเชื้อซ้ำสูงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ
  • เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ติดต่อกัรง่ายแล้วไวขึ้นกว่าเดิม
  • เมื่อติดเชื้อแล้ว อาการที่แสดงออกมาจะน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย รวมถึงยังไม่มีข้อมูลที่บ่งบอกแน่ชัดว่า จะทำให้มีการเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อรุนแรงขึ้นมากน้อยแค่ไหน
  • อาจดื้อต่อวัคซีน หรือต้านต่อวัคซีนที่เราฉีดป้องกัน
  • กรณีหากคนที่เคยติดเชื้อโควิดมาแล้ว สามารถติดซ้ำได้จากเชื้อโอมิครอน

ตรวจเจอ โอไมครอน เคสแรกได้อย่างไร ?

เราตรวจเจอเคสแรกของโลกที่ประเทศบอสซาวานา (Botswana) ในทวีปแอฟริกาในห้องทดลองด้าน HIV ของ Harvard ที่ไปตั้งอยู่ที่โน่น แล้วพบว่าตัวอย่างที่ตรวจจำนวนหนึ่งมีความผิดปกติแล้วจึงทำการแจ้งให้ทั่วโลกทราบ อย่างไรก็ตาม ได้มีการระบาดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีคนที่ติดเชื้อเดินทางออกจากแอฟริกาไปแล้วทั่วโลก

จนถึงวันที่เขียนบทความนี้ เราพบการติดเชื้อไปแล้วกว่า 90 ประเทศ อาทิ แอฟริกาใต้, บอตสวานา, นามิเบีย, เอสวาตินี,มาลาวี, โมซัมบิก, ซิมบับเว, เลโซโท, เบลเยียม, ฮ่องกง, อิสราเอล, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, แคนาดา อิตาลี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัชเช็ก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2021)

โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นและมีรายงานอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี

โอไมครอน (Omicron) ติดต่อกันง่ายแค่ไหน ?

จากข้อมูลปัจจุบันเราพบว่าสายพันธุ์ Omicron นี้ติดต่อเร็วและง่ายกว่าเดลต้า ดังกราฟการระบาดในประเทศแอฟริกาใต้ที่มีเคสมากที่สุด จะเห็นว่า summer wave (เส้นสีดำ) จะมีความชันของกราฟมากกว่าเวฟอื่นๆ ซึ่งยิ่งชันมากก็หมายถึงเคสขึ้นเร็ว โดย summer wave ก็หมายถึง สายพันธุ์โอไมครอนนั่นเอง

ไวรัสกลายพันธุ์ โอไมครอน (Omicron)

เราคาดว่าสายพันธุ์โอไมครอน จะติดต่อง่ายกว่าเดลต้าราวๆ 3-6 เท่า (อ้างอิง Dr Tom Wenseleers  https://www.nature.com/articles/d41586-021-03614-z)

โอไมคอน (Omicron) จะดื้อต่อวัคซีนหรือไม่ ?

นี่เป็นคำถามที่ทุกคนอยากรู้ จนถึงวันนี้ เรายังไม่ทราบ เพราะการตรวจสอบยังไม่สิ้นสุด แต่คาดว่าจะมีการดื้อต่อวัคซีนบ้าง บางส่วนแต่เนื่องจากประเทศแอฟริกาใต้ ที่ติดเชื้อกันเยอะและเร็ว ยังมีปัญหาเรื่องการฉีดวัคซีนสองโดสต่ำมาก ไม่ถึง 50% ของประชากร ซึ่งน้อยกว่าประเทศไทย ทั้งที่มีวัคซีนเพียงพอเหลือเฟือ จึงทำให้เห็นเคสเยอะ

แต่จากการตรวจทางห้องปฎิบัติการพบว่ามีการดื้อต่อภูมิคุ้มกันธรรมชาติแน่นอน  เพราะเราเห็นคนที่เคยติดเชื้อไปแล้ว มีการติดเชื้อซ้ำจำนวนมาก ซึ่งแปลว่าภูมิคุ้มกันธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการป้องกัน

ข่าวดีคือวัคซีนที่เราฉีดกันมาแล้ว จะทำให้โรคมีความรุนแรงลดลงไปมาก

หากติดเชื้อ Omicron แล้วจะรักษาอย่างไร มีความรุนแรงกว่าเดลต้าหรือไม่

จนถึงปัจจุบัน เราเชื่อว่าโอไมครอน ไม่ได้ก่อนโรครุนแรงไปมากกว่าเดลต้า เพราะรายงานจากหลายแหล่งทั่วโลกยืนยันตรงกันว่าอาการของโอไมครอน ดูค่อนข้างเป็นไม่มาก หลายรายมีอาการคล้ายหวัด  ในส่วนของการรักษาไม่ว่าสายพันธุ์ไหน ก็จะรักษาเหมือนกันคือแบ่งผู้ป่วยเป็นสีเขียว เหลือง แดง แบบเดียวกัน และเฉพาะผู้ป่วยสีเขียวเท่านั้น ที่รักษาเองที่บ้านได้

หากติดเชื้อ Omicron จะมีอาการอย่างไร ?

หากติดเชื้อโอมิครอน (Omicron) อาจทำให้มีอาการดังข้างล่างต่อไปนี้ แต่ส่วนมากที่ตรวจเจอจะมีอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาที่บ้านได้

  • จมูกอาจจะยังได้กลิ่น
  • ลิ้นรับรสได้เป็นปกติ
  • มีไข้เพียงเล็กน้อย หรือไม่สบายประมาณ 1-2 วัน
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
  • มีอาการไอ หรือระคายคอ เพียงเล็กน้อย
  • ในกลุ่มโรคเรื้อรัง หาดติดเชื้ออาจมีอาการรุนแรงกว่าคนปกติทั่วไป

สุดท้ายนี้โอไมครอนก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเห็นว่าเราอาจจะต้องอยู่กับ COVID-19 ไปอีกนาน เพราะเชื้อก็มีการกลายพันธุ์เรื่อยๆ ในแต่ละปี และเราอาจจะต้องมีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นปีละครั้งแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่ไปเรื่อยๆ  โดยฉพาะคนไข้กลุ่มเสี่ยง โรคเรื้อรัง เด็กเล็กและผู้สูงอายุ

ตรวจโควิด RT-PCR แล๊ปมาตรฐาน ที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์

บริการรับตรวจ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR
โดย รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์

ผ่านแล็บมาตรฐาน น้ำยาที่ใช้ในการตรวจ RT-PCR สามารถตรวจจับ
เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” (Omicron) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า