Rattinan Medical Center

คลินิกดูดไขมัน ผ่าตัดกระเพาะ เสริมความงาม

  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • ดูดไขมัน
      • ดูดไขมันหน้าท้อง
      • ดูดไขมันต้นขา
      • ดูดไขมันต้นแขน
      • ดูดไขมันน่อง
      • ดูดไขมันเหนียง
      • ดูดไขมันเอว
      • ดูดไขมัน Six Pack
      • ดูดไขมัน Sexy Line
      • ดูดไขมันหนอก
      • ดูดไขมันหน้า แก้ม
      • ฉีดไขมัน
    • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
    • เย็บกระเพาะ Overstitch
    • ตัดหนังหน้าท้อง
    • ศัลยกรรมร่างกาย
      • Gynecomastia รักษาหน้าอกผู้ชาย
      • เสริมสะโพก เสริมก้น
      • ปลูกผม FUE
      • เสริมหน้าอก
      • ตกแต่งเลเบีย
    • ศัลยกรรมใบหน้า
      • ร้อยไหม
      • ดึงหน้า (Facelift)
      • เสริมจมูก
      • เสริมคาง
      • ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม
      • ศัลยกรรมหูกาง
    • เลเซอร์เพื่อการรักษา
      • ลบรอยสัก
      • รักษากระ ฝ้า
      • E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว
      • 4D Lifting เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า
      • เลเซอร์ กำจัดขน
      • รักษานอนกรน
      • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
      • Ulthera
      • Thermage
      • Shockwave Therapy
    • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
    • รักษาเส้นเลือดขอด
    • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
    • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ
  • บทความ
    • ความรู้ดูดไขมัน
      • ก่อนดูดไขมัน
        • เรื่องควรรู้ก่อนดูดไขมัน
        • การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
        • Bodytite VS Vaser
        • ใครบ้างที่เหมาะกับการดูดไขมัน
      • การดูแลหลังดูดไขมัน
      • ราคาดูดไขมัน
      • ภาพรีวิวดูดไขมัน
    • บทความสุขภาพ
      • คุยเรื่องศัลยกรรม
      • บทความผ่าตัดถุงใต้ตา
      • คำนวณ BMI
  • รีวิว
  • ทีมแพทย์
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • Promotion
international@rattinan.comEmail Us
+66 2 2331424Call Us
Sitthi Vorakij Building, 12A fl, Silom Soi 3, Silom Rd, BangkokFind Us
  • ติดต่อสอบถาม
    blank Tel: 086-570-7040
Official Rattinan International Website
  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • ดูดไขมัน
      • ดูดไขมันหน้าท้อง
      • ดูดไขมันต้นขา
      • ดูดไขมันต้นแขน
      • ดูดไขมันน่อง
      • ดูดไขมันเหนียง
      • ดูดไขมันเอว
      • ดูดไขมัน Six Pack
      • ดูดไขมัน Sexy Line
      • ดูดไขมันหนอก
      • ดูดไขมันหน้า แก้ม
      • ฉีดไขมัน
    • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
    • เย็บกระเพาะ Overstitch
    • ตัดหนังหน้าท้อง
    • ศัลยกรรมร่างกาย
      • Gynecomastia รักษาหน้าอกผู้ชาย
      • เสริมสะโพก เสริมก้น
      • ปลูกผม FUE
      • เสริมหน้าอก
      • ตกแต่งเลเบีย
    • ศัลยกรรมใบหน้า
      • ร้อยไหม
      • ดึงหน้า (Facelift)
      • เสริมจมูก
      • เสริมคาง
      • ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม
      • ศัลยกรรมหูกาง
    • เลเซอร์เพื่อการรักษา
      • ลบรอยสัก
      • รักษากระ ฝ้า
      • E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว
      • 4D Lifting เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า
      • เลเซอร์ กำจัดขน
      • รักษานอนกรน
      • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
      • Ulthera
      • Thermage
      • Shockwave Therapy
    • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
    • รักษาเส้นเลือดขอด
    • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
    • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ
  • บทความ
    • ความรู้ดูดไขมัน
      • ก่อนดูดไขมัน
        • เรื่องควรรู้ก่อนดูดไขมัน
        • การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
        • Bodytite VS Vaser
        • ใครบ้างที่เหมาะกับการดูดไขมัน
      • การดูแลหลังดูดไขมัน
      • ราคาดูดไขมัน
      • ภาพรีวิวดูดไขมัน
    • บทความสุขภาพ
      • คุยเรื่องศัลยกรรม
      • บทความผ่าตัดถุงใต้ตา
      • คำนวณ BMI
  • รีวิว
  • ทีมแพทย์
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • Promotion
  • Home

ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก เสี่ยงหรือไม่ เขาทำกันอย่างไร

blank
blank
โดย น.อ.นพ. ปณต ยิ้มเจริญ

By Panot Yimcharoen, M.D.


Linkedin

Last modified 20 January 2021 ระยะเวลาการอ่าน ประมาณ 7 นาที

ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งในวิธีลดน้ำหนักที่ได้ผลมาก  หากทำการลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล เป็นการ ผ่าตัดลดความอ้วน ที่เปลี่ยนชีวิตของคนไข้เลยทีเดียว เพราะเปลี่ยนจากจากไซส์ XXL เป็น size M ได้ ในเวลาไม่ถึง 1 ปี พร้อมโรคต่างๆที่มาพร้อมความอ้วนก็จะหายไปหมด

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร แบบนี้ มีมานานกว่า 20 ปีและได้รับการยอมรับในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ที่มีผ่าตัดลดน้ำหนัก ( bariatric surgery) มากกว่า 10,000 ราย/ปี และอยู่ในโปรแกรมหลักประกันสุขภาพ เช่นเดียวกับประเทศในยุโรปหลายแห่งที่ ผ่าตัดลดความอ้วน ฟรีเช่นกัน เพราะในระยะยาวรัฐบาลสามารถลดค่าใช้จ่าย ค่ายา ค่ารักษาโรคที่เกิดจากความอ้วนเช่นเบาหวาน ความดัน โรคหยุดหายใจขณะหลับ ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี

สารบัญ show
1 ผ่าตัดกระเพาะ ลดความอ้วน (Bariatric surgery)
2 การผ่าตัดลดความอ้วน เหมาะกับใครบ้าง ?
3 การผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนักได้ผลจริงหรือไม่?
4 ผ่าตัดลดความอ้วน อันตราย หรือไม่?
5 รักษาเบาหวานให้หายขาด ด้วยการตัดกระเพาะ
6 เทคโนโลยีผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักทางการแพทย์
6.1 1. การใส่บอลลูนในกระเพาะ
6.2 2. การใส่ห่วงรัดกระเพาะ
6.3 3. การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ (Gastric Sleeve)
6.4 4. การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส
6.5 5. การเย็บกระเพาะ แบบ Overstitch (เทคนิคใหม่ล่าสุดปี 2021)
7 การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ ผ่าตัดกระเพาะอาหาร
8 การดูแลหลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
9 โรคแทรกซ้อนที่สำคัญหรือผลข้างเคียงของ การตัดกระเพาะ
10 อาหารที่ควรรับประทานหลังการ ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก
10.1 ระยะแรกของการผ่าตัด (ช่วง 1 อาทิตย์แรก)
10.2 ระยะที่ 2 (ช่วง 7-14 วันหลังการผ่าตัด)
10.3 ระยะที่ 3 (14-21 วัน หลังการผ่าตัด)
10.4 ระยะที่ 4 (4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด)
11 ข้อแนะนำในการรับประทานอาหารหลังการผ่าตัดกระเพาะ
12 ทำไมต้อง ผ่าตัดกระเพาะ ที่ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
13 ศัลยแพทย์ผู้ดำเนินการผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน

ผ่าตัดกระเพาะ

การตัดกระเพาะ เป็นทางเลือกหนึ่งใคนที่อ้วนวิกฤตและมีโรคร่วมจากความอ้วน

ผ่าตัดกระเพาะ

การผ่าตัดกระเพาะ เพื่อการลดน้ำหนักเป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่อ้วนมากๆ

ผ่าตัดกระเพาะ ลดความอ้วน (Bariatric surgery)  

ในอดีต หากมีคนไข้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เราจะรักษาด้วยการ ตัดกระเพาะ และพบว่าหลังการ ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ออกไปคนไข้จะมีน้ำหนักตัวลดลง จึงเริ่มมีการทดลอง การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดความอ้วนบ้าง ซึ่งมาทำกันจริงๆจังๆในปี 1950 ถึงแม้เรามักจะเรียกการผ่าตัดลดน้ำหนักว่า ตัดกระเพาะ แต่จริงๆการผ่าตัดแรกเริ่มเป็นการผ่าตัดลำไส้เป็นหลัก เพราะมุ่งเน้นไม่ให้มีการดูดซึมอาหาร เรียกว่ากินได้แต่ดูดซึมไม่ได้จึงผอมลง

โดยการผ่าตัดในอดีตนั้น ได้นำเอาลำไส้ส่วนบนมาเชื่อมกับลำไส้ส่วนล่าง เราเรียกการผ่าตัดนี้ว่าว่า Jejunoileal Bypass (JIB) มีจุดประสงค์เพื่อ ไม่ให้ อาหารที่ทานไปมีการย่อยและดูดซึมมากนักและขับถ่ายออกไปเลย โดยยังเก็บกระเพาะไว้ ทำให้ทานอิ่มสบายเหมือนเดิม เมื่อกินแต่ไม่ดูดซึม น้ำหนักย่อมลดลงนั่นเอง แล้วจึงพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดต่อมา กลายเป็นการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาสในปัจจุบัน ที่เรียกว่า Roux-en-Y เราจึงเรียกการ ผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน แบบนี้ว่า Roux-en-Y Gastric Bypass หรือ REYGB หรือขอเรียกสั้นๆว่าการ ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส นะครับ

ตัดกระเพาะ

การผ่าตัดลดความอ้วน เหมาะกับใครบ้าง ?

การผ่าตัดเหมาะกับคนอ้วนน้ำหนักเกิน แต่เราอาจจะไม่สามารถใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวอย่างเดียวในการตัดสินใจ เพราะแต่ละคนมีส่วนสูงไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงมีการใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ในการวัดว่าใครอ้วนกว่าใคร โดยเอาน้ำหนักที่เป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงที่เป็นเมตร (หารสองครั้ง) หรืออาจจะสามารถคำนวน BMI ออนไลน์ง่ายๆ โดยกด ที่นี่ 

เมื่อได้ค่า BMI แล้วก็มาดูว่าใครที่เหมาะสมที่จะ ผ่าตัดกระเพาะ ได้ดังนี้

  1. ผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 40
  2. ผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35  ที่มีโรคร่วมที่เกิดจากโรคอ้วนร่วมด้วย เนื่องจากน้ำหนักตัวมากเกินไป เช่น เบาหวาน, ความดัน, หยุดหายใจขณะหลับ
  3. ปัจจุบันมีการลดเกณฑ์ลงมาเรื่อยๆ ปัจจุบันตามข้อแนะนำใหม่ของ สมาคม ASMBS (American Society for Metabolic and Bariatric Surgery) ซึ่งเป็นสมาคมที่ตั้งขึ้นมาทำหรับทำกฏเกณฑ์ ผ่าตัดลดความอ้วน โดยเฉพาะได้ระบุให้มีการผ่าตัดเร็วขึ้นโดยอาจจะแนะนำคนไข้อ้วนที่มี BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ผ่าได้หากมีโรคจากความอ้วนที่จำเป็นต้องแก้ไข สามารถเข้ามาปรึกษาได้ครับ
  4. ในกรณีที่ดัชนีมวลกายไม่ถึงเกณฑ์แนะนำทำการ ดูดไขมัน แทน น่าจะเหมาะกว่า

blank

คลิกบทความที่เกี่ยวข้อง :
[ขั้นตอนการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก]

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์ ผ่านช่องทางไลน์หรือโทรศัพท์
Tel : 086-570-7040, 086-323-4040
Line RattinanFacebook Rattinan

การผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนักได้ผลจริงหรือไม่?

เนื่องจาก การผ่าตัดกระเพาะอาหาร ลดน้ำหนัก จะทำให้กระเพาะมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้สามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง ทำให้มีส่วนช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ ในขณะเดียวกันผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดก็ควรที่จะมีการออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดีด้วยครับ ส่วนในเรื่องของผลลัพธ์หลังการผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับผู้รับการผ่าตัด โดยอาจจะได้ผลลัพธ์ไม่เท่ากันในแต่ละราย และขึ้นกับเทคนิคการผ่าตัดที่เลือกใช้ เดี๋ยวบทความถัดจากนี้ เราจะพูดถึงการผ่าตัดแต่ละวิธีกันครับ

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร
ประโยชน์ของการผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก

ผ่าตัดลดความอ้วน อันตราย หรือไม่?

หลังจากอ่านเรื่อง ข้อดีของการลดน้ำหนักด้วยการลดขนาดกระเพาะอาหารกันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูเรื่องของความเสี่ยงกันดีกว่าว่า มีอะไรกันบ้างอ่านเพิ่มเติมที่ ความเสี่ยงของการผ่าตัดลดน้ำหนัก

การ ผ่าตัดกระเพาะ ในอดีต ต้องอย่าลืมว่าเป็นการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องขนาดใหญ่ แผลใหญ่ เจ็บมากและฟื้นตัวช้า อีกทั้งเกณฑ์เดิมคือจะ ตัดกระเพาะ ในคนไข้ที่มีโรคอ้วนรุนแรงมาก หลายคนมีโรคประจำตัวที่ทำให้การผ่าตัด มีความเสี่ยงสูงไปด้วย

แต่ปัจจุบัน การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery) มีแผลน้อยลงจากเดิม แผลเล็กขนาดเพียง 1-2 นิ้วเท่านั้น เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สามารถทำการผ่าตัดแบบสอดกล้อง ซึ่งทำให้บาดแผลมีขนาดเล็ก มีความเจ็บน้อย และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการผ่าตัด

ตัดกระเพาะภาพแสดงแผลหลังการผ่าตัดกระเพาะ เป็นแผลส่องกล้องขนาด 1-2 นิ้ว
ทำให้เจ็บน้อยลง ฟื้นตัวเร็ว ลดความเสี่ยง

หลังการผ่าตัดกระเพาะ นอกจากน้ำหนักตัวที่ลดลงแล้ว จะทำให้โรคต่างๆที่มาพร้อมความอ้วน เช่นโรคหยุดหายใจขณะหลับก็จะดีขึ้นได้ อาการของโรคนี้คือกลางคืนนอนไม่ค่อยหลับเพราะกรนมาก สลับกับการหยุดหายใจ ทำให้กลางวันง่วงนอนมาก สลึมสะลือทั้งวัน มีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก เพราะไม่ค่อย active และโรคความดันสูง ควบคุมไม่ได้

ตัดกระเพาะ

หลังการผ่าตัดจะสามารถหยุดยาเบาหวาน ความดัน ไขมัน
และยาอื่นๆที่ทานไปได้เกือบหมด สุขภาพดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น

รักษาเบาหวานให้หายขาด ด้วยการตัดกระเพาะ

ความน่ากลัวของโรคเบาหวาน ไม่ใช่แค่อาการของโรคเพียงเท่านั้น ยังมีโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ อาจรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย และส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิต การรักษาอย่างถูกวิธีและรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญ

ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทไหน จะเป็นแบบที่เกิดจากพฤติกรรม หรือเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ก็ต้องใช้ยาช่วยในการรักษาโรคด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่ว่าเบาหวานที่เกิดจากพฤติกรรมนั้น มักมีโรคอ้วนร่วมด้วย การลดน้ำหนักตัวจึงสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ดูแลรักษาและใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวมาก ทางหนึ่งที่จะลดน้ำหนักและ รักษาเบาหวานให้หายขาด ลงได้อย่างปลอดภัย คือ การ ตัดกระเพาะ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถ ช่วยบรรเทาและรักษาเบาหวาน ได้จริง แม้ในรายที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ยังช่วยให้อาการคงอยู่ในระดับดีได้เช่นกัน ยิ่งผ่าตัดในโรคเบาหวานระยะแรก จะได้รับผลดีมากกว่าการปล่อยให้เป็นเบาหวานมานานๆ

มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานทำการผ่าตัดกระเพาะแล้วพบว่าระดับน้ำตาลลดลงอย่างมาก จนอยู่ในระดับที่พอดี จากที่จำเป็นจะต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ก็สามารถหยุดการใช้ยาได้ในระยะเวลาอันสั้น

ใครที่เหมาะกับการผ่าตัดรักษาเบาหวาน

คนไข้โรคอ้วนที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี ก่อนทำการผ่าตัดจนปลอดภัย ที่สำคัญหากสามารถนำคนไข้เบาหวานระยะเริ่มต้น (ไม่เกิน 5 ปีหลังการวินิจฉัยเบาหวานครั้งแรก) อาการเบาหวานจะหายได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับคนที่เป็นมานาน และเซลล์ตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินค่อนข้างเสื่อมสภาพไปมากแล้ว 

* การผ่าตัดจะไม่ได้ผลในคนไข้เบาหวานประเภทที่ 1 *
เอกสารอ้างอิง (Reference) : Schauer et al, Intensive medical therapies vs Bariatric Surgery 5 years outcome , STAMPEDE trial, N Engl J Med 2017 ; 376 : 641-651

ผ่าตัดกระเพาะ

*ผลลัพธ์ที่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์ ผ่านช่องทางไลน์หรือโทรศัพท์
Tel : 086-570-7040, 086-323-4040

Line RattinanFacebook Rattinan

เทคโนโลยีผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักทางการแพทย์

การผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนัก ในปัจจุบันสามารถทำได้ 5 รูปแบบ

  1. การใส่บอลลูนในกระเพาะ
  2. การใส่ห่วงรัดกระเพาะ
  3. การผ่าตัดกระเพาะบางส่วนแบบสลีฟ (Gastric Sleeve)
  4. การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Gastric Bypass)
  5. การเย็บกระเพาะผ่านทางปาก ด้วยไหม Overstitch (New)

ส่วนการตัดสินใจว่าจะเลือกทำการ ผ่าตัดกระเพราะลดความอ้วน รูปแบบไหนนั้นควรเข้ามาปรึกษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด เข้ากับร่างกายของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ

blank

1. การใส่บอลลูนในกระเพาะ

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Intragastric Balloon) จริงๆยังไม่ถือว่าเป็นการผ่าตัด เหมาะสำหรับ ผู้ที่อยากจะลดน้ำหนัก แต่ยังไม่อยากผ่าตัด หรือเหมาะกับคนที่พร้อมผ่าตัดกระเพาะ แต่มีภาวะเสี่ยงทำให้ยังไม่สามารถทำการผ่าตัดใดๆได้ในตอนนี้ ต้องทำการใส่บอลลูนในกระเพาะก่อน เพื่อให้ช่วยให้น้ำหนักลดลงเบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงแล้วอีกปีถัดมา อาจจะมาทำการผ่าตัดกระเพาะแบบถาวรกว่าต่อไป

วิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะ

  1. วิสัญญีแพทย์ทำการฉีดยาทำให้หลับ (ไม่ได้ดมยาสลบ)
  2. ทำการพ่นยาชาที่คอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกขย้อนในระหว่างการรักษา
  3. ศัลยแพทย์ทำการสอดใส่บอลลูนซิลิโคนผ่านทางปาก
  4. เมื่อบอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แพทย์จะทำการฉีดน้ำเกลือผสมสีเข้าไปในบอลลูน ประมาณ 350-700 CC ขึ้นกับขนาดกระเพาะคนไข้
  5. ใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที
  6. พักฟื้นที่ รพ ต่อจนครบ 2 ชม แล้วกลับบ้านได้

จะเห็นได้ว่า วิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ไม่จำเป็นต้องมีการผ่าตัดใดๆ ทำให้ไม่มีบาดแผล และสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักในรูปแบบอื่น เนื่องจากวิธีการทำคล้ายกับวิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะทั่วๆไป โดยคนไข้สามารถกลับบ้านได้เลยหลังจากพักฟื้น 1-2 ชั่วโมง

หลังใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

  • หลังใส่ไป จะเริ่มมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งจะเป็นมากในสามสี่วันแรก เนื่องจากกระเพาะจะพยายามขย้อนเอาบอลลูนออก ต่อจากนั้นอาการคลื่นไส้อาเจียนจะลดลงเรื่อยๆ ยกเว้นทานอาหารมากจะจุกแน่น
  • อาการคลื่นไส้นี้ จะทำให้ทานน้อยลง น้ำหนักจะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ และจะได้ผลดีมากขึ้น หากมีการออกกำลังกายร่วมด้วย โดยน้ำหนักลดลงได้ 15-30% ของน้ำหนักเลยทีเดียว
  • เมื่อน้ำหนักลดลงสัก 4-6 เดือน ความรู้สึกแน่นลดลง น้ำหนักก็จะไม่ลดลงอีก ซึ่งก็ถือว่าจบการลดน้ำหนักระยะที่ 1
  • หากยังลดน้ำหนักไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็สามารถกลับเข้ามาเพื่อเพิ่มน้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนอีกรอบ เพื่อเริ่มการลดน้ำหนักระยะที่ 2
  • เมื่อครบ 12 เดือน ก็เอาบอลลูนออก (หากไม่เอาออก บอลลูกอาจจะโดนน้ำย่อยในกระเพาะกัดกร่อนจนรั่วได้)

ข้อดีของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  1. ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  2. ไม่มีแผล ไม่เจ็บ
  3. มีความเสี่ยงต่ำมาก
  4. อิ่มเร็ว อิ่มนาน
  5. สามารถทำซ้ำได้อีก
  6. สามารถเพิ่มขนาดของบอลลูน
  7. หยุดงาน 1-2 วันก็เพียงพอ

ข้อเสีย และ ความเสี่ยงของการทำบอลลูน ในกระเพาะอาหาร

  1. เมื่อน้ำหนักลงได้สักระยะ 4-6 เดือน มีโอกาสที่จะไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องมาเพิ่มน้ำเกลืออีกครั้ง ทำให้อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายครั้ง
  2. อาจเกิดแผลในกระเพาะ
  3. มีความเสี่ยงเกิดภาวะอุดตันหากบอลลูนรั่ว
  4. อาการคลื่นไส้อาเจียนมาก บางคนอยากเอาออกเลยหลังทำไป 1-2 วันเพราะทนไม่ได้
  5. ต้องเอาบอลลูนออกภายใน 1 ปี อาจจะมีน้ำหนักขึ้นได้

ก่อน หลัง ผ่าตัดกระเพาะ 4*ผลลัพธ์ที่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

blank

2. การใส่ห่วงรัดกระเพาะ

การใส่ห่วงรัดกระเพาะ ใช้การส่องเครื่องมือผ่านแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง 3-4 แผล แล้วเอาห่วงไปคล้องเพื่อเข้าไปรัดส่วนบนของกระเพาะอาหารโดยไม่ได้ตัดอะไรออก ทำให้อาหารถูกกักไว้ ส่งผลให้รู้สึกอิ่มเร็ว รับประทานได้น้อยลง ทำให้น้ำหนักลดลง ห่วงจะต่อกับท่อเล็ก มาติดที่ผิวหนัง เพื่อปรับขนาดได้หากต้องการให้รัดแน่นขึ้นหรือคลายออก

เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดใส่ห่วงรัดกระเพาะ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับวิธีผ่าตัดส่องกล้องโดยเฉพาะ ทำจากซิลิโคนและวัสดุที่ทนการกัดกร่อนได้ จึงใส่ได้เป็นเวลานาน

เราสามารถปรับระดับความแน่นของห่วงมากหรือน้อยได้ โดยเพิ่มหรือลดระดับน้ำเกลือผ่านท่อเล็ก เมื่อห่วงแน่นมากก็จะกินได้น้อย แต่ถ้าห่วงหลวมเกินไปก็จะกินได้เป็นปกติ ถ้าควบคุมดีๆ น้ำหนักก็กลับไม่ลดลงอีก

ข้อดีของการใส่ห่วงรัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก

  1. แผลมีขนาดเล็ก
  2. ใช้ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน
  3. ไม่เจ็บมาก
  4. นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืน
  5. สามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ
  6. ไม่มีการตัดกระเพาะออกไป

ข้อเสียของการใส่ห่วงรัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก

  1. ห่วงขยับได้ตลอดเวลา ตามการเคลื่อนตัวของกระเพาะทำให้ต้องกลับมาพบแพทย์เพื่อปรับเรื่อยๆ ทำให้มีค่าใช้จ่ายอยู่ตลอดเวลาไม่จบ
  2. เนื่องจากห่วงมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องรับประทานของเหลวเป็นหลัก ยากต่อการใช้ชีวิต
  3. ในระยะยาวน้ำหนักอาจจะไม่ลด เกิดความรู้สึกเบื่อ
  4. ห่วงอาจจะหลุด หรือเลื่อน ไปรัดหลอดอาหารจนเกิดภาวะฉุกเฉินต้องเอาออก

ห่วงรัดกระเพาะCr. https://www.verywellhealth.com/gastric-banding-2509704

จากข้อเสียดังกล่าว ทำให้การผ่าตัดใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร ได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน เนื่องจากมีปัญหาจากการใส่ห่วงรัด และน้ำหนักลดน้อยลงกว่าที่คาดหวังไว้ ทำให้มีคนไข้จำนวนน้อยที่สามารถใส่ห่วงได้ในระยะยาว โดยส่วนมากแล้วทางรัตตินันท์คลินิกจะมีผู้เข้ามารับบริการเอาห่วงออก และทำการรักษาในรูปแบบอื่นที่ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพมากกว่า

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์ ผ่านช่องทางไลน์หรือโทรศัพท์
Tel : 086-570-7040, 086-323-4040

Line RattinanFacebook Rattinan

blank

3. การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ
   (Gastric Sleeve) 

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy – LSG) ถูกออกแบบมาสำหรับคนไข้ที่อ้วนมาก เพิ่งเริ่มได้รับความนิยมและถือเป็นหนึ่งในวิธีมาตรฐาน

การผ่าตัดแบบสลีฟ คือ การตัดเอากระเพาะออกไปประมาณ 75%-80% ซึ่งรวมถึงส่วนที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวออกไป ทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง และสามารถลดน้ำหนักได้มากถึง 40-60% จากน้ำหนักตั้งต้น  อีกทั้งยังเป็นการรักษาโรค เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดัน หยุดหายใจขณะหลับได้ด้วย

ดังนั้น การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟจึงได้รับการรับรองจากสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งทั่วโลก ให้เป็นการรักษาทางเลือกสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน และโรคเรื้อรังจากโรคอ้วน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป หากได้รับความเห็นชอบทางการแพทย์ กุมารแพทย์ และผู้ปกครอง ถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจจะได้รับ

วิธีการผ่าตัดแบบสลีฟ (Gastric Sleeve)

แพทย์จะส่องกล้องผ่านแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง 3-5 แผล จากนั้นศัลยแพทย์จะใช้ตัวตัดกระเพาะอัตโนมัติ (stapler) ตัดกระเพาะและเย็บกระเพาะในคราวเดียวกัน  เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา โดยที่รัตตินันท์คลินิกจะไม่ใช้วิธีการตัดและเย็บแบบเดิม   จากนั้นทำการดึงกระเพาะส่วนที่จะทำการตัดออกประมาณ 80% ผ่านรอยแผลบริเวณสะดือ

หลังจากตัดด้วย stapler แล้วเราจึงทำการเย็บด้วยไหมเงี่ยงชนิดพิเศษทับไปอีกครั้ง ถือเป็นเทคนิคที่เราเรียกว่า Double Lock เพื่อให้มั่นใจว่าแผลไม่รั่ว สร้างความแข็งแรงและป้องกันกระเพาะขยายตัวออกได้ภายหลัง

ผลการผ่าตัด แบบสลีฟ (Gastric Sleeve)

  • กระเพาะที่ยังคงเหลือจะมีขนาดเล็กประมาณ 100-150 ซีซี เวลากินนิดหน่อยก็อิ่ม อีกทั้งได้ตัดส่วนผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิวออกด้วย
  • ต้องปรับการกิน ให้เข้ากับกระเพาะใหม่ โดยต้องทานอาหารเหลวนานประมาณสองอาทิตย์และจึงค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อนที่ ย่อยง่ายได้อีกราว 1 อาทิตย์ ก่อนที่จะกลับมาทานอาหารได้ทุกชนิดตามปกติ (ในปริมาณที่น้อยลงมากจนคนรอบข้างเริ่มแปลกใจ)

ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด แบบสลีฟ (Gastric Sleeve)

การผ่าตัดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และพักฟื้นประมาณ 3-4 วัน เนื่องจากทางรัตตินันท์คลินิก เรามีบริการพิเศษเพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสแกนกระเพาะ เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย และยืนยันว่าไม่มีรอยรั่วของแผลผ่าตัดที่กระเพาะ ก่อนการกลับบ้าน

ข้อดี ผ่าตัดแบบสลีฟ

  1. มีความรู้สึกหิวน้อยลง เนื่องจากถูกผ่าตัดส่วนที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิวออกไปแล้ว
  2. น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว เนื่องจากเป็นจุดแตกต่างสำคัญกับสองวิธีแรก คือห่วงรัดกระเพาะและบอลลูนลดน้ำหนัก น้ำหนักจึงลดลงต่อเนื่องดีมาก
  3. เป็นการช่วยบรรเทาอาการของโรคเรื้อรังที่เกิดจากความอ้วน เช่น เบาหวาน , ความดัน เป็นต้น
  4. เมื่อพ้นระยะการปรับตัวคนไข้จะสามารถกลับมากินอาหารได้ตามปกติ  แต่กินในปริมาณน้อยลงมาก
  5. ไม่ต้องพักฟื้นนาน เพียงหนึ่งวันก็ลุกเดินได้

ข้อเสีย ผ่าตัดแบบสลีฟ

  1. ผลข้างเคียงที่เจอบ่อยคืออาการกรดไหลย้อน
  2. ดังนั้น ไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนมาก่อน เพราะจะเป็นมากขึ้น ต้องเปลี่ยนมาตัดกระเพาะด้วยวิธีบายพาส
  3. ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เคยปรับขนาดกระเพาะด้วยการใส่ห่วงมาก่อน (ถ้าเคยใส่ห่วง ต้องเลือกทำแบบบายพาสเท่านั้น)
  4. ความเสี่ยงจากการผ่าตัดจะมีมากขึ้น ถ้าแพทย์ไม่เชี่ยวชาญมากพอ หรือ คนไข้มีน้ำหนักมากเกินไปโดยไม่เตรียมตัวก่อน
  5. อาจจะไม่แก้ปัญหาโรคเบาหวานได้ดีเท่าการผ่าตัดแบบบายพาส
  6. หากทานหวานเก่ง น้ำหนักอาจจะไม่ลดลงเลย

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดก็แบ่งเป็นสามส่วน ส่วนแรกคือการตรวจร่างกายก่อนการผ่าตัด ซึ่งขึ้นกับน้ำหนักและความเสี่ยง มีตั้งแต่การตรวจเลือดธรรมดาจนกระทั่งบางรายต้องตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่ม ส่วนที่สองคือค่าผ่าตัด ส่วนที่สามคือค่าใช้จ่ายหลังการผ่าตัดรวมวิตามินและ การตรวจต่อเนื่อง

blank

4. การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Gastric Bypass – RYGB)

เป็นการผ่าตัดรูปแบบมาตรฐานที่สุด แล้วยังเป็นวิธีที่ได้ผลลดน้ำหนักมากที่สุด โดยใช้เทคนิคส่องกล้องผ่าตัดแบบแผลเล็กเหมือนวิธีอื่นๆ แต่จะเพิ่มการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่ดูดซึมน้ำตาลออกด้วยบางส่วน ทำให้ลดน้ำหนักได้มากและนาน และยังทำให้กระเพาะไม่เกิดแรงดันสูง ซึ่งเหมาะกับการผ่าตัดสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อน เบาหวาน หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดแบบสลีฟได้

วิธีการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

ใช้วิธีการสอดกล้องเช่นเดียวกับแบบสลีฟ โดยจะทำการผ่าแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง จากนั้นแพทย์จะทำการสอดใส่เครื่องมือเข้าไป เพื่อทำการผ่าตัด โดยต่างจากสลีฟคือมีการตัดและต่อใหม่เพิ่มขึ้นอีกจุด โดยตัดกระเพาะออก เหลือกระเปาะเล็กน้อยแล้วเอามาต่อกับลำไส้ เอามาต่อกับลำไส้ส่วนที่สอง ข้าม (บายพาส) ลำไส้ส่วนแรกไป

ข้อดี ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

  1. สามารถลดน้ำหนักได้มากที่สุด
  2. สามารถรักษาโรคเบาหวานได้ ในรายที่พึ่งเป็นไม่นาน และยังเป็นไม่มากนัก
  3. ความรู้สึกหิวน้อยลง ถึงไม่มีเลย
  4. เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหากรณีผ่าตัดแบบอื่นๆแล้วไม่ได้ผล
  5. ผ่าตัดได้ในคนไข้ทุกประเภทรวมทั้งหากเป็นโรคกรดไหลย้อน
  6. ลดดการเกิดภาวะ Dumping Syndrome ซึ่งเป็นการที่อาหารไหลผ่านกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เร็วเกินไป
  7. ใช้แก้ไขปัญหาหากผ่าตัดแบบสลีฟแล้วน้ำหนักไม่ลง นิยมทำบายพาสเลย ไม่ต้องทำสลีฟซ้ำอีก

ข้อเสีย ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

  1. เป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างซับซ้อน ตัดต่อหลายจุด ใช้เวลานานขึ้น
  2. อาจมีโรคแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด หากแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ
  3. พบปัญหาในการดูดซึมสารอาหารได้ในบางราย (ซึ่งต้องแก้โดยการรับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริมตามคำแนะนำของแพทย์)
  4. มีราคาสูงที่สุด

ก่อน หลัง ผ่าตัดกระเพาะ 3*ผลลัพธ์ที่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์ ผ่านช่องทางไลน์หรือโทรศัพท์
Tel : 086-570-7040, 086-323-4040

Line RattinanFacebook Rattinan

5. การเย็บกระเพาะ แบบ Overstitch (เทคนิคใหม่ล่าสุดปี 2021)

การ เย็บกระเพาะ แบบ Overstitch เป็นเทคนิคใหม่ล่าสุด! วิธีนี้จะเป็นการส่องกล้องทางปาก (Endoscopic sleeve gastroplasty by Overstitch) โดยใช้อุปกรณ์สอดใส่เข้าไปในปาก เพื่อทำการเย็บกระเพาะด้วยไหมชนิดพิเศษแทนการตัดกระเพาะออกไปเลย ข้อดีคือลดน้ำหนักได้โดย ไร้แผลหน้าท้อง ฟื้นตัวเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้ดีอีกเช่นเดี๋ยวกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหยุดหายใจขณะหลับ ไขมันเกาะตับ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม
[ คลิ๊ก! รักษาโรคอ้วน โดยไม่ต้องผ่าตัดกระเพาะ เทคนิคใหม่ ไร้แผล ปี 2021 ]

มีคนไข้ถามแพทย์ที่ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ บ่อยๆ
คือ “ผ่าตัดกระเพาะ แบบไหนดีที่สุด”
ระหว่างวิธีต่างๆ โดยเฉพาะวิธี ผ่าตัดแบบบายพาส และ วิธีแบบสลีฟ 
เราจึงขอสรุปความแตกต่างระหว่างสองวิธีนี้ มาให้ทราบกัน

ผ่าตัดแบบไหนดีกว่ากัน

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

ต้องมีการเตรียมตัวก่อนการทำทั้งในเรื่องของร่างกาย และจิตใจ เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากเหมือนกัน ดังนั้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษามีความพร้อมก่อนที่จะทำการผ่าตัด และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น น้ำหนักตัวของผู้เข้ารับการผ่าตัด โดยผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนที่ผู้ป่วยจะต้องทำก่อนเข้ารับการผ่าตัดลดน้ำหนักมีดังต่อไปนี้

  1. ต้องมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากแพทย์ ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  2. เข้ารับคำแนะนำด้านโภชนาการ จากแพทย์เฉพาะทาง ควรลดน้ำหนักเองบ้าง 3-5 กก
  3. ทดสอบสภาวะด้านจิตใจว่าพร้อมสำหรับการทำ และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการกิน หลังจากได้รับการผ่าตัด
  4. เข้ารับการประเมินภาวะของโรคที่เป็นอยู่ เพื่อยืนยันว่าสามารถควบคุม และพร้อมเข้ารับการผ่าตัดได้ เช่น โรคเบาหวาน โดยแพทย์จะให้ยาเพื่อลดน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับไม่เกิน 150 มิลลิกรัมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์ เนื่องจากหลังผ่าตัดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยมีอากาสสูงขึ้นถึง 2-3 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดหลังผ่าตัด
  5. หยุดการ สูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์ และต้องหยุดหลังการผ่าตัด เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ฟื้นตัวช้า และเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
  6. แจ้งแพทย์ และพยาบาลหากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์
  7. หากมีการรับประทานยา หรืออาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ว่ายาชนิดใดสามารถรับประทานได้ หรือควรหยุดรับประทานยาชนิดใด
  8. ทานอาหารเหลว กากน้อย 48 ชม ก่อนการผ่าตัด
  9. งดน้ำ และอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันที่จะรับการผ่าตัด หากมียาที่ต้องรับประทานตามแพทย์สั่งให้จิบน้ำน้อยๆได้

ผู้ที่สนใจควรหาข้อมูลให้พร้อมทุกด้าน หรือเข้ารับขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนที่จะตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด

ตัดกระเพาะ

ผ่าตัดกระเพาะ

การดูแลหลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก

ต้องมีการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดที่เคร่งครัด เพื่อลดปัญหาและความเสี่ยง รวมถึงเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การรั่วของบาดแผล (leak) เนื่องจากรับประทานอาหารที่ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่ได้ทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

  1. หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะถูกนำมาที่ห้องพักฟื้น โดยอาจมีการใช้หน้ากากออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ผู้ป่วยอาจยังมีความรู้สึกงัวเงียหลังจากรู้สึกตัวแล้ว
  2. ผู้ป่วยจะได้รับอาหารและสารน้ำทางเส้นเลือด ผ่านสายน้ำเกลือ จนกว่าผู้ป่วยจะรับประทานอาหารได้
  3. ขณะอยู่ในห้องพักฟื้น หากผู้ป่วยรู้สึกคลื่นไส้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากกระเพาะมีขนาดเล็กลงอย่างมาก ผู้ป่วยควรนั่งตัวตรง หรือเดิน เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้
  4. จะมีพยาบาลคอยตรวจเช็คชีพจรและวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
  5. หลังการผ่าตัดจะได้รับการควบคุมอาหารทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
  6. ควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญหรือผลข้างเคียงของ การตัดกระเพาะ

หัวข้อนี้อาจจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่คนอยากอ่านมากที่สุด และมักจะสอบถามกันเสมอทุกครั้งที่มีการปรึกษาคนไข้ ญาติคนไข้และครอบครัวที่มักมาฟังพร้อมกันจนเต็มห้องปรึกษา

ก่อนอื่นอยากเรียนว่า การผ่าตัดกระเพาะ แบบส่องกล้องนั้น โดยเฉพาะการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ ที่ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง ไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่ในสายตาของศัลยแพทย์นะครับ การผ่าตัดใหญ่ โดยทั่วไปหมายถึงการผ่าตัดที่ใช้เวลานานกว่า 5-6 ชั่วโมง มีการเสียเลือดมาก ใช้บุคลากรเยอะ และคนไข้มีโอกาสเสียชีวิตสูงระหว่างและหลังการผ่าตัด

ตัดกระเพาะ

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร นั้น มีความเสี่ยง น่าจะเทียบเท่ากับการผ่าตัดถุงน้ำดีเท่านั้นหรือการผ่าตัดแบบปานกลางอื่นๆเช่นการผ่าตัดไส้ติ่ง มีการเสียเลือดน้อยมากจนไม่เคยต้องให้เลือดหลังผ่า เจ็บปานกลางแต่ลุกเดินได้ในอีกวันถัดไป จริงๆนอนเพียง 1 คืนก็กลับได้ ในสหรัฐอเมริกาเอง ได้มีการริเริ่มการผ่าตัดกระเพาะแบบทำเช้าเย็นกลับกันแล้ว โดยไม่ต้องค้างคืนแต่อย่างใด

(อ่านเรื่อง การผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบไม่ต้องค้างคืน)

แต่เหตุใดเราจึงมีความรู้สึกว่าการ ตัดกระเพาะ ถึงเป็นการผ่าตัดใหญ่มีคนเสียชีวิตเป็นข่าวให้ได้ยิน สาเหตุหลัก คือเป็นเพราะเรามักไปทำการผ่าตัด ในคนไข้เสี่ยงสูงกันเป็นหลัก คือคนไข้อ้วนมากหนักร้อยกว่ากิโลตามเกณฑ์ผ่าตัดเดิม คนไข้กลุ่มนี้เป็นโรคหัวใจรุนแรง เบาหวานรุนแรงจนเอาไม่อยู่แล้ว ทุกๆแผนกที่เกี่ยวข้องเช่นหมอหัวใจ หมอเบาหวาน จะเริ่มคิดถึงการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแล้วจึงส่งมาในสภาพที่คนไข้ค่อนข้างแย่มาก เช่นเดินไม่ได้ คุยแล้วเหนื่อยหรืออยู่เฉยๆยังต้องใช้ออกซิเจน

ตัดกระเพาะ

อันนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตตามเกณฑ์เดิมที่แสนจะเข้มงวด โดยเฉพาะการผ่าตัดในโรงพยาบาลรัฐบาลที่คิวแน่น คนไข้อ้วน อาจจะต้องไปหลายแผนกเช่น แผนกโรคปอดเพื่อทดสอบบางอย่าง แล้ววนไปแผนกโภชนาการเพื่อพิสูจน์ว่าลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ผลแล้วจริงๆ หลายคนอาจจะต้องไปแผนกหัวใจ เบาหวาน จิตเวช หรืออื่นๆแล้วแต่ว่าจะมีโรคร่วมอะไรเพิ่มเติม การเสียเวลามากไป บางครั้งมีผลเสียทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก เสียโอกาสทองที่จะผ่าในเวลาที่สุขภาพยังดีอยู่ และฟิตสำหรับการผ่าตัด

ดังนั้นอาการแทรกซ้อนที่เจอ หากไม่นับอาการที่เกิดจากนำคนไข้อ้วนเสี่ยงสูงที่ไม่ควบคุมโรคเดิมให้ดีก่อนมาผ่าแล้วคือ

1. การรั่วของกระเพาะที่เย็บ โอกาสเกิดประมาณ 0.2% และขึ้นกับการทานอาหารหลังการผ่าเป็นส่วนใหญ่ วิธีการป้องกันคือการใช้ staple ให้ถูกต้องกับชั้นความหนา อีกทั้งเราเชื่อว่าแม้จะมีการตัดและเย็บกระเพาะด้วย staple แล้ว ควรเสียเวลาเย็บด้วยมืออีกรอบ เพื่อกระชับตะเข็บให้แข็งแรง ป้องกันการขยายออกของกระเพาะในอนาคต จึงเป็นที่มาของเทคนิคแบบ  double lock เย็บสองชั้นเพื่อป้องกันการรั่ว (อ่านเพิ่มเติมเทคนิคนี้ได้)

ตัดกระเพาะ

2. การตีบของแผลในกระเพาะที่ตัดออก ส่วนใหญ่จะเกิดกับเทคนิคการผ่า ที่ตัดกระเพาะเหลือน้อยจนเกินไป  การผ่าตัดมาตรฐานมักจะตัดออกไป 75% ของเนื้อกระเพาะทั้งหมด มากกว่านี้ไม่ได้ เสี่ยงสูงเกินไป ที่นี่จึงตัดเพียงเท่านี้ และไม่เคยพบปัญหานี้เลย

3. อาการกรดไหลย้อน จะเป็นมากสำหรับการผ่าแบบสลีฟมากกว่าบายพาส ต้องสกรีนคนไข้ก่อนผ่าดีๆว่ามีอาการก่อนทำการผ่าตัดกระเพาะหรือไม่

4. การขาดสารอาการจนผมร่วง เกิดจากการขาดโปรตีนเป้นหลักและคนไข้ส่วนใหญ่จะขาดวินัย มักจะทานอาหารเฉพาะที่อยากทานเช่นขนม หากทานโปรตีนครบ อย่างน้อย 60 กรัมต่อวัน และทานวิตามิน มักไม่เจอปัญหานี้

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์ ผ่านช่องทางไลน์หรือโทรศัพท์
Tel : 086-570-7040, 086-323-4040

Line RattinanFacebook Rattinan

ผ่าตัดกระเพาะ

อาหารที่ควรรับประทานหลังการ ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก

ระยะแรกของการผ่าตัด
(ช่วง 1 อาทิตย์แรก)

ผู้ป่วยควรรับประทานเฉพาะอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีลักษณะเหลวใส ไม่มีกากใย ไม่มีแก๊ส และไม่ใส่น้ำตาล อาจจะส่วนผสมของคาเฟอีนได้ เช่น

  • น้ำซุปใส
  • น้ำสมุนไพร (ที่ใช้น้ำตาลเทียม)
  • น้ำผลไม้ที่ผ่านการกรองกากใย และไม่ใส่น้ำตาล
  • กาแฟไม่ใส่น้ำตาลหรือครีม

ระยะที่ 2
(ช่วง 7-14 วันหลังการผ่าตัด)

หากผู้ป่วยสามารถทนต่ออาหาร หรือเครื่องดื่มเหลวได้ โดยไม่มีอาการจุกแน่นท้อง หรือคลื่นไส้ อาจจะให้เริ่มรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีเนื้อ หรือมีความข้นเพิ่มมากขึ้นได้ แต่ต้องมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และไม่มีกากใย รวมถึงไม่ใส่น้ำตาล เช่น

  • ซุปข้นชนิดต่างๆ
  • นมจืด หรือนมพร่องมันเนย
  • น้ำเต้าหู้ ไม่ใส่น้ำตาล
  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ

ระยะที่ 3
(14-21 วัน หลังการผ่าตัด)

ผู้ป่วยอาจจะเริ่มรับประทานอาหารอ่อน หรือย่อยง่าย คล้ายกับอาหารเด็ก ได้แล้ว หากสามารถรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มเหลวข้นได้ เช่น

  • ไข่ตุ๋นหมูบด
  • ปลานึ่ง
  • เกี๊ยวน้ำ
  • แกงจืดเต้าหู้ไข่
  • ข้าวต้มปลา
  • โจ๊กหมูบด

ระยะที่ 4
(4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด)

หากสามารถทานอาหารอ่อนได้ดี ผู้ป่วยสามารถเริ่มทดแทนด้วยอาหารธรรมดาที่มีเนื้อหยาบข้นตามลำดับ

แต่ถ้าผู้ป่วยยังมีอาการคลื่นไส้ ยังไม่สามารถรับประทานอาหารในระยะนี้ได้ ก็ยังสามารถรับประทารอาหารในระยะที่ 3 ต่อไปได้

หรือรับประทานระยะที่ 4 แล้วเกิดคลื่นไส้ ก็สามารถกลับไปรับประทานระยะที่ 3 ก็ได้เช่นกัน

เนื่องจากผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้าในระยะที่ 4 ตามกำหนดที่แนะนำตามเวลา แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ควรเป็นอาหารธรรมดาที่ปรุงสุด โดยเน้นโปรตีนสูงเป็นหลัก สามารถเริ่มรับประทานผักนิ่มๆ ได้ ผลไม้ควรเรื่มทานเป็นผลไม้ปอกเปลือกในปริมาณน้อยๆ ก่อน เช่น

  • ไก่/หมูอบซอส
  • เสต็กปลา
  • ลาบหมู หรือไก่ แบบไม่เผ็ด
  • ไข่ยัดไส้

ระยะสุดท้าย (หนึ่งเดือนหลัง ผ่าตัดกระเพาะ) โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอาหารที่มีโปรตีนสูง ไม่มัน ไม่ใส่น้ำตาล หรือหวานน้อย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดอย่างช้าๆ สำหรับผัก และผลไม้สามารถทานได้ตามปกติ เพื่อควบคุมพลังงานส่วนเกิน และน้ำหนักตัว อาจจะรับประทานวิตามิน และแร่ธาตุเสริมตามคำแนะนำของแพทย์

ก่อน หลัง ผ่าตัดกระเพาะ 2

ข้อแนะนำในการรับประทานอาหารหลังการผ่าตัดกระเพาะ

  1. จิบน้ำเปล่าตลอดวัน แต่ไม่ควรดื่มน้ำ ก่อน หรือหลังรับประทานอาหาร 30-45 นาที
  2. ควรหยุดทานเมื่อรู้สึกอิ่ม ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอาหารคลื่นไส้ หรือจุกเสียดได้
  3. รับประทานอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด โดยทั่วไปคาดหวังว่าจะเคี้ยวอย่างน้อย 30 ครั้งก่อนการกลืน
  4. เมื่อเริ่มรับประทานอาหารทีละอย่าง เมื่อคุ้นเคยไม่มีอาการแทรกซ้อนค่อยเริ่มอาหารชนิดถัดไป
  5. ควรใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีในการรับประทานอาหารต่อมื้อ
  6. ควรรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนเป็นหลักทุกมื้อ ก่อนทาน ข้าว หรือแป้ง และให้ได้โปรตีนไม่ต่ำกว่า 60 กรัมต่อวัน
  7. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
  8. หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  9. รับประทานอาหารหลายมื้อต่อวัน ในปริมาณน้อยๆ และจำกัดอาหารว่างที่ไม่จำเป็น
  10. ทานวิตามิน และแร่ธาตุเสริมตามคำแนะนำของแพทย์

หากสนใจอ่านรีวิวของคนไข้ เขียนมาให้อ่าน กดที่นี่

Register Rattinan

ทำไมต้อง ผ่าตัดกระเพาะ ที่ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์

  1. ได้รับคำแนะนำ และคำปรึกษา จากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  2. ได้รับการผ่าตัดโดยตรงจากทีมศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร และการผ่าตัดโรคอ้วนจากสหรัฐอเมริกา
  3. ได้รับการดูแลหลังการผ่าตัดจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคอ้วน และเบาหวานโดยตรง
  4. ผ่าตัดในโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานที่ได้เลือกไว้ เพราะต้องค้างคืน
  5. มีการติดตามผลและดูแลหลังการผ่าตัดนานถึง 1 ปี
  6. รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ มีมาตรฐานในการรักษาที่สามารถเชื่อถือได้ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ สังเกตได้จากมีชาวต่างชาติเดินทางมาเข้ารับการรักษา และขอคำปรึกษาจาก รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่คลีนิกเปิดดำเนินการ

ตัดกระเพาะ

นพ. ปณต ยิ้มเจริญ
(Dr. Panot Yimcharoen)

ศัลยแพทย์ผู้ดำเนินการผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน

  • ผ่าตัดแบบส่องกล้องโดย น.อ. นพ. ปณต ยิ้มเจริญ ศัลยแพทย์ทางเดินอาหาร & ผ่าตัดลดน้ำหนัก มีประสบการณ์กว่า 30 ปี ได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากอเมริกา
  • ใช้เทคนิค Double Lock เทคนิคเฉพาะของ มีที่รัตตินันท์คลินิกเพียงที่เดียว เพิ่มความปลอดภัยให้คนไข้มากขึ้น
  • เทคนิค Pain Pump การใส่ยาชาแบบใหม่ที่ลดการบาดเจ็บหลังผ่าตัด ทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว ซึ่งเทคนิคนี้ได้นำเสนอในการประชุมนานาชาติที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาแล้ว
  • ดำเนินการผ่าตัดในโรงพยาบาล มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
  • ทางคลินิก มีเคสผ่าตัดกระเพาะกว่า 300 ครั้ง/ปี สำเร็จทุกเคส ไม่มีปัญหาหลังผ่าตัด
  • หลังผ่าตัด มีทีมแพทย์ ติดตามผล คอยให้คำแนะนำผู้ป่วย นาน 12 เดือน

ที่สำคัญ การผ่าตัดกระเพาะ ถือเป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงทั้งก่อนและหลังผ่าตัด จึงควรให้ความสำคัญกับฝีมือ ความเชี่ยวชาญของแพทย์ ที่มีประสบการณ์เฉพาะด้าน

blank
Rattinan Clinic
Rattinan Medical Center
(รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์)
5 Sitthi Vorakit, Building 12A,
Soi Phiphat, Silom, Bang Rak 10500
Bangkok

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์ - วันเสาร์
เวลา 10.00 น. - 20.00 น.
วันอาทิตย์ หยุดทำการ
สอบถามข้อมูลบริการ :
086-570-7040 , 086-323-4040
ติดต่อเรื่องทั่วไป : 02-233-1424-5

Our Working Hours

We open Monday - Saturday from 10.00 AM.-08.00PM.
Close on Sunday and some public holidays.

Telephone : +66 22331424, +66 22331425
E-Mail: international@rattinan.com
WhatsApp : +66 917767741
Skype : +66 863234040

บริการของเรา

  • ดูดไขมัน
  • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
  • Ulthera
  • Thermage FLX
  • รักษาเต้านมโตผู้ชาย Gynecomastia
  • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
  • ตัดหนังหน้าท้อง
  • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
  • รักษาเส้นเลือดขอด
  • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
  • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ

บริการดูดไขมัน

  • ดูดไขมันหน้าท้อง
  • ดูดไขมันต้นขา
  • ดูดไขมันต้นแขน
  • ดูดไขมันน่อง
  • ดูดไขมันเหนียง
  • ดูดไขมันเอว
  • ดูดไขมัน Six Pack
  • ดูดไขมัน Sexy Line
  • ดูดไขมันหนอก
  • ดูดไขมันหน้า แก้ม

ติดตามเราได้ที่

Like Us

พูดคุยกับเราได้ที่

blank

© 2021 Rattinan Clinic | TOS/Privacy Policy | Sitemap