ขาด วิตามินบี 12 เสี่ยงภาวะโรคซึมเศร้า อัลไซเมอร์ !

อันตรายหากร่างกายขาด วิตามินบี12

วิตามินบี 12 : หากคุณมีอาการรับรู้ช้าลง หลงลืมง่าย (เกิดจากการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ) , ตัวซีด ตัวเหลือง (เกิดภาวะโรคโลหิตจาง) , มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือมีอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น ซึมเศร้า สับสน อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ฯลฯ คุณอาจจะมีแนวโน้มขาดวิตามินบี 12 ซึ่งรู้ไหมว่า.. เป็นสารอาหารตัวสำคัญ! ที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่ช่วยในเรื่องการทำงานให้เป็นปกติของระบบสมอง ระบบประสาท การทำงานส่วนต่างๆ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับวิตามินกันให้มากขึ้นกัน

วิตามินบี 12 คืออะไร?

วิตามินบี 12 (vitamin b12 , Cobalamin) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ และเป็นวิตามินเพียงตัวเดียวที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นประกอบอยู่ ที่ช่วยในการทำงานของสมอง ระบบประสาทให้เป็นปกติ และมีบทบาทสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย เสริมสร้างกระบวนการสร้างดีเอ็นเอ ส่วนใหญ่แล้วจะพบในอาหารจำพวกเนื้อ ปลา ไข่ นม ตับ เป็นต้น วิตามินบี 12 ก็เป็นเหมือนกับวิตามินอื่นๆ ทั่วไป ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการสังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้รักษา และป้องกันภาวะขาด vitaminb12

วิตามินบี 12 มีชื่อเรียกอยู่หลากหลาย จำแนกตามชนิดที่นำมาใช้ในการรักษาการขาดวิตามิน เช่น ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) , ไฮดรอกโซโคบาลามิน (Hydroxocobalamin) , อะดีโนซิล โคบาลามิน (Adenosyl Cobalamin) หรือเมทิลโคบาลามิน (Mecobalamin)

ซึ่งชนิดที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดคือ ไซยาโนโคบาลามิน  เป็นรูปแบบของวิตามินชนิดเม็ด มีทั้งแบบวิตามินบี 12 เพียวๆ หรือเป็นส่วนประกอบอยู่ในวิตามินบีรวม, วิตามินชนิดอื่นๆ เนื่องจากวิตามินบี 12 แตกตัวไม่ดีนักในกระเพาะอาหาร ต้องรวมตัวกับวิตามินชนิดอื่นๆ เช่น แคลเซียม เพื่อให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิตามินบี 12 มีข้อดีอย่างไร

ประโยชน์ของวิตามินบี 12 มีอะไรบ้าง?

  1. ในไขกระดูก วิตามินบี12 (vitamin b12) จะมีหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ช่วยในการเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ DNA (Deoxyribonucleic Acid) ที่เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง
  2. เป็นสิ่งจำเป็นในการเมตาบอลิซึม (metabolism) ของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ช่วยทำให้เหล็กทำงานได้ดีขึ้นในร่างกาย
  3. ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในตับ (lipotropic factors) โดยจะไปช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ส่วนประกอบสำคัญ ก็คือ เมไทโอนีน (methionine) และโคลีน (choline)
  4. มีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็กที่พัฒนาการช้า และขาดสารอาหาร เด็กพวกนี้มักจะขาดวิตามินบี 12 และวิตามินอย่างอื่นด้วย เมื่อให้วิตามินบี12 จะเพิ่มความอยากอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น แต่ในเด็กที่เจริญเติบโตเป็นปกติไม่ขาดวิตามินนี้ การให้วิตามินบี12 จะไม่มีผล
  5. มีหน้าที่เผาผลาญกรดไขมัน ซึ่งช่วยในการรักษาสภาพของชั้นห่อเส้นประสาท (Myelin sheath)
  6. ทำหน้าที่เก็บพลังงานในกล้ามเนื้อ ช่วยให้มีความกระชุ่มกระชวย กระปรี้กระเปร่า
  7. ทำหน้าที่ละลายพิษของสารไซยาไนด์ (cyanide) เป็นยาพิษอย่างแรง อาจพบในอาหารและบุหรี่
กลับสู่สารบัญ

เพราะอะไรถึงขาดวิตามินบี 12 ?

1. ขาดวิตามินบี 12 เนื่องจากทานมังสวิรัติ ทานอาหารเจเป็นเวลานาน และไม่ได้ทานวิตามินเสริม หรือผู้สูงอายุที่ทานอาหารได้น้อยลง

2. จากการที่ร่างกายดูดซึมวิตามิน b 12 ได้น้อยลง เนื่องจากเคยเข้ารับการ ผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก เช่น ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร หรือผ่าตัดลำไส้ เพราะผลข้างเคียงจากการผ่าตัดในลักษณะนี้จะทำให้การดูดซึมวิตามิน b 12 จากอาหารลดน้อยลง เกิดจากการเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

3. เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็ก เช่น ผู้ป่วยโรคโครห์น (Crohn’s Disease) จะมีความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการระคายเคืองและทางเดินอาหารบวม และโรคเซลิแอค (Celiac disease) เกิดลำไส้เล็กอักเสบ ไม่สามารถดูดซึมวิตามิน และเกลือแร่ได้เต็มที่

4. ผู้ที่ต้องทาน ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร  เป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามิน b 12 ได้น้อยลง เพราะวิตามินบี 12 จะดูดซึมได้ ก็ต้องมีกรดในระบบทางเดินอาหารด้วย

ในงานวิจัยหลายชิ้น พบว่ายาลดกรดที่ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน จะขัดขวางการดูดซึมวิตามิน บี 12 ได้ เพราะการดูดซึมจำเป็นต้องใช้เอนไซม์จากกระเพาะบางชนิด ที่ยาไปขัดขวางการผลิตเอนไซม์ไว้ ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้นานๆ อาจจะเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12 เรื้อรังได้ [อ้างอิงงานวิจัย Heartburn medicines and B-12 deficiency]

5. ใช้ยาเบาหวานบางชนิด เช่น Metformin

6. อายุที่มากขึ้น ทำให้การผลิตน้ำย่อย (กรด) ในกระเพาะอาหารน้อยลงไปตามวัย เสี่ยงต่อการดูดซึมวิตามินบี 12 น้อยลงตามไปด้วย

7. ตับอ่อนทำงานบกพร่อง ผลิตเอนไซม์ไม่เพียงพอต่อการย่อยอาหาร (Pancreatic insufficiency)

8. มีแบคทีเรียเจริญผิดปกติในลำไส้เล็ก หรือมีการติดเชื้อพยาธิบางชนิดในลำไส้เล็ก

กลับสู่สารบัญ
วิตามินบี 12 อาการหลังขาด vitaminb12

อาการขาดวิตามินบี 12 เป็นอย่างไร?

โดยปกติแล้วเมื่อ ขาดวิตามินบี 12 จะใช้เวลานานกว่าจะปรากฏให้เห็น เนื่องจากหลังจากดูดซึม วิตามินบี 12 บางส่วนจะถูกแบ่งไปเก็บสะสมอยู่ในตับ ซึ่งใช้เวลานานเป็นปีถึงหลายปีกว่าจะสลายไป กว่าจะรู้ตัวว่าขาดวิตามินบี 12 ถึงใช้เวลานานกว่าจะรู้นั่นเอง .. และอาการดังต่อไปนี้สามารถพบได้ในบางราย คนที่มีปริมาณวิตามิน b12 ในเลือดต่ำส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ

  1. สุขภาพโดยรวมแย่ลง เสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท สมอง และโลหิต
  2. มีอาการซีดจากภาวะโลหิตจาง (โรคโลหิตจาง) หรือมีอาการตัวเหลือง
  3. การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ มีการรับรู้ช้าลง หลงลืมได้ง่าย
  4. ระบบการรับรู้ความรู้สึกทำงานผิดปกติ เช่น การรับรู้รสชาติ หรือการรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป
  5. มีอาการชาหรือเป็นเหน็บตามปลายมือปลายเท้า
  6. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร
  7. เดินลำบาก ขาดความคล่องตัว (เดินโซเซ ขาทั้งสองข้างเดินได้ไม่สมดุลกัน)
  8. ลิ้นบวม หรืออักเสบ
  9. กลั้นการขับถ่ายไม่อยู่
  10. ซึมเศร้า หรือเห็นภาพหลอน

การวินิจฉัยว่าร่างกาย ขาดวิตามินบี 12 

แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ร่วมกับตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประกอบการวินิจฉัยการขาดวิตามินบี12 เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ดูปริมาณ ขนาด และรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดง ว่าผิดปกติหรือไม่ ในผู้ที่ขาดวิตามินบี12 อาจพบภาวะโลหิตจาง (โรคโลหิตจาง) ที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ อาจพบเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำลงได้เล็กน้อย นอกจากนี้ แพทย์อาจส่งตรวจระดับวิตามินบี12 เพิ่มเติม เพื่อดูระดับวิตามินบี12 ในร่างกายด้วย

กลับสู่สารบัญ
วิตามินบี 12 ดีอย่างไร

เมื่อขาดวิตามินบี 12 จะรักษาอย่างไร?

เมื่อทราบปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แล้ว หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการ ขาดวิตามินบี 12 จากสาเหตุเหล่านี้ ควรจะมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี สำหรับการรักษาการขาดวิตามินบี 12 มีทั้งการใช้ ยาวิตามินบี 12 แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบรับประทาน โดยขนาด ระยะเวลาในการรักษา และวิธีการบริหารยานั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรง และสาเหตุของการขาดวิตามินบี 2

  • หากการขาดวิตามิน บี 12 เกิดจากการรับประทานที่ลดลง โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ สามารถรักษาได้โดยการให้รับประทานวิตามินบี 12 เสริม
  • หากเกิดจากการดูดซึมที่ผิดปกติ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยใช้ยาวิตามิน บี 12 แบบฉีด (ฉีดเข้ากล้าม/เข้าหลอดเลือดดำ) หรือแบบรับประทานในขนาดสูง
  • หากการดูดซึมวิตามิน บี 12 ที่ผิดปกตินี้เกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก กรณีนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับวิตามิน บี 12 แบบฉีดทุกเดือนในระยะยาว

นอกจากการวินิจฉัยและรักษาภาวะการขาดวิตามินบี 12 การหาสาเหตุของโรคนับเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าหากสาเหตุยังไม่ถูกแก้ไข ภาวะดังกล่าวอาจเกิดซ้ำอีกได้ เพราะฉั้นจึงควรมาตรวจเช็กร่างกายเป็นประจำทุกปี พร้อมนำยาที่ใช้ทุกชนิดมาให้แพทย์ตรวจด้วยเพื่อปรับชนิดและปริมาณยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

วิตามินบี 12 กินตอนไหน / เวลาไหน ดีที่สุด

  • วิตามินบี 12 ถึงแม้จะเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำได้ แต่ในกระเพาะอาหารจะแตกตัวไม่ดีนัก ต้องทานพร้อมกับแคลเซียม เพื่อให้ดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีขึ้น
  • ก่อนทานอาหารเสริมวิตามิน b12 ควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่า ทานยาอะไรอยู่หรือไม่ มีโรคประจำตัวไหม หรือ แพ้ยาตัวไหน เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียง
  • การรับประทานวิตามินบี 12 วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร และไม่ควรรับประทานวิตามินซีในช่วงเวลาใกล้กัน เพราะอาจทำให้ร่างกายดูดซึม vitaminb12 ได้น้อยลง หากต้องทานควรเว้นช่วงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • วิตามิน b12 ชนิดเม็ด ควรทานทั้งเม็ดและดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ ดูดซึมได้ดี
  • วิตามิน b12 ชนิดอมใต้ลิ้น ควรวางใต้ลิ้นให้ละลายจนหมด
  • และหากเป็น vitaminb12 ชนิดฉีดเข้าร่างกาย จะต้องได้รับการฉีดโดยแพทย์เท่านั้น
กลับสู่สารบัญ
วิตามินบี 12 จำเป็นต่อร่างกาย

อาหารที่มีวิตามินบี 12

  • อาหารที่มี vitamin b 12 มีอยู่ในอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ สัตว์ปีก อาหารประเภทนม และอาหารอื่นๆ ที่มาจากสัตว์
  • โยเกิร์ต แหล่งโปรตีน แมกนีเซียม และแคลเซียม อีกทั้งการกินโยเกิร์ตสามารถเรื่องระบบการย่อย และช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ความดันสูงได้อีกด้วย
  • อาหารที่มี vitamin b 12 มีอยู่ในนม อีกทั้งมีแคลเซียม และวิตามิน D แล้ว ยังช่วยในเรื่องของอาการ PMS ก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง
  • อาหารที่มี vitamin b 12 ในอาหารทะเล จำพวก แซลมอน เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดี ทั้งวิตามินบี 12 โปรตีน และโอเมก้า3
  • หอยแมลงภู่ มีสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามินซี โอเมกา 3 และวิตามินบี12
  • ปลาทูน่า อุดมไปด้วยวิตามินดี โอกาม้า 3 วิตามินบี12
  • หอยนางรม อาหารทะเลที่นอกจากจะมีสารอาหาร วิตามินบี 12 แล้ว ยังมี ซิงก์ (Zinc) อยู่มากเช่นกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทอร์เทสเตอร์โลนในเพศหญิงด้วย
  • ถั่ว ชีส ไข่

วิตามินบี 12 ดีอย่างไรต่อร่างกาย?

หากได้รับ vitaminb12 ในปริมาณที่มากพอ วิตามินจะเข้าไปช่วยในเรื่องของการทำงานของสมอง ระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น

  • เสริมการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังให้เป็นปกติ
  • ช่วยเรื่องกระบวนการแบ่งเซลล์ สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ตามปกติ
  • ช่วยในการเผาผลาญในกระบวนการสร้างพลังงาน
  • ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  • ช่วยให้นอนหลับดีขึ่น
  • ช่วยลดความเหนื่อยล้า-ความอ่อนเพลีย
  • ช่วยรักษาอาการของอัลไซเมอร์
  • ส่งผลในเรื่องของสุขภาพจิตที่ดีด้วย
กลับสู่สารบัญ
วิตามินบี12 อาการแพ้

อาการแพ้วิตามินบี 12

การทานวิตามิน b12 ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรืออาการข้างเคียงใดๆ หากแต่บางคนอาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ผื่นขึ้น ท้องเสีย เป็นเพราะว่าร่างกายกำลังปรับตัว อาการจะหายเป็นปกติในไม่ช้า แต่หากมีอาการหลังการทานวิตามิน b12 ดังต่อไปนี้ให้รีบหยุดทานทาน และควรรีบปรึกษาแพทย์

  • วิงเวียนศีรษะรุนแรง
  • หายใจติดขัด แน่นหน้าอก
  • เกิดผื่นแดง คัน
  • ใบหน้า คอ หรือลิ้นบวม
  • ปวดท้อง
  • ปาก หรือเล็บเขียวคล้ำ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ตัวซีด
  • เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นผิดปกติ
  • ปัสสาวะน้อยลง

ใครบ้าง? ที่ต้องระวังการรับประทานวิตามินบี 12

  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคตับ โรคไต ภาวะติดเชื้อ โรคตาบางชนิด โรคเม็ดเลือดแดงข้น โรคเก๊าท์
  • ผู้ที่ทานยา หรือได้รับการรักษาเกี่ยวกับไขกระดูก
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อย และ การดูดซึมสารอาหาร เช่น โรคโลหิตจาง ที่เกิดจากการขาด vitaminb12
  • คนที่เคยได้รับการฉายแสงบริเวณลำไส้เล็ก
  • หญิงมีครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
กลับสู่สารบัญ
วิตามินบี12 กับ โรคซึมเศร้า

วิตามินบี กับ โรคซึมเศร้า

ในผู้ป่วยบางคนหรือบางโรคจะต้องรับประทานวิตามินร่วมในการรักษาด้วย อย่างเช่นในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นอาการที่เกิดจากการขาดวิตามินหลายชนิด (วิตามินบีรวม) ซึ่งนอกจากการรับประทานวิตามินแล้ว อาหารก็มีส่วนช่วยสำคัญเช่นเดียวกัน  ซึ่งวิตามินบีรวมจะมีสาร และแร่ธาตุที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น

  • วิตามินบี 1 (Thiamine) เป็นวิตามินสำคัญสำหรับระบบสมอง ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงาน หากขาดตัวนี้อาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท
  • วิตามินบี 3 (Niacin) หากขาดอาจทำให้เกิดอาการทางจิต หรือความจำเสื่อม สมองทำงานช้าลง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเอื่อย ไม่มีแรง
  • วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) ขาดแล้วจะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อยเพลีย และเกิดภาวะซึมเศร้าได้
  • วิตามินบี 6 (Pyridoxine) ช่วยสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนและฮอร์โมนในร่างกาย หากขาดอาจทำให้มีอาการสับสน ภูมิคุมกันบกพร่อง
  • วิตามินบี 12 ขาดตัวนี้อาจทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท อาการทางจิตต่างๆ
  • วิตามินซี (vitamin c) ช่วยลดการอักเสบ ความเครยีดต่างๆ
  • แร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม (calcium) , ซิงก์ ((Zinc) , ธาตุเหล็ก (Iron) , ฯลฯ

อ่านบทความเพิ่มเติม  :  โรคซึมเศร้า

เมื่อรู้ว่า วิตามินบี12 นั้นมีประโยชน์ และสำคัญกับร่างกายอย่างไรแล้ว อยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ใช่เพื่อเพียงว่าเพื่อให้ได้วิตามินบี 12 เท่านั้น แต่อาหารหลากหลายประเภทก็มีสารอาหารอยู่หลายตัวที่สำคัญต่อร่างกายเช่นเดียวกัน รวมถึงการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และรักษาที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนารักษาที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า