อาการคุชชิง (Cushing syndrome) คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีรักษาอย่างไร?

อาการคุชชิง Cushing syndrome คืออะไร

อาการคุชชิง หรือ Cushing syndrome คืออะไร?

อาการคุชชิง คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) หรือ คอร์ติซอล (Cortisol) มากเกินกว่าปกติ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการที่มีการสร้างฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไป ทั้งจากร่างกายสร้างขึ้นมาเอง (Endogenous glucocorticoid) เช่น เป็นเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต/เนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง หรือมะเร็งของต่อมไทรอยด์บางชนิด เป็นต้น หรือร่างกายมีฮอร์โมนนี้มากเกินปกติโดยได้รับฮอร์โมนนี้มาจากภายนอกร่างกาย (Exogenous glucocorticoid)

กลุ่มอาการคุชชิ่งนั้นพบได้เรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) จากภายนอกร่างกายในรูปแบบของยาสเตียรอยด์ (steroid) เพื่อรักษาโรคบางโรค เช่น โรคหืดหอบ, โรค SLE, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ใช้เพื่อต้านอักเสบ หรือกดภูมิคุ้มกัน ในคนไข้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มอาการคุชชิงที่เกิดจากสาเหตุนี้ สามารถพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ในเพศหญิงและเพศชายมีโอกาสเกิดได้เท่าๆ กัน

ความผิดปกติของร่างกายจากโรค คุชชิง

ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) คืออะไร?

กลูโคคอร์ติคอยด์ เป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนสำคัญของร่างกายที่เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะเกือบทุกระบบ เช่น

  • สมดุลของน้ำและเกลือแร่
  • การทำงานและการสร้างมวลกล้ามเนื้อ
  • การใช้พลังงานจากน้ำตาลกลูโคส (Glucose) จากโปรตีน และจากไขมัน
  • การทำงานของรังไข่และของอัณฑะ
  • การเจริญเติบโตของเซลล์โดยเฉพาะช่วงวัยเด็ก
  • อารมณ์และการรับรู้, ภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ
  • ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค

ด้วยหน้าที่ที่หลากหลายของฮอร์โมนชนิดนี้ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติได้ในทุกระบบของร่างกาย เมื่อมีปริมาณฮอร์โมนนี้สูงเกินค่าปกติ

กลุ่ม อาการคุชชิ่ง มีอาการอย่างไร?

1. อาการทั่วไป เช่น หิวบ่อย กินจุ ใบหน้าอ้วนกลมเหมือนพระจันทร์เต็มดวง (Moon face) โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกินโดยอ้วนเฉพาะส่วนกลางลำตัวคือ บริเวณไหปลาร้า ลำตัวส่วนบน พุง แต่แขนขาลีบ ปัสสาวะมากและบ่อย นอนไม่หลับ หรือ มีก้อนไขมันที่ด้านหลังคอหรือที่เรียกว่า หนอกคอ (Buffalo hump) ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการ ดูดไขมันหนอกคอ

2. อาการทางผิวหนัง เช่น ผิวแห้ง ผิวบางจนเห็นเส้นเลือด ผิวหนังแตกง่าย เป็นแผลง่าย เมื่อเกิดแผล แผลหายยาก ผิวแตกลายเป็นสีชมพูหรือสีม่วง โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง (Abdominal striae) ผิวหนังมีไขมันออกมามากขึ้น เกิดรูขุมขนอักเสบ (Folliculitis) เป็นสิวเพิ่มขึ้น (Acne) มีการติดเชื้อราที่ผิวหนังเพิ่มขึ้น ร่วมกับมีขนดกหนาทั่วตัวและใบหน้า

3. อาการทางโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น มีความดันโลหิตสูง

4. อาการทางโรคต่อมไร้ท่อ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง/โรคเบาหวาน

5. อาการทางกระดูก เช่น มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย

6. อาการทางกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนต้น เช่น ต้นแขนต้นขา กล้ามเนื้อจะลีบ เล็กลง ผู้ป่วยจะขึ้นบันไดยาก หรือลุกยืนจากท่านั่งยองๆ ไม่ได้

7. อาการทางระบบสืบพันธุ์ ในผู้หญิงจะมีประจำเดือนผิดปกติ มาน้อยลงหรือหายไป ภาวะมีบุตรยาก ส่วนผู้ชายจะมีความรู้สึกทางเพศลดลง

อาการคุชชิง มีอาการอย่างไร?

8. อาการทางระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ฮอร์โมนตัวนี้จะกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน จึงส่งผลทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย แล้วก็มักจะเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

9. อาการด้านสมอง อารมณ์ จิตใจ อาการที่พบบ่อยๆ คือ อาการซึมเศร้า (Agitated depression) ร่วมกับมีสับสน ความจำ/ความเข้าใจ ด้อยลง ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน

ใครที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่ม อาการคุชชิง ?

ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง ทั้งยากิน ยาฉีด ยาหยอดตา ยาทา หรือ ยาพ่น เช่น ในโรคหืด โรคแพ้ภูมิตนเอง/ โรคออโตอิมมูน หรือกินยาลูกกลอน ยาชุดต่างๆ ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาต้ม ที่ผสมยาสเตียรอยด์ไปด้วย

อาการคุชชิง มีอาการอย่างไร รักษาให้หายขาดได้ไหม

การวินิจฉัยโรคกลุ่ม อาการคุชชิง

  1. การวินิจฉัยนั้น แพทย์จะอาศัยประวัติอาการ ประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยาต่างๆ รวมทั้งยาสมุนไพร ยาชุด ยาแก้ปวด ยาพื้นบ้านต่างๆ
  2. ตรวจร่างกาย ตามลักษณะต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้ว
  3. ทุกรายที่สงสัยว่าเป็นกลุ่มอาการคุชชิง ควรได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรคที่แน่นอน
    • ตรวจเลือด โดยการนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยไปวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในห้องปฏิบัติการ
    • การตรวจปัสสาวะ โดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล
    • การตรวจน้ำลาย เพื่อดูระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลาย ซึ่งจะทำการตรวจในเวลากลางคืน เพราะโดยปกติระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลจะลดลงในช่วงเย็นเป็นต้นไป
    • อาจมีการตรวจเลือดวิธีเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยีสูง เพื่อดูระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) เช่น การตรวจที่เรียกว่า Low dose dexamethasone suppression test, Dexamethasone corticotrophin releasing hormone test
    • ตรวจภาพถ่าย ด้วยการทำซีทีสแกน (Computerized Tomography: CT Scan) หรือเอ็มอาร์ไอ สแกน (Magnetic Resonance Imaging: MRI Scan) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต เช่น ตรวจหาเนื้องอก เป็นต้น
ท้องลาย เกิดจาก อาการคุชชิง ซินโดรม

การรักษากลุ่ม อาการคุชชิง (Cushing Syndrome)

การรักษาใช้วิธีลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายที่เพิ่มสูงเกินไป และมักขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการป่วยด้วย เช่น

  1. การปรับลดปริมาณกลูโคคอร์ติคอยด์ลง โดยการลดหรือหยุดใช้ยาสเตียรอยด์ แพทย์จะตรวจสอบว่าควรหยุดใช้ยา หรือควรลดปริมาณการใช้ยาลงหรือไม่ รวมไปถึงสั่งยาตัวใหม่ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยผู้ป่วยไม่ควรหยุดหรือลดการใช้ยาสเตียรอยด์ด้วยตนเอง ต้องให้แพทย์เป็นผู้ปรับลดยาเท่านั้น เพราะการหยุดใช้ยาอย่างกะทันหันอาจทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนคอร์ติซอลได้ ซึ่งผู้ป่วยจะเกิดอาการรุนแรงจากการขาดยาตัวนี้ ที่เรียกว่า “Adrenal crisis” ซึ่งอาการที่พบบ่อย เช่น มีไข้สูง ปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลียมาก หรือช็อก หากพบอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยต้องรีบไปโรงพยาบาล เพราะอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
  2. การผ่าตัดเนื้องอกออก ในกรณีที่มีเนื้องอกเป็นสาเหตุ เช่น เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกตับอ่อนหรือปอด โดยแพทย์จะทดสอบหาตำแหน่งของเนื้องอกก่อนพิจารณาผ่าตัด แต่หากไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ แพทย์อาจฉายรังสี หรือใช้ยารักษาเพื่อให้เนื้องอกหดเล็กลง
อาการคุชชิง ซินโดรม เกิดจากอะไร

3. การฉายรังสี แพทย์อาจใช้วิธีนี้เมื่อไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเนื้องอกได้

4. การใช้ยารักษา ใช้เพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกาย ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดและฉายรังสีได้ หรืออาจใช้ก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เพื่อช่วยลดอาการต่าง ๆ และลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด

5. การรักษาตามอาการ คือ รักษาโรค/อาการต่างๆ ที่เป็นผลจากกลูโคคอร์ติคอยด์ เช่น ให้ยาเบาหวาน เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูง, หรือให้ยาลดความดัน เมื่อมีความดันโลหิตสูง เป็นต้น

6. สำหรับผู้ป่วยที่กังวลในเรื่องของหนอกคอ – หนอกต้นคอ (Buffalo hump) หลังจากได้พบแพทย์ และทราบถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดหนอกคอแล้ว ได้รับการรักษาด้วยการปรับยา การทานยาต่างๆ แต่หนอกที่คอยังคงไม่ยุบลงไปง่ายๆ ก็อาจจะเลือกใช้วิธีดูดไขมันที่บริเวณหนอกคอออก เพื่อทำให้ก้อนที่เป็นยุบลงจากเดิม ถือเป็นวิธีที่นิยมเพราะทั้งปลอดภัยและเห็นผลหลังดูดเสร็จ

เราจะดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็น คุชชิง ซินโดรม ?

  1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล
  2. กินยา/ใช้ยาที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา และไม่หยุดยาเอง
  3. ไม่ซื้อยาสเตียรอยด์กินเอง รวมถึงไม่ใช้ยาพื้นบ้าน ยาลูกกลอน สมุนไพร ยาชุด และปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ
  4. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ
  5. ดูแลควบคุมน้ำหนักตัว ไม่กินมากเกินไป ป้องกันโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ด้วยความระมัดระวัง
  7. ดูแลรักษาควบคุมโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุหรือที่เกิดร่วม
Ref. http://clmjournal.org/_fileupload/journal/417-8-10.pdf, https://www.pobpad.com/cushing-syndrome, http://www.solisterminus.com, https://www.researchgate.net, https://www.mayoclinic.org, syndrome/symptoms-causes/syc-20351310
อาการคุชชิง ซินโดรม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และรักษาที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนารักษาที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า