อย่ามองข้าม! 10 โรคยอดฮิตจากภาวะ อ้วนลงพุง หรือโรคอ้วน

โรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากภาวะ อ้วนลงพุง หรือโรคอ้วน

อ้วนลุงพุง : เดิมทีเราก็มักจะทราบแค่ว่าโรคภัยนั้นเกิดจากความบกพร่องของร่างกาย อายุ และทางสายพันธุกรรม ซึ่งคุณคงไม่ทราบว่าหนึ่งในความบกพร่องของร่างกายนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะตัวคุณเองด้วย โดยเฉพาะความอ้วนที่ใครก็ต่างบอกกันว่า … แค่ลงพุงเท่านั้นแหละ เดี๋ยวก็ผอม  เรามีเรื่องราวของ 10 โรคยอดฮิต จากภาวะอ้วนลงพุง มาฝากกันด้วยอยากให้คุณลองเปิดอ่านทำความเข้าใจสักหน่อยแล้วจะรู้ว่ามันน่ากลัวขนาดไหน

  1. ไขมันพอกตับ (Fatty Liver) 

ในร่างกายของเรามีอวัยวะสำคัญอยู่ 2 อย่างที่เกี่ยวกับไขมันพอกตับ คือ ตับอ่อนและตับ ตับอ่อนจะมีลักษณะเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนตับอยู่ข้าง ๆ กัน ตับอ่อนจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาทุกครั้งที่รับประทานแป้ง น้ำตาลทุกครั้งที่กินหวาน กินน้ำตาลแป้ง จะถูกส่งไปยังตับอ่อนเพื่อมาจับน้ำตาลเพื่อนำน้ำตาลไปย่อยเป็นไกลโคเจนกระจายอยู่ในกล้ามเนื้อ ในเซลล์ตับ เซลล์สมองเพื่อใช้เป็นพลังงานของเรา ฉะนั้นอธิบายง่าย ๆ ว่าพวกเราต่างก็ใช้น้ำตาลในการขับเคลื่อนชีวิต ซึ่งถ้าเราทานน้ำตาลในปริมาณที่พอดีเราก็จะไม่อ้วน ไม่ประสบกับการมีภาวะอ้วนลงพุงนั่นเอง

2. ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มีสาเหตุมาจากการดำเนินชีวิตและความเครียด ทำให้ลืมดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองไป ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สำหรับทุกๆ คนและทุกอาชีพโดยเฉพาะผู้ชายจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง แต่เมื่อผู้หญิงเริ่มที่จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะเกิดความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ชายทันที

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรคความดันโลหิตสูง (high blood pressureมากจะเกิดกับคนที่มีอายุในช่วง 35-50 ปีอันตรายที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงก็คือระดับความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้นจากปกติจะส่งผลต่อการเพิ่มและขยายตัวของผนังหลอดเลือดทำให้เกิดการฉีกขาดและส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆไม่ว่าจะเป็นจอประสาทตาหัวใจสมองรวมถึงไตด้วย

ความดันโลหิตสูงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้นั้นจะมีระดับความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140 ซีสโตลิคและ 90ไดแอสโตลิต แม่ความดันโลหิตสูงผิดปกติแล้วต้องรีบครอบคลุมทั้งความดันโลหิตสูงตัวบนด้วยและความดันโลหิตสูงตัวล่างให้อยู่ในระดับปกติให้เร็วที่สุดไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดที่จะไปส่งถึงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้นความดันโลหิตมีประโยชน์ในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยดันให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างทั่วถึงร่างกายของเราจึงสามารถที่จะทำงานได้ตามปกติแต่หากวันใดวันหนึ่งความดันโลหิตเกิดผิดปกติขึ้นมาจะสูงขึ้นหรือต่ำลงเกินระดับมาตรฐานจะส่งผลเสียต่อระบบต่างๆภายในร่างกายได้อย่างทันที ฉะนั้นแล้วการรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติไม่สูงไปหรือไม่ต่ำไปจะทำให้ชีวิตของคุณปลอดภัยจากโรคต่างๆได้มากขึ้น

ความดันโลหิตสูง โรคแทรกซ้อนจากภาวะ อ้วนลงพุง ความอ้วน

3.โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) 

เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ เลขส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินเธอปกติแล้วน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลินแต่สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานฮอร์โมนอินซูลินจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเกิดการคลังของน้ำตาลในเลือด ร่างกายไม่สามารถที่จะกักเก็บน้ำตาลเอาไว้ได้เลยมีการปล่อยออกกลับปัสสาวะและกลายเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดหลอดเลือดถูกทำลายและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นที่รุนแรงตามมาไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไตวายเรื้อรัง  รวมถึงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตจากเส้นเลือดในสมองแตก ตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา  ต้อกระจก และโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย จากการสํารวจประชากรที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นส่วนมากเป็นประชากรที่เป็นโรคเบาหวานจะเป็นชาว asia ถึง 4ใน 5 ของประชากรทั่วโลก

ไม่ว่าใครก็ไม่อยากที่จะเป็นโรคเบาหวานเพราะคุณอาจจะต้องงดรับประทานอาหารของโปรดและใช้ชีวิตที่ต้องระมัดระวังอย่างมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าจนคนรู้สึกว่าจะเป็นโรคประสาทอยู่แล้ว เอาเป็นว่าเราไม่อยากให้คนชนะใจไปสำหรับผู้หญิงและผู้ชายที่คิดว่าตัวเองอายุยังน้อยและมีความแข็งแรงที่มากพออยู่แล้วรอบนี้ไม่ได้เกี่ยวว่ามันจะเกิดขึ้นกับเพศไหนอายุเท่าไหร่ ตราบใดที่คุณไม่สามารถที่จะดูแลตัวเองได้ดีพอมันจะส่งผลและมาเย็นคุณแน่ๆสำหรับหนุ่มๆสาวๆ 

ภาวะ อ้วนลงพุง ความอ้วน โรคอ้วน อันตราย
  1. นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)

ถุงน้ำดีถือเป็นอวัยวะที่ใช้ในการเก็บถุงน้ำดีที่สร้างจากตับ ซึ่งองค์ประกอบของถุงน้ำดีจะประกอบไปด้วยหลายอย่าง เช่น เกลือน้ำดี คอเลสเตอรอลหรือพวกไขมัน แต่หากว่าสัดส่วนเหล่านี้ไม่สมดุลกันก็จะทำให้นิ่งเกิดขึ้นมาได้และตกตะกอนอยู่ในถุงน้ำดี 

ในกรณีที่เกิดจากภาวะที่มีไขมันในเลือดสูง บางส่วนอาจเกิดเกิดจากโรคบางชนิดความน่ากลัวก็คือวันหนึ่งอาจเกิดความรุนแรงขึ้นกับเราได้ในอนาคต หรือ นิ้วหลุดออกจากถุงน้ำดีมาอุดตันทางเดินของถุงน้ำดีก็จะทำให้มีอาการ ปวดท้อง ตาเหลือง ตัวเหลืองได้ ถุงน้ำดีอักเสบ  ท่อน้ำดีอักเสบ หรือว่าตับอ่อนอักเสบภาวะความผิดปกติเหล่านี้มีหลายความรุนแรงมีตั้งแต่เป็นน้อยไปจนถึงขั้นเป็นเยอะถึงขั้น ความดันตก ติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้เลย 

5. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)

 ถือว่าเป็นโรคที่น่ากลัวชนิดหนึ่งเลย เมื่อหากว่าเกิดขึ้นกับใครแล้วอาจส่งผลให้ผู้นั้นเสียชีวิตได้ อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า การหยุดหายใจในขณะหลับจะเกิดขึ้นเมื่อหลอดลมหรือทางเดินลมหายใจเกิดการตีบแคบทำให้การหายใจนั้นลำบาก เมื่อการหายใจเกิดการอุดตัน ก็ทำให้การหายใจนั้นหยุดชะงักลงในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้า มีอาการปวดศีรษะ เหนื่อยล่า หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ อาจมีง่วงและหลับในขณะที่ทำงานหรือกิจกรรมได้ มีผลงานการวิจัยพบว่า จากผลการหยุดหายใจในขณะหลับเป็นระยะ ๆ นั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย นั้นก็คือ ความเข้มข้นของออกซิเจนภายในกระแสเลือดลดต่ำลง ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติไป ทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ทำให้ไขมันในกระแสเลือดตลอดจนถึงระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นได้

  •  คำถาม : ภาวะความอ้วน อ้วนลุงพุง มีความสัมพันธ์กับการหยุดหายใจขณะหลับอย่างไร? 

 คำตอบ : ผลของการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความอ้วนที่เกิดขึ้นกับคนเรานั้นจะมีไขมันสะสมอยู่ที่บริเวรคอ ทำให้อวัยวะบริเวณดังกล่าว เช่น ทอนซิล โคนลิ้น มีขนาดโตขึ้น เนื้อเยื่อบริเวณรอบทางเดินหายใจมีไขมันสะสมเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อมีการนอนหลับที่สนิทกล้ามเนื้อบริเวณคอจะคลายตัวและส่งผลให้อวัยวะที่มีขนาดโต หรือเนื้อเยื่อที่มีปริมาณไขมันสะสมอยู่เยอะ ๆ กดทับทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับได้

อ่านบมความน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง

  • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของโรคแทนกซ้อน ที่เกิดจากความอ้วน ได้อย่างไร? โดย นพ.ปณต ยิ้มเจริญ 
หยุดหายใจขณะหลับ โรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วน อ้วนลงพุง

6. ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการของข้อเข่าเสื่อมนั้นมีสาเหตุมาจากภาวะน้ำหนักเกิน อ้วนลุงพุง เนื่องจากว่าข้อเข่าคนเราต้องรับน้ำหนักมากการรับน้ำหนักที่มากจนเกินไปก็ส่งผลให้ได้รับแรงกระแทกบริเวณข้อเข่าตลอดยิ่งเพศหญิงมีโอกาสที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชายถึง 3 เท่าเลย

แล้วหากมีน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนต่าง ๆ เราก็จะมีความเสี่ยงในการได้รับโรคมากกว่าคนทั่ว ๆไปถึง 9เท่าเลย ซึ่งมีการศึกษาพบว่าข้อเข่าเสื่อมความเสี่ยงของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นลดลงถึง 50% หากลดน้ำหนักลงได้ 5 กิโลกรัม ถือว่าเป็นการช่วยลดความเจ็บปวดได้ค่อนข้างดีเลย ที่สำคัญการราคาต่อการเปลี่ยนข้อเข่าก็สูงถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว

  1. นิ่วในไต (Kidney Stones)

ยิ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่หลักคือช่วยกรองของเสียที่อยู่ในเลือดและขับถ่ายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะแต่บางครั้งเกลือแร่ต่างๆอาจเกิดการตกตะกอนและสะสมรวมกันเป็นก้อนแข็งมีลักษณะคล้ายกับก้อนกรวดที่เรียกว่า “นิ่ว”

ซึ่งยิ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งจากทางโครงสร้างของไตที่ทำให้เกิดนิ่งได้ง่าย กรรมพันธุ์  เชื้อชาติ  สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำที่ดื่ม  พฤติกรรมการรับประทานยา หรืออาหารบางชนิด เช่น ยากันชักยารักษาไมเกรน ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือจากการทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ การกินเค็มหรือหวานมากเกินไปก็ส่งผลให้เกิดนิ่วในไตได้

8. ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)

มีสองสาเหตุสำคัญ คือเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือมาจากคุณพ่อคุณแม่และจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงร่วมกับการไม่ออกกำลังกาย ซึ่งจะส่งผลทำให้มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือดมีไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดหรือมีระดับไขมันดีคือระดับไขมัน HDL คอเลสเตอรอลต่ำ

ในช่วงแรกจะไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานหรือเกิดมีไขมันสะสมมากขึ้น ๆ จนเกิดการอุดตันบริเวณหลอดเลือดแดงแล้วจะส่งผลเสียที่ตามมาไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดในสมองหรือ โรคอัมพฤกษ์

9.โรคหัวใจ (Heart Disease)

สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจมีอยู่ 2แบบใหญ่ ๆ  หนึ่ง คือสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เพศ อายุ และกรรมพันธุ์ พันธุกรรมที่ไม่ดีสามารถส่งผลได้จากพ่อแม่เรามาถึงตัวเราได้ โดยทั่วไปแล้วทางการแพทย์ถือว่าหากเกิดพ่อแม่หรือญาติสายตรงฝ่ายชายเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี หรือญาติสายตรงฝ่ายหญิงเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี ถือว่าเป็นพันธุกรรมที่ไม่ดี

ซึ่งสามารถทำให้ตัวของเราเองเกิดปัญหาของหัวใตขาดเลือดก่อนวัยอันควร แต่จะมีสาเหตุบางชนิดที่สามารถควบคุมได้คือ การสูบบุหรี่ การควบคุมความดันที่ดี การควบคุมเบาหวานที่ดี การควบคุมไขมันที่ดี การที่ไปออกกำลังกายลดไขมัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหะวใจนั้นคือการมีไขมันชนิดที่ไม่ดี หรือ LDL คอเลสเตอรอลมากเกินไปในหลอดเลือดไขมันไม่ดี หรือ LDL คอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อการเกิดโรคหัวและหลอกเลือด เพราะไขมัน LDL คอเลสเตอรอลสามารถทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวได้ LDL คอเลสเตอรอลนำไขมันคอเลสเตอรอลเข้าสู่หลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทางหลอดเลือด

หากคอเลสเตอรอลยังค้างอยู่ในกระแสเลือดก็จะสะสมแพ็คเกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งเกิดภาวะหลอดเลือดตีบินานเข้าก็จะเกิดภาวะอุดตัน ละส่งผลให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ไตวาย อัมพาต อัมพฤกษ์ ความดันโลหิตสูง

โรคหัวใจ จากภาวะความอ้วน อ้วนลงพุง

10.โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)

สาเหตุมาจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอเปรียบเสมือนเป็นปั้มที่อาศัยหัวใจให้ปั้มเลือดขึ้นไป ซึ่งจะมีหลอดเลือดบริเวณคอ 2เส้นด้านหน้า และอีก 2 เส้นหลังคอที่ไปเลี้ยงสมองด้านหลังและแตกแขนงไปเลี้ยงสมองในส่วนต่าง ๆ  ถ้าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้สาเหตุหลัก ๆ คือ หลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน

สาเหตุแรกที่ทำให้สมองถึงตีบตันอันดับแรกคือ ความอ้วน น้ำหนักเกิน  ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน สูงอายุ ล้วนแล้วเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดหนาตัวขึ้นทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่สะดวกนั่นเอง

ฉะนั้นแล้วหากคุณไม่อยากที่จะประสบกับปัญหาจากภาวะอ้วนลงพุงที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงที่ตามมาคุณสามารถป้องกันและดูแลในเรื่องของการบริโภคและการดำเนินชีวิตด้วยการรับประทานอย่างเหมาะสม ออกกำลังกายให้ได้สม่ำเสมอและเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีให้ได้ทุก ๆ ปีเพื่อลดปัญหาของการเกิดโรคดังกล่าวนั่นเอง

Reference: 
  • European Association for the Study of the Liver (EASL), European Association for the Study of Diabetes (EASD) and European Association for the Study of Obesity (EASO)(2016).    EASL–EASD–EASO Clinical Practice Guidelines for the management of non-alcoholic fatty liver disease. Journal of Hepatology Volume 64, Issue 6, Pages 1388–1402
  • American Association for the Study of Liver Disease (AASLD)(2016) Global Epidemiology of Nonalcoholic Fatty Liver Disease—Meta-Analytic Assessment of Prevalence,    Incidence, and Outcomes. Hepatology, Volume 64, No.1, Pages 73-84

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า