หากคุณเป็นคนที่หาวบ่อยทั้งที่นอนเต็มอิ่ม มีอาการเหมือนง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งการหาวบ่อย ๆ นี้ไม่ใช่แค่การนอนน้อยเท่านั้นแต่อาจมีความเสี่ยงในเรื่องของโรคที่คาดไม่ถึง สำหรับการหาวนั้นเป็นปฏิกิริยาของร่างกาย ที่ต้องการจะรับเอาออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่กระแสเลือด และยังช่วยขับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดออกไป เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย การที่ร่างกายเกิดอาการหาวนั้น เกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีออกซิเจนไม่พอ หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากเกินไป ทำให้เกิดอาการง่วง เหงา หาวนอนขึ้นมาได้นั่นเอง
ทำความรู้จักการหาวคืออะไร หาวแบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ
การหาวบ่อย หายใจไม่อิ่มเป็นการตอบสนองต่อความเหนื่อยล้าทางร่างกาย ซึ่งร่างกายจะอ้าปากแล้วสูดลมหายใจเข้าออกอย่างลึก เพื่อให้ได้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น นอกจากนี้ การหาวยังอาจเกิดขึ้นได้จากการเห็นหรือได้ยินผู้อื่นหาว ซึ่งเชื่อว่าเป็นการสื่อสารทางสังคมอย่างหนึ่ง หากหาวมากกว่าปกติ เช่น หาวติดต่อกันหลายครั้งในหนึ่งนาที อาจบ่งชี้ถึงความผิดปกติทางร่างกายหรือโรคบางชนิดได้
ทำไมต้องหาว คำถามที่หลายคนอยากรู้คำตอบ
- ความง่วง ความเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย อ่อนแรง ส่งผลให้การหายใจขาดประสิทธิภาพ การหาวเป็นกลไกธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มการหายใจและพื้นที่ความจุของปอด ทำให้เพิ่มปริมาณออกซิเจนที่สูบฉีดเข้าสู่กระแสโลหิต ขณะเดียวกันปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกระแสเลือดมากขึ้น ด้วยกลไกอัตโนมัติดังกล่าวช่วยพยุงร่างกายให้สามารถทำงานต่อได้ตามปกติ
- การหาวช่วยลดอุณหภูมิภายในสมองได้ โดยการหาวจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรยืดออก ซึ่งจะกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณคอ หน้า และศีรษะมากขึ้น ประกอบกับการสูดหายใจเข้าให้ลึกเป็นการดึงอากาศเย็นเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อากาศเย็นนั้นไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมอง ช่วยลดอุณหภูมิภายในสมองลงได้
- การหาวช่วยยืดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณปอด ซึ่งรวมถึงการยืดข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการหาวด้วย การยืดเหล่านี้จะช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และทำให้รู้สึกสดชื่นมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดในการหายใจได้ด้วย
- การหาวช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารหล่อลื่นภายในปอด ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังภายในปอดมีความชุ่มชื้น ป้องกันการอักเสบและล้มเหลวในการทำงาน ตามทฤษฎีนี้ หากเราไม่หาว การหายใจเข้าอย่างลึกซึ้งจะทำได้ยาก เพราะปอดขาดสารหล่อลื่นที่จำเป็น ดังนั้นการหาวจึงเป็นกลไกการปรับตัวทางสรีรวิทยา
หาวบ่อย เกิดจากอะไร เสี่ยงโรคอะไรได้บ้าง
การหาวบ่อยผิดปกติ คือ อาการหาวที่เกิดขึ้นติดต่อกันหลายครั้งในหนึ่งนาที แม้สาเหตุหลักของการหาวส่วนใหญ่จะเกิดจากความเหนื่อยล้า ง่วงนอน และเบื่อหน่าย แต่การหาวผิดปกติเช่นนี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคหรือความผิดปกติทางร่างกายที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษา เช่น
- ปัญหาการนอนหลับ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคนอนไม่หลับ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ
- ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยากล่อมประสาท ซึ่งทำให้เกิดอาการง่วงนอน
- โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือเนื้อเยื่อบริเวณหัวใจเสียหาย
- โรครุนแรงอื่นๆ เช่น โรคลมชัก ตับวาย เนื้องอกในสมอง ปลอกประสาทอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
แม้การหาวไม่ได้ทำให้เจ็บปวด แต่ควรปรึกษาแพทย์หากหาวบ่อย มึนหัวผิดปกติ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคที่อาจเป็นสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
หาวบ่อยผิดปกติ แก้ไขด้วยตัวเองง่าย ๆ
หากมีอาการหาวผิดปกติ สามารถลองแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ดังนี้
- ฝึกหายใจลึกเข้าออกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย ช่วยลดอาการหาวได้
- ลุกขึ้นเคลื่อนไหวร่างกายบ้าง เพื่อกระตุ้นสมองและระบบประสาท ช่วยลดอาการหาวจากความเหนื่อยล้า
- ดื่มน้ำเย็นหรือรับประทานอาหารว่างเย็น ๆ เช่น ผลไม้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกายและลดการหาว
หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาต่อไป
หาวบ่อยมากเกินไป พบแพทย์เพื่อรักษาจะดีกว่ารักษาด้วยตนเอง
เมื่อไปพบแพทย์ การตรวจรักษาจะตั้งต้นด้วยการซักประวัติเกี่ยวกับอาการหาว ความถี่และระยะเวลาของอาการ พฤติกรรมการนอนว่านอนหลับเพียงพอหรือไม่ ประวัติการรักษารวมทั้งทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อหาสาเหตุเบื้องต้นของอาการ หากสงสัยว่าอาจเป็นโรคอื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่ อาจส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น
- การตรวจการนอนหลับ หรือ Polysomnography เป็นการตรวจเพื่อหาสาเหตุการหาวที่เกิดจากความผิดปกติขณะนอนหลับ โดยจะทำการวัดและบันทึกข้อมูลต่างๆ ขณะนอนหลับ เช่น ระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด, คลื่นไฟฟ้าสมอง, การเคลื่อนไหวของตา กล้ามเนื้อ หน้าอก ช่องท้อง เพื่อวิเคราะห์หาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะหลับ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการหาวผิดปกติ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ EEG เป็นการตรวจวัดการทำงานของคลื่นไฟฟ้าในสมอง โดยการวางเซนเซอร์บริเวณหนังศีรษะ เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ซึ่งจะบ่งบอกถึงการทำงานของเซลล์ประสาท การตรวจ EEG จะช่วยในการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาท เช่น โรคลมชัก ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการหาวผิดปกติได้
- ตรวจเลือด ซึ่งการตรวจเลือดนี้แพทย์จะใช้เมื่อมีข้อสงสัยถึงอาการชัก โรคลมชัก หรือภาวะอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการหาวบ่อย ๆ ซึ่งแพทย์จะหาค่าความสมบูรณ์ของเลือด และตรวจหาระดับสารเคมีต่าง ๆ ในเลือดด้วย เพื่อดูว่ามีการติดเชื้ออะไรหรือไม่ หรืออาจตรวจการทำงานของตับและไต เป็นต้น
- การตรวจพิเศษด้วยเครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) เป็นการสแกนร่างกายด้วยคลื่นความถี่วิทยุและสนามแม่เหล็ก เพื่อสร้างภาพตัดขวางของอวัยวะภายในร่างกายในบริเวณที่ต้องการตรวจ วิธีนี้จะไม่ใช้รังสีเอกซ์จึงปลอดภัยกว่า แพทย์มักใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของสมอง ระบบประสาท กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการหาวผิดปกติ
ถ้าไม่อยากหาวบ่อย แนะนำทำตามนี้ลดอาการหาวได้แน่นอน
- ดื่มน้ำเปล่าปลุกความสดชื่นให้ร่างกาย ซึ่งน้ำเปล่ายังช่วยเพิ่มออกซิเจนให้เลือดได้อีกทาง
- หากเริ่มรู้สึกหาวบ่อยให้เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้กับตัวเอง
- สูดหายใจลึก ๆ เพื่อให้ปอดได้รับออกซิเจนได้เต็มที่
- รับอากาศบริสุทธิ์ในสถานที่มีอากาศถ่ายเทดี ยิ่งเป็นพื้นที่ที่มีสีเขียวจากต้นไม้ สีฟ้าจากท้องฟ้า และแสงแดดอ่อน ๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวได้เป็นอย่างดี
- การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยกระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัว และทำให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ง่วงได้
- นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงต่อวัน
สรุป
หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการหาวบ่อย ที่เกิดจากภาวะเจ็บป่วย ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ โดยแพทย์จะพิจารณารักษาตามอาการป่วยด้วยวิธีที่เหมาะสม หากมีปัญหาในการนอน แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการนอน หรือหากมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา แพทย์ก็จะทำการลดปริมาณยาที่ใช้อยู่ หรือหากมีหาวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ จากโรคหรือภาวะเจ็บป่วยที่รุนแรง จะต้องเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง และเหมาะสมจากแพทย์อย่างเร่งด่วน
Rattinan Team เป็นทีมเขียนบทความสุขภาพที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงและเป็นมิตรกับ SEO เพื่อเพิ่มการมองเห็นและการเข้าถึงของเว็บไซต์สุขภาพในผลการค้นหาของ Google ทีมงานของเราประกอบด้วยด้านสุขภาพที่มีการรักษาในหลากหลายสาขา เช่น การแพทย์ การพยาบาล โภชนาการ และการออกกำลังกาย