Dumping Syndrome อาการหลังผ่าตัดกระเพาะ คืออะไร มีวิธีรักษาอย่างไร?

อาการ Dumping Syndrome หลังผ่าตัดกระเพาะ คืออะไร

Dumping Syndrome เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร แต่ก็ไม่ได้เป็นในทุกคนเสมอไป ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังการผ่าตัด เพื่อปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการรับประทานอาหารด้วย เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย

Dumping Syndrome หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร คืออะไร ?

อาการ Dumping Syndrome หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยเรียกชื่อตามเวลาที่เกิดอาการ หลังจากการรับประทานอาหาร

1. อาการ Dumping Syndrome : Early dumping

Early dumping เกิดอาการภายใน 10-30 นาที หลังรับประทานอาหาร โดยอาการที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการที่อาหารที่ทานเข้าไปไหลออกจากกระเพาะอาหาร เข้าไปสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นรวดเร็วเกินไป (rapid gastric emptying time) ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็จะดึงเอาสารน้ำหรือของเหลว (fluid shift) ที่อยู่ในหลอดเลือด (intravascular compartment) เข้าไปในลำไส้ (intestinal lumen) ทำให้ลำไส้เกิดการโป่งพอง (small bowel distension) และบีบตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น

  • คลื่นไส้/อาเจียน(nausea/vomiting)
  • อืดแน่นท้อง (epigastric fullness)
  • ปวดท้อง (abdominal cramping)
  • ถ่ายเหลว (diarrhea)

นอกจากนี้ก็ทําให้มีการลดลงของสารน้ำที่อยู่ในหลอดเลือด (Intravascular Volume) จนร่างกายตอบสนองด้วยการหลั่งสารสื่อประสาทต่างๆ จึงทําให้เกิดอาการทาง Vasomotor ได้ เช่น

  • ใจสั่น (palpitation)
  • ตามัว (blurred vision)
  • มึนศีรษะ (dizziness)
  • เหงื่อออกท่วมตัว (diaphoresis)

สาเหตุ เกิดจากหลังจากการทำผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ รวมไปถึงการผ่าตัดแบบบายพาส (Bypass) จะส่งผลทําให้การทำงานของอวัยวะที่ควบคุมระยะเวลาที่อาหารคงอยู่ในกระเพาะหรือ gastric emptying time ทำงานไม่ปกติและเสียสมดุลไป เป็นผลให้อาหารที่ทานเข้าไป และยังไม่ย่อย (Hyperosmolar Chyme) ผ่านลงสู่ลําไส้เล็กส่วนต้นอย่างรวดเร็ว

Dumping Syndrome อาการเป็นอย่างไร
Schölmerich J. Postgastrectomy syndromes–diagnosis and treatment. Best Pract Res Clin Gastroenterol. 2004 Oct;18(5):917-33.

ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก แผลขนาดเล็กเท่ารูกุญแจ 

ผ่าตัดกระเพาะ 1 เดือน ลด 10 โล คุณก๊อฟ เกวลิน

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

2. อาการ Dumping Syndrome : Late dumping

Late dumping เกิดอาการหลังทานอาหาร 1-3 ชั่วโมง มีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Vasomotor symptoms) เช่น

  • หน้าแดง (flushing)
  • มึนศีรษะ (dizziness)
  • ใจสั่น (palpitation)
  • ตรวจร่างกาย พบมีความดันต่ำ (hypotension)
  • หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)

ผู้ป่วย late dumping พบประมาณ 25% ของผู้ป่วย dumping syndrome ทั้งหมด เกิดจากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังทานอาหาร (Postprandial hypoglycemia) เนื่องจากการหลั่งอินซูลิน ที่ไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาล

สาเหตุ มาจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ผ่านลงสู่ลำไส้เล็กอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสอย่างรวดเร็ว จึงกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมามาก(hyperinsulinemic response) และทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา (reactive hypoglycemia) ผู้ป่วยที่มีอาการ dumping รุนแรงจะทำให้เกิดการกลัวการทานอาหาร (Sitophobia) ทำให้น้ำหนักลด และขาดสารอาหาร (malnutrition)

Dumping Syndrome รักษาอย่างไร

ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก สาธิตเครื่องมืออัตโนมัติ นพ ปณต ยิ้มเจริญ

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

การวินิจฉัยอาการ Dumping Syndrome

  • Oral glucose provocation and hydrogen breath test ช่วยวินิจฉัยในรายที่ยังวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจน โดยให้ผู้ป่วยดื่มกลูโคส 50 กรัม หลังจากที่ให้อดอาหาร10 ชั่วโมง ถ้าหากพบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) เพิ่มขึ้น 10 ครั้ง/นาที ในชั่วโมงแรก ถือว่าผลเป็นบวก (positive) โดยการทดสอบนี้มีความไวของการทดสอบ (sensitivity) 100%และความจำเพาะของการทดสอบ (specificity) 92%
  • Hydrogen breath test หลังจากดื่มกลูโคส มีความไวของการทดสอบ (sensitivity)100% สำหรับ early dumping
  • การวินิจฉัย late dumping โดยเก็บตัวอย่างเลือด (blood sampling) ซ้ำๆ หลังให้การทดสอบด้วยการดื่มน้ำตาลกลูโคส โดยจะพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือด (plasma glucose level) เพิ่มสูงขึ้นในชั่วโมงแรกและลดลงในอีก 1-2 ชั่วโมงถัดมา
  • การตรวจพิเศษทางรังสีของทางเดินอาหารส่วนต้น (upper GI study) ก็ช่วยยืนยันการที่มีrapid gastric emptying time

ผลลัพธ์เปลี่ยนชีวิต” หลังผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ที่ รัตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

วิธีการรักษาอาการ Dumping Syndrome

  • การรักษาหลัก คือ เริ่มจากการปรับวิธีการรับประทานอาหาร (dietary modification)
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือของเหลวระหว่างรับประทานอาหาร โดยให้ดื่มน้ำได้หลังจากรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที
  • ปริมาณอาหารควรเพิ่มเป็นอย่างน้อย 6 มื้อ/วัน
  • ควรลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (Low carbohydrates) หรือทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex carbohydrate) ก็คือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านกรรมวิธีหรือการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง, ข้าวโอ๊ต, ธัญพืชต่างๆ, เผือก, มันเทศ, ฟักทอง เป็นต้น
  • นมและครีมต่างๆ ควรหลีกเลี่ยง แต่ให้เน้นอาหารที่มีโปรตีน และไขมันสูง เพื่อให้ได้พลังงานตามที่ต้องการ
  • อาหารที่มีเส้นใย (fiber) ต่างๆ ช่วยลดอาการน้ำตาลต่ำหลังกินหรือ late hypoglycemia ได้
  • พยายามไม่รับประทานอาหารที่เป็นของเหลวและของแข็งปนกัน (Liquid & solid Diet)

ผู้ป่วยส่วนมากตอบสนองต่อการควบคุมอาหาร แนะนำให้นอนราบเป็นเวลา 30นาที หลังรับประทานอาหาร เพื่อลดอาการเป็นลม (syncope) โดยสามารถเพิ่มระยะเวลาให้อาหารอยู่ในกระเพาะได้นานขึ้น และช่วยเพิ่มอัตราการไหลของเลือดกลับสู่หัวใจ (Venous return)

บทความน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง 

ผ่าตัดกระเพาะ รักษา โรคอ้วน
ผ่าตัดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน ที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ โรงพยาบาลชั้นนำ เครือ BDMS
ผ่าตัดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน ลดน้ำหนักที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ โดยทีมแพทย์ ประสบการณ์กว่า 20 ปี

ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก เปลี่ยนจากจากไซส์ XXL เป็น size M ได้ ในเวลาไม่ถึง 1 ปี ที่ รัตตินันท์

หากไม่ได้ผลจึงพิจารณาใช้ยาในการรักษา

  • โดยยาในกลุ่ม Somatostatin analog (Octreotide) 50-100 µg. sc. ประมาณ 15-30 นาทีก่อนรับประทานอาหาร มีรายงานว่าสามารถช่วยลดการหลั่งของ Vasomotor Substances ลงได้ ช่วยเพิ่มระยะเวลาที่อาหารอยู่ในกระเพาะ ในระยะแรกของการรักษาสามารถ ลดอาการได้เกือบ 100% แต่มีข้อเสีย คือ ต้องฉีดยาวันละ 3 ครั้ง ปัจจุบันมี long-acting release octreotide, Sandrostatin LAP ซึ่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพียงเดือนละครั้ง ทำให้เพิ่ม compliance และ quality of life ขึ้นมาก
  • ยาเม็ดลดน้ำตาลในเลือด (acarbose) ยารักษาเบาหวาน Alpha-Glucosidase inhibitors จะไปลดการดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยจะชะลอการเปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ทำให้ลำไส้เล็กดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง เป็นการไปลดการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือด และอินซูลิน

จะมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งจํานวนไม่มากที่อาการไม่ดีขึ้นหลังจากให้ยาและปรับการรับประทานอาหาร ซึ่งจําเป็นต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัดแต่ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับการผ่าตัดด้วยวิธีใดที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด

Ref.
http://medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective%20review/2553/7.Postgastrectomy_syndrome%20(Phuwasit%2018.8.53).pdf
http://medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective%20review/Postgastrectomy%20syndrome.pdf
Schölmerich J. Postgastrectomy syndromes–diagnosis and treatment. Best Pract Res Clin Gastroenterol. 2004 Oct;18(5):917-33.

บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์

สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า