ผอมแต่ขาใหญ่ เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีจัดการกับต้นขาใหญ่ ให้ได้ผล

ผอมแต่ขาใหญ่ เกิดจากอะไร

ผอมแต่ขาใหญ่ เกิดจากอะไร?  ทั้งที่รูปร่างก็ผอม แต่ทำไมกันนะ สาวๆ บางคนถึงได้มีต้นขาที่ใหญ่จัง ไม่พอดีกับสัดส่วน และสร้างปัญหาที่ทำให้สาวๆ หลายคนหมดความมั่นใจ สวมใส่เสื้อผ้าไม่สวย โชว์ขาไม่ได้ วันนี้เรามาไขความลับของต้นขากันว่าภายในต้นขามีอะไร ทำไมต้นขาใหญ่ และมาดูวิธีการจัดการกับปัญหาต้นขาใหญ่กัน

ทำไมเราผอมแล้ว แต่ขายังดูใหญ่ เกิดจากอะไร?

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ต้นขาใหญ่เกิดมาจาก

  1. ขาใหญ่เพราะมีการสะสมของไขมันและเซลลูไลต์ที่บริเวณต้นขาและสะโพก
  2. ขาใหญ่เพราะกล้ามเนื้อขามีขนาดใหญ่ อาจจะเกิดจากพฤติกรรมที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณขาหนักๆ หรือออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อมากเกินไป รวมไปถึงในเรื่องของพันธุกรรมด้วยค่ะ บางครอบครัว ก็จะมีสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ที่มีขาใหญ่อยู่แล้ว เราจึงมีขาใหญ่แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
ผอมแต่ขาใหญ่ มีวิธีลดต้นขาใหญ่ยังไง

ขาใหญ่เพราะมีการสะสมของไขมันและเซลลูไลต์ที่บริเวณต้นขาและสะโพก

เราสามารถเช็คดูได้ว่า ขาเราใหญ่เป็นเพราะมีไขมันสะสมหรือไม่ โดยการนั่งเหยียดขาและใช้มือบีบบริเวณต้นขาและดึงยืดออก ถ้ายืดออกได้มากแสดงว่าต้นขาของคุณใหญ่ขึ้นจากการที่มีการสะสมของไขมันและเซลลูไลต์

แล้วเจ้าเซลลูไลต์คืออะไร? “เซลลูไลต์” คือ เซลล์ไขมันชนิดหนึ่งที่อัดกันอย่างหนาแน่น อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณต้นขาและบริเวณอื่นๆของร่างกาย ทำให้ต้นขามีผิวที่ขรุขระหรือที่เรียกกันว่า “ผิวเปลือกส้ม” เมื่อมีก้อนไขมันมาสะสมที่ต้นขาเป็นจำนวนมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ต้นขามีความหย่อนคล้อยและมีผิวที่ขรุขระ

โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับเพศหญิงเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ทำให้ไขมันไปสะสมอยู่ตามต้นขาและสะโพก มากกว่าบริเวณอื่นๆของร่างกาย

นอกจากนี้การกินแป้ง น้ำตาล ไขมันและอาหารรสจัดมากเกินไป ทำให้เกิดไขมันสะสมบริเวณต้นขาและสะโพกเพิ่มมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงบางคนรูปร่างผอม แต่มีต้นขาและสะโพกใหญ่ได้

แล้วถึงจะต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถลดขนาดของต้นขาลงได้ เรามารู้จักวิธีการลดขนาดของต้นขากันเลย

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

ผอมแต่ขาใหญ่ คุมอาหาร ลดน้ำหนัก

1. การควบคุมอาหาร ช่วยลดไขมันในคน ผอมแต่ขาใหญ่ ได้

  • ควรควบคุมปริมาณสารอาหารไม่ให้รับประทานเกินปริมาณที่เราต้องการต่อวัน กินให้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องใช้ เมื่อได้ปริมาณแคลอรีที่ต้องการต่อวันแล้ว ถ้าสามารถทำได้ก็อาจจะหาสัดส่วนสารอาหารที่ต้องได้รับไม่ว่าจะเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสัดส่วนของไขมัน ว่าร่างกายเราต้องได้รับเท่าไหร่ต่อวัน
  • กินแป้งให้น้อยลง ทานข้าวได้ แต่ต้องกำหนดปริมาณ เพื่อไม่ให้ได้รับแป้งและน้ำตาลมากเกินไปรวมถึงอาหารที่มีรสหวาน ของหวาน ขนมต่างๆ
  • ลดของทอดและของมัน เนื่องจากของทอดและของมันจะมีแคลอรีที่ค่อนข้างสูง ทำให้ร่างกายเราได้รับปริมาณแคลลอรี่ต่อวันมากเกินไป
  • อาหารรสจัดทำให้ไขมันสะสมได้ เนื่องจากการปรุงอาหารให้มีรสจัดนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือความเค็มจากน้ำปลาหรือเกลือ ที่จะส่งผลต่อการมีโซเดียมในร่างกายมากขึ้น ทำให้ร่างกายของเรากักเก็บไขมันส่วนเกินมากขึ้น ดังนั้นการเลือกกินอาหารที่ไม่ต้องปรุงรสจัดมาก จึงจะเป็นผลดีต่อร่างกายมากกว่า
  • อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงช่วยปรับสมดุลร่างกายได้ดี เช่น โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย มันฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักใบเขียวทุกชนิด จะช่วยปรับสมดุลน้ำในร่างกายและไม่มีไขมันด้วย
  • การดื่มน้ำอย่างเพียงพอในแต่ละวัน จะช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ และยังช่วยให้ร่างกายขับของเสียได้ดีขึ้น
ผอมแต่ขาใหญ่ ออกกำลังกาย ลดต้นขาใหญ่

2. ผอมแต่ขาใหญ่ ลดได้ด้วยออกกำลังกาย

  • หลายคนมีตารางออกกำลังกายมากมายเพื่อพยายามลดไขมันแค่เพียงบริเวณต้นขา แต่จริงๆ แล้วไม่มีการออกกำลังกายแบบไหนที่สามารถลดไขมันเฉพาะส่วนได้ เนื่องจากการออกกำลังกายหรือการทำกายบริหารไม่ใช่การเคลื่อนไหวร่างกายเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อหลายส่วนที่ส่งผลให้ต้นขาของคุณกระชับขึ้นมาได้
  • การเลือกออกกำลังกายควรเป็นท่าบริหารที่ให้ร่างกายทำงานร่วมกันได้ครบทุกส่วน จะทำให้กล้ามเนื้อของเราพัฒนา เมื่อมีกล้ามเนื้อมากขึ้นจะทำให้เผาผลาญได้ดีขึ้นตามมานั่นเอง
  • ออกกำลังกายด้วยการคาร์ดิโออย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ ซึ่งการทำคาร์ดิโอ จะทำให้เราใช้พลังงานจากไขมันในร่างกายออกไปได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นควรจะดูก่อนว่าการที่ทำ 150 นาที/สัปดาห์ แล้วไขมันยังลดอยู่หรือไม่ ถ้าลดอยู่ ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเพิ่มวันและเวลา แต่ถ้าอยากลดไขมันให้เร็วก็เพิ่มเวลาให้มากกว่านี้ในแต่ละสัปดาห์จาก 150 นาที/สัปดาห์ เป็น180 นาที/สัปดาห์ ก็ได้
  • สำหรับคนที่มีไขมันต้นขามาก แต่กล้ามเนื้อขาไม่มาก การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยลดต้นขาได้ดี ซึ่งนอกจากไขมันต้นขาที่ลดลงแล้วยังทำให้ร่างกายส่วนอื่นๆ กระชับขึ้นด้วยเนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อหลายส่วนในขณะวิ่ง ซึ่งนอกจากการวิ่งแล้ว การปั่นจักรยานหรือการกระโดดร่วมด้วยก็จะช่วยเสริมความแข็งแรงของร่างกายยิ่งขึ้น
  • การเล่นเวทบริเวณขา หากอยากที่จะลดต้นขาก็ไม่ควรที่จะเล่นมากเกินไป หรือให้อยากลดขนาดของขาลงควรบริหารแค่ 1 วันต่อสัปดาห์ก็เพียงพอแล้ว แต่ 1 วันนี้ต้องเล่นแบบเข้มข้นมาก ๆ ไม่ใช่เล่นแค่ท่าละเซ็ต 2 เซ็ตจำเป็นต้องเล่นท่าละ 3-4 เซ็ต เพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานเต็มที่แล้วใช้อีกทีอาทิตย์หน้าแบบนี้จะดีกว่า
ผอมแต่ขาใหญ่ เกิดจากความเครียด

3 ผอมแต่ขาใหญ่ อาจเกิดจากความเครียด

เวลาร่างกายเครียดจะมีฮอร์โมนตัวหนึ่งหลั่งออกมาเรียกว่าคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดึงพลังงานจากไขมันมาใช้ได้ ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าความเครียดสำคัญมากๆ ถ้าหากว่าทำทุกข้อแล้ว ไม่สามารถลดไขมันได้ ก็จะสันนิษฐานได้ว่าคุณกำลังเครียดอยู่นั่นเอง

4. ลดต้นขาใหญ่ ด้วยการดูดไขมันต้นขา

นอกจากการลดไขมันต้นขาด้วยตัวเองแล้ว การดูดไขมันต้นขานั้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นิยมมากในหมู่สาวๆ ที่มีความต้องการลดไขมันสะสมบริเวณต้นขา ซึ่งเอาออกได้ยาก แม้จะออกกำลังกาย หรือควบคุมน้ำหนัก คุมอาหารก็ตาม

บางครั้งกว่าจะเห็นผลลัพธ์หรือขาเล็กลงก็ต้องใช้เวลานาน การดูดไขมันต้นขาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้ ขาเล็ก ขาเรียวสวย ได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะคนที่ผอมอยู่แล้ว แต่มีส่วนเกินแค่ตรงบริเวณต้นขา ทำให้รู้สึกไม่สมส่วน

ดูดไขมัน BodyTite ที่รัตตินนัท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ดูแลโดย นพ.สุทธิพงษ์ อาจารย์แพทย์สอนดูดไ
ดูดไขมัน ที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ห้องผ่าตัดใหญ่ถูกต้องตามกระทรวงสาธารณสุข
รีวิว ดูดไขมันต้นขาด้านนอก ลดขาใหญ่ ขาปูด

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

อ่านเพิ่มเติม : 

Ref. https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/how-to-lose-thigh-fat/

How to Lose Weight with Cardiovascular ExerciseMedically reviewed by Daniel Bubnis, M.S., NASM-CPT, NASE Level II-CSS, Fitness — Written by Sara Lindberg on May 8, 2019

Clemens RA et al. Functionality of Sugars in Foods and Health. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety 2016: Vol 15, 433-470

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า