ปวดเอวด้านหลังขวา สัญญาณเตือนโรคทางเดินปัสสาวะ โรคไต

ปวดเอวด้านหลังขวา

ปวดเอว เป็นอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณท้องส่วนบน หลัง หรือด้านข้างลำตัว โดยจะปวดบริเวณใต้ซี่โครงและเหนือกระดูกเชิงกราน อาการปวดอาจลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ด้วย เช่น ปวดเอวด้านหลังขวา หลังส่วนล่าง บางรายอาจรู้สึกปวดทื่อ ๆ แต่บางรายอาจปวดอย่างรุนแรง อาการอาจเป็น ๆ หาย ๆ ปวดเอวมักเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต หรือการติดเชื้อที่ไต การเกิดอาการปวดเอวจึงไม่ควรมองข้าม และควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

อาการปวดเอว แบบใดที่ควรพบแพทย์

อาการปวดเอว มักเกิดจากการปวดแปลบ ๆ ปวดบีบ หรือปวดจี๊ดราวกับถูกแทงด้วยของมีคม โดยอาการจะมาเป็นพักๆ หากอาการปวดเอวเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับไต มักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ปัสสาวะปนเลือด ปวดแสบขณะปัสสาวะ ไข้ ผื่นคัน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก และท้องร่วง

ควรพบแพทย์ทันทีหากมีอาการ ปวดเอวด้านหลังขวา ปวดเอวเรื้อรังร่วมกับอาการดังกล่าว รวมถึงกรณีที่ปวดเอวเป็นเวลานานและมีอาการขาดสารน้ำ เนื่องจากการขาดสารน้ำมากอาจทำให้อวัยวะ เซลล์ และเนื้อเยื่อทำงานผิดปกติ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงหรือช็อกได้ อาการขาดสารน้ำ ได้แก่ ปัสสาวะน้อยและสีเข้ม ชีพจรเร็วผิดปกติ

นอกจากนี้ควรรีบพบแพทย์หากปวดเอวร่วมกับอาการอื่นๆ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ไข้ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปัสสาวะปนเลือดมาก ปวดลามไปที่ท้องน้อยและอวัยวะสืบพันธุ์ ปวดหลังส่วนล่างอย่างแรงใกล้กระดูกสันหลัง รู้สึกเหนื่อยและเบื่ออาหารผิดปกติ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อกระตุก

อาการปวดเอว มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง ?

อาการปวดเอว มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง ?

อาการปวดหลัง หรือปวดเอวมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย โดยสามารถแบ่งอาการปวดเอวออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • อาการปวดเอวที่เกิดขึ้นที่เนื้อไต

อาการปวดเอว อาจเกิดจากปัญหาที่ไต โดยเฉพาะเนื้อเยื่อบริเวณไตอักเสบหรือขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากภาวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรวยไตอักเสบ เป็นการอักเสบของท่อที่เชื่อมระหว่างไตกับกระเพาะปัสสาวะ ฝีที่ไต เป็นการสะสมของหนองในเนื้อไต ภาวะไตขาดเลือด เกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ อาจทำให้ไตขาดเลือดไปเลี้ยง เนื้องอกที่ไต ทั้งเนื้องอกที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ จะทำให้เกิดการบวมหรือเลือดออกของเนื้อเยื่อบริเวณไต ส่งผลให้เกิด ปวดเอวด้านหลังขวา ได้

  • อาการปวดเอวที่ไม่ได้เกิดขึ้นที่ไต 

อาการปวดเอว ในกลุ่มนี้เกิดจากปัญหาการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น การมีนิ่วในไตหรือท่อไต เมื่อมีนิ่วอุดตันอยู่ในท่อไตส่วนต้น จะทำให้ท่อไตบวมและอักเสบ เนื่องจากมีการคั่งของของเหลวและขาดการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยง สภาวะนี้จะกระตุ้นให้เส้นประสาทบริเวณดังกล่าวเกิดการระคายเคือง ส่งผลให้เกิดอาการปวดเอวตามมา

  • อาการปวดเอวอื่น ๆ 

อาการปวดเอว นี้มักเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทบริเวณหลัง ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการใช้งานมากเกินไป ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บหรืออาการอักเสบของเส้นประสาทบริเวณหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวลงขาหรือแขน การติดเชื้อของอวัยวะบางส่วนบริเวณหลัง โรคเกี่ยวกับทรวงอก เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวไปด้านหลังได้ การเป็นไปให้ เลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและหาสาเหตุให้และตรวจสอบโดยแพทย์อย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันและรักษาปัญหาทางสุขภาพให้ได้ดีที่สุด

การวินิจฉัยเมื่อมีอาการปวดเอว

เมื่อผู้ป่วยมีอาการ ปวดเอวด้านหลังขวาปวดเอว แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติและตรวจสอบอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดเอวนั้น โดยแพทย์จะสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เช่น

  • ตำแหน่งหรือบริเวณที่เกิดอาการปวดเอว
  • ช่วงเวลาที่อาการปวดเอวเริ่มต้น
  • ลักษณะของอาการปวด เช่น ปวดแน่น ปวดแปล๊บ หรือปวดตลอดเวลา
  • ความถี่และระยะเวลาที่เกิดอาการปวด
  • อาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ปวดขา ชา หรืออ่อนแรง

หลังจากนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยการกดหรือเคาะบริเวณเอวและบริเวณใกล้เคียง เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่เกิดอาการปวด รวมถึงตรวจระบบทางเดินปัสสาวะและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาทำการตรวจเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • ตรวจเลือด เพื่อประเมินการทำงานของไตและตับ
  • ตรวจด้วยภาพสแกน เช่น อัลตราซาวด์ เอกซเรย์ หรือซีทีสแกน เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะ เนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อภายในร่างกาย
  • ส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือความผิดปกติเกี่ยวกับไตและกระเพาะปัสสาวะ

การตรวจเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดเอวได้อย่างแม่นยำ และสามารถให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

รักษาอาการปวดเอว ต้องทำอย่างไร ?

รักษาอาการปวดเอว ต้องทำอย่างไร ?

ปวดเอว มีสาเหตุมาจากหลายปัญหาสุขภาพ การรักษาจึงแตกต่างกันไปตามสาเหตุ ดังนี้

  • การปวดเอวด้านหลังขวาจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง ควรพักผ่อนร่วมกับการทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยาพาราเซตามอลหรือยาต้านอักเสบชนิดไม่ผสมสเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • การปวดเอวจากการอักเสบ การติดเชื้อ หรือข้ออักเสบ จะได้รับการรักษาตามสาเหตุของโรค เช่น ติดเชื้อที่ไตหรือทางเดินปัสสาวะอาจต้องฉีดยาปฏิชีวนะ ส่วนข้ออักเสบจะได้รับยาต้านอักเสบและกายภาพบำบัด
  • ผู้ป่วยนิ่วในไต ควรรับประทานยาแก้ปวด ดื่มน้ำให้เพียงพอ บางรายอาจต้องผ่าตัดหรือสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก
  • หากปวดเอวอย่างรุนแรงหรือเรื้อรังหลังการรักษา ควรปรึกษาแพทย์ทันที

การ รักษาปวดเอว ขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยมีทั้งการพักผ่อน ออกกำลังกาย กายภาพบำบัด ยารักษา และการผ่าตัดในบางกรณี ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรืออาจเกิดจาก ท้องลมคืออะไร ท้องลมเกิดจากการสะสมของแก๊สในทางเดินอาหารภายในลำไส้ ซึ่งอาจส่งผลให้รู้สึกท้องอืด ปวดท้อง หรืออาจมีเสียงดังเกิดขึ้นในท้อง การรับประทานอาหารที่เป็นประจำ การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ช่วยลดการเกิดท้องลมได้

ป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดอาการปวดเอว

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 แก้ว เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและขับของเสียออกจากร่างกายได้ดี
  • งดหรือจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
  • รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี อาบน้ำให้สะอาด และมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังและกระดูกสันหลังให้แข็งแรง

สรุป

อาการ ปวดเอวด้านหลังขวา อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยร้ายแรงที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะหากอาการมาพร้อมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดบริเวณไต ปัสสาวะผิดปกติ หรือมีไข้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ถึงปัญหาทางเดินปัสสาวะหรือโรคไต ซึ่งหากปล่อยปละละเลยอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ หากประสบอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที การดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีและตระหนักถึงสัญญาณเตือนจากร่างกาย จะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า