ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) กับ ไมเกรน (Migraine) หลายคนสงสัยว่า คือโรคเดียวกันหรือไม่? หากไม่ใช่ เราจะมีวิธีรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อเรามีอาการปวดหัว ปวดหัวเรื้อรัง มันเป็นอาการของ ออฟฟิศซินโดรม หรือ ไมเกรน .. วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 2 นี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
ไมเกรน (Migraine) คืออะไร
ไมเกรน คือ โรคที่มีการปวดศีรษะชนิดหนึ่ง และอาการปวดศีรษะลักษณะนี้จะพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ส่วนใหญ่พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการปวดศีรษะของไมเกรน จะปวดศีรษะเพียงข้างในข้างหนึ่ง หรืออาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว เป็นต้น
ปวดหัวไมเกรน อาการเป็นอย่างไร ?
อาการของไมเกรน คือ ปวดศีรษะเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอาจจะปวดศีรษะสลับซ้ายขวา บ้างในบางครั้งหรือในแต่ละรอบ โดยอาการปวดศีรษะที่พบมักจะมีอาการปวดตื้อๆ ปวดตุ๊บๆ มึน งง มีอาการตาพร่ามัว อาการคลื่นไส้ อาเจียน บางรายจะมีอาการเห็นแสงจ้านำมาก่อน หรือมีอาการแขนขาอ่อนแรงข้างในข้างหนึ่งข้างใดก็ได้ และค่อยมีอาการปวดศีรษะตามมา
ทำไมไมเกรนถึงพบมากในวัยทำงาน? ปัจจัยที่กระตุ้นที่ทำให้เกิดไมเกรน คือความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงพบในวัยทำงานได้ง่ายกว่านั่นเอง
วิธีรักษาไมเกรนด้วยตัวเอง
โดยทั่วไปเลยคือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหากเลี่ยงไม่ได้และมีอาการปวดศีรษะขึ้นมา ถ้าปวดไม่เยอะ ปวดไม่บอย การใช้ยาพาราเซตามอล ทีมเป็นยาสามัญประจำบ้านอาจใช้ก่อนได้ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดศีรษะถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี
โรค ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร
คือกลุ่มอาการหรือความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการทำงานต่อเนื่องซ้ำเป็นเวลานานหรือเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดซึ่งการทำงานแบบนี้จะก่อให้เกิดความผิดปกติตามมาต่อระบบต่างๆได้
อาการปวดหัว ออฟฟิศซินโดรม
อาการปวดหัว ออฟฟิศซินโดรม โดยทั่วไปอาการออฟฟิศซินโดรมมีด้วยกันหลายอย่างเช่น
- กลุ่มอาการของกล้ามเนื้อ อาจจะมีอาการปวด เกร็ง หรือปวดตึงบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง ส่วนขนาดของการเจ็บปวดก็มีตั้งแต่เล็กน้อยแค่ปวดตึงๆน่ารำคาญจนถึงปวดมากทรมานได้
- กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาท อาจมีอาการชาอ่อนแรงบริเวณมือและเท้า
- กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับประสาทอัตโนมัติ ปวดศีรษะ เวียนหัว เหงื่อออก เป็นตะคิว บางรายมีอาการปวดกระบอกตาและนิ้วมือกระตุกร่วมด้วย
การักษาอาการ ออฟฟิศซินโดรม
การรักษาของอาการ ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ในปัจจุบัน ก็สามารถทำได้ตั้งแต่
- การยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
- การทานยา
- การประคบอุ่น
- การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการมีกล้ามเนื้อ หรือเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ
บางรายที่ออกกำลังกายแล้วอาการไม่ดีขึ้น? หรือมีอาการปวดบ่อยๆ ก็แนะนำว่าควรจะพบแพทย์ ด้วยการทำกายภาพบำบัดโดยเครื่องมือที่ถูกต้อง เช่นการใช้เครื่องมืออัลตร้าซาวด์ การใช้เลเซอร์ การนวดโดยการใช้เทคนิคของนักกายภาพ หรือการลงเข็มเพื่อคลายจุดกล้ามเนื้อ โดยได้รับการดูแลจาก
ออกกำลังกาย แก้ออฟฟิศซินโดรม
ในกรณีผู้ที่ต้องการแก้ไขอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเองก็ขอแนะนำการออกกำลังกาย 2 วิธีดังนี้
- การออกกำลังกายโดยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการยืดหยุ่นหรือผ่อนคลายลง
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
นอกเหนือจากนี้ก็ยังสามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้ เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน ในการวิ่งจ๊อกกิ้งเพื่อเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อขยับตัวและป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้
วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า หลังตึงง่ายๆ ดังนี้
- ใช้ยาในกลุ่ม แก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ หรือ ยาแก้อักเสบ ที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ การรักษาเมื่อกล้ามเนื้อบาดเจ็บ และเกิดขึ้นไม่บ่อย เช่น เคล็ด ขัด ยอก จากการยกหนัก ยกผิดท่า และเล่นกีฬา
- ประคบร้อน สำหรับการประคบที่เหมาะกับอาการปวดเมื่อย คอ ต้นคอ บ่า ไหล น่องและหลัง ควรเป็นประคบร้อนระยะเวลาในการประคบคือ 15-20 นาที วันละ2-3ครั้งเพื่อลดอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ
- นวดกดจุด เป็นเทคนิคที่สามารถเลือกทำได้เมื่ออาการปวด โดยมีการศึกษาพบว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่าการรับประทานยาอีกด้วย
บทความน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง
คนที่เป็นไมเกรน เกือบ 50% มีอาการ ออฟฟิซินโดรม ร่วมด้วย
สาเหตุจากอาการไมเกรนที่ปวดศีรษะเพียงข้างใด ข้างหนึ่งหรือสองข้าง จากปัจจัยทางความเครียดจากการทำงานอาการ Office Syndrome ก็ถือเป็นโอกาสในความเสี่ยงที่จะได้รับในกลุ่มวัยทำงาน ที่ต้องนั่งจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่กระทั่งนั่งบนเก้าอี้ตัวเก่าที่ตกท้องช้าง(ยุบ) ก็เป็นตัวส่งเสริมให้เกิดเป็นการใช้ร่างกายในท่าที่ผิดรูปนั่นเอง
เพราะ Life style การดำเนินชีวิต : ไมเกรนและ office syndrome เป็นคนวัยทำงาน นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ ดูหนังสือ เล่นโทรศัพท์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของทั้ง 2 โรค
เนื่องจากอยู่ในท่าทางที่ผิดรูป หรือ อยู่ในท่านั้น ๆ นานเกินไป โดยที่ไม่ได้ขยับร่างกายไปทางไหน ซึ่งส่งผลกระทบให้กระดูกสันหลังต้องแบกภาระและการเล่นมือถือเล่นคอมเป็นเวลานานเสี่ยงทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมและไมเกรนเมื่อคืนได้ เนื่องจากการเล่นมือถือใช้สายตานานๆก็เป็นสิ่งกระตุ้นไมเกรนและการนั่งในท่าเดิมจนกล้ามเนื้อทำงานหนักก็เป็นออฟฟิศซินโดรมซึ่งทั้งสองโลกหากเป็นพร้อมกันจะทำให้เกิดอาการปวดไมเกรนและออฟฟิศซินโดรมมากขึ้นทั้งคู่
ปวดไมเกรนนานจนกล้ามเนื้อหด สมองที่มีอาการปวดหัวและถูกกระตุ้น มันจะมีการสั่งกล้ามเนื้อให้ หดตัว
มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองอย่าง (Serotonin)ที่ลดลงในช่วงที่มีอาการปวดร่วมกับสารเคมีในสมองชนิดอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้าและศีรษะส่งผลให้เกิดอาการขาดเลือดหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
มีหลายงานวิจัยบ่งว่า คนที่เป็นไมเกรน จะปวดคอบ่าไหล่ มากกว่าคนปกติหลายเท่าตัว!
วารสารการพิมพ์ไทยฉบับที่18 ได้รับรองถึงข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะว่ามีจำเพาะกับการปวดศีรษะไมเกรนคือการปวดข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอัตราการปวดรุนแรงก็มีตั้งแต่รุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงมาก และส่วนใหญ่อาการปวดไมเกรนจะมีความทรมานถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
อาการ ออฟฟิศซิมโดรม สามารถกระตุ้นให้เกิด ไมเกรน ได้
อาการปวดกล้ามเนื้อคอ ร้าวขึ้นจนเป็นไมเกรน อาจจะถูกกระตุ้นด้วย กลิ่น แสง ความร้อน
ปัจจัยการกระตุ้นของไมเกรน มีค่อนข้างหลากหลาย พบบ่อยๆ ก็คือการพักผ่อนไม่เพียงพอความเครียด เสียง สี แสง กลิ่น ฤดูกาล การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่โดยผู้หญิงจะพบได้ค่อนข้างมากโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีรอบเดือนและการใช้ยาคุมกำเนิด
สรุป : ไมเกรน กับ ออฟฟิศซินโดรม คือโรคเดียวกันไหม? คำตอบคือ ไม่ใช่!
ไมเกรน คือ โรคที่เกี่ยวกับสมอง มีลักษณะอาการคือ ปวดศีรษะข้างเดียว เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ร่วมกับมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ร่วมด้วย หรืออาจะเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้
แต่ ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณ บ่าตึง หรือมีอาการชาในบางครั้ง เนื่องจากเส้นประสาทถูกกดทับ และเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนของศีรษะได้ หากแก้ไขด้วยการยืดกล้ามเนื้อก็จะช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้
ซึ่งทั้ง ไมเกรน และ ออฟฟิศซินโดรม จะเกิดพร้อมกันได้ เพราะถูกกระตุ้นกันและกัน
ท้ายนี้การดูแลตัวเองเพื่อให้ห่างไกลจาก อาการปวดไมเกรน (Migrain) และ ออฟฟิศซิรโดรม (Office Syndrome) ก็สามารถเลือกทำได้หลากหลายวิธี ไมว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การปรับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวและรวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรงก็จะข่วยลดโอกาสการเกิดของทั้ง 2โรคนี้นั่นเอง
Reference:
-
Henschke N, Maher CG, Refshauge KM, et al. Prevalence of and screening for serious spinal pathology in patients presenting to primary care settings with acute low back pain. Arthritis Rheum. 2009;60(10):3072-3080.
-
พญ.เพชรไพลิน พงษ์บริบูรณ์ พ.บ. ว.ว. (เวชศาสตร์ฟื้นฟู)พท.ว. (แพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรม)พท.ภ. (แพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรม)
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์