ติดเชื้อในกระแสเลือด จาก แบคทีเรีย ไวรัส ทำให้ถึงตายได้จริงหรือ?

ติดเชื้อในกระแสเลือด

ติดเชื้อในกระแสเลือด จะเกิดขึ้นต่อเมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันต่ำ หากมีการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ก็อาจจะต่อสู่กับเชื้อเหล่านั้นได้ไม่ดีพอ จนเข้าขั้นโคม่า อาการทรุดหนัก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยออกมาอีกว่า คนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรือ คนอ้วน นั้น หากติดเชื้อในกระแสเลือดแล้ว มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ไวกว่าอีกด้วย

การติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร?

การติดเชื้อในกระแสเลือด (ภาษาอังกฤษ : Septicemia) จะเริ่มจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อเข้าไป ซึ่งอาจจะมีการติดเชื้อเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเชื้อดังกล่าวได้แก่พวก เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยการติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต่ำ ก็จะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดสูง

เมื่อมีการติดเชื้อในกระแสเลือดแล้ว ร่างกายของเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อหรือต่อพิษของเชื้อโรค ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นทั่วบริเวณของร่างกาย ทำให้อุณหภูมิในร่างกายไม่สม่ำเสมอ ระบบการเดินหายใจแย่ลง และผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง จากการติดเชื้อในกระแสเลือดดังกล่าว และมักนำไปสู่ภาวะการทำงานของอวัยวะต่างๆ  ล้มเหลว หมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจกากอะไร
กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นมี 4 ปัจจัยหลักๆ ดังนี้

1. ความเจ็บป่วย เมื่อร่างกายอ่อนแอและภูมิต้านทานต่ำ ก็จะทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

2.  ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับแข็ง เนื่องจากตับจะเป็นตัวกรองเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เมื่อตับไม่สามารถทำงานได้ เชื้อโรคก็จะสามารถผ่านเข้าไปในกระแสเลือดได้ง่ายขึ้น หรือเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ที่เป็นเบาหวานจะทำให้มีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคเสียไป

  • นอกจากนี้ ในเด็กเล็กและในผู้สูงอายุ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้มากกว่าคนหนุ่มสาวแม้ว่าไม่มีโรคประจำตัว เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • คนที่เป็น โรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมาก ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ เนื่องจากในคนอ้วนมักจะมีโรคอื่นๆ ร่วม พวกโรคเมตาบอลิกต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ทั้งอาจจะไม่รู้ตัวว่าเป็นอยู่ หรือกำลังรักษาอยู่ก็ตาม ดังนั้นในเรื่องภูมิคุ้มกันก็น่าจะต่ำเช่นเดียวกัน

3. การรักษาผู้ป่วยโดยการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย ได้แก่ การสวนทวาร การสวนปัสสาวะ และการใช้สายสวนหลอดเลือด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

4. ปัจจัยของเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ เช่น ถ้าเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงหรือเป็นเชื้อดื้อยาหลายชนิดก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน

ติดเชื้อในกระแสเลือด จาก ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
กลับสู่สารบัญ

ติดเชื้อในกระแสเลือด มีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจจะมาโรงพยาบาลด้วยอาการของการติดเชื้อของอวัยวะที่เป็นสาเหตุ หรือมีอาการเฉพาะที่ เช่น ติดเชื้อที่ปอดก็จะมีอาการไอ หรือมีอาการปวดหลังและปัสสาวะบ่อย แสดงว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อที่กรวยไต หรือบางคนติดเชื้อบริเวณผิวหนัง ก็จะมีผื่น บวม แดง ร้อนที่ผิวหนัง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือเป็นกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายต่างๆ ดังนี้

  • มีไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส รู้สึกหนาว มือและเท้าเย็น
  • หายใจเร็วขึ้น
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • รู้สึกตัวน้อยลง ซึมลง รวมทั้งสับสนจนคิดอะไรไม่ออก
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ผิวหนังอาจเกิดจุดหรือแดง หากปล่อยทิ้งไว้ ผื่นจะลุกลามใหญ่ขึ้นเหมือนรอยช้ำ โดยรอยช้ำเหล่านี้จะแผ่ขยายใหญ่เป็นบริเวณกว้าง
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ นำไปสู่ภาวะช็อก

ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว มีน้ำหนักตัวมาก หรือโรคเมตาบอลิก ดังที่ได้กล่าวไป ก็จะมีภูมิต้านทานต่ำมาก ก็มักจะมีอาการรุนแรง มีความดันโลหิตต่ำหรือมีภาวะช็อก การทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ไต ปอด หัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิต

ติดเชื้อในกระแสเลือด อาการเป็นอย่างไร
กลับสู่สารบัญ

วิธีรักษาอาการ ติดเชื้อในกระแสเลือด

  1. แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะและอาการของผู้ป่วยเป็นลำดับแรก
  2. ทำการเจาะเลือด และตรวจสิ่งคัดหลั่งจากอวัยวะที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อด้วยการเพาะหาเชื้อ ซึ่งใช้เวลารอผลเพาะเชื้อประมาณ 3-5 วัน
  3. ให้สารน้ำให้เพียงพอ รวมถึงยากระตุ้นความดันโลหิตหากมีความจำเป็น
  4. ระหว่างรอผล แพทย์จะเลือกให้ยาต้านจุลชีพที่ครอบคลุมเชื้อไว้ก่อน โดยอาศัยการวินิจฉัยเบื้องต้น ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากได้รับยาที่ไม่ตรงกับเชื้อหรือได้รับยาช้าเกินไป ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นเช่นกัน
  5. ทำการรักษาแบบประคับประคองไปพร้อมๆ กัน เช่น ถ้ามีภาวะไตวายก็ทำการฟอกไต ถ้าผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ อาจจำเป็นจะต้องใส่ท่อหลอดลมและให้ออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจ หรือถ้าผู้ป่วยมีภาวะซีดก็จะมีการให้เลือด โดยพิจารณาตามลักษณะอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
  6. ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการ

อย่างไรก็ตาม ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จากเชื้อโรคบางชนิดสามารถป้องกันได้

โดยการ ฉีดวัคซีนในเด็กให้ครบอย่างสม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่องควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ควรงดสูบบุหรี่ ห้ามใช้สารเสพติด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดน้ำหนัก ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และควรระวังป้องกันตนเองเมื่อต้องอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ ทั้งนี้หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

บริการตรวจ c0vod-19 fit to fly

ตรวจ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR
“3 FIT” ที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์

  • จองคิวล่วงหน้า เพียง 1 วัน!
  • สถานที่ให้บริการ สะอาด ปลอดภัย ไม่แออัด
  • ปลอดเชื้อด้วยห้องตรวจความดันลบ ที่ได้มาตรฐาน
  • ผลลัพธ์แม่นยำ ส่งตรวจห้อง Lab มาตรฐาน จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น
  • รู้ผลภายใน 24 ชม. (รับผลด้วยตัวเอง หรือบริการส่งแมส)
  • มีที่จอดรถ / เดินทางสะดวกด้วย BTS และ MRT
  • ได้รับผลตรวจ COVID-19 และใบรับรองแพทย์ FIT To Fly
คลิ๊กจองคิว!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า