การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Intragastric Balloon) เป็นการรักษาโรคอ้วน หรือลดน้ำหนักโดยไม่ใช้ยาและไม่ใช่การผ่าตัด เหมาะสำหรับ ผู้ที่อยากจะลดน้ำหนัก แต่ยังไม่อยากผ่าตัด หรือเหมาะกับคนที่พร้อมผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก แต่มีภาวะเสี่ยงทำให้ยังไม่สามารถทำการผ่าตัดใดๆ ได้ในตอนนี้ ต้องทำการใส่บอลลูนในกระเพาะก่อน เพื่อช่วยให้น้ำหนักลดลงเบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด และอาจจะมาทำการผ่าตัดกระเพาะต่อไป
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เหมาะกับใคร?
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Intragastric Balloon) เหมาะกับคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ค่า BMI เกิน 27 และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ อาการปวดเข่า เข่าเสื่อม โรคเบาหวาน
วิธีใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
วิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ไม่จำเป็นต้องมีการผ่าตัดใดๆ ทำให้ไม่มีบาดแผล และสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักในรูปแบบอื่น เนื่องจากวิธีการทำคล้ายกับวิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะทั่วๆ ไป โดยคนไข้สามารถกลับบ้านได้เลยหลังจากพักฟื้น 1-2 ชั่วโมง
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย
- บอลลูนเนื้อนิ่มที่ขยายขนาดได้ ตัวบอลลูนจะเป็นซิลิโคนทางการแพทย์
- สายท่อต่อ
- ระบบเติมของเหลวเข้าในบอลลูน
ขั้นตอนการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- ตรวจร่างกายเบื้องต้นว่าคนไข้พร้อมที่จะรับการรักษาหรือไม่
- งดรับประทานอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และงดน้ำอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนทำการใส่บอลลูน
- วิสัญญีแพทย์ทำการฉีดยาทำให้หลับ (ไม่ได้ดมยาสลบ)
- ทำการพ่นยาชาที่คอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกขย้อนในระหว่างการรักษา
- ศัลยแพทย์ทำการส่องกล้องลงไปทางหลอดอาหารจนถึงกระเพาะ เพื่อใส่บอลลูนซิลิโคนที่ยังไม่พองออกลงไปในตำแหน่งที่เหมาะสม
- เมื่อบอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แพทย์จะทำการฉีดน้ำเกลือผสมกับสารสีฟ้าที่เรียกว่าเมทิลีนบลู (Methylene Blue) เข้าไปในบอลลูน ประมาณ 350-500 ซีซี ขึ้นกับขนาดกระเพาะคนไข้
- ใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที
- พักฟื้นที่ รพ ต่อจนครบ 2 ชม แล้วกลับบ้านได้
การดูแลตนเองหลัง ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- หลังใส่ไป จะเริ่มมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งจะเป็นมากใน 3-4 วันแรก เนื่องจากกระเพาะอาหารจะพยายามขย้อนเอาบอลลูนออก ต่อจากนั้นอาการคลื่นไส้อาเจียนจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ยกเว้นว่าเรารับประทานอาหารมาก ก็จะมีอาการจุกแน่นท้อง
- อาการคลื่นไส้นี้ จะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง น้ำหนักก็จะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ และจะได้ผลดีมากขึ้น หากมีการออกกำลังกายร่วมด้วย โดยน้ำหนักสามารถลดลงได้ 15-30% ของน้ำหนักตัวเลยทีเดียว
- แนะนำให้พบแพทย์ หลังเข้ารับการรักษา 1 สัปดาห์ เพื่อติดตามผลการรักษา และควรพบแพทย์ทุก 4-6 เดือน ในกรณีที่น้ำหนักยังไม่ลดเป็นที่พอใจ แพทย์สามารถแนะนำให้เพิ่มขนาดบอลลูนได้อีก 100-200 ซีซี
- บอลลูน สามารถเกิดการรั่วซึมได้ ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตสีของปัสสาวะอยู่เสมอ
- ควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้การลดน้ำหนักได้ผลมากยิ่งขึ้น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้อย่างรวดเร็ว
- เมื่อน้ำหนักลดลงสัก 4-6 เดือน ความรู้สึกแน่นลดลง น้ำหนักก็จะไม่ลดลงอีก ซึ่งก็ถือว่าจบการลดน้ำหนักระยะที่ 1
- หากยังลดน้ำหนักไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็สามารถกลับเข้ามาเพื่อเพิ่มน้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนอีกรอบ เพื่อเริ่มการลดน้ำหนักระยะที่ 2
- บอลลูนนี้จะถูกใส่ไว้เพียงชั่วคราว แต่หากผู้เข้ารับการใส่บอลลูนพอใจกับน้ำหนักที่ลดลงแล้ว ก็สามารถนำบอลลูนออกก่อนครบ 1 ปีได้
- เมื่อครบ 1 ปี ก็จะต้องนำบอลลูนออก (หากไม่เอาออก บอลลูกอาจจะโดนน้ำย่อยในกระเพาะกัดกร่อนจนรั่วได้)
ประโยชน์ของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- เป็นการลดน้ำหนักโดยไม่ต้องผ่าตัด จึงไม่เจ็บตัว และไม่มีบาดแผล
- ไม่ต้องรับประทานยาเพื่อลดน้ำหนัก
- บอลลูนจะเข้าไปลดพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลาและรับประทานอาหารได้น้อยลงกว่าเดิม ส่งผลให้ฮอร์โมนเกี่ยวกับความหิวหลั่งลดลง ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง
- เป็นวิธีลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ
- นอกจากน้ำหนักที่ลดลงมาแล้ว คนไข้จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตร่วมด้วย
ข้อเสียและความเสี่ยงของการทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร
- เมื่อน้ำหนักลงได้สักระยะ 4-6 เดือน มีโอกาสที่จะไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องมาเพิ่มน้ำเกลืออีกครั้ง ทำให้อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายครั้ง
- อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
- มีความเสี่ยงเกิดภาวะทางเดินอาหารอุดตันหากบอลลูนรั่ว
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากจนคนไข้บางคนอยากเอาออกเลยหลังทำไป 1-2 วัน เพราะทนอาการข้างเคียงไม่ไหว
- ต้องเอาบอลลูนออกภายใน 1 ปี ซึ่งอาจจะทำให้มีน้ำหนักขึ้นได้
ใครที่ไม่ควรทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร ?
- สตรีตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์
- มีความผิดปกติในกระเพาะอาหาร เช่น เป็นแผลในกระเพาะ เลือดออกในกระเพาะ หรือมีภาวะกรดไหลย้อนอย่างรุนแรง
- มีความผิดปกติในหลอดอาหารทำให้ส่องกล้องลงไปไม่ได้ เช่น หลอดอาหารตีบตัน รั่ว ได้รับอุบัติเหตุกับหลอดอาหาร
- มีภาวะอื่นๆ เช่น ภาวะเลือดออกง่าย เลือดแข็งตัวยาก แพ้ยางซิลิโคน
ศูนย์ผ่าตัดเพื่อรักษาโรคและลดน้ำหนัก ครบวงจร
สามารถทำได้ทุกวิธี ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง 30 ปี
ที่ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
อ่านเพิ่มเติม :
ผ่าตัดกระเพาะมีกี่วิธี แต่ละวิธีต่างกันอย่างไร ? ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาสบรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้บริการด้านความงามและการรักษา โดยทีมแพทย์เฉพาะทางระดับอาจารย์หลากหลายสาขา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัยสูงและเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้รับรองมาตรฐานจาก AACI สหรัฐอเมริกา ด้านศูนย์ศัลยกรรมผู้ป่วยนอกแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก 2 ปีซ้อน รวมถึงรางวัลจาก WhatClinic ด้านบริการลูกค้ายอดเยี่ยมระดับสากล เป็นปีที่4 จากลูกค้ากว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ให้ความไว้วางใจและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง