อาการไข้หวัดใหญ่ อันตรายไหม และมีอาการแบบไหนควรไปพบแพทย์

อาการไข้หวัดใหญ่

อาการไข้หวัดใหญ่ สามารถมีความรุนแรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน บางรายอาจมีอาการเพียงไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีน้ำมูก ในขณะที่บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การรู้จักอาการของตนเองว่าเป็นอย่างไร และเมื่อใดควรไปพบแพทย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งวันนี้เราจะมาบอกถึงอาการของไข้หวัดใหญ่ที่ควรระวัง และเมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมเมื่อเกิดโรคไข้หวัดใหญ่กับตัวเองหรือคนรอบตัว

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่

  1. คนทั่วไปอาจสัมผัสเชื้อไวรัสได้จากละอองฝอยในอากาศ เมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือพูดคุย คนทั่วไปอาจหายใจเอาเชื้อเข้าไปหรือสัมผัสเชื้อบนพื้นผิว เช่น มือถือ คีย์บอร์ด
  2. ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ 1 วันก่อนมีอาการไข้หวัดใหญ่ และ 5 วันหลังมีอาการ ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำจะแพร่เชื้อได้นานกว่า
  3. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ หากได้รับวัคซีนหรือเคยป่วยมาก่อน ร่างกายมักมีภูมิต้านทาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ภูมิต้านทานจะลดลง
  4. หากสัมผัสเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยพบมาก่อน แอนติบอดีเดิมจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อได้อย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ติดเชื้อได้อย่างไร ?

  1. เชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่ง ไปยังอีกคนหนึ่งได้โดยการหายใจเอาละอองฝอย น้ำมูก หรือเสมหะของผู้ติดเชื้อเข้าไป เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุจมูก ตา และปาก
  2. การสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน หลอดน้ำ จากการจูบ เป็นต้น
  3. การที่มือสัมผัสเชื้อแล้วไปขยี้ตา หรือเข้าปาก

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่

  1. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  2. อาศัยหรือทำงานในที่แออัด มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
  3. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจาก
    • การรักษาโรคมะเร็ง
    • โรคมะเร็งเม็ดเลือด
    • โรคเอชไอวี / เอดส์
    • การปลูกถ่ายอวัยวะ
    • การใช้สเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน
  4. มีโรคเรื้อรัง เช่น
    • โรคเบาหวาน
    • โรคหอบหืด
    • โรคหัวใจ
    • โรคตับ
    • โรคเลือด
    • โรคระบบประสาท
    • กระบวนการทำงานทางชีวเคมีผิดปกติ
    • ปัญหาระบบทางเดินหายใจ
  5. การใช้แอสไพรินในระยะยาวในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี อาจทำให้เป็นโรคเรย์ (Reye’s disease) เป็นโรคที่มี ความผิดปกติของตับร่วมกับสมอง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
  6. หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะระหว่างไตรมาสที่ 2 หรือ 3
  7. โรคอ้วน

อาการไข้หวัดใหญ่ที่พบได้บ่อย

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบบ่อย และมักไม่มีอันตรายเมื่อไม่มีโรคแทรกซ้อนเข้ามา เริ่มต้นด้วยระยะฟักตัวที่ใช้เวลา 1 – 4 วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน ซึ่งมักมีอาการดังนี้

  1. อาการอ่อนเพลียรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
  2. เบื่ออาหารและคลื่นไส้
  3. ปวดศีรษะรุนแรง
  4. ปวดตามแขน ขา ข้อต่าง ๆ และรอบตา รวมถึงความเมื่อยลงทั่วตัว
  5. ไข้สูงระหว่าง 39-40 องศาเซลเซียส
  6. เจ็บคอและคอแดง มีการไหลของน้ำมูกใส ๆ
  7. ไอแห้งและตาแดง
  8. อาจมีอาการอาเจียนหรือท้องเดินร่วมกับไข้เป็นเวลา 2-4 วัน ซึ่งจะค่อย ๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูกและคออักเสบอาจยังคงอยู่ โดยส่วนใหญ่จะหายไปใน 1 สัปดาห์

ผู้ที่มีโรคเรื้อรังมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น

  1. โรคหัวใจ อาจเกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจซึ่งทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ หรือมีอาการหัวใจวาย
  2. ระบบประสาท อาจพบการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองซึ่งทำให้มีอาการปวดศีรษะรุนแรงและซึมลง
  3. ระบบหายใจ อาจมีการอักเสบของหลอดลมและปอดซึ่งทำให้มีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อย

แม้ว่าอาการของไข้หวัดใหญ่จะหายได้ในไม่กี่วัน แต่บางรายอาจมีอาการปวดตามตัวติดต่อนานถึง 2 สัปดาห์ และบางครั้งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอาการปอดบวมหรือโรคหัวใจได้

ไข้หวัดใหญ่แบบไหน ควรพบแพทย์

เด็กมีอาการไข้หวัดใหญ่แบบไหน ที่ควรมาพบแพทย์

  1. ไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส แม้จะใช้ยาลดไข้แล้ว
  2. หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบาก
  3. อาการยืดเยื้อเกิน 7 วัน
  4. มือเท้าเปลี่ยนเป็นสีเขียวซีด
  5. เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารลดลง
  6. เด็กซึม อ่อนเพลีย ไม่อยากเล่น
  7. ไข้ลด แต่หายใจมีอาการผิดปกติ

ผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่แบบไหน ควรมาพบแพทย์

  • หายใจลำบาก หอบเหนื่อย เป็นเวลานานกว่า 24-48 ชั่วโมง
  • ไข้สูงเกิน 24-48 ชั่วโมง
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • หน้ามืด วิงเวียน สับสน
  • อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้

ระยะติดต่อของไข้หวัดใหญ่

  1. ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 1 วันก่อนมีอาการไข้หวัดใหญ่ และต่อเนื่อง 5 วันหลังมีอาการ
  2. เด็กอาจแพร่เชื้อได้นานถึง 6 วันก่อนมีอาการ และ 10 วันหลังมีอาการ
  3. การติดเชื้อแบคทีเรียอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม มีฝีในปอด มีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
  4. หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อมักมีอาการรุนแรง อาจทำให้แท้งได้

การตรวจวินิจฉัยโรคของแพทย์ เมื่อมีอาการไข้หวัดใหญ่

แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อหาลักษณะอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยอาจทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ผู้ป่วยอาจติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 พร้อมกันได้ จึงอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยทั้งสองโรค

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

  1. พักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อบรรเทาอาการ
  2. หากมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อรุนแรง อาจให้ยาต้านไวรัส
  3. ยาต้านไวรัสอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
  4. รับประทานยาพร้อมอาหารช่วยลดอาการข้างเคียงได้

การดูแลตัวเองที่บ้าน เมื่อมีอาการไข้หวัดใหญ่

  1. ดื่มน้ำมาก ๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำเปล่า หรือซุป เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  2. พักผ่อนให้เพียงพอและนอนหลับ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้เชื้อไวรัสได้ดีขึ้น
  3. รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ แต่ห้ามใช้แอสไพรินในเด็กและวัยรุ่น
  4. พักรักษาตัวอยู่บ้านจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  5. ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน

การป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นโรคไข้หวัดใหญ่

  1. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่
  2. หลีกเลี่ยงการใช้มือเข้าตา ปาก จมูก
  3. ห้ามใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้อื่นใกล้ชิด
  5. เมื่อป่วยให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
  6. เมื่อไอหรือจามให้ใช้ผ้าปิดปากและจมูก

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันโรค

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันโรค

การป้องกันที่ดีคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ตายแล้ว โดยฉีดที่แขนปีละ 1 ครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันจึงจะเพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ ผู้ที่แพ้โปรตีนจากไข่ ห้ามฉีดวัคซีนชนิดนี้ ควรเลือกฉีดให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น ผู้อายุมากกว่า 50 ปี ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต, หัวใจ, เบาหวาน หญิงตั้งครรภ์, ผู้อยู่ในสถานพยาบาลผู้สูงอายุ, เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์, สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย, นักเรียนอยู่รวมกัน, ผู้ที่จะไปยังพื้นที่ระบาด, และผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงติดเชื้อ

ผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่

หลังฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการข้างเคียงเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด และหายได้เองภายใน 2 วัน อาการทั่วไป ได้แก่ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว มักเกิดขึ้นภายใน 6-12 ชั่วโมงหลังฉีด และอยู่ได้ 1-2 วัน บางรายอาจมีผื่นลมพิษหรือริมฝีปากบวมได้

สรุป

หากคุณเห็นว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยรุนแรง และมีความเสี่ยงที่จะมีอาการไข้หวัดใหญ่ โดยมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัวทั่วร่างกาย มีน้ำมูก ให้รีบพบแพทย์โดยเร็วเพื่อรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ สำหรับบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า