เบาหวานขึ้นตา อันตรายจากโรคเบาหวาน ถึงขั้นตาบอด หากไม่รีบรักษา!

วิธีตรวจตา ป้องกันภาวะ เบาหวานขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตา คืออะไร? : จอตาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีสาเกตุหลักมาจาก โรคเบาหวาน (diabetic retinopathy, DR) เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดตาบอดอันดับต้นๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีโอกาสตาบอดมากกว่าคนทั่วไปประมาณ 25 เท่า ทั้งยังพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโอกาสตาบอดได้ทั้ง 2 ข้าง สาเหตุเนื่องมาจากภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาในการเป็นเบาหวาน

หากผู้ป่วยเป็นเบาหวานมาอย่างยาวนาน โอกาสที่เบาหวานจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จอตาก็มีสูงที่สำคัญภาวะเบาหวานที่จอตาเป็นภาวะที่ไม่มีอาการเตือนอย่างเด่นชัด ทำให้ผู้ป่วยไม่ทันระวังตัว ปล่อยให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานจึงขึ้นตาได้เร็ว และทำให้ตาบอดในที่สุด

สาเหตุของโรค เบาหวานขึ้นตา

มีปัจจัยมากมายที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นตา เช่น ระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวาน ยิ่งเป็นนานก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง การไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือ อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ เป็นต้น

เบาหวานขึ้นตา เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานาน ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยที่ไปหล่อเลี้ยงจอตาโป่งพองเป็นหย่อมๆ จากผนังหลอดเลือดผิดปกติ ทำให้เลือดและน้ำเหลืองซึมออกมาจากหลอดเลือด กระจายทั่วจอประสาทตา และเส้นเลือดใหญ่ที่จอตาจะเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้นผิดปกติ รวมถึงเส้นใยประสาทของจอตาและจุดภาพชัด (Macula) อาจเริ่มมีอาการบวม ในระยะเริ่มแรกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากมีการอุดตันของเส้นเลือด ที่เพิ่มมากขึ้นอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้

อาการของโรค เบาหวานขึ้นตา
กลับสู่สารบัญ

ภาวะ เบาหวานขึ้นตา แบ่งได้เป็นกี่ระยะ ?

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (diabetic retinopathy, DR) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะตามความรุนแรงของโรค คือ 

  1. ระยะที่ยังไม่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ (Nonproliferative Diabetic Retinopathy: NPDR) ผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอตาในระยะแรกมักไม่รู้สึกผิดปกติใดๆ เมื่อตรวจตาอาจพบจุดเลือดออกที่จอตา หากมีการรั่วซึมของหลอดเลือด จะพบจอตาบวม และเริ่มมีอาการตามัว
  2. ระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ (Proliferative Diabetic Retinopathy: PDR) หากโรคลุกลามมากขึ้น จนเกิดการอุดตันของหลอดเลือดจะทําให้เกิดภาวะจอตาขาดเลือด ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ (neovascularization) หลอดเลือดเหล่านี้มีลักษณะเปราะและแตกง่าย ทําให้เกิดเลือดออกในตาและเกิดพังผืดดึงรั้งจอตา ผู้ป่วยมักมีสายตาแย่ลงอย่างมากทั้งจากเลือดออกและจอตาลอก หรือถ้าหากเส้นเลือดใหม่ที่เกิดขึ้นไปแทรกแซงการระบายน้ำออกจากลูกตา ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งภาพจากดวงตาไปยังสมอง ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต้อหินได้
วิธีตรวจตา ป้องกันภาวะ เบาหวานขึ้นตา
กลับสู่สารบัญ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เบาหวานขึ้นจอตาแล้ว ?

ผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตานั้นอาจไม่รู้สึกว่าอาการผิดปกติใดๆ ดังนั้นเมื่อมีอาการตามัว จึงแสดงว่าโรคเบาหวานขึ้นจอตาเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ โดยจะได้รับการหยอดยาขยายรูม่านตาและตรวจจอตาอยางละเอียด หากพบว่ามีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา แพทย์จะพิจารณาให้คําแนะนำและการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจจอตาหลังเป็นเบาหวาน 5 ปี หรือเมื่ออายุ 10 ปี และตรวจครั้งต่อไปตามแพทย์นัดหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 
  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับการตรวจจอตาหลังการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และตรวจครั้งต่อไปตามแพทย์นัดหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 
  • ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและมีครรภ์ ควรได้รับการนัดหมายเพื่อตรวจจอตาที่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์หรือใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และตรวจครั้งต่อไปตามนัดของจักษุแพทย์
  • ผู้ที่ไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนแต่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองจอตาไม่มีความจำเป็น เนื่องจากภาวะเบาหวานที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ไม่ได้เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดจอตาผิดปกติจากเบาหวาน
เบาหวานขึ้นตา
กลับสู่สารบัญ

วิธีป้องกันภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวาน

สิ่งแรกเลยก็คือการป้องกันหรือลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน โดยให้มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (BMI) อยู่ที่ระหว่าง 18.5-24.9

คลิ๊ก! คำนวณดัชนีมวลกาย BMI ของคุณ

จากการศึกษาพบว่า โรคอ้วนลงพุง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยพบว่า ผู้ที่อ้วนเล็กน้อยจะมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานได้มากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า แต่หากอ้วนในระดับปานกลางจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า และหากอ้วนมากๆ จะมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 10 เท่า

โดยในคนอ้วนพบว่าจะมีการสะสมของไขมันบริเวณเอว หรือบริเวณหน้าท้องที่เป็นสาเหตุหลักทาให้เกิดโรคอ้วนลงพุง เนื่องจากกระบวนการเผาผลาญไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สะสมอยู่ในมันในช่องท้อง (visceral fat) จะถูกเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอิสระในกระแสเลือดมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ตามมา

กลับสู่สารบัญ

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็น โรคเบาหวาน แล้ว การรักษาที่ดีที่สุดของ เบาหวานขึ้นตา (diabetic retinopathy; DR) คือการป้องกันไม่ให้เกิด ภาวะ DR ขึ้น โดยการ

  • เลิกสูบบุหรี่ และเลิกการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ใกล้เคียงปกติตลอดเวลา สามารถลดความเสี่ยงและชะลอการเกิดภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวานได้ อาจจะใช้เครื่องวัดน้ำตาล วัดเองที่บ้านเพื่อช่วยควบคุม
  • ควรวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มาพบแพทย์ และควบคุมความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายในผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) จะลดความเสี่ยงการเกิดภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวาน
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย 
  • สังเกตความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น และควรไปพบแพทย์โดยด่วนหากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นอย่างฉับพลัน เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยเบาหวานควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาเป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าการมองเห็นจะยังคงเป็นปกติก็ตาม
  • ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนหากพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นอย่างฉับพลัน
วิธีป้องกันการเกิด เบาหวานขึ้นตา
กลับสู่สารบัญ

วิธีการรักษา เมื่อเป็น เบาหวานขึ้นตา

ความผิดปกติที่เกิดจาก เบาหวานขึ้นตา นั้นไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นสภาพปกติได้การรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบันมุ่งหวังให้โรคไม่ลุกลามไปจากระยะที่เป็นอยู่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติรวมทั้งการดูแลโรคประจําตัวอื่นๆ อย่างเหมาะสมสามารถชลอความรุนแรงของโรคได้ การรักษาภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในปัจจุบันมี 3 วิธี คือ

  1. การรักษาโดยเลเซอร์ (Laser photocoagulation) เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาโดยมีข้อบ่งชี้ คือ ผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอตาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และผู้ป่วยที่มีจุดภาพชัดบวม เลเซอร์จะทําให้หลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติฝ่อลง ส่งผลให้จอตายุบบวมและป้องกันการเกิดเลือดออกในตา 
  2. การรักษาโดยใช้ยาฉีดเข้าน้ำวุ้นตา (Intravitreal injection) เป็นการรักษาวิธีใหม่ โดยการฉีดยาที่มีคุณสมบัติลดการรั่วของหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดที่เกิดใหม่ฝ่อลง เข้าไปในวุ้นตา
  3. การผ่าตัดจอตาและน้ำวุ้นตา (Vitreoretinal surgery) จักษุแพทย์จะพิจารณารักษาเมื่อผู้ป่วยมีเลือดออกในตามาก และมีพังผืดดึงรั้งมากจนทำให้จอตาบวม จอตาหลุดลอกหรือฉีกขาด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และรักษาที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนารักษาที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า