อาการปวดท้อง แต่ละตำแหน่ง สัญญาณบอกโรคอะไร? ปวดท้องแบบไหนอันตราย?

อาหารปวดท้อง แต่ละตำแหน่ง บอกโรคอะไรบ้าง

อาการปวดท้อง แต่ละตำแหน่ง เช่น ปวดท้องข้างขวา ปวดท้องข้างซ้าย ปวดท้องตรงกลาง ปวดท้องน้อย เชื่อว่าหลายคนอยากรู้ว่า อาการปวดท้องแบบไหนอันตราย? แต่ละตำแหน่งเป็นสัญญาณบอกโรคอะไรบ้าง?

หลายๆ คนคงเคยประสบปัญหาในเรื่องของอาการปวดท้อง ซึ่งในแต่ละครั้งอาการปวดก็อาจจะ แตกต่างกันไป ทั้งในเรื่องของลักษณะอาการปวด เช่น ปวดจี๊ดๆ ปวดตื้อๆ ปวดแน่นๆ ระยะเวลาที่ปวด เช่น อยู่ก็ปวดขึ้นทันทีทันใด ค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อาการปวดสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เป็นต้น รวมถึงตำแหน่งในการปวดแต่ละครั้ง ก็มีตำแหน่งที่แตกต่างกันไป เช่น ปวดท้องตรงกลาง ปวดท้องข้างขวา ปวดท้องข้างซ้าย หรือปวดท้องน้อย แถมยังไม่รู้ว่าปวดเพราะอะไรอีก แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว ตำแหน่งที่ปวดท้องบอกโรคได้นะ ซึ่งแพทย์เองก็ใช้วิธีนี้ในการวินิจฉัยอาการของคนไข้ด้วยเช่นกัน มาดูกันว่า ปวดท้องตำแหน่งไหนบอกโรคอะไรบ้าง และปวดท้องแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

ภายในช่องท้องประกอบไปด้วยอวัยวะจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุของอาการปวดท้องนั้น อาจเกิดจากโรคของอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ในช่องท้อง หรืออาจเกิดจากอวัยวะนอกช่องท้องก็ได้ โดยอาจแบ่งตามตําแหน่งหน้าท้องเป็นตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

Upload Image...

1. อาการปวดท้อง ช่องท้องด้านบนขวา

ในบริเวณนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ลําไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่ตรงบริเวณตับ (hepatic flexure) หัวของตับอ่อน ไตขวา ชายปอดขวา เช่น

  • โรคตับอักเสบ (Hepatitis) ฝีในตับ (Liver abscess)
  • นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) ถ้าไม่ได้มีถุงน้ำดีอักเสบร่วมด้วย ก็อาจจะไม่มีอาการ หรือมีแค่ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน
  • ถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณช่วงท้องส่วนบนหรือด้านขวา โดยมีระยะเวลาปวดตั้งแต่ 15 นาทีถึงหลายชั่วโมง และอาจมีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบักหรือบริเวณไหล่ด้านขวา
  • กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) จะมีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง อาเจียน มีอาการปวดบริเวณสีข้างหรือบั้นเอวขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยจะปวดมากที่ข้างใดข้างหนึ่ง ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีเลือดหรือหนองปนมากับปัสสาวะ
  • นิ่วในไต (Kidney stones) ปวดบริเวณหลังหรือข้างลำตัวในด้านที่มีนิ่ว ปัสสาวะปนเลือด คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) ปวดบริเวณกลางหน้าท้องรุนแรงและเฉียบพลัน ปวดนานตั้งแต่ 10 นาทีจนถึงชั่วโมง ปวดร้าวลงไปบริเวณกลางหลัง คลื่นไส้ อาเจียน
  • โรคติดเชื้อทางผิวหนัง อย่างโรคงูสวัด (Herpes zoster) ถ้าเคยมีแผลบริเวณนี้ก็จะส่งผลให้ปวดท้องในบริเวณนี้ได้ โดยลักษณะจะเป็นแบบปวดแสบปวดร้อน

2. อาการปวดท้อง ช่องท้องด้านบนซ้าย

ในบริเวณนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหาร ม้าม ลําไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่บริเวณม้าม (splenic flexure) ส่วนหางของตับอ่อน ม้าม ไตซ้าย ชายปอดซ้าย เช่น

  • กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) ลักษณะปวดท้องหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่และช่องท้องด้านบนซ้าย มักเป็นเวลากินอาหารหรือหลังอาหารเล็กน้อย คลื่นไส้อาเจียน
  • ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
  • ม้ามโต (Splenomegaly) จะมีอาการแน่นท้อง อึดอัด หายใจเข้าออกลำบาก หายใจไม่สะดวก ตัวซีด มีรอยเลือดจ้ำๆ เป็นห้อเลือดจุดๆตามร่างกาย
  • กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
  • นิ่วในไต (Kidney stones)

3. ช่องท้องด้านล่างขวา หรือบริเวณท้องน้อยขวา

ในบริเวณนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากลําไส้ใหญ่ส่วนซีกัม (Caecum) ไส้ติ่ง ปีกมดลูกด้านขวา ท่อไตด้านขวา เช่น

  • ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) ลักษณะปวดเสียด รู้สึกเหมือนบีบอยู่ตลอดเวลา เมื่อกดบริเวณท้องน้อยด้านขวาจะรู้สึกเจ็บมาก ร่วมกับมีอาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน
  • ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้อุดตัน (Intestinal obstruction) จะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง ท้องผูกเป็นเวลานาน อุจจาระไม่ออก ไม่สามารถผายลมได้
  • โรคกระเปาะที่ลำไส้ใหญ่ (Diverticular disease) โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) มีอาการปวดท้องเรื้อรัง เวลากดที่ท้องแล้วมีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือด้านขวา มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการหนาวสั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยและอ่อนเพลีย มีอาการท้องอืด ท้องผูก หรืออาจมีท้องเสีย
  • นิ่วในท่อไต (Ureteral calculi) จะมีลักษณะปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ ร้าวมาที่ต้นขา
  • ปีกมดลูกอักเสบ (Salpingitis) หรือ โรคอุ้งเชิงการอักเสบ (การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน) เฉียบพลัน มีอาการปวดท้องน้อยทั้ง 2 ข้าง มีไข้ มีตกขาวผิดปกติ
  • เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ (Endometriosis) จะมีอาการปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดเวลาถ่ายอุจจาระ (โดยเฉพาะเวลาท้องผูก) ปวดเวลาปัสสาวะ หรือปวดปัสสาวะตลอดเวลา ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ ร่วมกับมีประจำเดือนมามาก มาไม่สม่ำเสมอ มานาน มากะปริบกะปรอย
  • ถุงน้ำรังไข่บิดขั้ว (Torsion of ovarian cyst) อาการปวดท้องน้อยจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ทันทีทันใด ปวดท้องน้อยที่ข้างใดข้างหนึ่งตามพยาธิสภาพว่าเกิดที่ถุงน้ำรังไข่ข้างใด ไม่มีไข้ คลำท้องน้อยจะมีอาการเจ็บมาก
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) สามารถปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งขึ้นกับพยาธิสภาพว่าการตั้งครรภ์เกิดที่ท่อนำไข่ข้างใด ไม่มีไข้ มีอาการเจ็บ/ปวดท้องมาก มีภาวะซีด มีประวัติประจำเดือนมาผิดปกติหรือประจำเดือนขาด
  • ปวดท้องจากการตกไข่ (Mittelschmerz) จะมีอาการบริเวณท้องน้อยด้านข้าง ข้างใดข้างหนึ่ง (คือข้างที่มีไข่ตก) หรือสลับไปมาในช่วงกลางรอบเดือนแต่ละเดือน ซึ่งหากปวดไม่มากก็จะไม่เป็นปัญหา แต่หากปวดมากควรต้องไปพบแพทย์
  • ฝีในกล้ามเนื้อโซแอส (Psoas Abscess) มักเกิดจากวัณโรคกระดูกสันหลัง จะคลำก้อนหนองได้ที่แอ่งอุ้งเชิงกราน มีไข้ เหงื่อออกมากในช่วงกลางคืน รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด

4. ช่องท้องด้านล่างซ้าย หรือบริเวณท้องน้อยซ้าย

ในบริเวณนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากลําไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือซิกมอยด์ (sigmoid) ปีกมดลูกด้านซ้าย ท่อไตด้านซ้าย ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคที่คล้ายๆ กับโรคในช่องท้องด้านล่างขวา ยกเว้นโรคไส้ติ่งอักเสบ

5. อาการปวดท้อง ใต้ลิ้นปี่

ในบริเวณนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ถุงน้ำดี เช่น

  • กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD)
  • นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) ถ้าไม่ได้มีถุงน้ำดีอักเสบร่วมด้วย ก็อาจจะไม่มีอาการ หรือมีแค่ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน
  • หัวใจขาดเลือด (Acute coronary syndrome) ปวดจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เหงื่อแตก ใจสั่น เหนื่อย ร่วมกับมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก อาจจะร้าวไปไหล่ คอ กราม

6. รอบสะดือ

ในบริเวณนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากลำไส้เล็ก อาจเกิดจาก

  • ลำไส้อักเสบ มีอาการปวดบีบที่ท้อง อุจจาระเหลว เป็นน้ำ เป็นมูกหรือเป็นมูกเลือด บางคนอาจถ่ายวันละ 10-20 ครั้ง จนบางครั้งทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นกลางดึกขึ้นมาเพื่อถ่าย มีไข้รู้สึกอ่อนเพลีย
  • เป็นอาการเริ่มแรกของโรคไส้ติ่งอักเสบ ก็คืออาการปวดท้องรอบ ๆ สะดือ โดยมีอาการปวดบิดเป็นพักๆ รอบสะดือ คล้ายอาการปวดถ่ายท้องเสีย หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะย้ายตำแหน่งมาที่ท้องน้อยด้านขวา

7. อาการปวดท้อง เหนือหัวหน่าว

ในบริเวณนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะ มดลูก เช่น

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ปวดท้องร่วมกับปัสสาวะกะปริบกะปรอย และปวดเวลาปัสสาวะ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stone) ปวดท้องน้อย ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะกะปริบกะปรอย มีเม็ดนิ่วลักษณะคล้ายกรวดทรายปนออกมาพร้อมปัสสาวะ
  • มดลูกอักเสบ (endometritis) ปวดท้องน้อย ร่วมกับ มีไข้สูง มีตกขาวกลิ่นเหม็น
  • เนื้องอกมดลูก (Myoma Uteri) ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนบ่อยครั้งจนเรื้อรัง และมีลักษณะปวดเกร็ง ประจำเดือนมาผิดปกติ

อาการปวดท้อง แบบไหนที่ต้องรีบมาพบแพทย์

ไม่ว่าอาการปวดท้องตรงกลางที่เป็นอยู่จะบอกถึงโรคอะไรก็ตามแต่ ในกรณีที่ปวดท้องบ่อยๆ ปวดเป็นๆ หาย ๆ ก็ไม่ควรชะล่าใจ ยิ่งหากมีอาการปวดท้องร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ

  1. ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมงแล้วอาการเป็นมากขึ้น
  2. ปวดจนกินอาหารไม่ได้
  3. ปวดท้องและอาเจียนอย่างมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง
  4. ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว
  5. ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา
  6. ปวดท้องรุนแรง นอนไม่ได้
  7. ปวดร่วมกับเลือดออกจากช่องคลอด
  8. ปวดท้อง ร่วมกับมีไข้

ซึ่งถ้าหากมีอาการเหล่านี้ควรจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ทำให้รักษาได้ตรงจุดและปลอดภัย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า