ปวดหัวข้างเดียว อันตรายไหม สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง

ปวดหัวข้างเดียว

ปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะปวดรุนแรงหรือเล็กน้อย บางครั้งแม้ปวดเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจเป็นอาการเตือนถึงโรคร้ายแรงในอนาคตได้ สำหรับปวดหัวข้างเดียว มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย อาการปวดอาจเกิดขึ้นเป็นชั่วโมง หรือหลายวัน เช่น โรคปวดหัวข้างเดียวไมเกรน อาการอาจหายไปเองหรือเป็นเรื้อรังก็ได้

อาการปวดหัวข้างเดียวที่เป็นอันตราย

อาการปวดหัวข้างเดียว ข้างขวาหรือซ้ายเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ ถือเป็นอาการเตือนที่อันตราย และอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคร้ายแรงได้

  1. ปวดเฉียบพลัน และรุนแรงมาก จนตื่นขณะหลับ
  2. ปวดมากจนรบกวนชีวิตและการทำงานประจำวัน
  3. ลักษณะการปวดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
  4. ปวดร่วมกับอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก ตามัว ฯลฯ
  5. ปวดร่วมกับอาการไข้ หอบ แน่นหน้าอก
  6. ปวดหลังการกระแทกหรือบาดเจ็บศีรษะ
  7. มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และปวดหัวข้างเดียวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

สาเหตุของการปวดหัวข้างเดียว

สาเหตุของการปวดหัวข้างเดียว ได้แก่

การปวดหัวข้างเดียวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. ความผิดปกติในเนื้อสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดแดงในสมองโป่งพอง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวได้
  2. ความผิดปกตินอกเนื้อสมอง เช่น โพรงจมูกอักเสบ หูอักเสบ ต้อกระจก ต้อหิน ทำให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนได้
  3. ความเครียด ความกดดันทางอารมณ์สูง จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัวและลําคอเกร็ง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวขึ้นได้

การรักษาอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างถูกต้อง

อาการปวดหัวข้างเดียวที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรุนแรง โดยเริ่มปวดบริเวณรอบลูกตาก่อนจะขยายไปทั้งซีก ลักษณะปวดเป็นพัก ๆ มักมีอาการนำมาก่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียนการรักษาควรทานยาแก้ปวดทันทีที่เริ่มมีอาการ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือต้องกินยาเป็นเวลานาน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ในบางราย การอาเจียนออกจะทำให้อาการปวดหัวข้างเดียวดีขึ้นได้ ดังนั้นหากมีอาการปวดหัวข้างเดียวหรือปวดหัวข้างซ้ายขวา ควรรีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันอาการรุนแรงขึ้นในภายหลัง รวมถึงลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรค

ป้องกันอาการปวดหัวข้างเดียว ด้วยวิธีใดได้ผล

อาการปวดหัวข้างเดียว ปวดตา ปวดจมูกส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การบริหารจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม รวมถึงการดูแลสุขภาพให้สมดุล ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  1. นอนหลับให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นความเครียด
  2. สังเกตอาหาร สิ่งแวดล้อม หรืออารมณ์ที่อาจทำให้เกิดอาการ
  3. เรียนรู้ผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง
  4. กำหนดกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสมและสม่ำเสมอ
  5. หากปวดผิดปกติหรือนานเกิน 3 วัน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

ด้วยการปฏิบัติดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จะช่วยป้องกันและลดการเกิดอาการปวดหัวข้างเดียวหรือปวดหัวข้างขวาได้เป็นอย่างดี

เป็นไมเกรน

ทำไมคนวัยทำงานจึงเสี่ยงเป็นไมเกรน

แม้ว่าโรคไมเกรนจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่คนวัยทำงานมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเป็นไมเกรนมากกว่าวัยอื่น ๆสาเหตุหลักมาจากปัจจัยต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต และการทำงานของคนวัยนี้ ที่มักต้องเผชิญกับความเครียด ความกดดัน การทำงานหนัก การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ รวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ง่าย ดังนั้น คนวัยทำงานจึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพ และหาวิธีผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคไมเกรน

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคไมเกรน

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไมเกรนแล้ว สิ่งสำคัญคือการดูแลตัวเองให้ถูกต้อง เพื่อบรรเทาและป้องกันอาการกำเริบ ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ งดเหล้า กาแฟ
  2. รับประทานยาลดปวดตามแพทย์สั่ง
  3. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอาการ เช่น แสงแดด เสียงดัง
  4. งดบุหรี่ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือด
  5. ประคบเย็นบริเวณศีรษะ
  6. ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด

หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรกลับไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการต่อไป

รักษาไมเกรน

สามารถรักษาไมเกรนได้หรือไม่

แม้ว่าโรคไมเกรนจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถบรรเทาอาการปวดให้หายไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้ ซึ่งมีการรักษา 2 ประเภทหลัก ดังนี้

1. อาการปวดเฉียบพลัน ให้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาขับไมเกรนโดยเฉพาะ

2. อาการปวดเรื้อรังซ้ำ ๆ ให้ยาป้องกันเฉพาะโรค เช่น ยากันชัก ควบคู่กับยาต้านซึมเศร้า

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ก่อนตัดสินใจรับประทานยา เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคลมากที่สุด

สรุป ปวดหัวข้างเดียวแบบไมเกรน ควรรีบพบแพทย์ทันที

การปวดหัวข้างเดียวแบบไมเกรนเป็นอาการที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ หากใช้วิธีทั่วไปแล้วอาการไม่บรรเทา ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนที่อาการจะรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะหากปล่อยทิ้งไว้แล้วเป็นบ่อยครั้ง อาจกลายเป็นไมเกรนเรื้อรังในที่สุด

แพทย์จะทำการวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมตามสาเหตุ เช่น จ่ายยา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต หรือแนะนำให้หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการ เป็นต้น วิธีเหล่านี้จะช่วยให้อาการดีขึ้นและไม่กำเริบง่ายอีกต่อไป ดังนั้นอย่าลังเลที่จะเข้าพบแพทย์ เมื่อปวดหัวข้างเดียวแบบไมเกรนที่รุนแรง และไม่หายไปด้วยวิธีทั่วไป จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและช่วยป้องกันไม่ให้เป็นเรื้อรังหรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมาในอนาคตได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า