ไทรอยด์ เกี่ยวข้องกับการดูดไขมันอย่างไร? เป็นไทรอยด์แล้วดูดไขมันได้ไหม?

ไทรอยด์ กับการ ดูดไขมัน

ไทรอยด์ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ (thyroid hormone) ซึ่งช่วยในการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการในวัยเด็ก โดยมักพบความผิดปกติของ ไทรอยด์ ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในสัดส่วนประมาณ 5 ต่อ 1 หลายคนอาจเคยเห็นข่าวดาราดังๆ ที่เป็นโรคนี้ และมีอาการทางร่างกายที่แตกต่างกันไป นั่นเป็นเพราะโรคไทรอยด์สามารถแบ่งได้สามอย่างคือ ผลิตมากเกิน ผลิตน้อยเกิน และมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์

โรคความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแลรักษากันยาวนาน เพราะอาการของโรค สามารถกลับมาได้เรื่อยๆ เดี๋ยวหาย เดี๋ยวดีขึ้น เดี๋ยวแย่ลง รวมทั้งมีอาการที่ไปเกี่ยวข้องกับหลายอวัยวะ ด้วยความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ โรคของต่อมไทรอยด์จึงมีหลายชนิด เช่น โรคไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเกิน หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ และ โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (ไทรอยด์ต่ำ)

อันตรายจากการทำศัลยกรรมความงามในภาวะไทรอยด์

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้นมีผลกระทบต่อการทำงานของยาบางอย่างที่ต้องใช้ เช่น ยาชา ยาสลบ เป็นต้น เพราะทำให้การขจัดขับถ่ายยาเหล่านั้น ช้าลง เช่นในกรณีของยาชาเฉพาะที่ ซึ่งการใช้ตามปกติไม่น่าจะเกิดขนาดที่ทำให้เกิดการเป็นพิษได้ แต่การเป็นไทรอยด์ร่วมด้วย ทำให้ยาเป็นพิษได้ง่าย

บางคนไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เพราะไม่ได้มีอาการอื่นที่น่าวิตกจึงไม่ได้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างจริงจัง บางคนรู้แล้วว่าเป็น แต่ไม่รู้ว่ามันมีผลต่อการทำศัลยกรรมจึงไม่ได้แจ้งข้อมูลให้กับแพทย์ผู้ดูแล จะด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่มันก็ทำให้มีปัญหาได้ทั้งสิ้น ทางที่ดีก็คือ เมื่อรู้ตัวแล้วว่าเป็น ต้องแจ้งแพทย์เสมอ รวมไปถึงการใช้ยาและการแพ้ยาต่างๆ ด้วยครับ

เป็น ไทรอยด์ แล้วดูดไขมันได้ไหม ?

ปัญหาของคนไข้ที่เป็นไทรอยด์ต่ำ คือการมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น หรือมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายสูง (มีไขมันสะสมในร่างกายจำนวนมากตามสวนต่างๆ) และต้องการลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ ต้องการใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น รวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่อาจจะตามมาหากมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป แต่ไม่สามารถลดน้ำหนักลงด้วยตัวเองได้ หรือทำได้ยาก เช่น การออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร รวมถึงการเผาพลาญในร่างกายลดลง และไม่ปกติเหมือนคนที่สุขภาพดี

คนไข้จึงเลือกเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกในการลดน้ำหนัก โดยมี 2 ทางเลือกคือ

  • ในคนที่อ้วนมาก BMI เกิน 30 หรือมีค่าน้อยกว่า 30 แต่มีโรคแทรกซ้อน แพทย์จะแนะนำการ ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก
  • ในบางคนที่มีปัญหาไขมันสะสมเฉพาะส่วน ก็สามารถเลือกวิธี ดูดไขมัน เพื่อกำจัดไขมันส่วนเกินนั้นออกได้ ซึ่งจุดที่มีการสะสมไขมันและลดได้ยาก เช่น ดูดไขมันหน้าท้อง, ดูดไขมันต้นแขน, ดูดไขมันต้นขา เป็นต้น

การเป็นโรคไทรอยด์นั้นไม่ได้มีข้อห้ามในเรื่องการดูดไขมัน แต่ก่อนดูดไขมันจะต้องควบคุมไทรอยด์ให้อยู่ในระดับปกติ อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อความปลอดภัย และให้แน่ใจว่ายาที่สำหรับโรคไทรอยด์ที่คนไข้ทานนั้นคงที่แล้ว

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับคนเป็นโรคไทรอยด์ และต้องการ ดูดไขมัน ต้องแน่ใจว่า ผลไทรอยด์อยู่ในระดับปกติ 

liposuction belly ดูดไขมันหน้าท้อง
ดูดไขมันแขน แก้ปัญหาแขนใหญ่
รีวิว ดูดไขมันต้นขาด้านนอก ลดขาใหญ่ ขาปูด

ไทรอยด์ มีผลกับการดูดไขมันอย่างไร?

เนื่องจากยาชาที่ใช้ระงับความเจ็บปวดระหว่างดูดไขมันนั้น โดยปกติแล้วตัวยาชาจะถูกกำจัดโดยตับ แต่ในคนที่เป็นไทรอยด์นั้น การขับถ่ายยาชาจะทำได้ช้ามาก และอาจเกิดอันตรายโดยเฉพาะในคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นไทรอยด์

เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจดูดไขมัน จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบโดยละเอียดถึงอาการต่างๆ ยาที่ใช้ และโรคประจำตัว ฯลฯ เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยการรักษาให้ถูกต้อง เลือกใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสม และปลอดภัยกับคนไข้มากที่สุด

อ่านเพิ่มเติม :  “ดูดไขมันคืออะไร?”

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
ไทรอยด์ กับการดูดไขมัน

ไทรอยด์ กับอาการกรดไหลย้อนเกี่ยวกันอย่างไร

โดยมากไม่เกี่ยวกันโดยตรง ยกเว้นในบางโรคเช่น ฮาชิโมโตะ ที่การทำงานที่ผิดปกติของไทรอยด์ ส่งผลต่อการเคลื่อนตัวของหลอดอาหารที่ผิดปกติไปด้วย และ อาจจะมีอาการที่คล้ายกับอาการกรดไหลย้อน  รวมถึงภาวะไทรอยด์ต่ำ จนเกิดโรคอ้วนตามมา ซึ่งโรคอ้วนมักทำให้อาการกรดไหลย้อน เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากแรงดันช่องท้องที่เพิ่มสูงขึ้น

ไทรอยด์ ประเภทผลิตฮอร์โมนเกิน หรือไทรอยด์เป็นพิษ

ไทรอยด์ ชนิดนี้สามารถพบเจอได้ทุกช่วงวัย คนไข้จะมีอาการ มือสั่น ใจสั่น ขี้ร้อน ขี้หงุดหงิด เหงื่อออกง่าย นอนไม่หลับ กินจุแต่น้ำหนักลด เหมือนมีการเผาผลาญอยู่ตลอดเวลา น้ำหนักตัวอาจลดลง 5-10 กิโลกรัมภายในระยะเวลา 1 เดือน แม้จะไม่ได้ออกกำลังกาย  จึงเป็นที่มาของการแอบเอายาไทรอยด์ไปใส่ในสูตรยาลดน้ำหนัก เพื่อให้มีอาการ ไทรอยด์เป็นพิษ เพื่อ น้ำหนักจะได้ลดลง

อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยประมาณ 10% ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มเนื่องจากกินอาหารในปริมาณที่มากกว่าพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญไป ทั้งนี้การรักษาทำได้ด้วยการกินยาต้านไทรอยด์ประมาณ 2 ปี ส่วนในระยะยาวหลังจากหยุดยาต้องมาตรวจอีกครั้ง เพราะหลายคนเมื่อหยุดยาก็มีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่ได้ถึง 70%

ไทรอยด์ ประเภทผลิตฮอร์โมนน้อยไป (ไทรอยด์ต่ำ)

ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ต่ำ มักจะมีอาการตรงกันข้ามกับไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเกิน คือ ไม่ค่อยเผาผลาญ น้ำหนักขึ้นง่าย อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉื่อยชา ขี้หนาว ท้องผูก ง่วงบ่อย นอนเยอะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนอ้วนจะต้องเป็นไทรอยด์เสมอไป

เบื้องต้นสามารถสังเกตตัวเองได้จากพฤติกรรมในอดีต กับปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน หากพบว่ามีความเสี่ยงควรไปตรวจเช็กเพื่อความแน่ใจ สำหรับการรักษาไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนต่ำนั้น จะง่ายกว่าไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนเกิน เพราะสามารถรักษาได้ด้วยการกินฮอร์โมนไทรอยด์เข้าไป เพื่อให้ฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ร่างกายสามารถเผาผลาญได้ตามปกติ โดยส่วนใหญ่มักจะต้องกินไปตลอดชีวิต

ความกังวลของก้อนที่ต่อมไทรอยด์

ในกรณีที่พบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ คนไข้มักกังวลว่าจะเป็นมะเร็งหรือเปล่า ซึ่งคำตอบคือไม่จำเป็นเสมอไป โดยการจะทราบผลว่าเป็นมะเร็งหรือไม่นั้นจะต้องทำการเจาะก้อนที่ต่อมไทรอยด์เพื่อนำเซลล์ไปตรวจ โดยที่ผ่านมาพบว่ามีเพียง 5% เท่านั้นที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง นอกนั้นก็เป็นเพียงก้อนธรรมดาที่ไม่ได้อันตรายอะไร ซึ่งหากก้อนดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หมอก็ไม่แนะนำให้ผ่าตัดเพราะบริเวณนั้นมีทั้งเส้นเสียง และเส้นเลือดจำนวนมาก แต่ก็ควรตามดูอาการอย่างสม่ำเสมอ

ไทรอยด์ ประเภทผลิตฮอร์โมนน้อยไป (ไทรอยด์ต่ำ)

ไทรอยด์ต่ำ กับการดูดไขมัน ภาวะน้ำหนักตัวเกิน

อาการของโรค ไทรอยด์

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เพราะ ไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้ภาวะการเผาผลาญของร่างกาย หรือ Metabolism เกิดมากเกินไป ส่งผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว และทำให้ใจสั่น การใจสั่นมากๆ ในบางคนมีอาการมือสั่นร่วมด้วย
  • ผมร่วง เกิดทั้งภาวะไทรอยด์ต่ำและ ไทรอยด์สูงเกิน  ทำให้รากผมอ่อนแอ ผมร่วง
  • นอนไม่หลับ – ไทรอยด์เป็นพิษทำให้การเผาผลาญเยอะขึ้น ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานเยอะ ดังนั้นจึงนอนไม่หลับ
  • อ้วนขึ้นหรือผอมลงอย่างผิดสังเกต  –  อันนี้เจอบ่อย เมื่อไรที่น้ำหนักขึ้นลงเร็วๆ แพทย์มักเจาะไทรอยด์เสมอ ไทรอยด์ที่เหมาะสมต้องทำให้การเผาผลาญร่างกาย เป็นไปอย่างเหมาะสม การทำงานมากไปหรือไทรอยด์เป็นพิษจะทำให้ผอมลง  แต่หากทำงานน้อยลงหรือไทรอยด์ต่ำจะทำให้อ้วนขึ้น
  • หิวบ่อย – ไทรอยด์เป็นพิษ แม้จะกินเยอะแต่ก็ไม่อ้วนขึ้น จึงอาจจะมีอาการหิวบ่อยได้
  • ขับถ่ายไม่ปกติ – ไทรอยด์เยอะ ระบบเผาผลาญเยอะทำงานมาก ลำไส้จะบีบตัวเร็ว ทำให้ถ่ายบ่อยหรือมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือกากอาหารที่ไม่ย่อย  ในทางตรงข้ามไทรอยด์ต่ำทำให้ระบบเผาผลาญน้อย ท้องผูก
  • เสียงเปลี่ยน มีอาการคอบวม – ไทรอยด์ทั้ง 2 ภาวะ ทั้งต่ำและสูง อาจทำให้คอโต หรือคอบวม ไทรอยด์ต่ำทำให้เสียงเปลี่ยน เส้นเสียงบวมหรือแหบพร่า
  • เหน็บชา ปวดกล้ามเนื้อ – ไทรอยด์สูงอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ในขณะที่ไทรอยด์ต่ำอาจเป็นตะคริวบ่อยๆ
  • สายตาพร่ามัว – ไทรอยด์เป็นพิษ บางคนอาจมีอาการทางตา อาจจะตาโปน ตาแห้ง
  • ใจสั่น – เป็นอาการไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
  • รู้สึกง่วงตลอดเวลา – เป็นอาการของไทรอยด์ต่ำ ระบบการเผาผลาญน้อยลง ตรงข้ามกับไทรอยด์เป็นพิษที่ทำให้ตื่นตลอดเวลา
  • ไม่หิว – ไทรอยด์ต่ำจะไม่ค่อยหิว เพราะเผาผลาญน้อย หากกินน้อยแต่อ้วนขณะ
  • เหงื่อออกเยอะ – เป็นอาการของไทรอยด์เยอะ ทำให้เหงื่อออกชุ่มทั้งตัว ซึ่งจะต่างจากเหงื่อออกเฉพาะจุด เช่นเหงื่อออกมากบริเวณรักแร้อย่างเดียว หรือ ฝ่ามืออย่างเดียว ที่เราเรียกว่าโรค Hyperhidrosis
  • รู้สึกหนาวตลอดเวลา – เป็นอาการไทรอยด์ต่ำ เพราะระบบเผาผลาญทำงานน้อย
  • ผิวแห้ง –  เป็นอาการไทรอยด์ต่ำ เพราะระบบเผาผลาญน้อย ต่อมเหงื่อ+ต่อมไขมันทำงานน้อย
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ – อาจเกิดขึ้นได้ในไทรอยด์ทั้ง 2 ภาวะ
  • เศร้าซึมผิดปกติ – เป็นอาการไทรอยด์ต่ำ ระบบเผาผลาญน้อย มีผลต่อสมองทำให้รู้สึกง่วงนอน เศร้าซึม
  • อารมณ์ทางเพศลดลง – เป็นอาการไทรอยด์ต่ำทั้งผู้หญิง+ชาย ทำให้อารมณ์ทางเพศลดลง
  • กระวนกระวาย – เป็นอาการของไทรอยด์เยอะ ระบบเผาผลาญทำงานมาก กระตุ้นสมอง กระตุ้นหัวใจ มือสั่น ใจสั่น รู้สึก Active ตลอดเวลา
  • ความคิดสับสน ฟุ้งซ่าน – เป็นอาการของไทรอยด์เยอะมาก ไทรอยด์เป็นพิษ
  • อาการนิ้วล็อค (trigger fingers) เจอได้ประมาณ 10 % ของไทรรอยด์ต่ำ

ไทรอยด์ ประเภทผลิตฮอร์โมนเกิน หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ

ไทรอยด์สูง กับการดูดไขมัน ภาวะน้ำหนักตัวดลง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง จากโรคไทรอยด์

ไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนเกินกับไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่ำนั้นไม่ได้มีสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ในทางการแพทย์เชื่อว่ากรรมพันธุ์อาจมีส่วน โดยคนไข้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีครอบครัวที่เป็นโรคไทรอยด์เหมือนกัน สมมุติว่าคุณพ่อเราเป็นโรคไทรอยด์ เราก็อาจจะมีสิทธิ์เป็นไทรอยด์มากกว่าคนอื่น ขณะที่การรับประทานไอโอดีนในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไปก็อาจทำให้มีความเสี่ยงได้เช่นกัน

  • ความเครียด – มีรายงานว่าคนที่มีความเครียดมากๆ ทำให้ระบบภูมิต้านทานร่างกายผิดปกติ+ไทรอยด์เป็นพิษได้
  • สูบบุหรี่ – มีรายงานว่าทำให้ไทรอยด์อักเสบมากกว่า ไทรอยด์เป็นพิษ แต่สูบบุหรี่กระตุ้นอาการทางตาของไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้อาการทางตาแย่ลง
  • งดกินถั่วเหลือง – ไม่เคยมีรายงานว่าถั่วเหลืองทำให้เกิดไทรอยด์ แต่ถั่วเหลืองอาจจะลดการดูดซึมของไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นเม็ดที่รับประทาน ดังนั้น คนที่ไทรอยด์ต่ำ+กินยาไทรอยด์ฮอร์โมน+กินถั่วเหลืองปริมาณมาก ต้องตรวจไทรอยด์อย่างใกล้ชิด
  • งดกินผักดิบตระกูลกะหล่ำ – สามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม ไทรอยด์จะทำงานลดลงต้องบริโภคผักดิบเป็นจำนวนมาก
  • ไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ ทำร้ายต่อมไทรอยด์ – คนที่เป็นไทรอยด์ทุกโรค หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้โรคกำเริบได้

ผู้หญิงจะมีอาการไทรอยด์ มากกว่าผู้ชาย อาจจะมาจากฮอร์โมน ความเครียด หรือกรรมพันธุ์ การป้องกันควรทานอาหารครบ 5 หมู่ เลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ หากมีสัญญาณสงสัยว่าไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ต่ำ และคอโต ควรรีบพบแพทย์

ฮาชิโมโตะ (hashimoto) คืออะไร?

ฮาชิโมโตะ เป็นอาการของไทรอยด์ชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายเข้าใจผิดว่าต่อมไทรอยด์เป็นสิ่งแปลกปลอม จึงมีการทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์ ซึ่งเมื่อเกิดการทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์ ในระยะแรกๆ ฮอร์โมนที่ถูกเก็บไว้จะถูกปล่อยออกมาในกระแสเลือดทำให้มี ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ได้ อาจมีอาการฉุนเฉียว หงุดหงิด ขี้ร้อน ทานจุ น้ำหนักลด

แต่เมื่อเกิดการทำลายไประยะหนึ่ง ฮอร์โมนที่เก็บไว้จะหมดและไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้เพียงพอจะเกิดภาวะขาดไทรอยด์ หรือไทรอยด์ต่ำต้องทานฮอร์โมนเสริม ฮาชิโมโตะจึงเป็นโรคที่ไม่สามารถถูกจัดไว้ว่าเป็นไทยรอยด์ต่ำหรือไทรอยด์สูงได้ เพราะลักษณะโรค มีการกลับไปกลับมาระหว่าง ต่ำและสูงตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติม : ไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ฮาชิโมโต๊ะ (Hashimoto) โรคอันตรายของคุณแม่ตอนตั้งครรภ์

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า