ขาโก่ง มีหลายแบบ วันนี้เราจะพูดถึงอาการ ขาโก่งเข้า หรือบางทีเรียก ขาฉิ่ง (Nock knee หรือ Genu valgum) เป็นความผิดปกติของกระดูกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะผิดรูป บริเวณเข่าทั้งสองข้างจะ ตีบเข้าหากันและส่วนขาล่าง (หน้าแข้ง) กางออก มีลักษณะเป็นรูปตัว X
อาการ ขาโก่ง ขาฉิ่ง เกิดจากอะไร
ส่วนใหญ่อาการ ขาโก่งหรือขาฉิ่ง จะพบในคนที่มี น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์ไปค่อนข้างมาก เพราะเนื่องจากขารับปริมาณน้ำหนักที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้น
ความผิดปกติของข้อเข่าทั้ง 2 ชนิดนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในคนรูปร่างปกติ เมื่อยืนเท้าชิดกันข้อเข่าก็จะชิดกันด้วย แต่ในผู้ที่มีขาโก่ง เมื่อยืนเท้าชิดกันจะมีช่องว่างตรงกลางระหว่างข้อเข่า ยิ่งช่องว่างมีความกว้างมาก ความรุนแรงของเข่าโกงก็มากตามไปด้วย ในขณะที่ผู้ที่มีขาฉิ่งจะไม่สามารถยืนเท้าชิดกันได้ เนื่องจากข้อเข่ามีองศาหักเข้ามาชนกันมากกว่าปกติ ข้อเข่าสามารถชิดกันได้ในขณะที่เท้าทั้งสองข้างต้องกางออกจากกันเท่านั้น
ขาโก่งและขาฉิ่งระดับรุนแรงมักจะพบในผู้ที่มีความผิดปกติอย่างรุนแรง เช่น ข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือเส้นเอ็นที่พยุงข้อเข่าหย่อนมากผิดปกติ เป็นต้น โดยมากมักจะมีอาการปวด และเนื่องจากทั้งขาโก่ง และขาฉิ่งทำให้การรับน้ำหนักของร่างกายผิดปกติอย่างมาก จึงอาจจะทำให้ข้อต่ออื่นๆ เช่น ข้อเท้า ข้อสะโพก หรือกระดูกสันหลังส่วนล่างทำงานอย่างผิดปกติ นำไปสู่อาการปวดเรื้อรัง และการสึกหรอของข้อต่อนั้นๆ ก่อนวัยอันควรด้วย
การรักษาอาการ เข่าโก่ง ที่ไม่เสี่ยง คือ การทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับ การลดน้ำหนัก ซึ่งต้องบอกเลยว่า อาการเข่าโก่งเข้านี้ การลดน้ำหนักร่างกาย ตอบโจทย์อย่างมาก เพราะเมื่อน้ำหนักตัวลดลง เข่าจะรับน้ำหนักตัวได้น้อยลง ทำให้อาการเข่าที่โก่งเข้าจะเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ
กลับสู่สารบัญการรักษาและฟื้นฟู ขาโก่ง และ ขาฉิ่ง ทางกายภาพบำบัด
เนื่องจากการออกแบบการรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการขาโก่งและขาฉิ่งนั้นจำเป็นต้องอาศัยการตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุของอาการในผู้ป่วยแต่ละรายอย่างละเอียด และวิธีการรักษาและรูปแบบการออกกำลังกายก็แตกต่างกันมาก ในที่นี้จึงขออธิบายให้เห็นภาพรวมของการรักษาคร่าวๆ ดังนี้
- การตรวจโครงสร้างของร่างกายอย่างละเอียด ในกรณีของขาโก่งและขาฉิ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีความผิดปกติของโครงสร้างอื่นๆ ของร่างกาย เช่น อุ้งเท้าแบน อุ้งเท้าสูง หรือกระดูกสันหลังคด แล้วส่งผลให้ข้อเข่าที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายทำงานผิดปกติ จนเกิดเป็นขาฉิ่งหรือขาโก่งขึ้น นอกจากนี้ถึงแม้อการที่ตรวจพบอาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักของขาฉิ่งหรือขาโก่ง แต่ก็อาจจะมีส่วนสนับสนุนให้ข้อเข่าผิดรูปมากขึ้นได้ ดังนั้นการตรวจหาให้พบ และออกแบบกายออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
- การจัดการกับอาการปวด (Pain management) หรือบวมรอบๆ ข้อเข่า หากมีอาการปวดหรือบวมอยู่จะทำให้การออกกำลังกายเป็นไปได้อย่างไม่เต็มที่ หรือมีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ดังนั้นนักกายภาพก็จะใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละรายมาใช้ เช่น การประคบเย็น การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง (High level Laser therapy) หรือการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังต่ำ(Low level Laser therapy) การรักษาด้วยคลื่นสั้น (Short wave) หรือคลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นต้น
- การออกกำลังกาย (Therapeutic exercise) นักกายภาพบำบัดจะทำการยืดกล้ามเนื้อที่หดรั้ง และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อที่อยู่ในท่ายืดยาวออกเป็นเวลานานจนอ่อนแรงไป ให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ นอกจากนี้ยังมีการออกกำลังอีกหลายชนิดที่มักจะนำมาใช้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่น การออกกำลังการเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทรงตัว เป็นต้น
- การเลือกอุปกรณ์พยุงข้อเข่าเพื่อป้องกันการผิดรูปที่มากขึ้น ป้องกันอาการปวด และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่า
- การให้ความรู้เรื่องการหลีกเลี่ยงท่าทางที่สนับสนุนให้ข้อเข่าผิดรูปหรือทำให้อาการรุนแรงขึ้น เช่น การยืนทำงานในท่าเดิมนานๆ นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของ เข่าโก่ง ขาโก่ง ขาฉิ่ง
ข้ออักเสบเป็นอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ป่วยมีอาการขาโก่งและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม โดยแรงกดที่ผิดปกติจากอาการขาโก่งในระยะยาวจะส่งผลกระทบอาจทำให้เกิดข้ออักเสบที่หัวเข่าและข้อสะโพก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีภาวะอ้วนร่วมด้วย ผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการและไปปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนรักษาให้ทันการณ์ ก่อนจะเสี่ยงเผชิญอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้น
การป้องกันอาการ เข่าโก่ง ขาโก่ง ขาฉิ่ง
- ป้องกันไม่ให้เด็กทารกมีภาวะขาดวิตามินดี ซึ่งจะนำไปสู่การป่วยโรคกระดูกอ่อนและเสี่ยงเกิดอาการขาโก่งได้ ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารที่มีโภชนาการ มีวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสม หรือให้เด็กสัมผัสกับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีสามารถเกิดขึ้นได้จากการรับแสงแดด
- หลังเด็กเกิด พ่อแม่ควรพาเด็กไปพบแพทย์ผู้ดูแลเป็นระยะอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพ ความแข็งแรง และความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กหลังคลอด
- หากสังเกตพบความผิดปกติที่เกิดขึ้น หรือสงสัยว่ามีอาการขาโก่ง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา โดยเฉพาะในเด็กที่อายุเกินกว่า 2 ปีแล้วอาการขาโก่งยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการขาโก่งที่รุนแรงขึ้น เพราะการตรวจวินิจฉัยอาการแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้แพทย์สามารถทำการรักษาได้ทันการณ์ และมีประสิทธิผลทางการรักษาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย
การลดน้ำหนัก เพื่อรักษาอาการ เข่าโก่ง ขาโก่ง ขาฉิ่ง
การลดน้ำหนัก สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวที่มากกว่าปกตินั้น ในระดับที่น้ำหนักเกิน 100 กก นั้น เห็นจะเป็นไปได้ยากมาก ๆ หากนึกไม่ออกว่าทำไมถึงลดน้ำหนักยาก ให้ลองนึกภาพมาที่ความเป็นจริง ว่า สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จนทำให้เกิดอาการเข่าโก่งนี้ จะให้มาออกกำลังกายเพื่อ ลดน้ำหนัก ได้อย่างไร แค่คิดว่าต้องมาออกกำลังกายบนลู่วิ่ง หรือแม้แต่วิ่งที่สวนสาธารณะเองก็ตามนั้นก็รู้สึกท้อแล้ว ขนาดเวลาจะเดิน ก็เหนื่อย และลำบากมาก หรืออาจจะให้ลดปริมาณการทานลงก็ไม่ไหว
เหตุผลหนึ่งเพราะคนเหล่านี้จะชอบกินจุกจิก มากกว่าพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน ดังนั้น การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก หรือลดปริมาณการทานอาหารลง สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติ ยังไม่ค่อยตอบโจทย์ได้ซักเท่าไหร่ เพราะการลดน้ำหนักโดยการออกกำลังกายนี้ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายมาก ๆ กว่าคนทั่วไป
เราจะสังเกตได้ว่าคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกตินั้น แน่นอนว่าส่วนนึงเป็นผลมาจากเรื่องของการทานอาหาร เกือบ100% หรืออาจจะมีส่วนน้อยที่น้ำหนักตัวมากกว่าปกติ เพราะมาจากพันธุกรรม
แล้วทำยังไง? น้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติจะลดลง การลดน้ำหนักแบบไหนถึงจะเห็นผล ถ้าไม่ใช่วิธีการออกกำลังกาย ซึ่งต้องบอกว่าปัจจุบันนี้มีหลายวิธีมาก ๆ ที่สามารถ ลดน้ำหนัก ได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย หนึ่งในนั้น คือ การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก เพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงได้ ในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก เข้าข่ายเป็นโรคอ้วน
อ่านแล้วดูน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวว่า วิธีนี้คืออะไร ซึ่งต้องบอกเลยว่าวิธีนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนักสำหรับคนไทย แต่การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักนี้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติอย่างมาก และมีมายาวนานกว่า 20 ปี เลยก็ว่าได้ การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักนี้ ในต่างประเทศ เฉลี่ยต่อปี มีมากกว่า 10,000 เคส ซึ่งวิธีการลดน้ำหนักชนิดนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่เลย แต่สำหรับคนไทย และมีเพียงไม่กี่ที่เท่านั้นที่ทำหัตถการนี้
กลับสู่สารบัญผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
สำหรับคนที่น้ำหนักตัวเกิน เป็นวิธีการรักษาแบบระยะยาว เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักที่ไม่สามารถควบคุมการกินของตัวเองได้ และ ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยวิธีปกติทั่วไป ซึ่งนำไปสู่อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติ นั่นเอง (การผ่าตัดลดน้ำหนัก มีกี่แบบ ศึกษาข้อมูลกันได้ที่นี่ )
การลดน้ำหนัก ด้วยวิธีนี้ นอกจากจะทำให้น้ำหนักตัวลดลงเรื่อย ๆ แล้วนั้น ยังทำให้โรคประจำตัวที่คนไข้เป็นอยู่ อาการดีขึ้นตามมาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดัน ไมเกรน ปวดข้อ ไขมันในเลือด รวมไปถึงอาการเข่าโก่งที่เป็นอยู่ จะเริ่มดีขึ้น เรื่อย ๆ เพราะเข่าจะรองรับน้ำหนักตัวที่น้อยลง และไม่แต่เพียงเท่านี้ การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ยังช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หากกำลังลังเล ว่าผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก จะมีอันตรายต่อร่างกาย ต้องบอกเลยว่า ดูแลให้ปลอดภัยมาก ๆ เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนี้ได้ถูกพัฒนา ไปไกลมากกว่าที่เราคิดแน่นอน อีกทั้งยังมีทีมแพทย์ที่เชียวชาญในการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ทำให้น้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติ จะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ตามนั้น การลดน้ำหนักของแต่ละคน อาจจะแตกต่างกันออกไป แต่วิธีนี้ จะเหมาะสำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวที่เกินปกติไปมาก แล้วลดน้ำหนักไม่ได้ซักทีซึ่งนำไปสู่โรคต่าง ๆ หากคนไข้คนไหนที่น้ำหนักตัวเกินกว่าปกติไปมาก การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดน้ำหนักที่เห็นผลและปลอดภัย ที่สำคัญ อาการเข่าโก่งเข้าที่เป็นอยู่ หากน้ำหนักตัวลดลง จะมีอาการดีขึ้นตามลำดับอย่างแน่นอน
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์