นอนกรน รักษาอย่างไรให้หาย
อาการนอนกรน เกิดจากอะไร
การนอนกรน คือ การเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยและผนังลำคอมีการหย่อนตัวจนทำให้ไปอุดกั้นการทำงานของระบบทางเดินหายใจในบางจุด ซึ่งส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจแคบลง กล้ามเนื้อ โคนลิ้น เพดานอ่อน ผนังคอหอย และลิ้นไก่เกิดการสั่นสะเทือนจนทำให้เกิดเสียงกรน นอกจากนี้ยังมีความรุนแรงถึงขนาดที่ไม่สามารถหายใจได้ชั่วขณะเลยค่ะ
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงตกอยู่ในภาวะนอนกรน
การนอนกรน โดยทั่วสามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งไม่เจาะจงเพศและวัย แต่จะมีปริมาณมากกว่าในกลุ่มคนที่มีลักษณะหรืออาการ ดังนี้
- ผู้ที่มีโครงสร้างของช่องจมูกแคบ
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
- ผู้ที่มีรูปหน้า คาง จมูกผิดปกติ คดหรือเบี้ยว
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต และภูมิแพ้
- กำลังทานยาที่ส่งผลต่อการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ
- สามารถเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- สตรีที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
วิธีแก้อาการนอนกรน เพื่อสุขภาพการนอนของเราและคนรอบข้าง
1. อุปกรณ์แก้นอนกรน iNAP
iNAP (Intraoral Negative Air Pressure) เครื่องช่วยหายใจที่มีความคล้ายกับซีแพพ เป็นอุปกรณ์แก้การนอนกรนโดยเข้าไปช่วยป้องกันไม่ให้ลิ้นหย่อนลงไปอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มความกว้างของระบบทางเดินหายใจที่ทำให้เราหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้นจากคุณสมบัติการสร้างแรงดันลบ การกักเก็บน้ำลายส่วนเกิน และการสร้างสุญญากาศที่อ่อนนุ่มผ่านการเป่าปาก
ข้อดี
กะทัดรัดและสะดวกในการสวมใส่ขณะหลับ
ข้อเสีย
ระหว่างนอนต้องใส่อุปกรณ์อยู่ตลอดเวลา อาจจะพลิกตัวได้ไม่สะดวก
2. เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance)
เครื่องมือทันตกรรม Oral Appliance นำใช้สำหรับการจัดตำแหน่งใหม่ของเนื้อเยื่อในลำคอ ลิ้น และขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและเหมาะสม ช่วยลดการปิดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนได้ดี
ข้อดี
สวมใส่ง่าย ขนาดเล็ก พกพาสะดวก และ ไร้เสียงรบกวนคนนอนข้าง ๆ
ข้อเสีย
อาจรู้สึกไม่สบายตัวขณะนอนหลับ เนื่องจากมีอุปกรณ์อยู่ภายในร่างกาย
3. อุปกรณ์แก้นอนกรน CPAP
วิธีแก้อาการนอนกรน ด้วย Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) เป็นเครื่องมือแก้นอนกรนที่เข้ามาช่วยให้เราหายใจได้สะดวกขึ้นโดยการเป่าลมผ่านทางจมูกหรือปากเข้าสู่ลำคอและโคนลิ้น เพื่อให้ทางเดินหายใจส่วนต้นเหล่านี้ขยายตัวตลอดเวลา ซึ่งวิธีนี้ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานในกลุ่มผู้รักษาอาการนอนกรน
ข้อดี
เหมาะกับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง
ข้อเสีย
อาจเกิดอาการปากแห้ง คัดจมูก หรือผิวหนังระคายเคืองจากหน้ากากครอบ
4. เลเซอร์รักษานอนกรน โดยใช้ Erbium:YAG laser
การรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์เออร์เบี่ยม (Erbium:YAG laser) เป็น Snore Laser ที่ใช้พลังงานแสงเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนเพดานลิ้นไก่ให้เกิดการกระตุ้นการยกตัว ช่วยขยายทางเดินหายใจช่วงบนบริเวณนี้ให้กว้างขึ้น และทำให้การอุดกั้นทางเดินหายใจลดลง เป็นอีกหนึ่ง วิธีแก้อาการนอนกรน ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ยุ่งยาก และไม่อันตราย
ข้อดี
ปลอดภัย ไม่ต้องผ่าตัด และเห็นผลได้ยาวนาน ไม่ต้องใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจ
ข้อเสีย
ควรรับบริการเลเซอร์เออร์เบี่ยมอย่างน้อย 3 ครั้งขึ้นไปเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
5. การฝังพิลลาร์ (Pillar)
รักษาอาการนอนกรนด้วยการฝังพิลลาร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไม่หนักมาก โดยใช้วิธีการสอดแท่งเล็ก ๆ 3 แท่ง ฝังเข้าไปในเพดานอ่อนในปากโดยที่ไม่ตัดหรือทำลายเนื้อเยื่อของเพดานอ่อน ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเพดานอ่อนในปากมากขึ้น ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น และอาการนอนกรนลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม การฝังพิลลาร์จะไม่รบกวนการพูด การกลืน หรือการทำงานปกติของเพดานอ่อนในชีวิตประจำวัน
ข้อดี
ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้เครื่องมือภายนอกช่วยขณะนอน พลิกตัวได้สะดวก
ข้อเสีย
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนไม่มาก ไม่สามารถรักษาผู้ที่มีอาการกรนรุนแรงได้
6. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)
รักษานอนกรนด้วยการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy) การฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยเป็นการออกกำลังกายที่เน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อปาก ลิ้น ขากรรไกรและกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
ข้อดี
ไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ รบกวน แต่สามารถทำร่วมกับการรักษาประเภทอื่นได้
ข้อเสีย
เป็น วิธีแก้อาการนอนกรน ที่ไม่มีรายงานการวิจัยยอมรับสำหรับผลในระยะยาว และยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่มีมาตรฐาน
7. ผ่าตัดรักษานอนกรน
การผ่าตัดรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับการตรวจพบสาเหตุของปัญหานั้นว่าเป็นที่บริเวณใด เช่น เยื่อบุจมูกบวม ทอนซิลโตมาก เพดานอ่อนหย่อนยาน และลิ้นไก่ยาว โดยอาจใช้เลเซอร์ในการตัดหรือ การเย็บตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่ ซึ่งต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินการรักษาว่าควรทำวิธีไหนบ้าง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา
ข้อดี
รักษาตามอาการ แก้ปัญหาได้ตรงจุด
ข้อเสีย
ต้องพักฟื้น อาจพูดไม่ชัดเท่าเดิม ไม่เหมาะกับคนที่ใช้เสียงทำงาน เจ็บ และค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง
สำหรับ 7 วิธีแก้อาการนอนกรน ที่เราได้แนะนำให้นั้นสามารถเลือกใช้รักษาอาการนอนกรนได้ตามความสะดวก ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ เลเซอร์ด้วยเออร์เบี่ยม บำบัดกล้ามเนื้อ หรือผ่าตัดรักษา โดยคำนึงถึงความรุนแรงของอาการร่วมด้วย เพื่อที่สุขภาพการนอนที่ดีขึ้นทั้งของคุณและของคนรอบข้าง อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและมีความปลอดภัย
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้บริการด้วยความรู้ ด้วยประสบการณ์ด้านความงาม ดูดไขมัน และศัลยกรรมเพื่อให้ลูกค้าทุกท่าน ได้รับความพึงพอใจสูงสุด เราพัฒนาคุณภาพการรักษาและการบริการอย่างต่อเนื่อง คุณลูกค้าจึงมั่นใจและเชื่อมั่นทุกครั้งที่มาใช้บริการ นอกจากนั้นเรายังได้รับการรับรองมาตรฐานจากหลาย ๆ องค์กร และมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์และเครื่องมือ มั่นใจได้ว่าเราจะบริการคุณได้อย่างเต็มศักยภาพแน่นอน