การผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนัก (Bariatric Surgery) คือ เป็นการลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง ลดการดูดซึมสารอาหารของร่างกายที่นำไปสร้างเป็นพลังงานส่วนเกินจนเป็นไขมันที่ทำให้อ้วน ร่างกายจะปรับตัวตามสภาพกระเพาะที่เปลี่ยนไป
การตัดกระเพาะเป็นการลดน้ำหนักที่ได้ผลดีกว่าการลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่น ซึ่งคนที่เข้าข่ายโรคอ้วนน้อยคนมากที่จะลดน้ำหนักได้สำเร็จจริง และปล่อยให้ตัวเองอ้วนขึ้น จนมีโรคประจำตัวที่ทำให้อายุสั้นลง
ผู้ที่เหมาะสมผ่าตัดกระเพาะ
ส่วนใหญ่ผู้ที่มีน้ำหนักตัวช่วง 90 – 100 กิโลกรัมขึ้นไป จะเหมาะสม แต่อาจคำนวณความสูงและน้ำหนัก เพื่อหาดัชนีมวลกาย (BMI) ร่วมด้วย ซึ่งควรเข้ามาสอบถามแพทย์
- ผู้ที่มี BMI มากกว่า 40 ขึ้นไป แม้ว่าจะยังไม่มีโรคประจำตัว
- ผู้ที่มี BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป แต่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงชีวิต เช่น เบาหวาน, ความดัน, หยุดหายใจขณะหลับ
โปรแกรมคำนวณดัชนีมวลกาย: คำนวณ BMI
[ วิดีโอ BMI คืออะไร ทำไมก่อนดูดไขมันต้องเช็ค BMI ]
4 วิธีลดขนาดกระเพาะที่นิยมในไทย
1. การใส่บอลลูนในกระเพาะ (Intragastric Balloon)
เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะลดน้ำหนัก ลดความอ้วน หรือควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่สามารถควบคุมอาหารไม่ได้ และไม่อยากผ่าตัด รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักมาก มีภาวะเสี่ยงทำให้ยังไม่สามารถทำการผ่าตัดใดๆ ได้เลย สามารถเอาบอลลูนออกได้ เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ หรือเมื่อครบ 1 ปี
ข้อดี
- บอลลูนที่ใส่เข้าไปในกระเพาะอาหาร จะทำให้รู้สึกอิ่ม และรับประทานอาหารได้น้อยลง
- ใส่บอลลูนในกระเพาะก่อนให้ช่วยในการลดน้ำหนักลง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัดอื่นๆ ต่อไป
ข้อเสีย
- ไม่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ร่างกายอาจยังต้องการอาหาร จนทำให้รู้สึกแย่กับการทานไม่ได้
- ผลลัพธ์น้อยกว่าวิธีอื่น
2. การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy – LSG)
แพทย์จะส่องกล้องผ่านแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง 3-5 แผล จากนั้นศัลยแพทย์จะใช้ตัวตัดกระเพาะอัตโนมัติ (Stapler) ตัดกระเพาะและเย็บกระเพาะในคราวเดียวกัน แล้วดึงกระเพาะส่วนที่จะทำการตัดออกประมาณ 80% ผ่านรอยแผลบริเวณสะดือ โดยกระเพาะที่เหลืออยู่จะมีขนาดประมาณ 100-150 ซีซีเท่านั้น ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนกระตุ้นความหิวน้อยลง
ข้อดี
- ผลจากที่กระเพาะหายไปหลายส่วน ทำให้ร่างกายลดฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวลง
- ไม่มีปัญหาเรื่องความหิว ต่างจากวิธีใส่บอลลูน หรือ รัดกระเพาะ
ข้อเสีย
- ต้องระมัดระวังช่วงแรก ถ้าฝืนรับประทานโดยไม่ฟังคำแนะนำแพทย์ อาจเกิดแผลที่เย็บกระเพาะแตกได้
3. การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Laparoscopic REY Byprass gastrectomy)
การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส จะใช้วิธีการสอดกล้องเช่นเดียวกับการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ โดยจะทำการผ่าแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง จากนั้นแพทย์จะทำการสอดใส่เครื่องมือเข้าไป เพื่อทำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ต่างจากการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ ตรงที่มีการตัดและต่อใหม่เพิ่มขึ้นอีกจุด โดยตัดกระเพาะออก เอามาต่อกับลำไส้ส่วนที่สอง ข้าม (บายพาส) ลำไส้ส่วนแรกไป
การผ่าตัดแบบบายพาส เป็นการผ่าตัดที่จัดการทั้งส่วนของกระเพาะอาหารและส่วนของลำไส้ ถือเป็นรูปแบบการผ่าตัดที่ทำให้ลดน้ำหนักได้มากที่สุด
ข้อดี
- ผลลัพธ์ลดน้ำหนัก ดีกว่าและเร็วกว่าทุกวิธี
ข้อเสีย
- ถ้าไม่ฟังคำแนะนำแพทย์ อาจมีปัญหาเรื่องขาดสารอาหารง่ายกว่าวิธีอื่น
4. การใส่ห่วงรัดกระเพาะ (Gastric Bands)
การใส่ห่วงรัดกระเพาะ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกระเพาะอาหารโดยตรง เป็นวิธีที่นิยมในอดีต
การส่องเครื่องมือผ่านแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง เพื่อเข้าไปรัดส่วนบนของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารถูกกักไว้ ส่งผลให้รู้สึกอิ่มเร็ว รับประทานได้น้อยลง ทำให้น้ำหนักลดลง
การใส่ห่วงรัดกระเพาะมีปัญหาหลายเรื่อง จากห่วงที่เลื่อนได้ หรือ รัดแน่นเกินไปจนเกิดบาดแผล ไม่เกิดผลดีต่อคนไข้ ทำให้ความนิยมลดลง แต่ยังคงใช้ได้ดีในบางกรณี
ข้อดี
- ลดปริมาณอาหารที่ทานลง โดยไม่ต้องผ่าตัด
ข้อเสีย
- ห่วงรัด สร้างปัญหาให้คนไข้ได้ง่าย จากการเลื่อนหลุด หรือ แน่นเกินไป
- ความต้องการทานอาหารไม่ค่อยเปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้อาจต้องการทานของเหลวที่พลังงานสูง จนไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ผ่ากระเพาะด้วยการส่องกล้อง
ผลจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักสามารถทำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง สอดเครื่องมือเข้าไปในร่างกายจากรอยแผลขนาดเล็กบริเวณรอบท้องเพื่อดำเนินหัตถการ โดยไม่ต้องผ่าท้อง
หลังผ่าตัดเสร็จ คนไข้จะมีความรู้สึกเจ็บไม่มากนัก ลดความเสี่ยงในระหว่างผ่าตัด สามารถฟื้นตัวได้เร็ว รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการผ่าตัด
เทคนิค Double Lock
เทคนิค Double Lock นี้ก็คือการใช้ไหมละลายที่มีความแข็งแรงมาก ลักษณะคล้ายเส้นลวดช่วยเย็บให้รอยต่อแน่นหนามากขึ้น โดยทำการม้วนให้ขอบริมของรอยตัดพับทบเข้ามาแล้วเย็บซ้ำอีกที แถมยังมีการใช้กาวชีวภาพที่ป้ายเพื่อให้แผลติดกันมาเสริมความแข็งแรงให้กับเทคนิค Double Lock นี้อีกชั้นหนึ่งด้วย
ความพิเศษของ Double Lock คือ ทำให้รอยต่อแน่นหนามากขึ้น ป้องกันการเกิดสภาวะรั่วที่เป็นภาวะแทรกซ้อนอันดับหนึ่งของการผ่าตัดลดน้ำหนัก และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานกระเพาะอาหารในระยะยาว เนื่องจากกระเพาะมีหน้าที่บดอาหาร เมื่อมีการขยับมากเข้าก็ไม่แน่ว่าแนวผ่าตัดจะปริออกหรือไม่ Double Lock ทำให้แนวผ่าตัดนั้นแข็งแรงเพียงพอที่กระเพาะจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
เทคนิคการผ่าตัดลดน้ำหนักแบบ Double Lock นี้เป็นเอกลักษณ์ของรัตตินันท์คลินิก ที่ถูกออกแบบมาเพราะมองเห็นจุดที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้เข้ารับการรักษา ถึงแม้จะมีเทคนิคพิเศษนี้แล้ว ทางคลินิกก็ไม่ได้ละเลยที่จะทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของการผ่าตัดถึงสองชั้นด้วยกัน จึงมั่นใจได้ว่ารัตตินันท์คลินิกและเทคนิค Double Lock จะช่วยให้การผ่าตัดลดน้ำหนักสำเร็จไปได้ด้วยดี พร้อมกับมีผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม
ประโยชน์ของการผ่าตัดลดน้ำหนัก
การผ่าตัดแบบบายพาส จะเป็นการผ่าตัดที่จัดการทั้งส่วนของกระเพาะอาหารและส่วนของลำไส้ ถือเป็นรูปแบบการผ่าตัดที่ทำให้ลดน้ำหนักได้มากที่สุด
ผลจากการที่น้ำหนักลดลง มีผลทำให้ห่างไกลจากหลายๆ โรคที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน อย่าง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็งหลายๆ รูปแบบ โรคตับ มีบุตรยาก และอีกหลายโรค
ในไทย การผ่าตัดกระเพาะอาหารยังถือเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ และรู้จักกันไม่มาก แต่คนอ้วนที่มากขึ้นในสังคมทุกปี จากของกินที่เข้าถึงง่ายขึ้น ทำให้มีคนพูดถึงเรื่องผ่าตัดกระเพาะเพื่อรักษาโรคมากขึ้น
โรคอ้วน เป็นปัญหาใหญ่ที่พบมากขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยพบสัดส่วนประชากรที่มีโรคอ้วนสูง ซึ่งถ้าปล่อยไว้ จะทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา อย่าง เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง ถึงบางคนสามารถกลับมาหุ่นดีได้ด้วยวิธีการลดอาหาร และออกกำลังกาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้ อาจเกิดผลลัพธ์ที่แย่ยิ่งกว่า ทำให้การตัดกระเพาะเป็นตัวเลือกที่แพทย์ใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วย
การผ่าตัดกระเพาะอาหารเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ถือเป็นศัลยกรรมประเภทหนึ่ง ในหลายประเทศมีผู้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดกระเพาะเพิ่มขึ้นทุกปี และมีกว่า 2 แสนเคสในปี 2561
โรคอ้วนมีแนวโน้มพบมากขึ้นในประเทศไทย ตามความเป็นอยู่ การเข้าถึงของกินที่ง่ายขึ้น การผ่าตัดกระเพาะจึงกลายเป็นทางเลือกในการลดน้ำหนักแบบรวดเร็ว ที่พูดถึงมากขึ้นทุกปี จนเริ่มกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- ต้องมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากแพทย์ ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- เข้ารับคำแนะนำด้านโภชนาการ จากแพทย์เฉพาะทาง
- ทดสอบสภาวะด้านจิตใจว่าพร้อมสำหรับการทำ และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการกิน หลังจากได้รับการผ่าตัด
- เข้ารับการประเมินภาวะของโรคที่เป็นอยู่ เพื่อยืนยันว่าสามารถควบคุม และพร้อมเข้ารับการผ่าตัดได้ เช่น โรคเบาหวาน โดยแพทย์จะให้ยาเพื่อลดน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับไม่เกิน 150 มิลลิกรัมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์ เนื่องจากหลังผ่าตัดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยมีอากาสสูงขึ้นถึง 2-3 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดหลังผ่าตัด
- หยุดการสูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัด 2-3 สัปดาห์ และต้องหยุดหลังการผ่าตัด เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ฟื้นตัวช้า และเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
- ผู้หญิงที่สงสัยว่าตัวเองอาจกำลังตั้งครรภ์อยู่ ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่
- หากมีการรับประทานยา หรืออาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ว่ายาชนิดใดสามารถรับประทานได้ หรือควรหยุดรับประทานยาชนิดใด
- งดน้ำ และอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันที่จะรับการผ่าตัด หากมียาที่ต้องรับประทานตามแพทย์สั่งให้จิบน้ำน้อยๆ
- ในบางรายหากมีน้ำหนักตัวมากเกินไปอาจจะต้องลดน้ำหนักก่อนการทำการผ่าตัด ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการผ่าตัด และทำให้สามารถผ่าตัดได้ดีขึ้น
- เริ่มปรับพฤติกรรมการกิน
ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะถูกนำมาที่ห้องพักฟื้น โดยอาจมีการใช้หน้ากากออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ผู้ป่วยอาจยังมีความรู้สึกงัวเงียหลังจากรู้สึกตัวแล้ว
- ผู้ป่วยจะได้รับอาหารและสารน้ำทางเส้นเลือด ผ่านสายน้ำเกลือ จนกว่าผู้ป่วยจะรับประทานอาหารได้
- ขณะอยู่ในห้องพักฟื้น หากผู้ป่วยรู้สึกคลื่นไส้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากกระเพาะมีขนาดเล็กลงอย่างมาก ผู้ป่วยควรนั่งตัวตรง หรือเดิน เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้
- จะมีพยาบาลคอยตรวจเช็คชีพจรและวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
- หลังการผ่าตัดจะได้รับการควบคุมอาหารทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
- ควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
การรับประทานอาหารหลังการผ่าตัด
- จิบน้ำเปล่าตลอดวัน แต่ไม่ควรดื่มน้ำ ก่อน หรือหลังรับประทานอาหาร 30-45 นาที
- ควรหยุดทานเมื่อรู้สึกอิ่ม ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอาหารคลื่นไส้ หรือจุกเสียดได้
- รับประทานอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด
- เมื่อเริ่มรับประทานอาหารทีละอย่าง เมื่อคุ้นเคยไม่มีอาการแทรกซ้อนค่อยเริ่มอาหารชนิดถัดไป
- ควรใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีในการรับประทานอาหารต่อมื้อ
- ควรรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนเป็นหลักทุกมื้อ ก่อนทาน ข้าว หรือแป้ง
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
- รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน และจำกัดอาหารว่างที่ไม่จำเป็น
- ทานวิตามิน และแร่ธาตุเสริมตามคำแนะนำของแพทย์
ผลข้างเคียงหลังผ่าตัดกระเพาะ
หลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารไปแล้วจะมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้ หากผู้เข้ารับการรักษาไม่ดูแลตัวเองให้ดีพอ
- อาเจียน: ความเคยชินเดิมที่ต้องกินอาหารปริมาณมาก เมื่อผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลงแล้ว พื้นที่ใหม่นั้นก็ไม่สามารถรับปริมาณอาหารได้ไหว จึงอาเจียนออกมา
- เหงื่อแตก ใจสั่น เป็นลม: เป็นผลมาจากกินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไป
- ผมหลุดร่วง : เมื่อร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ส่วนประกอบของร่างกายที่ต้องการโปรตีนก็จะเสื่อมสภาพไปเป็นธรรมดา ก็ต้องกินอาหารประเภทโปรตีนให้มากขึ้น
- อาการปากแห้ง ผิวแห้ง อ่อนเพลีย: ร่างกายขาดน้ำ หลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารแล้ว ต้องมีวินัยในการดื่มน้ำให้มากขึ้น โดยให้ดื่มแบบจิบไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งวัน
- เบื่ออาหาร การรับรสเปลี่ยนไป: หลายคนจะมีประสาทสัมผัสในการรับรสเปลี่ยนไป อาจเบื่ออาหารที่เคยชื่นชอบ หรืออาจจะเบื่ออาหารที่ไม่ค่อยชอบอยู่แล้วก็ได้
ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปฏิบัติตัว จึงควรเลือกกินอาหารที่เหมาะสม และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถ้าพบปัญหาให้ปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ควรเลือกคลินิกที่ติดตามผลโดยแพทย์-พยาบาล อย่างน้อย 1 ปี
ทำไมต้องผ่าตัดกระเพาะกับ รัตตินันท์คลินิก ?
- ผ่าตัดโดย นพ. ปณต ยิ้มเจริญ ศัลยแพทย์ทางเดินอาหาร & ผ่าตัดลดน้ำหนัก อาจารย์แพทย์ที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปี ได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากอเมริกา
- ดำเนินการผ่าตัดในโรงพยาบาล ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- ทางคลินิก มีเคสผ่าตัดกระเพาะกว่า 300 ครั้ง/ปี โดยเจ้าหน้าที่มีความชำนาญในการประสานงานกับโรงพยาบาลเอกชน
- รัตตินันท์คลินิก เปิดให้บริการมานานกว่า 20 ปี มั่นใจได้กับบริการของเรา
- ไม่ต้องรอคิวนานหลายเดือน ประเมินร่างกายไม่นาน เจ้าหน้าที่ดำเนินงานรวดเร็ว เพื่อลูกค้าที่ต้องการลดน้ำหนักรักษาโรค
- หลังผ่าตัด มีทีมแพทย์ ติดตามผล คอยให้คำแนะนำผู้ป่วย นาน 12 เดือน
ถาม-ตอบเรื่องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก กับศัลยแพทย์ นพ. ปณต ยิ้มเจริญ
คำถามที่พบบ่อย
ทำไมการผ่าตัดกระเพาะจึงได้ผลกว่าวิธีอื่น ?
ในทางสถิติแล้วพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินส่วนใหญ่แล้วมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผู้ที่สามารถลดน้ำหนักได้นั้นจะมีเพียงแค่ 3% เท่านั้น หลายคนท้อและเลิกล้มความพยายาม จนโรคอ้วนก่อปัญหากับสุขภาพ
ดังนั้นการผ่าตัดลดน้ำหนักจึงเข้ามาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ที่ช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดี และไม่กลับมาอ้วนซ้ำ
ผ่าตัดกระเพาะเจ็บไหม ?
พูดถึง “ผ่าตัดกระเพาะ” หลายคนกลัวเอามีดผ่าเปิดท้องเป็นแนวยาวเหมือนการผ่าตัดภายใน กังวลเรื่องแผลเป็นหลังการผ่าตัด
ความจริง ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน การผ่าตัดกระเพาะทุกวิธี จะมีแผลที่ผิวเท่ารูเข็ม เพื่อสอดอุปกรณ์เข้าไปทำการศัลยกรรมในร่างกายและไม่เจ็บมาก ใช้เวลาไม่นานรอยแผลจะหายไป
ลูกค้าก่อนและหลังผ่าตัดกระเพาะที่รัตตินันท์คลินิก