11 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ โรคเอดส์ และ เชื้อไวรัสเอชไอวี HIV

การติดเชื้อเอชไอวี และ โรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างไร

โรคเอดส์ (AIDS) และ การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) เชื่อว่าหลายคนยังเข้าใจผิดว่าคือโรคเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคเอดส์ (AIDS) และ การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) นั้นเป็นความเหมือนแตกต่าง นั่นหมายถึง การที่คนจะเป็นโรคเอดส์ จะต้องมีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมาก่อน และปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน

ซึ่งหากไม่รักษา อาการและระยะของโรคก็จะรุนแรงขึ้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้อีกต่อไป และลุกลามจนกลายเป็นโรคเอดส์นั่นเอง แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี รักษาอย่างไร และ ป้องกันอย่างไร วันนี้จะพาไปหาคำตอบกับ 11 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ โรคเอดส์ และ การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) กัน

1. โรคติดเชื้อเอชไอวี HIV คืออะไร

โรคติดเชื้อเอชไอวี คือ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (AIDS, Acquired Immune Deficiency Syndrome)

2. โรคเอดส์ เชื้อไวรัสเอชไอวี คืออะไร

เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ย่อมาจากคำว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มรีโทรไวรัส (Retrovirus) เป็นเชื้อที่ทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้อีกต่อไป และนำไปสู่โรคร้ายอย่าง โรคเอดส์

โรคเอดส์ และ เชื้อไวรัสเอชไอวี HIV
กลับสู่สารบัญ

3. การติดเชื้อเอชไอวี HIV – โรคเอดส์ แบ่งออกเป็นกี่ระยะ

การติดเชื้อเอชไอวี แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

1. ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน

คือ ระยะที่รับเชื้อมาใหม่ๆ อาการผิดปกติของผู้ป่วยในระยะแรกนี้จะมีน้อย ผู้ติดเชื้อส่วนหนึ่งจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ได้แก่ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มี ไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเล็กน้อย ถ่ายอุจจาระเหลว ต่อมน้ำเหลืองโต และสามารถหายไปเองได้ในเวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์ แต่ผู้ติดเชื้ออีกส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวีมาแล้ว

ซึ่งระยะแรกนี้จะยังไม่เรียกว่า โรคเอดส์ ระยะนี้เป็นระยะที่เชื้อไวรัสเข้าไปในเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ทีเซลล์ (T cell) และทำให้ทีเซลล์ (T cell) เหล่านี้ตายเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อทีเซลล์ (T cell) ในเลือดลดจำนวนลง เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่สร้างแอนติบอดี (Antibody) ให้สร้างแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสขึ้นมาภายในเวลา 3 ถึง 7 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อ ซึ่งแอนติบอดีนี้สามารถตรวจพบได้จากเลือด และเป็นสิ่งที่ใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)

2. ระยะไม่ปรากฏอาการ

คือ เป็นระยะที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จึงทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อให้กับบุคคลอื่นได้ง่ายโดยการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน เนื่องจากไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

3. ระยะมีอาการ

คือ ในระยะนี้จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เริ่มมีฝ้าขาวในปากเนื่องจากมีการติดเชื้อราที่ลิ้น มีตุ่มคันขึ้นตามแขนขา มีไข้เรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ ท้องเสียเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ น้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 เป็นต้น ทำให้เป็นระยะที่ผู้ติดเชื้ออาจสงสัยว่าตนเองมีความผิดปกติ และอาจจะมาพบแพทย์

ระยะนี้เชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง และในม้าม ค่อยๆ แบ่งตัวเพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆ ทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า CD4+ ในเลือด จะค่อยๆ ลดจำนวนลงอย่างช้าๆ และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ ระยะนี้ส่วนใหญ่จะกินเวลานาน 7-10 ปี

โดยที่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน นอกจากนี้การได้รับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่ในระยะนี้ได้ยาวนานยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนสมัยที่ยังไม่มีการค้นพบยาต้านเชื้อไวรัส

4. ระยะที่เป็นโรคเอดส์

คือ ระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก สามารถทราบได้จากการตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวชนิด CD4+ ลดลง ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร อาการของโรคเอดส์ อาจจะมาพบแพทย์ด้วยวัณโรค เชื้อราในปอด เชื้อราขึ้นสมอง หรือที่รวมเรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส และมีมะเร็งชนิดต่างๆ เกิดขึ้นได้

ที่พบบ่อย คือ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi sarcoma) และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระยะนี้เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายถูกทำลายเกือบทั้งหมด โดยเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ในเลือดจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีไข้เรื้อรังนานเป็นเดือนๆ อ่อนเพลียมาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว

โรคเอดส์ และ เชื้อไวรัสเอชไอวี
กลับสู่สารบัญ

4. เชื้อไวรัสเอชไอวี HIV ติดต่อได้อย่างไร

เชื้อเอชไอวีสามารถพบได้ในเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนมของผู้ที่ติดเชื้อ ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งที่มีเชื้อเอชไอวีผ่านทางเยื่อบุ หรือผิวหนังที่มีบาดแผล ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ โดยหลักๆ มี 3 ทางดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติด หรือฉีดยาเข้าเส้น
  3. การรับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งมีโอกาสรับเชื้อได้ 3 ช่วง คือ ขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และ กินนมแม่

5. ป้องกันติดเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV และ โรคเอดส์ ได้อย่างไร

  1. ให้ความรู้และสร้างทัศนคติให้มีความตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่สามี หรือภรรยาของตัวเอง ต้องใช้ถุงยางอนามัยเสมอ โดยไม่มีข้อยกเว้น
  2. ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และคิดว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณากินยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ (หลักการคล้ายกับการใช้ฮอร์โมนยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์) แบ่งเป็น กินยาต้านไวรัสหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โดยกินยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุดภายในเวลาไม่เกิน 3 วันหลังมีความเสี่ยง โดยกินยาต้านไวรัสเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือ กินยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัส โดยรับประทานวันละ 1 เม็ดทุกวันในช่วงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
  3. อย่าใช้การฉีดยาเสพติดชนิดเข้าเส้น อย่าใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วม กับคนอื่น
  4. หลีกเลี่ยงการสักตามผิวหนัง การเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพราะสถานบริการบางแห่งอาจรักษาความสะอาดของเครื่องมือไม่ดีพอ
  5. บุคคลากรทางการแพทย์ ถ้าเกิดอุบัติเหตุเข็มตำต้องรีบแจ้งหน่วยที่ดูแลทางการติดเชื้อ เพื่อรับยาต้านไวรัสอย่างทันท่วงที วิธีนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อได้มาก
  6. ควรตรวจเลือดคัดกรองเอชไอวี ในคู่สามี-ภรรยา ที่กำลังจะแต่งงานหรือที่วางแผนจะมีลูก หรือ เมื่อเริ่มไปฝากครรภ์ หากตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ ให้รีบรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
กลับสู่สารบัญ
เอดส์ และ HIV

6. ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

  1. ผู้ที่มีอาการที่เข้าได้กับการติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์
  2. ผู้ที่มีหรือเคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ทั้งนี้รวมถึงเพศสัมพันธ์ระหว่าง ชาย-ชาย หญิง-หญิง หรือชาย-หญิง
  3. ผู้ป่วยวัณโรค
  4. ผู้ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  5. ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดและใช้เข็มร่วมกัน
  6. หญิงตั้งครรภ์และสามี
  7. ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อเอชไอวี
  8. บุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
  9. ผู้ถูกกล่าวหาและผู้ถูกละเมิดทางเพศ
  10. ผู้ที่ต้องการตรวจเลือดก่อนแต่งงานหรือผู้ที่วางแผนมีบุตร

7. เมื่อติดเชื้อเอชไอวี (HIV) แล้ว จะรักษาอย่างไร

เกณฑ์การเริ่ม ยาต้านเอชไอวี ในประเทศไทย คือ ให้ยาต้านเอชไอวีในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกจำนวน CD4 และควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • ผู้ติดเชื้อที่จะเริ่มยาต้านเอชไอวีต้องเข้าใจถึงประโยชน์และผลข้างเคียงของการรักษา เข้าใจประเด็นความสำคัญของการติดตาม ยินดีที่จะเริ่มยาต้านเอชไอวี และมีความมุ่งมั่นตั้งใจรับยาต้านเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอตลอดชีวิต

โดยยาต้านเอชไอวีที่แนะนำให้ใช้เป็นสูตรแรกในประเทศไทยคือ NRTIs + NNRTIs ได้แก่ TDF/FTC (Tenofovir/ Emtricitabine) หรือ TDF (Tenofovir)+ 3TC (lamivudine) ร่วมกับ EFV (Efavirenz) หรือ RPV (Rilpivirine) เนื่องจากเป็นสูตรที่ได้ผลในการควบคุมไวรัสได้ดีมีผลข้างเคียงน้อยและใช้วันละครั้ง

NRTIs

+

NNRTIs

TDF/FTC (Tenofovir/ Emtricitabine)

+

EFV (Efavirenz) หรือ RPV (Rilpivirine)

TDF (Tenofovir)+ 3TC (lamivudine)

+

EFV (Efavirenz) หรือ RPV (Rilpivirine)

8. ผลข้างเคียงที่พบบ่อย จากยาต้านเอชไอวีโรคเอดส์

ภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกจากการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีเกิดได้ทั้งในระยะ เริ่มแรกของการรักษาและหลังการรักษาเป็นระยะเวลานาน และเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องเปลี่ยนสูตรยาหรือหยุดการรักษา

นอนไม่หลับ/ฝันร้าย

EFV, RAL, Atazanavir

ภาวะดื้ออินชูลินเบาหวาน
(Insulin resistance/diabetes mellitus)

d4T, AZT และ PIs บางชนิด พบ 3-5%

ภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ (Lipodystrophy)
การเกิดก้อนไขมันใต้ผิวหนัง Cipohypertrooby)

Pls, EFV

ภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ (Lipodystrophy)
มีเนื้อเยื่อไขมันฝ่อ (lipoatrophy)

d4T, AZT, ddl

ผื่น (Skin rash)

NVP 14.8%, EPV 26%, ABC < 5%

ไขมันในเลือดสูง

Pls, d4T, EFV

ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)

ddl Wu 1-7%

ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy)

ddl Wบ 12-34%, d4T WU 52%

เกิดพิษต่อไต (Nephrotoxicity)

เกิดจาก TDF และ ATV

ตับอักเสบ (Hepatotoxicity, clinical hepatitis)

ยาต้านเอชไอวีในกลุ่ม NNRTIs, Pls, NRTIร ทุกชนิด

กดไขกระดูก (Bone marrow suppression)

AZT พบภาวะโลหิตจาง 1.1- 4.0% และ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ 1.8-8.0%

Efavirenz (EFV), Raltegravir (RAL), Zidovudine (AZT), Protease inhibitors (PIs), Didanosine (ddI), Stavudine (d4T), Nevirapine (NVP), Abacavir (ABC), Tenofovir (TDF), Atazanavir (ATV), Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs), Nucleoside/Nucleotide Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs)

การติดเชื้อเอชไอวี และ โรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างไร

ภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ หรือ Lipodystroph

เกิดได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. Lipohypertrophy คือ การที่มีไขมันสะสมมากผิดปกติ เกิดเป็นก้อนไขมันใต้ผิวหนัง หน้าท้องหรือเต้านมใหญ่ขึ้น หรือมี ก้อนไขมันที่คอด้านหลัง (dorsocervical fat pad หรือ buffalo hump) ซึ่งเกิดจากสูตรยา Protease inhibitors (PIs) หรือ NNRTI-based regimens ที่มี Stavudine (d4T) หรือ Zidovudine (AZT) ร่วมด้วย สามารถพิจารณาการรักษา lipohypertrophy ที่เต้านมหรือคอด้านหลังด้วยการผ่าตัดแบบ restorative หรือใช้วิธี ดูดไขมัน (liposuction) บริเวณนั้นออก
  2. Lipoatrophy คือ การที่มีเนื้อเยื่อไขมันฝ่อ มีอาการแก้มตอบ แขนขาลีบ เส้นเลือดดำที่แขนขาเห็นชัดขึ้น ก้นและสะโพกแฟบลง เกิดจากยากลุ่ม NRTIs โดย Stavudine (d4T) พบมากที่สุด รองมาคือ Zidovudine (AZT) พิจารณารักษา lipoatrophy ที่หน้าด้วยการฉีดฟิลเลอร์หรือสารสังเคราะห์ Poly-L-lactic acid หรือ Sculptra เข้าไปในบริเวณที่ไขมันหายไป

โดยปัจจัยเสี่ยงของภาวะ Lipodystrophy คือ มี baseline BMI ต่ำ การป้องกัน คือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสูตรยาที่เป็นสาเหตุ และเปลี่ยนเป็นยาที่มีผลนี้น้อย ควรรีบเปลี่ยนเมื่อเริ่มมีอาการ การเปลี่ยนยาช้าอาจไม่ทำให้อาการดีขึ้น และมักจะไม่กลับเป็นปกติ

9. การป้องกันการติดเชื้อก่อนการสัมผัส (Pre-Exposure Prophylaxis: PrEP)

การใช้ยาต้านเอชไอวีสำหรับผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อการป้องกันการติดเชื้อก่อนการสัมผัสเชื้อ (PrEP) มีหลักฐานว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มประชากรต่างๆ โดยการกินยา TDF/FTC (Tenofovir/Emtricitabine) ทุกวันสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้

  • ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย คิดเป็นร้อยละ 44
  • ในชายและหญิงรักต่างเพศ ร้อยละ 63
  • และ ร้อยละ 75 ในชายและหญิงที่มีคู่ผลเลือดบวก (Partners PrEP)

ทั้งนี้ความสม่ำเสมอในการกินยาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับประสิทธิผลของ PrEP ยา PrEP ที่แนะนำ คือ TDF/FTC 300/200 มิลลิกรัม กินวันละ 1 เม็ด โดยให้สั่งจ่ายในปริมาณที่เพียงพอสำหรับใช้ไม่เกิน 3 เดือน  ซึ่งระดับยา PrEP ในเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในเลือดและในเนื้อเยื่อต่างๆ จะขึ้นสูงถึงระดับที่สามารถป้องกันเอชไอวีได้ หลังกินยาทุกวันนาน 7 วัน

ข้อควรระวัง* การใช้ PrEP ยังคงต้องใช้ร่วมไปกับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์และการเปลี่ยนเข็มและกระบอกฉีดยาใหม่ทุกครั้ง

กลับสู่สารบัญ

10. ใครควรทานยาเพร็พ (PrEP)

PrEP เหมาะกับชายและหญิงที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่

  1. ผู้มีคู่ผลเลือดบวกและคู่กำลังรอเริ่มยาต้านเอชไอวีอยู่ หรือคู่ได้ยาต้านเอชไอวีแล้วแต่ยังคงตรวจพบเชื้อไวรัสในเลือดอยู่
  2. ผู้ที่มีคู่ผลเลือดบวก ที่ไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  3. ผู้ที่มาขอรับบริการ Post-Exposure Prophylaxis (PEP) อยู่เป็นประจำโดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงลงได้
  4. ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
  5. ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ
  6. ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดที่กำลังฉีดอยู่หรือฉีดครั้งสุดท้ายภายใน 3 เดือน
  7. ผู้ต้องขังที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด
  8. ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
ทดสอบ เอดส์ HIV

11. การป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัส (Post-Exposure Prophylaxis: PEP)

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสหรือ PEP แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

  1. การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในบุคลากรทางการแพทย์หลังการสัมผัสจากการทำงาน
  2. การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสที่ไม่ใช่จากการทำงาน สำหรับการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การถูกเข็มตำนอกสถานพยาบาลและการได้รับบาดเจ็บ

สรุป

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์สามารถป้องกันได้ โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และการป้องกันโดยวิธีต่างๆ ที่ขึ้นกับพฤติกรรมเสี่ยงนั้น ในปัจจุบันยังมีการศึกษาวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆ รวมไปถึงการวิจัยที่จะทำให้การรักษาเป็นแบบหายขาด อย่างไรก็ตามผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักได้รับการวินิจฉัยช้า ไม่ได้มีการตรวจเลือดคัดกรองโดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยง รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลให้ได้รับการรักษาช้า ซึ่งอาจจะทำให้มีผลการรักษาที่ไม่ได้หรือเกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนตามมา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า