วิธีรักษา กล้ามเนื้ออักเสบ จากการเล่นกีฬา ด้วย PRP Therapy

วิธีรักษากล้ามเนื้ออักเสบ จากการเล่นกีฬา

กล้ามเนื้ออักเสบ จากการเล่นกีฬา จะรักษาอย่างไร? หลังจากที่เราออกกำลังกายมาอย่างหนัก หากเริ่มมีความรู้สึกเจ็บหรือปวดกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ เป็นการบ่งบอกว่า กล้ามเนื้อน่าจะเกิดการบาดเจ็บ ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ไม่ถูกต้องกับประเภทของกีฬาที่เล่น ความไม่พร้อมของกล้ามเนื้อ หรือมีการใช้กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งมากเกินไป ทำให้เกิดจากการบาดเจ็บหลังการออกกำลังกายได้ ซึ่งวิธีการปฐมพยาบาลหรือการบำบัดเบื้องต้นที่ควรทำ ได้แก่

  1. ทำการป้องกันส่วนที่บาดเจ็บ โดยการใช้ผ้าพัน หรือการใช้ผ้ายืด elastic bandages หรือการ splint ให้อยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับส่วนที่บาดเจ็บ
  2. ต้องได้รับการพักทันทีเมื่อมีอาการบาดเจ็บ เช่น บาดเจ็บหัวไหล่จากการเล่นเทนนิส ก็ควรหยุดเล่นสักพัก แต่คุณยังสามารถเล่นกีฬาอื่นที่ไม่ใช้หัวไหล่ได้ เช่น การเดิน หรือ วิ่งจ๊อกกิ้ง
  3. การประคบด้วยน้ำแข็งเป็นวิธีลดการอักเสบที่ดี เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรประคบ ice pack ประมาณ 10-15 นาที ภายหลังที่มีอาการบาดเจ็บ และทำซ้ำทุก ๆ ชั่วโมงในช่วงสี่ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นทำต่อไปวันละสี่ครั้งเป็นเวลาสองหรือสามวัน
  4. การกดหรือการรัด จะช่วยลดอาการบวมและการอักเสบได้ เช่นการใช้ elastic bandage
  5. การยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงขึ้นจะเป็นการลดอาการบวม เช่น เจ็บข้อเท้าเวลานอนก็หาหมอนหรือผ้ามารองไว้ใต้ข้อเท้าให้สูงขึ้น เวลานั่งก็หาเก้าอี้อีกตัวมาวางไว้ให้ยกขาขึ้นไป จะช่วยลดอาการบวมได้

นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ช่วยรักษาอาการเหล่านี้ได้ นั่นก็คือการใช้ เกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ PRP (PLATELET RICH PLASMA) มาฉีดเข้าไปในบริเวณกล้ามเนื้อที่มีการบาดเจ็บอยู่ โดยหลักการของวิธีนี้ก็คือเซลล์ซ่อมเซลล์” จะช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ ลดการอักเสบ และลดอาการปวด

PRP รักษาอากร กล้ามเนื้ออักเสบ

การฉีด PRP (PLATELET RICH PLASMA) คือ การฉีดเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง ซึ่งมีวิธีการคือนำเลือดของตัวผู้ป่วยเองมาปั่นเพื่อแยกชั้นของพลาสม่า (Plasma) ลักษณะจะเป็นน้ำสีเหลือง และข้างในนั้นจะมีเกล็ดเลือด (Platelet) อยู่ในปริมาณที่เข้มข้น

ซึ่งเกล็ดเลือดจะกระตุ้นเม็ดเลือดขาวและเซลล์ต่างๆ เพื่อมาซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บหรือฉีกขาด และยังมี Growth factor ช่วยกระตุ้นกระบวนการสมานแผลและช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจน กระตุ้นการเติบโตและการแบ่งเซลล์ ช่วยให้กระบวนการซ่อมแซมของร่างกายเร็วขึ้น ช่วยลดอาการบาดเจ็บ จึงทำให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

การเตรียมตัวก่อนฉีด PRP

  • ต้องงดยาตามที่แพทย์แนะนำ โดยเฉพาะยาแก้ปวดลดการอักเสบกลุ่ม NSAID’s เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาสเตียรอยด์ (Steroid) อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการฉีดยา เนื่องจากยาจะส่งผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด ทำให้ประสิทธิภาพในการฉีดลดลง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ ตั้งแต่ก่อนฉีด 1 วัน เนื่องจากหากมีภาวะขาดน้ำจะทำให้การดูดเลือดทำได้ยาก

ขั้นตอนการฉีด PRP รักษาอาการ กล้ามเนื้ออักเสบ

  1. เจาะเลือดผู้ป่วยออกมาประมาณ 20-25 ซีซี
  2. นำมาปั่นด้วยเครื่องปั่นพิเศษ เพื่อแยกเกล็ดเลือดเข้มข้นออกมา
  3. นำกลับไปฉีดให้ผู้ป่วย ในบริเวณกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบ

ซึ่งการฉีด PRP จะใช้เวลาทำประมาณ 20-30 นาที ผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นเลือดของตัวเอง และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณตำแหน่งที่ฉีด

PRP Therapy

การดูแลหลังการฉีด PRP

หลังฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นไปแล้ว ยังควรต้องงดยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAID’s และสเตียรอยด์ต่อไป หากมีอาการปวดอาจใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอลหรือใช้การประคบเย็นช่วยลดอาการปวด ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยจะมีอาการปวดได้ในช่วง 3 วันแรก แต่หากอาการปวดยังคงอยู่หลังจากวันที่ 3 หลังฉีดยา หรือมีอาการบวมแดงมากขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์

ผลการรักษา กล้ามเนื้ออักเสบ ด้วย PRP Therapy

  • ประสิทธิภาพในการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรืออวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ หากเป็นกล้ามเนื้ออาจใช้เวลาน้อยกว่ากลุ่มของเส้นเอ็น
  • เนื้อเยื่อบาดเจ็บแบบเฉียบพลันจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการบาดเจ็บเรื้อรัง
  • การฉีด PRP ต้องฉีดประมาณ 2-3 ครั้งต่อเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ โดยเว้นระยะห่างกันครั้งละ 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์
  • ผลการรักษาจะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ขึ้นไป

ใครที่ไม่เหมาะสำหรับการรักษาด้วย PRP

  1. คนที่มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ เกล็ดเลือดผิดปกติ โลหิตจางขั้นรุนแรง
  2. ติดเชื้อในกระแสเลือด
  3. มีการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่จะทำหัตถการ
  4. โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Diseases) ได้แก่ โรค SLE โรครูมาตอยด์
  5. โรคเก๊าท์
  6. คนไข้กินยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
  7. ผู้ที่กำลังป่วยอยู่ควรรักษาตัวให้หายดีก่อนทำ PRP Therapy เพราะอาจมีเชื้อโรคปะปนในกระแสเลือด
  8. ตั้งครรภ์และให้นมบุตร

REF. https://www.nebbenphysmed.com/blog/are-you-a-candidate-for-prp-injections

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า