เชื้อราในช่องปาก อาการติดเชื้อภายในช่องปาก เกิดจากเชื้อรา(Candida)แคนดิดา ที่เป็นผลมาจากอาการเจ็บป่วย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือการใช้ยาบางชนิดที่ไปนำเชื้อราให้เพิ่มจำนวนขึ้น เชื้อราในปากไม่ค่อยมีอันตรายนักและสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อรา
สาเหตุของการเกิด เชื้อราในช่องปาก
สาเหตุการเกิดเชื้อราในปากนั้นจะเป็นเชื้อราชนิดเดียวกัน แต่การแสดงอาการจะแตกต่างกัน ซึ่งเด็กและผู้ใหญ่โดยส่วนมากผู้ที่ได้รับเชื้อไม่ทราบด้วยซ้ำว่าตัวเองมีเชื้อราในปาก ทั้งนี้การแสดงอาการนั้นอาจเกิดได้ทั้งทันใดหรืออาจเกิดในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งด้วยการทิ้งช่วงเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือน อาการที่แสดงมีตามนี้
- ที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก เหงือกและต่อมทอนซิลมีคราบสีขาว
- ในปากแดงมีแผล ทำให้การเคี้ยว-กลืนอาหารลำบาก
- อาจมีเลือดซิบ เมื่อเสียดสี
- คนที่ใส่ฟันปลอมหรืออุปกรณ์ช่วยในช่องปากอาจปากแตกหรือเป็นรอยแดงที่มุมใดมุมหนึ่ง
- ปากแห้ง
- ลิ้นไม่รู้รสชาติ
- อาการรุนแรงคราบเชื้อราอาจกระจายลงไปภายในหลอดอาหาร จนทำให้กลืนอาหารยาก รู้สึกเหมือนมีอะไรขวางหรือติดอยู่ที่คอตลอดเวลา
เด็กทารก/คุณแม่ที่ให้น้ำนมบุตร เด็กทารกที่ได้รับเชื้อราในช่องปากจะมีปัญหาเรื่องการดูดนม หงุดหฃิดง่าย และอาจทำให้แม่ได้รับเชื้อราที่บริเวณหัวนมจะมีอาการร่วม คือ คัน – เจ็บ(บริเวณหัวนม) แดง แห้งแตกผิดปกติ(บริเวณหัวนม) เจ็บปวดเวลาให้น้ำนมบุตร (อาจมีอาการปวดร้าวลึกเข้าไปในหน้าอก
ภาวะแทรกซ้อนของ เชื้อราในช่องปาก
เชื้อราในปากอาจส่งผลได้มากน้อยแค่ไหนมักจะเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ภาวะแทรกซ้อนที่เจอ คือ
- เชื้อราแพร่เข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะส่วนอื่น
- ปัญหาในการรับประทานอาหารและดื่มน้ำเชื้อราในปากที่กระจายไปยังหลอดอาหารทำให้กลืนอาหารลำบาก
- ปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร การที่ปล่อยไว้หรือไม่ได้รักษาเชื้อราในปากใก็หายขาดจะทำให้เชื้อราแพร่กระจายลงไปในลำไส้และอาจส่งผลให้ลำไส้ยากต่อการดูดซึมสารอาหาร หรือดูดซึมอาหารแต่ไม่ได้เต็มที่เท่าที่ควร
วิธีการรักษาโรค เชื้อราในช่องปาก
อาการของเชื้อราในช่องปากนี้สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทีมแพทย์ และการใช้ยาซึ่งตัวยาก็จะมีหลายประเภทด้วยกันไม่ว่าจะเป็นประเภทยาเม็ด ยาอม และยาน้ำ ที่สำคัญต้องได้รับการใช้รักษาอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์จนกว่าอาการที่เป็นจะดีขึ้น
ไม่มีผลข้างเคียงไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงแต่อาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสียคลื่นไส้และอาเจียน
กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเชื้อราในปาก
กลุ่มเสี่่ยงต่อการได้รับเชื่อราในปาก คือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อย่าง
- เด็กเล็ก
- ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อแบคทีเรียที่เยื้อบุหัวใจ
- โรคลิ้นหัวใจพิการ
- โรคหัวแต่กำเนิด
- โรคหัวใจรูมาติก
ค่อยหายห่วงกันไปเลยใช่ไหมเมื่อรู้ว่าอาการเชื้อราในช่องปากนี้ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ดื่มน้ำเยอะ ๆ รักษาความสะอาดในช่องปากก็ลดอาการเสี่ยงของเชื้อรานี้ได้
Reference: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/oral-thrush/diagnosis-treatment/drc-20353539
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์