นิ้วล็อค (trigger finger) สาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง และมีวิธีการรักษาเบื้องต้นอย่างไร

นิ้วล็อค วันทำงาน เกิดจากอะไร

นิ้วล็อค หรือ TRIGGER FINGER เป็นอาการที่พบบ่อยในกลุ่มคนใช้มือ-นิ้วมือ ออกแรงในการทำงานหนัก หรือเป็นเวลานาน เช่น ยกของ ถือของปริมาณหนักมากๆ หรือกลุ่มคนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานทั้งวัน รวมถึงวัยรุ่นที่ใช้สมาร์ทโฟน ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเล่นเกมส์ หรือแชท พูดคุยผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ นอกจากนี้อาการ นิ้วล็อค พบมากในผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ฯลฯ และจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอีกด้วย

สาเหตุการเกิดนิ้วล็อค

นิ้วล็อคเกิดจากอะไร นิ้วล็อคเกิดจากการที่นิ้วมือถูกใช้งานอย่างหนัก หรือใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการเสื่อมของเอ็นกล้ามเนื้อ เกิดการอักเสบ บวม และเจ็บบริเวณโคนนิ้ว เนื่องจากปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อขยายตัวหนา ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างในไม่สามารถเคลื่อนไหว ยืดและหดตัวได้ตามปกติ โดยทั่วไปอาจจะเกิดที่นิ้วใดก็ได้ หรือหลายนิ้วพร้อมกันก็ได้

ในคนที่เป็นโรคไทรอยด์ต่ำ (sub clinical hypothyroidism) สามารถเจออาการนิ้วล็อคได้ประมาณ 10%

อาการ นิ้วล็อค รักษาอย่างไร
กลับสู่สารบัญ

อาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อค แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ เริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ นิ้วแข็ง ปวดตึง ขยับนิ้วขึ้นลงแล้วสะดุด นิ้วติดเหยียดไม่ออกจนต้องใช้มืออีกข้างช่วยง้างออก ไปจนถึงระยะที่เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบรุนแรง กำมือแล้วไม่สามารถเหยียดมือออกได้เอง ข้อนิ้วยึดติด

อาการ นิ้วล็อค

ติดต่อสอบถามได้ที่

กลับสู่สารบัญ

วิธีแก้นิ้วล็อค ควรทำอย่างไร

นิ้วล็อคสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากรักษาอย่างถูกวิธีและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานจนเรื้อรัง เพราะอาจทำให้ ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือเสียหายถาวร ซึ่งเมื่อเข้ารักษาโดยวิธีการผ่าตัดนั้นแพทย์ก็ไม่รับรองว่าจะได้ผลดีเท่าที่ควร

  1. พักการใช้นิ้วมือในส่วนที่เกิดนิ้วล็อคจากการทำกิจกรรม ที่ต้องออกแรงมือหรือนิ้วมือ
  2. หากเกิดนิ้วล็อค ให้ประคบร้อน พร้อมกับนวดเบาๆ ให้เส้นเอ็นคลายตัว
  3. ใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว
  4. สามารถออกกำลังกายได้ พร้อมกับบริหารกล้ามเนื้อเอ็นนิ้วมือเบาๆ
  5. ใช้ยาทาแก้นิ้วล็อค เพื่อต้านการอักเสบ หรือบรรเทาปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบวม
  6. รักษานิ้วล็อค โดยการฉีดสารสเตียรอยด์เพื่อช่วยในการรักษา เพื่อลดอาการบวม หรือการอักเสบ
  7. หากในกรณีที่มีอาการนิ้วล็อคขั้นรุนแรง จนไม่สามารถรักษาอาการตามเบื้องต้นได้ ต้องอาศัยวิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วย ซึ่งมีโรงพยาบาลที่เปิดรักษานิ้วล็อคอยู่หลายแห่ง

แต่มีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถรักษานิ้วล็อค โดยไม่ต้องใช้ยาสเตียรอยด์หรือผ่าตัด นั่นคือการใช้ปลายเข็มสะกิด ซึ่งใช้เวลารักษาเพียง 5 นาทีเท่านั้น ก็สามารถกลับบ้านได้ทันที โดยเริ่มแรกแพทย์จะทำการปล่อยคลื่นอัลตราซาวด์ไปยังบริเวณที่เกิดการอักเสบ

จากนั้นจะใช้ปลายเข็มสะกิดไปยังบริเวณปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว เพื่อตัดปลอกหุ้มที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกัน หลังจากรักษาแพทย์แนะนำไม่ให้นิ้วโดนน้ำ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งวิธีการรักษานี่ยังมีข้อดีคือ คนไข้จะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก แต่ถ้าไม่ปรับพฤติกรรม ก็สามารถเกิดนิ้วล็อคที่นิ้วอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน

สมุนไพร ขิง

ใช้ ยาสมุนไพรรักษานิ้วล็อค ได้ไหม

ยาสมุนไพรรักษานิ้วล็อค สามารถทำได้โดยการนำ ขมิ้นชัน มะกรูด และไพล มาหั่นหยาบๆ จากนั้นต้มในน้ำเดือดประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นนำมาเทผสมน้ำเย็น ให้ได้น้ำในอุณหภูมิที่อุ่นพอประมาณ หลังจากนั้นแช่มือช้างที่มีอาการนิ้วล็อคในน้ำ ยาสมุนไพรรักษานิ้วล็อค ประมาณ 10-15 นาที สมุนไพรและความร้อนจะช่วยลดอาการปวด อักเสบของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นอีกด้วย หลังจากนั้นนำมือขึ้น ใช้ผ้าขนหนูเช็ดให้แห้ง หรือพันมือทิ้งไว้สักครู่เพื่อปรับอุณหภูมิ ซึ่งวิธีนี้แนะนำให้ทำ ยาสมุนไพรรักษานิ้วล็อค ทุกวันตอนเช้า

กลับสู่สารบัญ

การป้องกันการเกิดนิ้วล็อค

  • เมื่อต้องถือ ยก หรือแบกของที่มีน้ำหนักมากๆ ควรหลีกเลี่ยงการยกโดยใช้นิ้วมือ ให้ลงน้ำหนักที่ฝ่ามือแทน หรือเปลี่ยนเป็นการอุ้มประคองแทน
  • ไม่ควรบีบ หรือกำสิ่งใดเป็นเวลานาน
  • หากต้องเล่นกีฬาที่ใช้แรงจากมือ หรือนิ้วมือ ควรหาถุงมือสวมไว้เพื่อลดแรงกด
  • ใช้รถเข็นของ แทนการยกด้วยมือเปล่า
  • ไม่ควรออกแรงซักผ้า หรือบิดผ้าด้วยมือเปล่า
วิธีแก้อาการ นิ้วล็อค

วิธีบริหารนิ้วมือ แก้นิ้วล็อค

หากในชีวิตประจำวันของเรามีการใช้มือและนิ้วมาก หรือต้องใช้เป็นเวลานานๆ เราก็ควรสร้างความแข็งแรงให้กับมือและนิ้วมือ เพื่อป้องกันการเสื่อมของกล้ามเนื้อ วิธีด้านล่างนี้เป็นวิธีการ กายภาพบำบัด นิ้วมือและมือ ซึ่งก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยใดๆ สามารถทำได้ทุกที่และทุกเวลา

  1. นวดปลายนิ้วมือ และที่ฝ่ามือ ประมาณ 1-2 นาที โดยหมุนเป็นวงกลมช้าๆ ลงน้ำหนักปานกลาง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือ และฝ่ามือ
  2. งอนิ้วขึ้นทีละนิ้ว จนรู้สึกตึงเล็กน้อย
  3. แช่มือในน้ำอุ่น ประมาณ 15-20 นาที (แล้วแต่ความสะดวก) เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ
  4. บริหารความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนิ้วมือ โดยการแบและกำมือ โดยให้นิ้วโป้งกำอยู่ด้านนอกมือ 30 วินาที – 1 นาที
  5. วางฝ่ามือขนานไปกับพื้นเรียบ โดยให้มือราบกับพื้นมากที่สุด ทำค้างไว้ 30 วินาที – 1 นาที จากนั้นยกมือขึ้น ทำวนประมาณ 4 ครั้ง
  6. บีบลูกบอลนิ่ม ราวๆ 5 วินาทีแล้งคลาย ทำซ้ำประมาณ 10-15 ครั้ง เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ฝึกการจับให้กระชับมากยิ่งขึ้น (ไม่ควรทำหากเจ็บที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือ)
  7. ใช้นิ้วโป้งแตะที่ปลายนิ้วของแต่ละนิ้ว ทำซ้ำ 4 ครั้ง
  8. วางมือราบกับโต๊ะ และทำการยกนิ้วขึ้นช้าๆ ที่ละนิ้ว ไล่ไปจนครบ ทำซ้ำ 4 ครั้ง
  9. แบมือตรง หลักจากนั้นใช้นิ้วโป้งเอื้อมไปแตะที่โคนนิ้วก้อย ค้างไว้ 30 วินาที – 1 นาที จากนั้นกางออก ทำซ้ำ 4 ครั้ง
  10. บริหารนิ้วด้วยการหุบเข้าและกางออก
กลับสู่สารบัญ

สรุป

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

ติดต่อสอบถามได้ที่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า