โยโย่เอฟเฟกต์ (YoYo Effect) คืออะไร? เกิดจากอะไร? ทำอย่างไรถึงจะหายโยโย่เอฟเฟกต์? คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่พบได้บ่อยครั้งจากผู้ที่พยายามลดน้ำหนัก วันนี้เรามาไขความลับ ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโยโย่เอฟเฟกต์ และมารู้จักกับวิธีการลดน้ำหนักที่ถูกต้องวิธีแก้โยโย่จากยาลดความอ้วน กันค่ะ
โยโย่เอฟเฟกต์ คืออะไร?
โยโย่เอฟเฟกต์ (Yoyo Effect) เป็นคำเรียกของภาวะที่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว และเด้งเพิ่มขึ้นกลับมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน และมักจบลงด้วยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจนมากกว่าก่อนที่จะทำการเริ่มลดน้ำหนัก มักจะเกิดขึ้นในผู้ที่ใช้วิธีการลดน้ำหนักที่ผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอดอาหารและการใช้ยาลดความอ้วน
สำหรับใครที่พยายามจะลดน้ำหนัก แล้วเลือกใช้วิธีการลดน้ำหนักที่คิดเอาเองว่าเป็นการทำให้น้ำหนักลดได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้วิธีการอดอาหาร หรือแม้กระทั่งบางคนเลือกที่จะใช้วิธีการกินยาลดความอ้วน ซึ่งเกิดมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก และหวังผลอยากให้น้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว
แต่ฝันร้ายที่ตามมาหลังจากที่เราพยายามลดน้ำหนักนั่นก็คือ น้ำหนักของเราที่เคยลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงแรกนั้น ก็จะเด้งกลับมาเท่ากับน้ำหนักเดิมของเรา เท่านั้นยังไม่พอ น้ำหนักของเรากลับเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำหนักก่อนที่เราจะเริ่มลดน้ำหนักด้วยซ้ำ ซึ่ง ภาวะนี้ก็คือ “โยโย่เอฟเฟกต์ (Yoyo effect)” นั่นเอง
“หลังอดอาหารหรือกินยาลดน้ำหนัก
ทำไมถึงเกิด โยโย่เอฟเฟกต์ ?”
โยโย่เอฟเฟกต์ เกิดจากอะไร?
โยโย่เอฟเฟกต์ มีสาเหตุมาจากยาลดความอ้วนและการอดอาหาร
การกินยาลดน้ำหนัก หรือยาควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนักส่วนใหญ่ทำให้เกิดเกิดอาหารเบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อย หรือ การปิดกั้นสารอาหารบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย หรือสูญเสียน้ำในร่างกายมากขึ้น ไม่ต่างกับการลดน้ำหนักโดยการอดอาหาร จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ดังนั้นร่างกายเราจึงปรับวิธีการใช้พลังงาน โดยใช้วิธีการ สลายมวลกล้ามเนื้อเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน และกักเก็บไขมันในร่างกายเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรอง เพราะว่าร่างกายคิดว่าตัวเราขาดสารอาหารนั่นเอง จึงทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะที่มีไขมันเกินร่วมกับมวลกล้ามเนื้อลดลง ทำให้ส่งผลเสียต่อระบบการเผาผลาญ และในช่วงนี้น้ำหนักตัวของเราจะลดลงไปอย่างรวดเร็ว
แต่หลังจากนั้นร่างกายของเราจะกระตุ้นให้เกิดอาการหิวและโหยมากกว่าก่อนที่จะเริ่มมีการลดน้ำหนักเพื่อให้เรารับประทานอาหารเข้าไป เพื่อที่ร่างกายของเราจะได้มีพลังงานที่เพียงพอ คราวนี้ก็มาถึงความวิบัติแล้วค่ะ
เมื่อร่างกายเรามีไขมันส่วนเกินเยอะและมวลกล้ามเนื้อที่ลดน้อยลงอย่างมาก จากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี เมื่อได้รับประทานอาหารในปริมาณที่มากขึ้น ร่างกายของเรากลับนำสารอาหารเหล่านั้นไปเผาผลาญได้ไม่หมด เนื่องจากปริมาณกล้ามเนื้อที่ลดลง ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องสะสมสารอาหารส่วนเกินที่เหลือในรูปแบบของไขมัน และทำให้น้ำหนักตัวของเราเด้งเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำหนักตัวก่อนที่จะเริ่มลดน้ำหนักนั่นเอง
ต่อมาเราจะมาดูวิธีการว่า ทำอย่างไรถึงจะหายจากอาการ โยโย่เอฟเฟกต์ ? และมารู้จักกับวิธีการลดน้ำหนักที่ถูกต้องกันค่ะ
ทำอย่างไรถึงจะหายจากอาการ โยโย่เอฟเฟกต์ ?
1. เปลี่ยนวิธีคิดในการลดน้ำหนัก ลดน้ำหนัก ลดไขมัน ควบคู่ไปกับการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในการหยุด โยโย่เอฟเฟกต์ คือการเลือกวิธีการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับ lifestyle ของตนเอง เพื่อที่เราจะได้สามารถทำมันได้ตลอด
ปรับแก้ที่พฤติกรรมตนเองเป็นหลัก ลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความอ้วน โดยการเลือกกินอาหารให้ถูกต้อง เพื่อได้พลังงานที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมในวันนั้นๆเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบหมวดหมู่ ครบมื้ออาหาร เพิ่มการกินผักใบเขียว เลือกกินผลไม้หวานน้อยเป็นหลัก ตามด้วย ข้าวแป้ง ธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อยๆ และ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ในสัดส่วน ผัก และผลไม้หวานน้อย 2 ส่วน ข้าวแป้ง ธัญพืช 1 ส่วน และ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน
และถ้าหากเราออกกำลังกาย ร่างกายก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ก็ควรกินอาหารให้สอดคล้องกับการใช้งานพลังงาน โดยไม่ลด หรืออดอาหารมากจนเกินไป แล้วไปออกกำลังกายหนักๆ
2. การออกกำลังกายควรทำอย่างพอเหมาะพอดี
เลือกกิจกรรมที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ควบคู่กับกับกิจกรรมการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน กำหนดความหนัก เวลาในการออกกำลังกายให้เหมาะสม และกำหนดให้มีวันพัก เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน อย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์
3. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และเป็นไปได้
ในระยะเวลาที่เหมาะสม (เฉลี่ย 0.5 กก. ต่อสัปดาห์) ซอยเป้าหมายออกเป็นช่วง เพื่อช่วยให้การลดน้ำหนักไม่หนัก และหักโหมจนเกินไป สามารถทำได้ต่อเนื่อง และควรตั้งใจทำอย่างจริงจัง ทำอย่างสม่ำเสมอ
4. นิสัยการรับประทานอาหาร (Meals)
การกินอาหารจุบจิบ การกินไม่เป็นเวลา การกินอาหารกลางคืน มีผลต่อการสะสมไขมันใต้ผิวหนัง และเพิ่มน้ำหนักตัวได้
5. การนอนหลับ (Sleep)
มีการศึกษาวิจัย รายงานถึงความสัมพันธ์ของคนที่นอนน้อย หรือนอนเพียงพอ แต่ไม่มีคุณภาพ ว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน และโรคอ้วนได้ ชั่วโมงของการนอนที่ไม่เพียงพอ การนอนไม่ตรงเวลา หรือการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ มีผลให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้น
6. ความเครียด (Stress)
ความเครียดมีผลต่อการทำงานของระบบการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ความเครียดส่งผลให้ร่างกายต้องการพลังงานงานมากในการใช้จัดการกับความเครียด จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ที่มีความเครียดจะต้องกินเพิ่มขึ้น และอาหารที่ทำให้คนเครียดรู้สึกดีมักเป็นอาหารหวาน เนื่องจากให้พลังงานที่รวดเร็วต่อร่างกาย จึงอาจทำให้เรากินอาหารหวานมาก จนกระทั่งเกินและสะสมเป็นไขมันส่วนเกินได้
Ref. https://www.bangkokhospital.com/content/lose-weight-without-yo-yo ,https://www.lovefitt.com
ดูดไขมัน (Liposuction) ช่วยได้!
กรณีคนที่มีน้ำหนักตัวมากๆ มีไขมันสะสมในร่างกายเยอะ เช่น บริเวณหน้าท้อง(อ้วนลงพุง พุงห้อย) ต้นขาใหญ่ ต้นแขนใหญ่และย้วย ไม่กระชับ การ>ดูดไขมันก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยทำให้รูปร่างกลับมาสวยงาม ปรับสัดส่วนเหมาะสมได้ ซึ่งดีกว่าการกินยาลดความอ้วน ที่มีผลต่อร่างกายในระยะยาว เช่น อาการโยโย่ น้ำหนักไม่ลด หรืออันตรายต่อสมอง ฯลฯ
ส่วนที่นิยมดูดไขมันมากที่สุด 3 อันดับคือ ดูดไขมันหน้าท้อง , ดูดไขมันต้นแขน, ดูดไขมันต้นขา ซึ่งสามารถทำพร้อมกันได้ แต่ก่อนทำต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพราะการดูดไขมันหลายส่วนในครั้งเดียวนั้นจะต้องใช้การดมยาสลบร่วมด้วย ต้องมีวิสัญญีแพทย์และทีมแพทย์ที่พร้อมดูแลตลอดการรักษา นอกจากนี้จะต้องมีการประเมินร่างกายกับการใช้ยาสลบให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายคนไข้ในการใช้ยามากเกินไปจนเกิดยาเป็นพิษ (Over Dose)
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography