Rattinan Medical Center

คลินิกดูดไขมัน ผ่าตัดกระเพาะ เสริมความงาม

  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • ดูดไขมัน
      • ดูดไขมันหน้าท้อง
      • ดูดไขมันต้นขา
      • ดูดไขมันต้นแขน
      • ดูดไขมันน่อง
      • ดูดไขมันเหนียง
      • ดูดไขมันเอว
      • ดูดไขมัน Six Pack
      • ดูดไขมัน Sexy Line
      • ดูดไขมันหนอก
      • ดูดไขมันหน้า แก้ม
      • ฉีดไขมัน
    • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
    • เย็บกระเพาะ Overstitch
    • ตัดหนังหน้าท้อง
    • ศัลยกรรมร่างกาย
      • Gynecomastia รักษาหน้าอกผู้ชาย
      • เสริมสะโพก เสริมก้น
      • ปลูกผม FUE
      • เสริมหน้าอก
      • ตกแต่งเลเบีย
    • ศัลยกรรมใบหน้า
      • ร้อยไหม
      • ดึงหน้า (Facelift)
      • เสริมจมูก
      • เสริมคาง
      • ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม
      • ศัลยกรรมหูกาง
    • เลเซอร์เพื่อการรักษา
      • ลบรอยสัก
      • รักษากระ ฝ้า
      • E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว
      • 4D Lifting เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า
      • เลเซอร์ กำจัดขน
      • รักษานอนกรน
      • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
      • Ulthera
      • Thermage
      • Shockwave Therapy
    • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
    • รักษาเส้นเลือดขอด
    • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
    • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ
  • บทความ
    • ความรู้ดูดไขมัน
      • ก่อนดูดไขมัน
        • เรื่องควรรู้ก่อนดูดไขมัน
        • การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
        • Bodytite VS Vaser
        • ใครบ้างที่เหมาะกับการดูดไขมัน
        • ดูดไขมันที่ไหนดี ดูจาก 5 สิ่งนี้
        • ดูดไขมันทั้งตัว กับการลดน้ำหนัก
        • ดูดไขมันแบบจุดละ vs ราคาเหมา
      • การดูแลหลังดูดไขมัน
      • ราคาดูดไขมัน
      • ภาพรีวิวดูดไขมัน
    • บทความสุขภาพ
      • คุยเรื่องศัลยกรรม
      • บทความผ่าตัดถุงใต้ตา
      • คำนวณ BMI
  • รีวิว
  • ทีมแพทย์
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • Promotion
international@rattinan.comEmail Us
+66 2 2331424Call Us
Sitthi Vorakij Building, 12A fl, Silom Soi 3, Silom Rd, BangkokFind Us
  • ติดต่อสอบถาม
    Tel: 086-570-7040
Official Rattinan International Website
  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • ดูดไขมัน
      • ดูดไขมันหน้าท้อง
      • ดูดไขมันต้นขา
      • ดูดไขมันต้นแขน
      • ดูดไขมันน่อง
      • ดูดไขมันเหนียง
      • ดูดไขมันเอว
      • ดูดไขมัน Six Pack
      • ดูดไขมัน Sexy Line
      • ดูดไขมันหนอก
      • ดูดไขมันหน้า แก้ม
      • ฉีดไขมัน
    • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
    • เย็บกระเพาะ Overstitch
    • ตัดหนังหน้าท้อง
    • ศัลยกรรมร่างกาย
      • Gynecomastia รักษาหน้าอกผู้ชาย
      • เสริมสะโพก เสริมก้น
      • ปลูกผม FUE
      • เสริมหน้าอก
      • ตกแต่งเลเบีย
    • ศัลยกรรมใบหน้า
      • ร้อยไหม
      • ดึงหน้า (Facelift)
      • เสริมจมูก
      • เสริมคาง
      • ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม
      • ศัลยกรรมหูกาง
    • เลเซอร์เพื่อการรักษา
      • ลบรอยสัก
      • รักษากระ ฝ้า
      • E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว
      • 4D Lifting เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า
      • เลเซอร์ กำจัดขน
      • รักษานอนกรน
      • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
      • Ulthera
      • Thermage
      • Shockwave Therapy
    • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
    • รักษาเส้นเลือดขอด
    • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
    • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ
  • บทความ
    • ความรู้ดูดไขมัน
      • ก่อนดูดไขมัน
        • เรื่องควรรู้ก่อนดูดไขมัน
        • การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
        • Bodytite VS Vaser
        • ใครบ้างที่เหมาะกับการดูดไขมัน
        • ดูดไขมันที่ไหนดี ดูจาก 5 สิ่งนี้
        • ดูดไขมันทั้งตัว กับการลดน้ำหนัก
        • ดูดไขมันแบบจุดละ vs ราคาเหมา
      • การดูแลหลังดูดไขมัน
      • ราคาดูดไขมัน
      • ภาพรีวิวดูดไขมัน
    • บทความสุขภาพ
      • คุยเรื่องศัลยกรรม
      • บทความผ่าตัดถุงใต้ตา
      • คำนวณ BMI
  • รีวิว
  • ทีมแพทย์
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • Promotion
  • Home
Home » ไขมันทรานส์ อันตรายอย่างไร ทำไมคนติดเทรนด์กลัว…กันจัง

ไขมันทรานส์ อันตรายอย่างไร ทำไมคนติดเทรนด์กลัว…กันจัง

ไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ คืออะไร

หลายคนสงสัยเหลือเกินว่าไขมันทรานส์นั้นคืออะไรกันแน่ เพราะว่าได้รับฟอร์เวิร์ดเกี่ยวกับกฎหมายห้ามใช้ตัวไขมันทรานส์ อาหารอะไรที่มีไขมันทรานส์สูงบ้าง ไขมันทรานส์เกิดขึ้นได้อย่างไร หลายคนก็เกิดความสงสัยเพราะว่าเห็นถูกห้ามผลิต ห้ามนำเข้าด้วย จะอันตรายขนาดที่ว่าต้องติดเทรนด์กลัวกันขนาดนั้นเลยหรือ วันนี้ก็เลยจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับไขมันทรานส์ให้เข้าใจกัน

ไขมันทรานส์

นอกจากตัวน้ำตาลแล้วสิ่งที่เป็นตัวอันตรายก็คือไขมัน ซึ่งถ้าเกิดรับมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดการกระตุ้นอนุมูลอิสระและภาวะการอักเสบขึ้นภายในร่างกาย โดยเฉพาะพวกไขมัน Trans fatty acid หรือไขมันทรานส์

ขณะนี้มีไขมันอยู่หลายชนิดกันเลยทีเดียวที่มักจะพบเจอได้ในชีวิตประจำ ซึ่งหลัก ๆ ก็จะแบ่งออกได้ 3 ชนิด

1 . ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) คือ

ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันแข็ง ๆ ที่มาจากสัตว์ แต่ว่าจะมียกเว้นในกลุ่มที่ไม่ใช่ไขมันแข็ง แต่ว่ามีไขมันอิ่มตัวก็คือพวก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ

ส่วนกลุ่มเนื้อสัตว์ที่ต้องหลีกเลี่ยงที่จะมีไขมันอิ่มตัวแฝงก็คือเนื้อสัตว์แปรรูป ยกตัวอย่างเช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ เบคอน แล้วก็กุนเชียง

ไขมัน 2 ชนิดนี้แทรกซึมทำให้ร่างกาย ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ได้ไม่เพียงพอทำให้เกิดความแก่และเสื่อมลงได้

2 . ไขมันไม่อิ่มตัว หรือ (Unsatureted fat) คือ

เป็นไขมันชนิดดีที่มีกรด EPAและกรด DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ มีผลดีต่อสุขภาพในการป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด แต่ยังช่วยในการลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ พบได้ในอาหารที่มีกรด Omega -3 และ Omega -9 ที่จะช่วยทำลายเชื้อโรคและชักนำการอักเสบจากสาร Prostaglandin ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลอย่าง (LDL) และ เพิ่มระดับของคอเลสเตอรอลอย่าง (HDL)

ในส่วนของกรด Omega -3 เช่น ปลาทะเลน้ำลึก ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาที่มีเนื้อขาว ในกลุ่มของพืช ก็คือ เมล็ดเจีย เมล็ดแฟล็กซ์ และในกลุ่ม Omega -9 เช่น อะโวคาโด งาดำ และ อัลมอนด์

ถ้าหากเป็นการเลือกใช้น้ำมันที่นำไปประกอบอาหารก็คือ น้ำมันที่มีกรดไขมัน Omega-9 เป็นกลุ่มของน้ำมันคาโนลา และน้ำมันรำข้าว

ซึ่งก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะนำมาใช้แทนน้ำมันพืชทั่วไปที่ส่วนใหญ่จะเป็นกรดไขมันอิ่มตัว เพราะน้ำมันคาโนลาและน้ำมันรำข้าว นอกจากจะมีกรด Omega- 9 และยังทนความร้อนได้ดี สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารประเภทผัดและทอดที่ใช้ความร้อนสูง ๆ ได้

3. ไขมันทรานส์ หรือ (Trans fat) คือ

ไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนเข้าไปตอนทำผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากไขมันพืช ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว เพื่อป้องกันการเป็นกรด Acidification ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็ง โดยมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ การเสื่อมเสียที่ช้าลง เหมาะสำหรับการทำขนม ทนความร้อนได้ เช่นทำเนยเทียมก็ไม่ละลาย
ไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ (Trans fat) อันตรายอย่างไร 

เวลาที่ทานไขมันสูงข้อแรกที่น่ากังวลเลยก็คือ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง พอคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมาก ๆ มันก็ทำให้เส้นเลือดนั้นแข็ง ทีนี้ชนิดของไขมันแต่ละชนิดมีผลกับคอเลสเตอรอลไม่เท่ากัน ซึ่งทรานส์จะเป็นตัวร้ายมากเลยก็คือ ทำให้ ไขมันตัวดีจะลดลง ในขณะที่ไขมันเลวนั้นเพิ่มสูงขึ้น ตรงนี้ก็เลยเป็นอันตรายกว่าไขมันทุก ๆ ชนิดที่มี

ข้อสองไขมันทรานส์ไปกระตุ้นกระบวนการอักเสบในร่างกาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะตามมาไม่ว่าจะเป็นการนำพาไปสู่หลอดเลือด มะเร็งที่สำคัญที่สุดการทำงานของตับผิดปกติ เป็นเรื่องของเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงหลอดเลือดสมอง พวกนี้ก็จะเพิ่มขึ้นจากการที่ได้รับไขมันทรานส์มากขึ้น

ไขมันทรานส์ (Trans fat) เกิดขึ้นได้อย่างไร 

โดยธรรมชาติเกือบจะร้อยทั้งร้อย ไขมันพืชมักจะถูกสังเคราะห์ในรูปแบบของ Cis fat ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดไขมันทรานส์โดยการผ่านปฏิกิริยา Isomerization ทำให้การเกิดไขมันทรานส์เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนที่ต้องการจะทำให้เกิดจาก Cis fat จะทำให้จุดหลอมเหลวสูงขึ้นเปลี่ยนจากน้ำมันกลายเป็นไข เป็นของแข็ง โดยสรุปเลยก็คือ ในกระบวนการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวจะมี 2 แบบ คือ

เปลี่ยนจากกรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นกรดไขมันอิ่มตัวอย่างสมบูรณ์ ในกรณีนี้จะเรียกว่า Fully hydrogenate oil ส่วนอีกแบบที่มีปัญหาในปัจจุบันก็คือ การเปลี่ยนจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นกรดไขมันอิ่มตัวเพียงบางส่วนที่เรียกว่า Partially hydrogenated oil ลักษณะชนิดนี้ก็คือ กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวส่วนหนึ่งจะกลายเป็นTrans fat ซึ่งในประเด็นที่ว่า เมื่อไหร่ที่รับเข้าไปจำนวนมากและต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดปัญหากับสุขภาพได้

ไขมันทรานส์ (Trans fat) อยู่ที่ไหน

ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่โดยมากแล้วจะพบเจอในการผลิตอุตสาหกรรม เช่น มาร์การีน ซอร์ตเทนนิ่ง ครีมเทียม เนยเทียม ขนมต่างๆที่มีส่วนประกอบของเนยเทียม (มักชอบขึ้นป้ายว่าขนมปังเนยสด) ไอสครีมราคาถูกที่มีส่วนประกอบของชอร์ตเทนนิ่ง

รู้ได้อย่างไรว่ามีไขมันทรานส์ (Trans fat) 

ต้องบอกก่อนว่าในกฎหมายอเมริกาตอนนี้ระบุค่อนข้างชัดเจนว่าห้ามใช้ไขมันทรานส์ แต่ในปริมาณที่น้อยมันเลี่ยงกฎหมายถ้าในอาหารชนิดนั้นมีปริมาณไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัม ในพอร์ตชั้นของอาหารนั้นเขาจะสามารถระบุว่าไขมันทรานส์เป็น 0 ได้ ดังนั้นค่อนข้างยากที่เราจะทราบได้ว่ามีหรือไม่มี

เพียงแต่คงต้องเลี่ยงอาหารที่แปรรูป โดยเฉพาะอาหารที่น่าสงสัยว่าผ่านอุณหภูมิความร้อนสูงไหมหรือใช้เป็นพวก มาร์การีน เนยเทียม ครีมเทียมมากน้อยแค่ไหนกลไกในการประกอบอาหารไม่แนะนำอาหารที่ทอดด้วยอุณหภูมิสูง เลือกเป็นผัด ต้ม นึ่ง ดีกว่า

ส่วนประกาศใหม่จากกระทรวงสาธารณสุขไทย จะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถใช้ช่องโหว่ได้อีกต่อไป แม้จะอ้างว่า ผลิตภัณฑ์ที่ขายนั้นไขมันทรานส์ 0% แต่จริง ๆ แล้วมันมีอยู่ แต่ปริมาณน้อย  ซึ่งช่องทางนี้จะไม่สามารถใช้ได้แล้ว เพราะประกาศใหม่มันเป็นยาแรงห้ามผลิต ห้ามจำหน่าย ห้ามนำเข้าอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนลงไป เข้าใจง่าย ๆ ว่า พวกที่มีไขมันทรานส์นั่นแหละ ห้ามมีเลย แม้แต่นิดเดียว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ก็คือผู้บริโภคได้ประโยชน์ ไม่ต้องคอยดูฉลากว่าผลิตภัณฑ์ไหนมีผลิตภัณฑ์ไหนไม่มีไขมันทรานส์เพราะมันจะไม่มีทุกผลิตภัณฑ์แล้วนั่นเอง

น้ำมันพืช นับเป็นไขมันทรานส์ (Trans fat) ด้วยจริงหรือ 

ย้ำกันอีกทีหนึ่งว่าน้ำมันพืชเป็นกลุ่มของไขมันทรานส์ ขอยืนยันว่าไม่ใช่ ซึ่งเป็นเรื่องของกรรมวิธีในการกลั่นมากกว่า ไม่ได้เอาไฮโดรเจนมาเติม

มีงานวิจัยพบว่าเวลาโดนความร้อนสูงมาก ๆ ซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบถึงจะมีไขมันเกิดขึ้นแต่ก็เกิดขึ้นในปริมาณที่น้อย

ฉะนั้นปลอดภัยที่สุดเวลาจะผัดจะทอดควรใช้น้ำมันครั้งเดียวแล้วทิ้งแบบนี้ถึงปลอดภัยสุด

ผู้บริโภคควรปรับตัวอย่างไร กับ ไขมันทรานส์ (Trans fat) 

ในส่วนของผลกระทบ จริง ๆ ต้องบอกว่าอยากสนับสนุนสำหรับการประกาศกระทรวงนี้ช่วยผู้บริโภค คือ การที่กินไปในอดีตไม่มีใครทราบเลยว่าได้รับไขมันทรานส์หรือไม่ แต่ในอนาคตบทกระทรวงนี้จะไปบังคับกับผู้ผลิตไม่ให้ใช้ของที่ไม่ดีมาให้กับผู้บริโภค

บทความน่าสนใจ !  ไข้หวัดใหญ่ อาการเป็นอย่างไร ไวรัสตัวร้ายป้องกันได้ด้วยวัคซีน!

ในขณะเดียวกันถามว่าราคาของอาหารจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ต้องบอกว่าของส่วนใหญ่ที่มีไขมันทรานส์มันจะเป็นของที่ไม่ใช่ของจำเป็นในชีวิตประจำวันหรือเรียกง่าย ๆ ว่า ไม่ใช้อาหารหลัก

ผลกระทบจากการเปลี่ยนการใช้ไขมันทรานส์ (Trans fat) จะมีผลอย่างไรบ้างและจะกระทบต่อผู้ผลิตอย่างไร (?)

เมื่อมีการยกเลิกการใช้ไขมันทรานส์แล้วก็อาจจะมีผลทำให้ต้องไปใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมากขึ้นและอาจจะส่งผลให้ราคานั้นเพิ่มตามไปด้วยเพื่อสุขภาพ ซึ่งบางอุตสาหกรรมที่ก็ต้องยอมรับถึงต้นทุนที่อาจจะต้องใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพแต่อาจจะต้องลดขนาดของผลิตภัณฑ์ลง นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับด้วย และปัจจุบันเริ่มมีการขยับตัว

ยกตัวอย่างเช่น

ห้างร้านบางแห่ง อย่างร้านเบเกอรี่ก็จะเห็นได้ว่ามีการขึ้นป้ายระบุเลยว่า ‘ปราศจากไขมันทรานส์’ ซึ่งจากการกระตุ้นว่าไขมันทรานส์นั้นไม่ดีบรรดาผู้ผลิตหรือห้างสรรพสินค้าบางที่ที่ได้โฆษณาว่าไม่ใช้ไขมันทรานส์ กลับได้ผลตอบรับที่สินค้านั้นขายดีขึ้น เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีตามมาเรื่อย ๆ ด้วย

6 วิธีปลอดภัยจาก ไขมันทรานส์ (Trans fat)

  • ลด/เลี่ยง อาหารที่มีส่วนประกอบของมาการีน เนยเทียม หรือ เนยขาว ครีมเทียมเช่นโรตีทอด ขนมปังต่างๆและคอฟฟี่เมต
  • หลีกเลี่ยงการใช้ไขมันที่มีข้อความ “Partially hydrogenate”
  • ไม่ใช้ไขมันพืชผ่านกรรมวิธี
  • ดื่มนมไขมันต่ำ Low fat milk หรือ นมที่ไม่มีไขมัน Skim milk แทนนมไขมันที่เต็มส่วน Whole milk
  • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์เนื้อสัตว์ไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน หันมารับประทานปลาแทน
  • กินผักและผลไม้ทุกมื้อ

ไขมันทรานส์หรือ (Trans fat) อาจเกิดจากกระบวนการใช้ไฟแรงด้วยหรือไม่ 

ถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะอะไรที่จะทำให้ไขมันดีอยู่แล้วกลายเป็นไขมันที่ไม่ดีก็คือ กลุ่มที่เปิดใช้ไฟแรง ๆ และใช้ซ้ำ ยกตัวอย่างเช่นผัดผักบุ้งไฟแดง เมื่อไหร่ที่ไฟไปโดนน้ำมันก็จะเกิดการเปลี่ยนเป็นน้ำมันที่ไม่ดีนั่นเอง

การเลี่ยงไขมันทรานส์ (Trans fat) จะมีผลต่อชีวิตด้วยไหม

อาหารประจำวันหรืออาหาร 3 มื้อ ที่กินโดยทั่วไปไขมันทรานส์ไม่ได้มีเยอะอยู่แล้ว ฉะนั้นไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายแน่นอน

สุดท้ายนี้แล้วแน่นอนว่าทุก ๆ คนนั้นได้รับไขมันทรานส์กันมามากมายเลยทีเดียว

สุดท้ายนี้เมื่อทราบถึงโทษของไขมันทรานส์แน่นอนว่าโทษของอาหารชนิดนั้น ๆ ก็ควรที่จะต้องหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด แม้จะเลี่ยงได้ยากก็ตามแต่ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นได้รับไปค่อนข้างที่จะเยอะไม่ว่าจะอาหารทอดซ้ำ น้ำมันทอดซ้ำ หากเป็นไปได้ควบคู่กับการเลือกอาหารที่มีประโยชน์หมั่นออกกำลังกายด้วยก็จะช่วยได้อีกมากเลยทีเดียว

ดูดไขมันแก้ไขมันในเลือดเยอะได้ไหม

ดูดไขมันไม่แก้ไขเรื่องไขมันในเลือดใดๆ แต่ทำให้ไขมันตามลำตัวดีขึ้นได้ ลดลง ใส่เสื้อสวย เป็นผลเพื่อความสวยงามอย่างเดียว แต่การลดน้ำหนักและออกกำลังกายจะช่วยลดไขมันในเลือดและไขมันตามลำตัวได้มากกว่า

Reference:

งานวิจัยเกี่ยวกับไขมันทรานส์

http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Cholesterol/PreventionTreatmentofHighCholesterol/The-Skinny-on-Fats_UCM_305628_Article.jsp#.WVIjkxOGP-Y

 

Filed Under: ดูดไขมัน Bodytite, บทความสุขภาพทั่วไป

Rattinan Clinic
Rattinan Medical Center
(รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์)
5 Sitthi Vorakit, Building 12A,
Soi Phiphat, Silom, Bang Rak 10500
Bangkok

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์ - วันเสาร์
เวลา 10.00 น. - 20.00 น.
วันอาทิตย์ หยุดทำการ
สอบถามข้อมูลบริการ :
086-570-7040 , 086-323-4040
ติดต่อเรื่องทั่วไป : 02-233-1424-5

Our Working Hours

We open Monday - Saturday from 10.00 AM.-08.00PM.
Close on Sunday and some public holidays.

Telephone : +66 22331424, +66 22331425
E-Mail: international@rattinan.com
WhatsApp : +66 917767741
Skype : +66 863234040

บริการของเรา

  • ดูดไขมัน
  • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
  • Ulthera
  • Thermage FLX
  • รักษาเต้านมโตผู้ชาย Gynecomastia
  • รีแพร์กระชับจุดซ่อนเร้น
  • ตัดหนังหน้าท้อง
  • miraDry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว
  • รักษาเส้นเลือดขอด
  • ผ่าตัดกรดไหลย้อน
  • Tesla Former เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ

บริการดูดไขมัน

  • ดูดไขมันหน้าท้อง
  • ดูดไขมันต้นขา
  • ดูดไขมันต้นแขน
  • ดูดไขมันน่อง
  • ดูดไขมันเหนียง
  • ดูดไขมันเอว
  • ดูดไขมัน Six Pack
  • ดูดไขมัน Sexy Line
  • ดูดไขมันหนอก
  • ดูดไขมันหน้า แก้ม

ติดตามเราได้ที่

Like Us

พูดคุยกับเราได้ที่

ติดตามพวกเราผ่านไลน์

© 2021 Rattinan Clinic | TOS/Privacy Policy | Sitemap