“ไขมันในช่องท้อง” อันตรายจากการมีไขมันสะสมจำนวนมาก เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

ไขมันในช่องท้อง

ไขมันในช่องท้อง หรือ Visceral Fat คืออะไร?

ไขมันในช่องท้อง หรือ Visceral Fat คือ การที่ร่างกายรับสารอาหารประเภทไขมัน รวมไปถึงคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป จนทำให้ร่างกายเผาผลาญไม่หมด สุดท้ายก็จะถูกเปลี่ยนสภาพมาเป็นไขมัน โดยไขมันในช่องท้องจะสะสมอยู่ลึกกว่าชั้นผิวหนัง สะสมอยู่รอบอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระเพาะอาหาร ตับ หรือลำไส้เล็ก ซึ่งตับอาจเปลี่ยนไขมันนี้เป็นคอเลสเตอรอล รวมทั้งอาจดูดซึมเข้ากระแสเลือดและสะสมตามผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบ ไขมันช่องท้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ

ผู้ที่มีรอบเอวหรือหน้าท้องใหญ่มาก ถือว่ามีไขมันในช่องท้อง ทำให้เสี่ยงเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือดในสมอง หรือสมองเสื่อม ทั้งนี้ ไขมันในช่องท้องยังทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) โดยทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินมาใช้ได้ตามปกติ ซึ่งกระตุ้นให้เสี่ยงเป็นเบาหวานได้

อีกสาเหตุหนึ่งที่ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ไม่หมด ก็มาจากการใช้ชีวิตประวันที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำงานออฟฟิศ ไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้เกิดการใช้พลังงานน้อยกว่าพลังงานที่รับเข้ามา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็ยังพบภาวะไขมันช่องท้องได้เช่นเดียวกัน เมื่อไรที่เราปล่อยให้ไขมันในช่องท้องของเราสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

จะส่งผลร้ายต่ออวัยวะหลักๆ ได้แก่ สมอง หัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ และตับ เพราะเมื่อเกิดการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อเซลล์ในอวัยวะเหล่านี้แล้วจะทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายติดขัด ร่างกายเกิดการกระตุ้นสร้างไขมันเลว (LDL) ออกมามากกว่าไขมันดี (HDL) ผลคือ ร่างกายเราจะอ่อนแอลงด้วยโรคเรื้อรัง 10 อันดับต่อไปนี้

ไขมันช่องท้อง สะสมเยอะ อันตรายอย่างไร

10 โรคเรื้อรัง จาการมี ไขมันช่องท้อง (Visceral Fat) จำนวนมาก

  1. โรคเบาหวานประเภท 2 เกิดจากการที่ไขมันกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน
  2. โรคไขมันในเลือดสูง เกิดจากการที่ร่างกายกระตุ้นการสร้างไขมันเลว หรือ คอเลสเตอรอลมากกว่าไขมันดี
  3. โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับอินซูลินในเลือดสูง จึงนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  4. โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด เกิดจากการที่ไขมันไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
  5. โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด เกิดจากการที่ไขมันไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักมากกว่าปกติ
  6. โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการที่มีไขมันไปอุดตันตามหลอดเลือดแดง ทำให้สมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ เกิดอาการสมองฝ่อตัว
  7. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากการที่ไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือดแล้วไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้หลอดเลือดในสมองตีบ นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้
  8. ภาวะภูมิแพ้ เกิดจากการที่ไขมันไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือดที่ทำให้ร่างกายเกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ
  9. ภาวะไขมันพอกตับ เกิดจากการที่ไขมันไปขัดขวางการเผาผลาญน้ำตาล และยังสามารถนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้อีกด้วย
  10. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เกิดจากการที่ไขมันไปขัดขวางการขยายตัวของปอด ทำให้หายใจไม่เป็นปกติ มีความเสี่ยงที่ร่างกายจะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่ามี Visceral Fat มากเกินไปแล้ว

  1. มีระดับความดันโลหิตสูง 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
  2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
  3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
  4. มีระดับไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับผู้ชาย และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้หญิง
  5. มีรอบเอวหนาเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งรอบเอวที่ปกติควรอยู่ที่ 90 เซนติเมตรสำหรับผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรสำหรับผู้หญิง หากได้ตัวเลขมากกว่าค่ารอบเอวมาตรฐาน นั่นหมายถึงกำลังอ้วนลงพุง
  6. มีหน้าท้องมีลักษณะย้วยเป็นชั้น และป่องยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

ไขมันช่องท้อง วิธีลดหน้าท้อง ลดอย่างไร

วิธีเช็ค ปริมาณไขมันในช่องท้อง - Visceral Fat

ในเบื้องต้น เราสามารถตรวจสอบปริมาณไขมันในช่องท้องของเราเองได้ด้วยวิธี Waist-to-Hip Ratio Measurement ซึ่งเป็นวิธีที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับ เพียงแค่ใช้สายวัดวัดรอบเอวส่วนที่คอดที่สุดของหน้าท้อง และวัดสะโพก จากนั้นเอาค่าที่ได้จากการวัดรอบเอว (หน่วยเป็นเซนติเมตร) มาหารด้วยตัวเลขที่วัดรอบสะโพก ผลลัพธ์ที่ได้จะได้ตัวเลขทศนิยม 2 หลัก

 ผลจากการวัด

  • ในผู้หญิง หากได้ค่ามากกว่า 80 แปลว่ามีไขมันในช่องท้องเยอะ
  • ในผู้ชาย หากได้ค่ามากกว่า 95 แปลว่ามีไขมันในช่องท้องเยอะ

เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และเปอร์เซ็นต์ไขมันในช่องท้อง สามารถบ่งบอกได้ว่าเราควรดูแลสุขภาพไปในทิศทางใด หรือจะวางแผนเพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างไร หากอยากเริ่มต้นดูแลสุขภาพ และควบคุมน้ำหนัก วิธีที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับการควบคุมโภชนาการอาหารที่ดี

ลดไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) กับ ลดน้ำหนัก เหมือนกันหรือไม่?

เราคาดหวังอะไรจากการลดน้ำหนัก? น้ำหนักบนตาชั่งที่ลดลง กับรูปร่างที่เฟิร์มขึ้น พุงยุบ ต้นขาเล็กลง เชื่อว่าคนที่พยายามจะลดน้ำหนัก ล้วนแล้วแต่ต้องการทำเพื่อให้รูปร่างตัวเองดีขึ้น แต่น้ำหนักที่ลดลง อาจจะไม่ได้พิสูจน์ว่าเรามีรูปร่างดีขึ้นเสมอไป คนที่น้ำหนักขึ้นแต่รูปร่างที่ดีขึ้นก็มี ยกตัวอย่างเช่น คนที่ออกกำลังกายแล้วน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพราะมีกล้ามเนื้อมากขึ้น หรือคนที่อ้วนขึ้นเมื่อดูจากรูปร่าง แต่พอชั่งน้ำหนักแล้วน้ำหนักกลับลดลง เพราะไม่ออกกำลังกายแล้วกล้ามเนื้อสลายไป น้ำหนักจึงหายไปด้วย

ซึ่งในความเป็นจริงกล้ามเนื้อหนักกว่าไขมันมาก เวลาที่เรามีกล้ามเนื้อเพิ่มมาเล็กน้อยมองจากภายนอกเหมือนรูปร่างไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่ แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันถ้าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากไขมัน แสดงว่าเรามีปริมาณไขมันมากขึ้นจนทำให้เราดูอ้วนขึ้นได้เลย

เวลาเราชั่งน้ำหนัก น้ำหนักของร่างกายเรานั้นมาจากอะไรบ้าง?

  • โครงกระดูก อวัยวะภายใน
  • น้ำในร่างกาย
  • กล้ามเนื้อ
  • ไขมัน
  • อื่นๆ เช่น ปริมาณอาหารในท้อง อุจจาระ

“แต่จะอ้วนหรือไม่อ้วน เราจะวัดกันที่ปริมาณไขมัน”

ยกตัวอย่าง ถ้าหากวันไหนที่อากาศร้อนๆ หรือออกกำลังกาย แล้วเราเหงื่อออกมาก น้ำหนักอาจจะลดลงได้เล็กน้อย เพราะเสียน้ำ แต่พอดื่มน้ำ น้ำหนักก็เพิ่มกลับมาได้ โดยที่รูปร่างของเราแทบไม่ได้เปลี่ยนไปเลย รวมถึงแค่เวลาเราชั่งน้ำหนักก่อนและหลังขับถ่าย น้ำหนักก็เปลี่ยนแปลงได้แล้ว เพราะฉะนั้นการลดน้ำหนักโดยโฟกัสที่ตัวเลขบนตาชั่งอย่างเดียว อาจทำให้เราลดน้ำหนักแบบผิดๆ ได้ เช่น อดอาหาร หรือออกกำลังกายมากเกินไป แต่ถ้าเรามาโฟกัสเรื่องการลดไขมันแทน โดยวัดกันที่ปริมาณไขมันในร่างกาย ‘Body Fat’ ไม่ว่าจะเป็นไขมันตามผิวหนัง หรือไขมันในช่องท้องก็ตาม ก็จะตรงจุดมากกว่า

ดูดไขมันหน้าท้อง ช่วยลดไขมันหน้าท้องได้หรือไม่?

การ ดูดไขมัน สามารถลดไขมันส่วนเกินเฉพาะจุดได้ แต่ก็จะมีข้อจำกัดอยู่ เช่น ดูดไขมันหน้าท้อง ซึ่งหน้าท้องจะมีส่วนที่สามารถดูดไขมันออกได้และดูดออกไม่ได้ ดังนี้ หน้าท้องจะประกอบไปด้วยชั้นไขมันเรียงซ้อนต่อกัน คือ ไขมันใต้ชั้นผิว  > กล้ามเนื้อหน้าท้อง  > ไขมันช่องท้อง

ซึ่งไขมันใตชั้นผิว คือส่วนที่อยู่ติดกับผิวหนังมากที่สุดส่วนนี้ สามารถดูดไขมันออก ช่วยลดพุงได้ แต่การมีพุงยื่น พุงปลิ้น จากการมี ไขมันในช่องท้องที่มากเกินไป (ชั้นไขมันส่วนทีอยู่ในสุดติดกับอวัยวะต่างๆ) นั้ไม่สามารถดูดไขมันออกได้ วิธีการลดพุง ลดไขมันในช่องท้อง วิธีเดียวคือ การควบคุมน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการกนอาหาร และออกกำลังกายอย่างเดียวเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม : ดูดไขมันหน้าท้อง

ไขมันหน้าท้อง ไขมันช่องท้อง แกด้วยการดูดไขมัน ไก้หรือไม่

และคนอ้วน ที่มีน้ำนหนักตัวเกิน หรือมีค่า BMI เกิน 30 นั้นไม่สามารถดูดไขมันได้ เพราะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีและชัดเจนพอ แพทย์อาจจะแนะนำให้รักษาด้วยการ ผ่าตัดกระเพาะ แทน ซึ่งจะช่วยลดโรคและลดน้ำหนักได้พร้อมๆ กัน

อ่านเพิ่มเติม : ทำไมคนอ้วนไม่เหมาะดูดไขมัน

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
คลิ๊ก ติดต่อไลน์ รับส่วนลด
คลิ๊ก ติดต่อ messenger Facebook
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

Ref.

  1. https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/25jun2020-1605
  2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า